ReadyPlanet.com
dot
ฐานข้อมูลกรมโยธาธิการและผังเมือง
กฎหมายเกี่ยวกับตรวจสอบอาคาร
ศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถตามมาตรา ๒๖/๔ (๒) สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร




กฎกระทรวง สถานที่เก็บรักษาน้ำมัน พ.ศ. 2567

กฎกระทรวง

สถานที่เก็บรักษาน้ำมัน
พ.ศ. 2567
-----------------------

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 7 วรรคหนึ่ง (1) (2) (3) (5) และ (7) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 และมาตรา 7 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้ยกเลิก

(1) กฎกระทรวงสถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2551

(2) กฎกระทรวงสถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560

ข้อ 2 ในกฎกระทรวงนี้

น้ำมัน” หมายความว่า น้ำมันตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง

สถานที่เก็บรักษาน้ำมัน” หมายความว่า สถานที่เก็บรักษาน้ำมันตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียม เกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง

เขตสถานที่เก็บรักษาน้ำมัน” หมายความว่า แนวเขตของสถานที่เก็บรักษาน้ำมันตามที่กําหนดไว้ในแผนผังบริเวณของสถานที่เก็บรักษาน้ำมัน

จุดวาบไฟ” หมายความว่า อุณหภูมิ ณ จุดที่ไอของน้ำมันลุกเป็นเปลวไฟวาบขึ้นเมื่อสัมผัสกับเปลวไฟทดสอบ

ภาชนะบรรจุน้ำมัน” หมายความว่า ขวดน้ำมัน กระป๋องน้ำมัน ถังน้ำมัน และถังเก็บน้ำมัน ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ไม่หมายความรวมถึงถังเก็บน้ำมันดังต่อไปนี้

(1) ถังเก็บน้ำมันขนาดไม่เกิน 2,500 ลิตรต่อเครื่องกําเนิดไฟฟ้าสํารองฉุกเฉินหนึ่งเครื่องที่ติดตั้งให้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องกําเนิดไฟฟ้าสํารองฉุกเฉินตามมาตรฐานของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ว่าด้วยมาตรฐานออกแบบและติดตั้งเครื่องกําเนิดไฟฟ้า

(2) ถังเก็บน้ำมันขนาดไม่เกิน 5,000 ลิตรต่อเครื่องสูบน้ำดับเพลิงที่ติดตั้งให้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องสูบน้ำดับเพลิงตามมาตรฐานของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ว่าด้วยการตรวจสอบทดสอบและบํารุงรักษาระบบดับเพลิงด้วยน้ำ

(3) ถังเก็บน้ำมันอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา

แท่นจ่ายน้ำมัน” หมายความว่า อาคารและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการจ่ายน้ำมันให้กับถังขนส่งน้ำมัน

ถังขนส่งน้ำมัน” หมายความว่า ถังขนส่งน้ำมันตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง

การตั้งภาชนะบรรจุน้ำมัน” หมายความว่า การวาง ตั้ง หรือเรียงภาชนะบรรจุน้ำมัน โดยไม่มีการยึดติดกับพื้น ฐานราก โครงสร้าง อาคาร หรือสิ่งอื่นใด ทั้งแบบถาวรและชั่วคราว รวมถึงต้องไม่มีการต่อท่อน้ำมันระหว่างภาชนะบรรจุน้ำมันเข้าด้วยกันหรือต่อเข้ากับระบบอื่นใด

การติดตั้งภาชนะบรรจุน้ำมัน” หมายความว่า การติดตั้งภาชนะบรรจุน้ำมันโดยยึดแน่นไว้กับพื้น ฐานราก โครงสร้าง อาคาร หรือสิ่งอื่นใด

อาคาร” หมายความว่า อาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร

อาคารเก็บภาชนะบรรจุน้ำมัน” หมายความว่า อาคารที่สร้างขึ้นเพื่อวางตั้งหรือเรียงขวดน้ำมัน กระป๋องน้ำมัน ถังน้ำมัน หรือถังเก็บน้ำมันขนาดเล็ก

อาคารติดตั้งถังเก็บน้ำมันโดยเฉพาะ” หมายความว่า อาคารที่สร้างขึ้นเพื่อคลุมพื้นที่ที่ติดตั้งถังเก็บน้ำมัน และห้ามใช้ผนังร่วมกันกับอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อื่น

โครงสร้างกําบัง” หมายความว่า ตู้ครอบหรือสิ่งห่อหุ้มเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้ชิดกับถังเก็บน้ำมันหรือติดตั้งเป็นส่วนควบกันกับถังเก็บน้ำมันที่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ซึ่งไม่ใช่อาคารเก็บภาชนะบรรจุน้ำมันและอาคารติดตั้งถังเก็บน้ำมันโดยเฉพาะ และให้หมายความรวมถึงส่วนที่เป็นปล่องหรือช่องระบายอากาศที่เชื่อมต่อกันเป็นชุดอันมีวัตถุประสงค์เดียวกันด้วย

เครื่องสูบน้ำมันที่ใช้สําหรับรับน้ำมัน” หมายความว่า เครื่องสูบน้ำมัน (transfer pump) ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายน้ำมันจากถังขนส่งน้ำมันผ่านระบบท่อน้ำมันไปยังถังเก็บน้ำมัน แต่ไม่หมายความรวมถึงเครื่องสูบน้ำมันที่ติดตั้งอยู่กับถังขนส่งน้ำมัน

เครื่องสูบน้ำมันที่ใช้สําหรับจ่ายน้ำมัน” หมายความว่า เครื่องสูบน้ำมัน (transfer pump) ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายน้ำมันจากถังเก็บน้ำมันผ่านระบบท่อน้ำมันไปยังถังเก็บน้ำมันอื่น เครื่องจักร เครื่องกําเนิดไฟฟ้าสํารองฉุกเฉิน หรือการเคลื่อนย้ายน้ำมันเพื่อจ่ายน้ำมันให้กับถังขนส่งน้ำมัน แต่ไม่หมายความรวมถึงเครื่องสูบน้ำมัน (mechanical pump) ที่ติดตั้งจากผู้ผลิตให้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องจักรหรือเครื่องกําเนิดไฟฟ้าสํารองฉุกเฉินหรือเครื่องสูบน้ำดับเพลิง

เครื่องกําเนิดไฟฟ้าสํารองฉุกเฉิน” หมายความว่า เครื่องกําเนิดไฟฟ้าซึ่งเป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าที่สํารองพร้อมใช้งานเมื่อแหล่งจ่ายไฟฟ้าปกติเกิดขัดข้องล้มเหลวเพื่อใช้จ่ายให้กับโหลดในภาวะจําเป็นฉุกเฉิน

สถานศึกษา” หมายความว่า สถานศึกษาที่จัดการศึกษาในระบบที่เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือการศึกษาระดับอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ

ศาสนสถาน” หมายความว่า วัดตามกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ มัสยิดตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม วัดบาทหลวงตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิกในกรุงสยามตามกฎหมาย หรือสถานที่ประกอบศาสนกิจในนิกายหรือศาสนาอื่น

สถานพยาบาล” หมายความว่า สถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล

โบราณสถาน” หมายความว่า โบราณสถานตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

ทางสัญจร” หมายความว่า ทางหลวง ถนนสาธารณะ ทางสาธารณะ หรือถนนส่วนบุคคล

ทางแยก” หมายความว่า ทางสัญจรที่มีความกว้างถนนตั้งแต่ 12.00 เมตรขึ้นไป และมีความยาวจากจุดตัดหรือจุดบรรจบของถนนตั้งแต่ 200.00 เมตรขึ้นไป

ความกว้างของถนน” หมายความว่า ระยะที่วัดจากเขตทางด้านหนึ่งไปยังเขตทางด้านตรงข้าม

หมวด 1
บททั่วไป
-----------------------

ข้อ 3 การวัดระยะปลอดภัยของการเก็บภาชนะบรรจุน้ำมันในสถานที่เก็บรักษาน้ำมันให้วัดจากจุดใกล้สุดระหว่างภาชนะบรรจุน้ำมันกับจุดที่กําหนด

