ReadyPlanet.com
dot
ฐานข้อมูลกรมโยธาธิการและผังเมือง
กฎหมายเกี่ยวกับตรวจสอบอาคาร
ศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถตามมาตรา ๒๖/๔ (๒) สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร




ประกาศสภาวิศวกร ที่ 10/2567

ประกาศสภาวิศวกร
ที่ 10/2567
เรื่อง ความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน
ที่สภาวิศวกรจะออกหนังสือรับรองความรู้ความชำนาญ
ในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม

-----------------------

โดยที่ป็นการสมควรปรับปรุงรายชื่อความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านที่สภาวศิวกรจะออกหนังสือรับรองความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยการออกหนังสือรับรองความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมพ.ศ. 2564 ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นและสอดคล้องกับกฎกระทรวงกำหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคมุ พ.ศ. 2565

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 และข้อ 10 ของข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยการออกหนังสือรับรองความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมพ.ศ. 2564 ประกอบมติที่ประชุมคณะกรรมการสภาวิศวกร ครั้งที่ 3-3/2566 เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2566 คณะกรรมการสภาวิศวกรออกประกาศไว้ ดังนี้

ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศสภาวิศวกร ที่ 10/2567 เรื่อง ความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านที่สภาวิศวกรจะออกหนังสือรับรองความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม”

ข้อ 2 ให้ยกเลิกประกาศสภาวิศวกร ที่ 20/2565 ฉบับลงวันที่ 4 มีนาคม 2565 เรื่อง ความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านที่สภาวิศวกรจะออกหนังสือรับรองความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม

ข้อ 3 ความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านที่สภาวิศวกรจะออกหนังสือรับรองความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ให้เป็นไปตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้

ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป

 

ประกาศ ณ วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2567
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ วีระศิริ
นายกสภาวิศวกร


 

รายชื่อความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านที่สภาวิศวกรจะออกหนังสือรับรอง
ความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม

สาขาวิศวกรรม

หัวข้อความรู้ความชำนาญ (เฉพาะด้าน)

1. วิศวกรรมเครื่องกล

1. อุปกรณ์ขนส่ง

1.1 ลิฟต์ บันไดเลื่อน (อุปกรณ์ขนส่ง ทางราบ ทางดิ่งและส่วนควบ)

1.2 เครื่องจักรกลจอดรถ

2. ปั้นจั่นและเครน (รวมทั้งอยู่กับที่และเคลื่อนที่)

3. ห้องสะอาด (ห้องที่มีการควบคุมฝุ่นละออง สารปนเปื้อนและจุลชีพ โดยใช้ระบบปรับอากาศ)

4. ระบบท่อก๊าซ (ระบบก๊าซเชื้อเพลิง และระบบก๊าซทางการแพทย์)

5. รถยนต์ดัดแปลง

5.1 รถดัดแปลงสภาพ

5.2 รถที่ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิง และเชื้อเพลิงอื่น ๆ (LPG, CNG, LNG, Hydrogen, Fuel cell, EV และอื่น ๆ)

2. วิศวกรรมไฟฟ้า

1. ระบบผลิตไฟฟ้า (Electricity Generation)

1.1 ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar PV System)

1.2 ชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator set)

1.3 ระบบเก็บพลังงานไฟฟ้า (Energy Storage System)

1.4 ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม (Wind Energy)

2. ระบบส่งและระบบจำหน่ายไฟฟ้า (Transmission & Distribution)

2.1 สถานีย่อย (Substation)

2.2 สายใต้ดิน (Underground Cable)

2.3 สายในอากาศ (Overhead Line)

3.4 สายเคเบิลใต้น้ำ (Submarine Cable)

2.5 หม้อแปลงไฟฟ้า(Transformer)

3. ระบบไฟฟ้าในอาคาร

3.1 ระบบไฟฟ้าในสถานพยาบาล

3.2 ระบบไฟฟ้าในอาคารสูงและขนาดใหญ่พิเศษ

4. ระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม

4.1 ระบบไฟฟ้าในบริเวณอันตราย (Hazardous location)

4.2 ระบบควบคุมและบริภัณฑ์ไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม

5. ดาตาเซนเตอร์ (Data Center)

5.1 ระบบไฟฟ้าสำหรับดาตาเซนเตอร์ (Data Center)

6. ระบบไฟฟ้าขนส่งสาธารณะ ระบบไฟฟ้าขนส่งระบบราง

6.1 ระบบจ่ายไฟฟ้าสำหรับตัวรถ

6.2 ระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าในตัวรถ

6.3 ระบบสื่อสาร ควบคุมและระบบอาณัติสัญญาณ

7. ระบบไฟฟ้าสำหรับยานพาหนะทางน้ำ

หมายเหตุ

1) ระบบไฟฟ้ารวมถึงไฟฟ้ากำลังไฟฟ้าสื่อสาร ระบบเตือนภัยต่าง ๆ และระบบช่วยชีวิต

2) งานผู้เชี่ยวชาญครอบคลุมงานออกแบบ งานติดตั้ง และงานพิจารณาตรวจสอบ รวมถึงงานบำรุงรักษา

3. วิศวกรรมอุตสาหการ

1. การตรวจประเมินความปลอดภัยในอุตสาหกรรม (Industrial Safety Assessment)

2. การออกแบบและจัดวางผังโรงงาน (Plant Layout and Facilities Design)