ข้อ 4 ภาชนะบรรจุน้ำมันให้บรรจุน้ำมันได้ไม่เกินร้อยละเก้าสิบของปริมาตรภาชนะบรรจุน้ำมัน

ข้อ 5 การวัดปริมาณน้ำมันในภาชนะบรรจุน้ำมัน ให้คิดคํานวณตามปริมาตรภาชนะบรรจุน้ำมันไม่ว่าจะมีน้ำมันอยู่ปริมาณเท่าใดก็ตาม

หมวด 2
สถานที่เก็บรักษาน้ำมัน ลักษณะที่หนึ่ง
-----------------------
ส่วนที่ 1
การเก็บน้ำมันและระยะปลอดภัยภายใน
-----------------------

ข้อ 6 การเก็บภาชนะบรรจุน้ำมันชนิดไวไฟมาก ชนิดไวไฟปานกลาง หรือชนิดไวไฟน้อยที่มีจุดวาบไฟไม่เกิน 93 องศาเซลเซียส เพื่อการจําหน่ายไว้ในอาคารเก็บภาชนะบรรจุน้ำมัน ต้องมีระยะปลอดภัย ดังต่อไปนี้

(1) ด้านที่มีช่องเปิด เช่น ประตูหรือหน้าต่าง ต้องห่างจากช่องเปิดไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร

(2) ด้านที่ไม่มีช่องเปิดต้องห่างจากขอบผนังอาคารไม่น้อยกว่า 0.60 เมตร

ข้อ 7 ห้ามเก็บภาชนะบรรจุน้ำมันไว้ต่ำกว่าระดับพื้นดิน เว้นแต่ภาชนะบรรจุน้ำมันนั้นเก็บน้ำมันชนิดไวไฟน้อยที่มีจุดวาบไฟเกิน 93 องศาเซลเซียสขึ้นไปและอยู่ภายในอาคาร

ส่วนที่ 2
ภาชนะบรรจุน้ำมัน
-----------------------

ข้อ 8 กระป๋องน้ำมันหรือถังน้ำมันต้องทําด้วยวัสดุที่ไม่ทําปฏิกิริยากับน้ำมันและเป็นชนิดที่ใช้กับน้ำมันโดยเฉพาะ

ส่วนที่ 3
การป้องกันและระงับอัคคีภัย
-----------------------

ข้อ 9 ภาชนะบรรจุน้ำมันต้องปิดฝาไว้ตลอดเวลาที่ไม่ใช้งาน

ข้อ 10 ห้ามทําการถ่ายเทหรือแบ่งบรรจุน้ำมันภายในบริเวณที่มีการจําหน่าย หรือขายน้ำมัน

ข้อ 11 ห้ามต่อท่อน้ำมันระหว่างถังน้ำมันเข้าด้วยกัน

ข้อ 12 การเก็บน้ำมันชนิดไวไฟมาก ชนิดไวไฟปานกลาง หรือชนิดไวไฟน้อยที่มีจุดวาบไฟไม่เกิน 93 องศาเซลเซียส เพื่อการจําหน่าย บริเวณที่ตั้งภาชนะบรรจุน้ำมันต้องจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัย ดังต่อไปนี้

(1) เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งหรือน้ำยาดับเพลิงขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า 6.80 กิโลกรัม มีความสามารถในการดับเพลิงไม่น้อยกว่า 3A 40B ตามมาตรฐานระบบป้องกันอัคคีภัยของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่าที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา จํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งเครื่อง

(2) เครื่องดับเพลิงต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี และผู้ประกอบกิจการควบคุมต้องจัดให้มีการตรวจสอบและบํารุงรักษาทุกหกเดือน โดยมีหลักฐานการตรวจสอบติดหรือแขวนไว้ที่เครื่องดับเพลิง

(3) ทรายในปริมาณไม่น้อยกว่า 20 ลิตร และสามารถนํามาใช้ได้สะดวกตลอดเวลา

ข้อ 13 บริเวณที่ตั้งภาชนะบรรจุน้ำมันเพื่อการจําหน่ายต้องจัดให้มีป้ายเตือน โดยมีข้อความ ลักษณะ และที่ตั้ง ดังต่อไปนี้

(1) ป้ายมีข้อความอย่างน้อย ดังต่อไปนี้

อันตราย
1. ห้ามสูบบุหรี่
2. ห้ามก่อประกายไฟ”

(2) ข้อความในป้ายต้องมองเห็นได้ชัดเจนและอ่านได้ง่าย โดยมีความสูงของตัวอักษรไม่น้อยกว่า 2.50 เซนติเมตร

(3) ป้ายต้องตั้งอยู่ห่างจากบริเวณที่ตั้งภาชนะบรรจุน้ำมันระยะไม่เกิน 2.00 เมตร และต้องติดตั้งไว้ในที่ที่เห็นได้ง่าย ไม่มีสิ่งอื่นบดบัง

หมวด 3
สถานที่เก็บรักษาน้ำมัน ลักษณะที่สอง
-----------------------
ส่วนที่ 1 การเก็บน้ำมันและระยะปลอดภัยภายใน
-----------------------

ข้อ 14 การเก็บภาชนะบรรจุน้ำมันไว้ในอาคารต้องมีระยะปลอดภัยตามที่กําหนดไว้ในตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ระยะปลอดภัยในการเก็บภาชนะบรรจุน้ำมันไว้ในอาคาร

ชนิดของน้ำมัน

ปริมาณน้ำมัน
(ลิตร)

ระยะปลอดภัยต่าสุด (เมตร)

ห่างจากขอบผนังอาคาร

ห่างจากช่องเปิด

ห่างจากเขตสถานที่เก็บรักษาน้ำมัน

ชนิดไวไฟมาก
ชนิดไวไฟปานกลาง หรือชนิดไวไฟน้อยที่มีจุดวาบไฟไม่เกิน 93 องศาเซลเซียส

ไม่เกิน 1,000

0.60

1.50

1.50

เกิน 1,000-3,000

0.60

1.50

3.00

เกิน 3,000-15,000

0.60

1.50

4.50

ชนิดไวไฟน้อยที่มีจุดวาบไฟเกิน 93 องศาเซลเซียส

ไม่เกิน 7,500

0.60

1.50

1.50

เกิน 7,500 - 15,000

0.60

1.50

3.00

 ข้อ 15 การเก็บภาชนะบรรจุน้ำมันไว้นอกอาคารต้องมีระยะปลอดภัยตามที่กําหนดไว้ในตารางที่ 2

ตารางที่ 2 ระยะปลอดภัยในการเก็บภาชนะบรรจุน้ำมันไว้นอกอาคาร

ชนิดของน้ำมัน

ปริมาณน้ำมัน
(ลิตร)

ระยะปลอดภัยต่าสุด (เมตร)

ห่างจากเขตสถานที่เก็บรักษาน้ำมัน

ชนิดไวไฟมาก ชนิดไวไฟปานกลาง หรือชนิดไวไฟน้อยที่มีจุดวาบไฟไม่เกิน 93 องศาเซลเซียส

ไม่เกิน 1,000

1.50

เกิน 1,000-3,000

3.00

เกิน 3,000-15,000

4.50

ชนิดไวไฟน้อยที่มีจุดวาบไฟเกิน 93 องศาเซลเซียส

ไม่เกิน 7,500

1.50

เกิน 7,500 - 15,000

3.00

 ข้อ 16 การเก็บภาชนะบรรจุน้ำมันให้ปฏิบัติตามที่กําหนดไว้ในข้อ 7

ส่วนที่ 2
ลักษณะของแผนผังและแบบก่อสร้าง
-----------------------

ข้อ 17 สถานที่เก็บรักษาน้ำมัน ลักษณะที่สอง ต้องมีแผนผังโดยสังเขปแสดงตําแหน่งที่ตั้งของสถานที่เก็บรักษาน้ำมัน พร้อมสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่อยู่รอบเขตสถานที่เก็บรักษาน้ำมันภายในระยะไม่น้อยกว่า 50.00 เมตร

ในกรณีที่แผนผังตามวรรคหนึ่ง ไม่สามารถแสดงถึงที่ตั้งของสถานที่เก็บรักษาน้ำมันได้ ให้จัดทําแผนผังในระยะที่ทําให้สามารถบ่งชี้ถึงที่ตั้งของสถานที่เก็บรักษาน้ำมันได้

ข้อ 18 สถานที่เก็บรักษาน้ำมัน ลักษณะที่สอง ต้องมีแผนผังบริเวณแสดงเขตสถานที่เก็บรักษาน้ำมัน ภาชนะบรรจุน้ำมัน แนวท่อน้ำมัน และอาคารเก็บภาชนะบรรจุน้ำมัน

ข้อ 19 แบบก่อสร้างถังเก็บน้ำมันขนาดใหญ่ที่มีปริมาณความจุเกิน 2,500 ลิตรขึ้นไป ต้องแสดงรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้

(1) แปลนส่วนบน อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ติดตั้งอยู่กับถัง แปลนส่วนล่าง และแปลนฐานราก

(2) รูปด้าน รูปตัด และรายละเอียดของฐานราก

(3) รายละเอียดการก่อสร้าง และการติดตั้งถังเก็บน้ำมัน

แบบก่อสร้างตาม (1) และ (2) ให้ใช้มาตราส่วนไม่เล็กกว่า 1 ใน 100

ส่วนที่ 3
ถังเก็บน้ำมัน
-----------------------

ข้อ 20 ถังเก็บน้ำมันใต้พื้นดินต้องมีลักษณะและวิธีการติดตั้ง ดังต่อไปนี้

(1) ตัวถังต้องทําด้วยเหล็กที่มีความเค้นคราก (yield stress) ไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าของความเค้นที่เกิดขึ้น (allowable stress) เนื่องจากการรับแรงและน้ำหนักบรรทุกต่าง ๆ หรือทําด้วยวัสดุอื่นที่มีมาตรฐานเทียบเท่าที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา

(2) ตัวถังต้องติดตั้งและยึดแน่นกับฐานรากในลักษณะที่ไม่อาจเคลื่อนที่หรือลอยตัวเนื่องจากแรงดันของน้ำใต้ดิน และฐานรากต้องออกแบบและก่อสร้างให้สามารถรับน้ำหนักของตัวถังและน้ำมันที่บรรจุอยู่ในถัง รวมทั้งน้ำหนักอื่น ๆ ที่กระทําบนตัวถังได้โดยปลอดภัย และห้ามมีสิ่งก่อสร้างใด ๆ อยู่เหนือส่วนบนของผนังถัง

(3) ผิวภายนอกของตัวถังต้องมีการป้องกันการกัดกร่อน

(4) ส่วนบนของผนังถังต้องอยู่ต่ำกว่าระดับพื้นดินไม่น้อยกว่า 0.50 เมตร

(5) ต้องมีระยะห่างระหว่างผนังถังแต่ละถังไม่น้อยกว่า 0.60 เมตร

(6) ตัวถังต้องตั้งอยู่ในเขตสถานที่เก็บรักษาน้ำมันและผนังถังต้องอยู่ห่างจากเขตสถานที่เก็บรักษาน้ำมันไม่น้อยกว่า 3.00 เมตร

(7) ต้องติดตั้งท่อระบายไอน้ำมันไว้ทุกถัง สําหรับถังที่แบ่งเป็นห้อง (compartments) ต้องติดตั้งท่อระบายไอน้ำมันไว้ทุกห้องแยกจากกัน โดยท่อระบายไอน้ำมันต้องมีลักษณะและวิธีการติดตั้ง ดังต่อไปนี้

(ก) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 40.00 มิลลิเมตร

(ข) ปลายท่อระบายไอน้ำมันต้องอยู่สูงจากระดับพื้นดินไม่น้อยกว่า 4.00 เมตร และอยู่ห่างจากเขตสถานที่เก็บรักษาน้ำมันไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร

(8) ปลายท่อรับน้ำมันต้องอยู่ห่างจากเขตสถานที่เก็บรักษาน้ำมันไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร

ข้อ 21 ถังเก็บน้ำมันเหนือพื้นดินต้องมีลักษณะและวิธีการติดตั้ง ดังต่อไปนี้

(1) ตัวถังต้องทําด้วยเหล็กที่มีความเค้นคราก (yield stress) ไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าของ ความเค้นที่เกิดขึ้น (allowable stress) เนื่องจากความดันใช้งานสูงสุดของน้ำมันในถัง หรือทําด้วยวัสดุอื่นที่มีมาตรฐานเทียบเท่าตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา

(2) ตัวถังต้องติดตั้งและยึดแน่นกับฐานราก โดยฐานรากต้องออกแบบและก่อสร้างให้สามารถรับน้ำหนักของตัวถังและน้ำมันที่บรรจุอยู่ในถัง รวมทั้งน้ำหนักอื่น ๆ ที่กระทําบนตัวถังได้โดยปลอดภัย

(3) ผิวภายนอกของตัวถังต้องมีการป้องกันการกัดกร่อน

(4) รอบตัวถังต้องมีเขื่อนหรือกําแพงล้อมรอบ โดยเขื่อนหรือกําแพงดังกล่าวต้องมีขนาดพอที่จะเก็บน้ำมันได้เท่ากับปริมาณความจุของถังใบใหญ่ที่สุดภายในเขื่อนหรือกําแพง โดยผนังของเขื่อนหรือกําแพงจะต้องสามารถป้องกันของเหลวไหลผ่าน และสามารถทนแรงดันของน้ำหนักบรรทุกสูงสุดได้

(5) ต้องติดตั้งท่อระบายไอน้ำมันไว้ทุกถัง โดยท่อระบายไอน้ำมันต้องมีลักษณะและวิธีการติดตั้งตามที่กําหนดไว้ในข้อ 20 (7) ทั้งนี้ กรณีติดตั้งถังเก็บน้ำมันภายในอาคารปลายท่อระบายไอน้ำมันต้องอยู่ภายนอกอาคาร

(6) ปลายท่อรับน้ำมันต้องอยู่ห่างจากเขตสถานที่เก็บรักษาน้ำมันไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร

ข้อ 22 เมื่อติดตั้งถังเก็บน้ำมันตามข้อ 20 และข้อ 21 แล้ว ต้องทําการทดสอบและตรวจสอบตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา

ให้ทําการทดสอบและตรวจสอบถังเก็บน้ำมันเมื่อใช้งานครบหนึ่งปีและสิบปีตามวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยการซ่อมบํารุงถังเก็บน้ำมันและถังขนส่งน้ำมันที่ออกตามมาตรา 7

ส่วนที่ 4
ระบบท่อน้ำมันและอุปกรณ์
-----------------------

ข้อ 23 ระบบท่อน้ำมันและอุปกรณ์ที่ใช้กับถังเก็บน้ำมันต้องมีลักษณะและวิธีการติดตั้ง ดังต่อไปนี้

(1) ต้องออกแบบและก่อสร้างให้สามารถรับแรงและน้ำหนักต่าง ๆ ที่มากระทําต่อระบบท่อน้ำมันได้โดยปลอดภัย

(2) ท่อที่นํามาใช้ในระบบท่อน้ำมันต้องทําด้วยเหล็กกล้า หรือทําด้วยวัสดุที่ออกแบบก่อสร้าง และผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน UL971 Standard for Nonmetallic Underground Piping for Flammable Liquids หรือทําด้วยวัสดุอื่นที่มีมาตรฐานเทียบเท่าที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา

(3) ระบบท่อน้ำมันที่ต่อกับเครื่องสูบน้ำมันต้องจัดให้มีลิ้นปิดเปิดสําหรับท่อทางเข้าและท่อทางออกจากเครื่องสูบน้ำมัน เพื่อหยุดการสูบน้ำมันในกรณีฉุกเฉิน

(4) การติดตั้งระบบท่อน้ำมันเหนือพื้นดินต้องดําเนินการ ดังต่อไปนี้

(ก) ท่อต้องวางอยู่บนฐานรองรับที่ทําด้วยคอนกรีตหรือคานเหล็กที่มีความมั่นคงแข็งแรงเหนือพื้นดิน และมีระยะสูงจากพื้นดินเพียงพอเพื่อป้องกันการกัดกร่อน

(ข) มีการป้องกันมิให้ยานพาหนะหรือสิ่งอื่นมากระทําให้เกิดการชํารุดเสียหายต่อระบบท่อน้ำมัน และมีการป้องกันมิให้เกิดการกัดกร่อน

(ค) ท่อที่วางไว้เหนือพื้นดินและพาดผ่านทางสัญจร ให้แสดงระยะความสูงจากพื้นผิวจราจรถึงจุดต่ำสุดของท่อ โครงสร้าง หรือส่วนประกอบอื่น ๆ ของท่อนั้น

(5) การติดตั้งระบบท่อน้ำมันใต้พื้นดินต้องดําเนินการ ดังต่อไปนี้

(ก) ท่อที่ใช้ต้องเป็นท่อที่มีความต้านทานการกัดกร่อน หรือมีการป้องกันการกัดกร่อน

(ข) จัดให้มีเครื่องหมายแสดงแนววางท่ออย่างชัดเจน

(ค) กรณีที่มีการติดตั้งลิ้นปิดเปิดหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ไว้ใต้พื้นดินต้องติดตั้งให้สามารถตรวจสอบและบํารุงรักษาได้โดยสะดวก

(6) วัสดุที่ใช้ในระบบท่อน้ำมัน เช่น ลิ้นปิดเปิด ปะเก็น หรือวัสดุป้องกันการรั่วซึมต้องเป็นชนิดที่ใช้กับน้ำมันโดยเฉพาะ และไม่ทําปฏิกิริยากับน้ำมัน

ข้อ 24 เมื่อติดตั้งระบบท่อน้ำมันและอุปกรณ์แล้วเสร็จ ก่อนการใช้งานต้องทําการทดสอบและตรวจสอบตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา

ข้อ 25 การทดสอบและตรวจสอบถังเก็บน้ำมัน และระบบท่อน้ำมันและอุปกรณ์ตามข้อ 22 และข้อ 24 ต้องกระทําโดยผู้ทดสอบและตรวจสอบตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกําหนดคุณสมบัติของผู้ทดสอบและตรวจสอบน้ำมันที่ออกตามมาตรา 7 และผู้ประกอบกิจการควบคุมต้องเก็บรักษารายงานผลการทดสอบและตรวจสอบไว้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถเรียกตรวจสอบได้ จนกว่าการซ่อมบํารุงเมื่อครบวาระตามกฎกระทรวงว่าด้วยการซ่อมบํารุงถังเก็บน้ำมันและถังขนส่งน้ำมันที่ออกตามมาตรา 7 จะแล้วเสร็จ

ส่วนที่ 5
การป้องกันและระงับอัคคีภัย
-----------------------

ข้อ 26 การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานที่เก็บรักษาน้ำมัน ลักษณะที่สอง ให้ปฏิบัติตามที่กําหนดไว้ในข้อ 9 ข้อ 10 ข้อ 11 และข้อ 13

ข้อ 27 การเก็บน้ำมันชนิดไวไฟมาก ชนิดไวไฟปานกลาง หรือชนิดไวไฟน้อยที่มีจุดวาบไฟไม่เกิน ๙๓ องศาเซลเซียส บริเวณที่ตั้งภาชนะบรรจุน้ำมันต้องจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัย ดังต่อไปนี้

(1) เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งหรือน้ำยาดับเพลิงขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า 6.80 กิโลกรัม มีความสามารถในการดับเพลิงไม่น้อยกว่า 3A 40B ตามมาตรฐานระบบป้องกันอัคคีภัยของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่าที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา จํานวนไม่น้อยกว่าสองเครื่อง

(2) เครื่องดับเพลิงต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี และผู้ประกอบกิจการควบคุมต้องจัดให้มีการตรวจสอบและบํารุงรักษาทุกหกเดือน โดยมีหลักฐานการตรวจสอบติดหรือแขวนไว้ที่เครื่องดับเพลิง

(3) ทรายในปริมาณไม่น้อยกว่า 200 ลิตร และสามารถนํามาใช้ได้สะดวกตลอดเวลา

หมวด 4
สถานที่เก็บรักษาน้ำมัน ลักษณะที่สาม
-----------------------
ส่วนที่ 1
ลักษณะและระยะปลอดภัยภายนอก
-----------------------

ข้อ 28 สถานที่เก็บรักษาน้ำมัน ลักษณะที่สาม เพื่อการจําหน่าย ต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้

(1) ตั้งอยู่ในทําเลที่เหมาะสมและปลอดภัยแก่การขนส่งน้ำมัน

(2) ตั้งอยู่ห่างจากเขตพระราชฐานไม่น้อยกว่า 1,000.00 เมตร ยกเว้นสถานที่เก็บรักษาน้ำมัน ลักษณะที่สาม เพื่อการจําหน่าย ที่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากสํานักพระราชวัง

(3) ตั้งอยู่ห่างจากเขตสถานศึกษา ศาสนสถาน สถานพยาบาล หรือโบราณสถานไม่น้อยกว่า 200.00 เมตร

(4) มีทางเข้าและทางออกสําหรับยานพาหนะเชื่อมต่อกับทางสัญจรที่มีความกว้างของถนนไม่น้อยกว่า 12.00 เมตร และต้องได้รับอนุญาตหรือได้รับความยินยอมให้ทําทางเชื่อมเพื่อใช้เป็นทางเข้าและทางออกสําหรับยานพาหนะจากเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอํานาจอนุญาตหรือเจ้าของทางสัญจรดังกล่าว ทั้งนี้ ทางเข้าและทางออกสําหรับยานพาหนะต้องมีความกว้างของถนนไม่น้อยกว่า 10.00 เมตร ขอบทางเลี้ยวเข้าออกต้องโค้งออก และมีรัศมีความโค้งไม่น้อยกว่า 6.00 เมตร ดังตัวอย่างที่ปรากฏ ตามภาพประกอบที่ 1 ท้ายกฎกระทรวงนี้

 

(5) จุดเริ่มต้นของทางเข้าและทางออกสําหรับยานพาหนะที่เชื่อมต่อกับทางสัญจรที่มีเกาะกลาง ทางระบายน้ำ หรือกําแพงเพื่อแบ่งการจราจรเป็นสองทิศทาง ต้องห่างจากจุดเริ่มต้นของช่องเปิดของเกาะกลาง ทางระบายน้ำ หรือกําแพงของทางสัญจรดังกล่าวไม่น้อยกว่า 50.00 เมตร ดังตัวอย่างที่ปรากฏตามภาพประกอบที่ 2 ท้ายกฎกระทรวงนี้

 

(6) จุดเริ่มต้นของทางเข้าและทางออกสําหรับยานพาหนะต้องไม่อยู่ตรงโค้งของทางสัญจรที่มีรัศมีความโค้งน้อยกว่า 1,000.00 เมตร และจะต้องห่างจากจุดเริ่มต้นของโค้งดังกล่าวไม่น้อยกว่า 50.00 เมตร ดังตัวอย่างที่ปรากฏตามภาพประกอบที่ 3 ท้ายกฎกระทรวงนี้

 