3. ระบบดับเพลิงหรือระบบป้องกันอัคคีภัย

4. ระบบการจัดการด้านความเสี่ยงในอุตสาหกรรมการผลิตหรืออุตสาหกรรมการบริการ

5. การจัดการกากกัมมันตรังสี (Radioactive Waste Management)

4. วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

1. ระบบประปา

2. ระบบน้ำสะอาด

3. ระบบน้ำเสีย

4. ระบบการนำน้ำทิ้งกลับมาใช้ใหม่

5. ระบบการพัฒนาพื้นที่หรือแหล่งน้ำที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

6. ระบบควบคุมมลพิษทางอากาศ

7. ระบบการจัดการมลภาวะทางเสียงและความสั่นสะเทือน

8. ระบบการฟื้นฟูสภาพดิน

9. ระบบขยะมูลฝอย

10. ระบบการจัดการกากอุตสาหกรรม

11. ระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย

12. ระบบน้ำบาดาลหรือระบบเติมน้ำลงในชั้นบาดาล

13. การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมสาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

5. วิศวกรรมเคมี

1. อุตสาหกรรมเคมีอุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมันอุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้อง และการออกแบบอุปกรณ์กระบวนการผลิต

2. เทคโนโลยีกระบวนการผลิตเคมี/อาหาร/ยา/เภสัชภัณฑ์/กระบวนการชีวภาพ/กระบวนการเทคโนโลยีขั้นสูง และนวัตกรรมใหม่ (emerging innovation)

3. การปฏิบัติการกระบวนการผลิต การควบคุม การหาค่าที่เหมาะสม (optimization) และการทำให้เป็นดิจิทัล(digitalization)

4. ความปลอดภัยกระบวนการผลิตและการจัดการความเสี่ยง

5. การป้องกันและการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม

6. การจัดการความสูญเสีย โลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน การจัดการพลังงาน การประเมิน วัฏจักรชีวิต การควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ การประกันคุณภาพ

7. การจัดการโครงการ การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต (การติดตั้งการขยายขนาด การลดขนาด การทำใหม่)

8. การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์

9. การปรับปรุงกระบวนการผลิต การเลือกใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสมสำหรับภาคอุตสาหกรรม โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว)

6. วิศวกรรมเหมืองแร่

1. งานเหมืองแร่ ได้แก่

1.1 การทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่

1.2 การเจาะอุโมงค์หรือช่องเปิดในหินหรือแร่หรือการสร้างโพรงโดยการชะละลายแร่

1.3 งานวิศวกรรมที่มีการใช้วัตถุระเบิด

1.4 การแต่งแร่หรือการแยกวัสดุต่าง ๆ ออกจากของที่ใช้แล้วด้วยกรรมวิธีแต่งแร่ที่ใช้กำลังเครื่องจักร

1.5 การตรวจสอบและประเมินปริมาณแร่ที่ทำเหมือง

1.6 การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนทำเหมือง การปรับคุณภาพแร่หรือวัสดุด้วยกรรมวิธีแต่งแร่

1.7 การฟื้นฟูสภาพพื้นที่ภายหลังการทำเหมืองหรือการปิดเหมืองในเขตเหมืองแร่

1.8 การควบคุมการพังทลายของดินหรือหินในเขตเหมืองแร่

2. งานโลหการ ได้แก่

2.1 การแยกและการเตรียมวัสดุเพื่อการสกัดโลหะออกจากขยะ ของที่ใช้แล้วจากภาคครัวเรือน และกากของเสียอุตสาหกรรมด้วยกรรมวิธีแต่งแร่และกรรมวิธี

ทางโลหกรรมที่มีการใช้สารเคมีอันตราย

2.2 การแต่งแร่หรือการแยกวัสดุต่าง ๆ ออกจากของที่ใช้แล้วด้วยกรรมวิธีแต่งแร่

2.3 การถลุงแร่เหล็กหรือการผลิตเหล็กกล้าด้วยกรรมวิธีทางโลหกรรม

2.4 การถลุงแร่อื่น ๆ หรือการสกัดโลหะโลหะเจือ หรือสารประกอบโลหะออกจากแร่ ตะกรัน เศษโลหะ วัสดุหรือสารอื่นใด รวมทั้งการทำโลหะให้บริสุทธิ์ด้วยกรรมวิธีทางโลหกรรมที่มีการใช้สารเคมีอันตราย

2.5 การผลิตโลหะสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูปด้วยกระบวนการขึ้นรูปต่าง การขึ้นรูปด้วยกระบวนการโลหะผง หรือการขึ้นรูปด้วยการเติมเนื้อวัสดุ

2.6 การปรับปรุงสมบัติโลหะด้วยกรรมวิธีการอบชุบทางความร้อน การตกแต่งผิว หรือการเคลือบผิวโลหะ

2.7 การวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพเชิงกล เคมีการทดสอบแบบไม่ทำลาย การบ่งลักษณะเฉพาะของวัสดุหรือการวิเคราะห์การวิบัติการเสื่อมสภาพของโลหะ การกัดกร่อนของโลหะและการป้องกันความเสียหายด้วยกรรมวิธีทางโลหกรรม

 




กฎหมาย




Copyright © 2012 All Rights Reserved.


  

 

สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร | THE BUILDING INSPECTORS ASSOCIATION
เลขที่ 487 ซ.รามคำแหง 39 (เทพลีลา 1) ถ.รามคำแหง
แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
โทรศัพท์: 0-2184-4612   โทรสาร: 0-2184-4613
http://www.bsa.or.th