(7) จุดเริ่มต้นของทางเข้าและทางออกสําหรับยานพาหนะต้องห่างจากจุดเริ่มโค้งของทางแยกซึ่งอยู่ฝั่งเดียวกันไม่น้อยกว่า 50.00 เมตร ดังตัวอย่างที่ปรากฏตามภาพประกอบที่ 4 ท้ายกฎกระทรวงนี้

 

(8) จุดเริ่มต้นของทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะต้องไม่อยู่ตรงโค้งตั้งของทางสัญจรที่มีความลาดชันด้านใดด้านหนึ่งเกิน 1 ต่อ 25 และต้องไม่อยู่บนทางสัญจรที่มีความลาดชันเกิน 1 ต่อ 25 ดังตัวอย่างภาพประกอบที่ 5 ท้ายกฎกระทรวงนี้

 

(9) จุดเริ่มต้นของทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะต้องไม่อยู่ตรงโค้งตั้งของทางสัญจรที่มีความลาดชันด้านใดด้านหนึ่งตั้งแต่ 1 ต่อ 50 ถึง 1 ต่อ 25 จุด และต้องห่างจากจุดเริ่มต้นโค้งตั้งของทางสัญจรดังกล่าวไม่น้อยกว่า 150.00 เมตร ดังตัวอย่างภาพประกอบที่ 6 ท้ายกฎกระทรวงนี้

 

(10) จุดเริ่มต้นของทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะต้องห่างจากจุดเริ่มต้นหรือจุดสิ้นสุดของเชิงลาดสะพานที่มีความลาดชันด้านใดด้านหนึ่งเกิน 1 ต่อ 50 ที่อยู่ในเส้นทางเดียวกันไม่น้อยกว่า 50.00 เมตร ดังตัวอย่างภาพประกอบที่ 7 ท้ายกฎกระทรวงนี้

 

(11) จุดเริ่มต้นหรือจุดสิ้นสุดของเชิงลาดสะพานให้วัดจากจุดเริ่มต้นหรือจุดสิ้นสุดของเชิงลาดของทางส่วนที่เชื่อมกับสะพานที่มีความลาดชันเกิน 1 ต่อ 50 ไม่น้อยกว่า 50.00 เมตร หากมีความลาดชันไม่เกิน 1 ต่อ 50 ให้วัดจากคอสะพาน ดังตัวอย่างภาพประกอบที่ 8 ท้ายกฎกระทรวงนี้

 

 

ข้อ 29 สถานที่เก็บรักษาน้ำมัน ลักษณะที่สาม เพื่อการจำหน่ายที่มีทางเข้าออกซึ่งผ่านการพิจารณาด้านความปลอดภัยและได้รับอนุญาตให้เชื่อมทางตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงแล้ว ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยระยะห่างระหว่างจุดเริ่มต้นทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะที่เชื่อมต่อกับทางสัญจรและลักษณะของทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะตามข้อ 28 (4) (5) (6) (7) (8) (9) (10) และ (11)

ข้อ 30 สถานที่เก็บรักษาน้ำมัน ลักษณะที่สาม เพื่อการใช้เอง ต้องตั้งอยู่ห่างจากเขตพระราชฐานไม่น้อยกว่า 500.00 เมตร ยกเว้นสถานที่เก็บรักษาน้ำมัน ลักษณะที่สาม เพื่อการใช้เอง ที่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากสำนักพระราชวัง

ส่วนที่ 2
การเก็บน้ำมันและระยะปลอดภัยภายใน
-----------------------

ข้อ 30 การตั้งถังเก็บน้ำมันเหนือพื้นดินที่เก็บน้ำมันชนิดไวไฟมาก ชนิดไวไฟปานกลาง หรือชนิดไวไฟน้อยที่มีจุดวาบไฟไม่เกิน 93 องศาเซลเซียส ต้องมีระยะปลอดภัยระหว่างเขตที่ดิน อาคาร และสิ่งอื่น ๆ ดังต่อไปนี้

(1) ระยะปลอดภัยระหว่างผนังถังเก็บน้ำมันกับเขตที่ดิน ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในตารางที่ 3

ตารางที่ 3 ระยะปลอดภัยระหว่างถังเก็บน้ำมันกับเขตที่ดิน

ชนิดของน้ำมัน

ปริมาณน้ำมัน (ลิตร)

ระยะปลอดภัยต่ำสุด (เมตร)

ชนิดไวไฟมาก ชนิดไวไฟปานกลาง หรือชนิดไวไฟน้อยที่มีจุดวาบไฟไม่เกิน 93 องศาเซลเซียส

ไม่เกิน 1,000

เกิน 1,000 - 3,000

เกิน 3,000 - 45,000

เกิน 45,000 - 110,000

เกิน 110,000 - 190,000

เกิน 190,000 - 380,000

เกิน 380,000 - 500,000

1.50

3.00

4.50

6.00

9.00

15.00

25.00

(2) ระยะปลอดภัยระหว่างผนังถังเก็บน้ำมันกับอาคาร ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในตารางที่ 4

ตารางที่ 4 ระยะปลอดภัยระหว่างถังเก็บน้ำมันกับอาคาร

ชนิดของน้ำมัน

ปริมาณน้ำมัน (ลิตร)

ระยะปลอดภัยต่ำสุด (เมตร)

ชนิดไวไฟมาก ชนิดไวไฟปานกลาง หรือชนิดไวไฟน้อยที่มีจุดวาบไฟไม่เกิน 93 องศาเซลเซียส

ไม่เกิน 110,000

เกิน 110,000 - 190,000

เกิน 190,000 - 380,000

เกิน 380,000 - 500,000

1.50

3.00

4.50

7.50

(3) ระยะปลอดภัยระหว่างถังเก็บน้ำมันกับสิ่งอื่น ๆ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในตารางที่ 5

ตารางที่ 5 ระยะปลอดภัยระหว่างถังเก็บน้ำมันกับสิ่งอื่น ๆ

ชนิดของน้ำมัน

ระยะปลอดภัยต่ำสุด (เมตร)

ชนิดไวไฟมาก ชนิดไวไฟปานกลาง
หรือชนิดไวไฟน้อย ที่มีจุดวาบไฟไม่เกิน
93 องศาเซลเซียส

ระยะห่างระหว่างผนังถังแต่ละถังต้องเท่ากับ 1 ส่วน 6 เท่าของผลบวกของเส้นผ่าศูนย์กลางของถังที่ติดกันและต้องไม่น้อยกว่า 1.00

ชนิดไวไฟมาก ชนิดไวไฟปานกลาง
หรือชนิดไวไฟน้อยที่มีจุดวาบไฟไม่เกิน
93 องศาเซลเซียส

ระยะห่างระหว่างผนังถังกับขอบด้านในของเขื่อนหรือกำแพงหรือบ่อเก็บกักน้ำมันต้องไม่น้อยกว่า 1.50

ชนิดไวไฟมาก หรือชนิดไวไฟปานกลาง

ระยะห่างระหว่างผนังถังกับขอบแท่นจ่ายน้ำมันต้องเท่ากับ 1 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางของถังใบใหญ่ และต้องไม่น้อยกว่า 6.00

ชนิดไวไฟมาก ชนิดไวไฟปานกลาง
หรือชนิดไวไฟน้อยที่มีจุดวาบไฟไม่เกิน 93 องศาเซลเซียส

ระยะห่างระหว่างขอบสันเขื่อนด้านนอกกับเขตสถานที่เก็บรักษาน้ำมันต้องไม่น้อยกว่า 3.00

อาคารตาม (2) ไม่รวมถึงอาคารโรงสูบน้ำมัน อาคารสถานีไฟฟ้าย่อย อาคารอุปกรณ์เครื่องวัด โครงสร้างกำบังที่ถังเก็บน้ำมันดังกล่าวติดตั้งอยู่ อาคารหรือสิ่งอื่นใดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา

ข้อ 32 การตั้งถังเก็บน้ำมันเหนือพื้นดินที่เก็บน้ำมันชนิดไวไฟน้อยที่มีจุดวาบไฟเกิน 93 องศาเซลเซียสที่ตั้งถังไว้ในกลุ่มเดียวกับถังเก็บน้ำมันตามข้อ 31 ให้มีระยะปลอดภัยระหว่างถังตามที่กำหนดไว้ในตารางที่ 5

ข้อ 33 การตั้งถังเก็บน้ำมันเหนือพื้นดินที่เก็บน้ำมันชนิดไวไฟน้อยที่มีจุดวาบไฟเกิน 93 องศาเซลเซียส ต้องมีระยะปลอดภัยตามที่กำหนดไว้ในตารางที่ 6

ตารางที่ 6 ระยะปลอดภัยของถังเก็บน้ำมันที่เก็บน้ำมันที่มีจุดวาบไฟเกิน 93 องศาเซลเซียส

 

ชนิดของน้ำมัน

เชื้อเพลิง

 

ปริมาณน้ำมัน

(ลิตร)

ระยะปลอดภัยต่ำสุด (เมตร)

ระยะห่างจากแนวเขตที่ดิน

ระยะห่างจากขอบผนังอาคาร

ระยะห่างระหว่างถัง

ชนิดไวไฟน้อยที่มีจุดวาบไฟเกิน 93 องศาเซลเซียส

เกิน 227 - 7,500

เกิน 7,500 - 113,000

เกิน 113,000 - 189,000

เกิน 189,000 - 378,000

เกิน 378,000 - 500,000

1.50

3.00

3.00

4.50

4.50

1.50

1.50

3.00

3.00

4.50

1.00

1.00

1.00

1.00

1.00

ข้อ 34 บริเวณถังหรือกลุ่มถังเก็บน้ำมันและแท่นจ่ายน้ำมันของสถานที่เก็บรักษาน้ำมัน ลักษณะที่สาม เพื่อการจำหน่าย ต้องทำรั้วล้อมรอบมีขนาดความสูงไม่น้อยกว่า 3.00 เมตร และรั้วดังกล่าวต้องมีประตูทำด้วยวัสดุที่แข็งแรงและไม่ติดไฟ

ข้อ 35 ถังหรือกลุ่มถังเก็บน้ำมันต้องมีเขื่อน กำแพง หรือบ่อเก็บกักน้ำมันที่มีความมั่นคงแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักที่มากระทำได้ล้อมรอบ และมีลักษณะ ดังต่อไปนี้

(1) ถังหรือกลุ่มถังเก็บน้ำมันที่มีจุดวาบไฟไม่เกิน 93 องศาเซลเซียส เขื่อน กำแพง หรือบ่อเก็บกักน้ำมันต้องมีขนาดพอที่จะเก็บน้ำมันได้เท่ากับปริมาณความจุของถังใบที่ใหญ่ที่สุด

(2) ถังหรือกลุ่มถังเก็บน้ำมันที่มีจุดวาบไฟเกิน 93 องศาเซลเซียส เขื่อน กำแพง หรือบ่อเก็บกักน้ำมันต้องมีความสูงหรือความลึกไม่น้อยกว่า 0.50 เมตร แล้วแต่กรณี

ข้อ 36 ห้ามติดตั้งเครื่องสูบน้ำมันที่ใช้สำหรับรับหรือติดตั้งเครื่องสูบน้ำมันที่ใช้สำหรับจ่ายน้ำมัน หรือติดตั้งจุดรับหรือติดตั้งจุดจ่ายน้ำมันไว้ภายในเขื่อน กำแพง หรือบ่อเก็บกักน้ำมัน ยกเว้นการติดตั้งเครื่องสูบน้ำมันตามลักษณะที่กำหนดตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบไฟฟ้าที่ออกตามมาตรา 7

ข้อ 37 อาคารเก็บภาชนะบรรจุน้ำมันต้องมีลักษณะและระยะปลอดภัย ดังต่อไปนี้

(1) มีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอที่จะรับน้ำหนักบรรทุกสูงสุดและน้ำหนักอื่น ๆ ที่อาจจะกระทำต่ออาคารเก็บน้ำมันได้โดยปลอดภัย

(2) ก่อสร้างด้วยวัสดุถาวรและทนไฟ

(3) ผนังอาคารและประตูเข้าออกที่มีอุปกรณ์ให้ประตูปิดเองได้ต้องทนไฟได้ตามที่กำหนดไว้ในตารางที่ 7

ตารางที่ 7 ความทนไฟของอาคารเก็บภาชนะบรรจุน้ำมัน

 

ชนิดของน้ำมัน

ผนังอาคารต้องทนไฟได้ (ชั่วโมง)

ประตูเข้าออกที่มีอุปกรณ์ให้ประตูปิดเองต้องทนไฟได้ (ชั่วโมง)

ชนิดไวไฟน้อย

ไม่น้อยกว่า 2

ไม่น้อยกว่า 1.5

ชนิดไวไฟปานกลาง

ไม่น้อยกว่า 2

ไม่น้อยกว่า 3

(4) มีระยะปลอดภัย ดังต่อไปนี้

     (ก) อาคารที่ไม่มีผนังต้องห่างจากเขตสถานที่เก็บรักษาน้ำมัน อาคารเก็บภาชนะบรรจุน้ำมัน หรืออาคารอื่น ๆ ไม่น้อยกว่า 15.00 เมตร

     (ข) อาคารที่มีผนังต้องห่างจากเขตสถานที่เก็บรักษาน้ำมัน อาคารเก็บภาชนะบรรจุน้ำมัน หรืออาคารอื่น ๆ ไม่น้อยกว่า 3.00 เมตร

ข้อ 38 ในอาคารเก็บภาชนะบรรจุน้ำมันห้ามกระทำการ ดังต่อไปนี้

(1) วาง ตั้ง หรือเรียง ขวดน้ำมัน กระป๋องน้ำมัน ถังน้ำมัน หรือถังเก็บน้ำมันขนาดเล็ก ที่บรรจุน้ำมันชนิดไวไฟมาก

(2) ติดตั้งถังเก็บน้ำมันขนาดเล็ก

(3) ตั้งหรือติดตั้งถังเก็บน้ำมันขนาดใหญ่

ข้อ 39 ห้ามตั้งขวดน้ำมัน กระป๋องน้ำมัน ถังน้ำมัน หรือถังเก็บน้ำมันขนาดเล็กไว้ในอาคารอื่นที่มิใช่อาครเก็บภาชนะบรรจุน้ำมัน

ข้อ 40 ในอาคารติดตั้งถังเก็บน้ำมันโดยเฉพาะห้ามกระทำการ ดังต่อไปนี้

(1) วาง ตั้ง หรือเรียงขวดน้ำมัน กระป๋องน้ำมัน ถังน้ำมัน หรือถังเก็บน้ำมันขนาดเล็ก

(2) ติดตั้งถังเก็บน้ำมันที่บรรจุน้ำมันชนิดไวไฟมากและไวไฟปานกลาง ยกเว้นน้ำมันดีเซล

(3) ติดตั้งภาชนะบรรจุน้ำมันเพื่อการจำหน่าย

ข้อ 41 ห้ามติดตั้งถังเก็บน้ำมันไว้ในอาคารอื่นที่มีใช่อาคารติดตั้งถังเก็บน้ำมันโดยเฉพาะ ยกเว้นการติดตั้งไว้ในโครงสร้างกำบัง อาคารหรือสิ่งอื่นใดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา

ข้อ 42 การเก็บขวดน้ำมัน กระป๋องน้ำมัน ถังน้ำมัน หรือถังเก็บน้ำมันขนาดเล็กที่บรรจุน้ำมันชนิดไวไฟปานกลางหรือชนิดไวไฟน้อยไว้ในอาคารเก็บภาชนะบรรจุน้ำมัน ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

(1) ห้ามเก็บไว้สูงกว่าชั้นที่สองของอาคารเก็บภาชนะบรรจุน้ำมัน

(2) บริเวณที่ตั้งขวดน้ำมัน กระป๋องน้ำมัน หรือถังน้ำมันต้องมีขอบกั้นสูงไม่น้อยกว่า 0.10 เมตร เพื่อป้องกันมิให้น้ำมันรั่วไหลและต้องจัดให้มีการระบายน้ำออกอย่างเพียงพอ

(3) การตั้งขวดน้ำมัน กระป๋องน้ำมัน หรือถังน้ำมันต้องมีระยะปลอดภัยในแต่ละกลุ่มตามที่กำหนดไว้ในตารางที่ 8

ตารางที่ 8 ระยะปลอดภัยในการตั้งขวดน้ำมัน กระป๋องน้ำมัน หรือถังน้ำมันแต่ละกลุ่ม

 

ชนิดของน้ำมัน

 

ปริมาณน้ำมันแต่ละกลุ่ม (ลิตร)

ระยะปลอดภัยวัดจากผิวภาชนะ (เมตร)

ระยะห่างระหว่างกลุ่ม

ระยะห่างระหว่างกลุ่มกับผนังของอาคารเก็บน้ำมัน

ระยะห่างจากคานหรือเพดาน

ความสูงของการตั้งภาชนะบรรจุน้ำมัน

ชนิดไวไฟน้อย

ไม่เกิน
57,000

ไม่น้อยกว่า
1.20

ไม่น้อยกว่า
2.40

ไม่น้อยกว่า
0.90

ไม่เกิน
6.00

ชนิดไวไฟปานกลาง

ไม่เกิน
38,000

ไม่น้อยกว่า
1.20

ไม่น้อยกว่า
2.40

ไม่น้อยกว่า
0.90

ไม่เกิน
3.00

(4) การตั้งขวดน้ำมัน กระป๋องน้ำมัน หรือถังน้ำมันหลายกลุ่มรวมกันต้องมีระยะปลอดภัยตามที่กำหนดไว้ในตารางที่ 9

ตารางที่ 9 ระยะปลอดภัยในการตั้งขวดน้ำมัน กระป๋องน้ำมัน หรือถังน้ำมันหลายกลุ่มรวมกัน

 

ชนิดของน้ำมัน

 

ปริมาณน้ำมันรวม
(ลิตร)

ระยะปลอดภัยวัดจากผิวภาชนะ (เมตร)

ระยะห่างจากเขตสถานที่เก็บรักษาน้ำมัน

ระยะห่างระหว่างอาคารเก็บน้ำมัน หรืออาคารอื่น ๆ

ระยะห่างระหว่างการรวมกลุ่ม

ชนิดไวไฟน้อย

ไม่เกิน
200,000

ไม่น้อยกว่า
3.00

ไม่น้อยกว่า
3.00

ไม่น้อยกว่า
3.00

ชนิดไวไฟปานกลาง

ไม่เกิน
100,000

ไม่น้อยกว่า
7.50

ไม่น้อยกว่า
7.50

ไม่น้อยกว่า
7.50

(5) การตั้งถังเก็บน้ำมันขนาดเล็กต้องมีระยะปลอดภัยในแต่ละกลุ่มตามที่กำหนดไว้ในตารางที่ 10

ตารางที่ 10 ระยะปลอดภัยในการตั้งถังเก็บน้ำมันขนาดเล็กแต่ละกลุ่ม

 

 

ชนิดของน้ำมัน

 

 

ปริมาณน้ำมันแต่ละกลุ่ม
(ลิตร)

ระยะปลอดภัยวัดจากผิวภาชนะ (เมตร)

 

ระยะห่างระหว่างกลุ่ม

ระยะห่างระหว่างกลุ่มกับผนังของอาคารเก็บภาชนะบรรจุน้ำมัน

 

ระยะห่างจากคานหรือเพดาน

ความสูงของการตั้งภาชนะบรรจุน้ำมัน

ชนิดไวไฟน้อย

ไม่เกิน
200,000

ไม่น้อยกว่า
1.20

ไม่น้อยกว่า
2.40

ไม่น้อยกว่า
0.90

ไม่เกิน
4.00

ชนิดไวไฟปานกลาง

ไม่เกิน
150,000

ไม่น้อยกว่า
1.20

ไม่น้อยกว่า
2.40

ไม่น้อยกว่า
0.90

ไม่เกิน
4.00

(6) การตั้งถังเก็บน้ำมันขนาดเล็กหลายกลุ่มรวมกันต้องมีระยะปลอดภัยตามที่กำหนดไว้ในตารางที่ 11

ตารางที่ 11 ระยะปลอดภัยในการตั้งถังเก็บน้ำมันขนาดเล็กหลายกลุ่มรวมกัน

 

 

ชนิดของน้ำมัน

 

 

ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงรวม
(ลิตร)

ระยะปลอดภัยวัดจากผิวภาชนะ (เมตร)

ระยะห่างจากเขตสถานที่เก็บรักษาน้ำมัน

ระยะห่างระหว่างอาคารเก็บน้ำมัน หรืออาคารอื่น ๆ

ระยะห่างระหว่างการรวมกลุ่ม

ชนิดไวไฟน้อย

ไม่เกิน
380,000

ไม่น้อยกว่า
3.00

ไม่น้อยกว่า
3.00

ไม่น้อยกว่า
3.00

ชนิดไวไฟปานกลาง

ไม่เกิน
300,000

ไม่น้อยกว่า
7.50

ไม่น้อยกว่า
7.50

ไม่น้อยกว่า
7.50

ข้อ 43 การจัดเก็บขวดน้ำมัน กระป๋องน้ำมัน ถังน้ำมัน หรือถังเก็บน้ำมันที่บรรจุน้ำมันชนิดไวไฟมาก ชนิดไวไฟปานกลาง หรือชนิดไวไฟน้อยไว้นอกอาคาร ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

(1) บริเวณที่ตั้งขวดน้ำมัน กระป๋องน้ำมัน ถังน้ำมัน หรือถังเก็บน้ำมัน ต้องจัดให้มีขอบกั้นสูงไม่น้อยกว่า 0.10 เมตร เพื่อป้องกันมิให้น้ำมันรั่วไหลและต้องจัดให้มีการระบายน้ำออกอย่างเพียงพอ

(2) การตั้งขวดน้ำมัน กระป๋องน้ำมัน ถังน้ำมัน หรือถังเก็บน้ำมันต้องมีระยะปลอดภัยในแต่ละกลุ่ม ตามที่กำหนดไว้ในตารางที่ 12

ตารางที่ 12 ระยะปลอดภัยในการตั้งกระป๋องน้ำมัน ถังน้ำมัน หรือถังเก็บน้ำมัน

 

 

ชนิดของน้ำมัน

 

 

ภาชนะบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิง

 

ปริมาณน้ำมันแต่ละกลุ่ม
(ลิตร)

ระยะปลอดภัยวัดจากผิวภาชนะ (เมตร)

ระยะห่างจากเขตสถานที่เก็บรักษาน้ำมัน อาคารเก็บน้ำมัน หรืออาคารอื่น ๆ

ระยะห่างระหว่างกลุ่ม

ความยาวกลุ่ม

ระยะห่างจากคานหรือเพดาน

ความสูงของการตั้งภาชนะบรรจุน้ำมัน

 

ชนิดไวไฟน้อย

ขวดน้ำมัน
กระป๋องน้ำมันหรือ
ถังน้ำมัน

ไม่เกิน
83,000

ไม่น้อยกว่า
3.00

ไม่น้อยกว่า
1.50

ไม่เกิน
60.00

ไม่น้อยกว่า
0.90

ไม่เกิน
5.00

ถังเก็บน้ำมันขนาดเล็ก

ไม่เกิน
170,000

ไม่น้อยกว่า
3.00

ไม่น้อยกว่า
1.50

ไม่เกิน
60.00

ไม่น้อยกว่า
0.90

ไม่เกิน
4.00

 

ชนิดไวไฟปานกลาง

ขวดน้ำมัน
กระป๋องน้ำมันหรือ
ถังน้ำมัน

ไม่เกิน
33,000

ไม่น้อยกว่า
7.50

ไม่น้อยกว่า
1.50

ไม่เกิน
60.00

ไม่น้อยกว่า
0.90

ไม่เกิน
4.00

ถังเก็บน้ำมันขนาดเล็ก

ไม่เกิน
66,000

ไม่น้อยกว่า
7.50

ไม่น้อยกว่า
1.50

ไม่เกิน
60.00

ไม่น้อยกว่า
0.90

ไม่เกิน
3.00

 

ชนิดไวไฟมาก

ถังน้ำมัน

ไม่เกิน
4,000

ไม่น้อยกว่า
20.00

ไม่น้อยกว่า
1.50

ไม่เกิน
60.00

ไม่น้อยกว่า
0.90

ไม่เกิน
3.00

ถังเก็บน้ำมันขนาดเล็ก

ไม่เกิน
15,000

ไม่น้อยกว่า
20.00

ไม่น้อยกว่า
1.50

ไม่เกิน
60.00

ไม่น้อยกว่า
0.90

ไม่เกิน
4.00

ข้อ 44 การเก็บน้ำมันหลายชนิดไว้ในกลุ่มเดียวกัน ปริมาณการจัดเก็บและระยะปลอดภัย ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของน้ำมันชนิดที่ไวไฟสูงกว่า

ข้อ 45 การติดตั้งถังเก็บน้ำมัน เพื่อการใช้เองชนิดไวไฟปานกลางเฉพาะน้ำมันดีเซลและชนิดไวไฟน้อย ในอาคารติดตั้งถังเก็บน้ำมันโดยเฉพาะ ให้เก็บได้ไม่เกินปริมาณความจุถังละ 380,000 ลิตร และมีระยะปลอดภัยตามที่กำหนดไว้ในตารางที่ 13

ตารางที่ 13 ระยะปลอดภัยของอาคารติดตั้งถังเก็บน้ำมันโดยเฉพาะ
และระยะความปลอดภัยของถังเก็บน้ำมัน

 

 

ชนิดของน้ำมัน

 

ปริมาณถังเก็บน้ำมัน
(ลิตร)

ระยะปลอดภัยต่ำสุด (เมตร)

ระยะห่างจากอาคารติดตั้งถังเก็บน้ำมันโดยเฉพาะถึงแนวเขตที่ดิน

ระยะห่างจากอาคารติดตั้งถังเก็บน้ำมันโดยเฉพาะถึงขอบผนังอาคารอื่น

ระยะห่างระหว่างผิวถังเก็บน้ำมันดานบนกับหลังคาหรือโครงสร้างอาคาร

ระยะโดยรอบถังเก็บน้ำมัน

ระยะห่างระหว่างถังเก็บน้ำมัน

 

ชนิดไวไฟปานกลางเฉพาะน้ำมันดีเซลและชนิดไวไฟน้อย

ไม่เกิน 45,000

4.5

1.5

0.9

0.9

ระยะห่างระหว่างผนังถังแต่ละถังต้องเท่ากับ 1 ส่วน 6 เท่าของผลบวกของเส้นผ่านศูนย์กลางของถังที่ติดกันและต้องไม่น้อยกว่า 1.00

เกิน 45,000 – 110,000

6

1.5

0.9

0.9

เกิน 110,000 -190,000

9

3

0.9

0.9

เกิน 190,000 -380,000

15

4.5

0.9

0.9

ข้อ 46 อาคารติดตั้งถังเก็บน้ำมันโดยเฉพาะต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้

(1) มีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอที่จะรับน้ำหนักบรรทุกสูงสุดและน้ำหนักอื่น ๆ ที่อาจกระทำต่ออาคารติดตั้งถังเก็บน้ำมันโดยเฉพาะได้โดยปลอดภัย

(2) ก่อสร้างด้วยวัสดุถาวรและทนไฟ

(3) ผนังอาคารและประตูเข้าออกที่มีอุปกรณ์ให้ประตูปิดเองได้ต้องทนไฟได้ตามที่กำหนดไว้ในตารางที่ 14

ตารางที่ 14 ความทนไฟของอาคารติดตั้งถังเก็บน้ำมันโดยเฉพาะ

 

ชนิดของน้ำมัน

ผนังอาคารต้องทนไฟได้ (ชั่วโมง)

ประตูเข้าออกที่มีอุปกรณ์ให้ประตูปิดเองต้องทนไฟได้ (ชั่วโมง)

ชนิดไวไฟน้อย

ไม่น้อยกว่า 2

ไม่น้อยกว่า 2

ชนิดไวไฟปานกลางเฉพาะน้ำมันดีเซล

ไม่น้อยกว่า 2

ไม่น้อยกว่า 2

(4) มีทางเข้าและทางออกของอาคารที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า 0.9 เมตร

ข้อ 47 ปลายท่อรับน้ำมันและปลายท่อระบายไอน้ำมัน ต้องอยู่ภายนอกอาคารติดตั้งถังเก็บน้ำมันโดยเฉพาะ

ส่วนที่ 3
ลักษณะของแผนผังและแบบก่อสร้าง
-----------------------

ข้อ 48 สถานที่เก็บรักษาน้ำมัน ลักษณะที่สาม ต้องมีแผนผังโดยสังเขปแสดงตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่เก็บรักษาน้ำมันพร้อมสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่อยู่รอบเขตสถานที่เก็บรักษาน้ำมันในระยะ ดังต่อไปนี้

(1) ระยะไม่น้อยกว่า 200.00 เมตร สำหรับสถานที่เก็บรักษาน้ำมันที่มีแท่นจ่ายน้ำมัน

(2) ระยะไม่น้อยกว่า 50.00 เมตร สำหรับสถานที่เก็บรักษาน้ำมันที่ไม่มีแท่นจ่ายน้ำมัน

ในกรณีที่แผนผังตามวรรคหนึ่ง ไม่สามารถแสดงถึงที่ตั้งของสถานที่เก็บรักษาน้ำมันได้ ให้จัดทำแผนผังในระยะที่ทำให้สามารถบ่งชี้ถึงที่ตั้งของสถานที่เก็บรักษาน้ำมันได้

ข้อ 49 สถานที่เก็บรักษาน้ำมัน ลักษณะที่สาม ต้องมีแผนผังบริเวณแสดงแนวเขตที่ดิน แนวเขตรั้วของสถานที่เก็บรักษาน้ำมัน แท่นจ่ายน้ำมัน ภาชนะบรรจุน้ำมัน เครื่องสูบน้ำมัน เครื่องสูบน้ำดับเพลิง แหล่งน้ำดับเพลิง ตำแหน่งระบบบำบัดหรือแยกน้ำปนเปื้อนน้ำมัน เขื่อน กำแพง หรือบ่อเก็บกักน้ำมัน ท่อหรือรางระบายน้ำหลักและสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ รวมถึงทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะ

การแสดงรายละเอียดตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องแสดงระยะปลอดภัยต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงนี้

ข้อ 50 แผนผังของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ในเขตสถานที่เก็บรักษาน้ำมันให้แสดงแต่ละแผนผัง ดังต่อไปนี้

(1) แผนผังระบบท่อน้ำมันและอุปกรณ์

(2) แผนผังบริเวณระบบท่อดับเพลิงและอุปกรณ์ แสดงตำแหน่งเครื่องสูบน้ำดับเพลิง แหล่งน้ำดับเพลิง ที่เก็บสารเคมีสำหรับดับเพลิง เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการดับเพลิง

ข้อ 51 ภาชนะบรรจุน้ำมันที่มีลักษณะเป็นถังเก็บน้ำมันขนาดใหญ่ ให้แสดงขนาด ความสูง ปริมาณความจุของถัง ชนิดของหลังคาถัง ชนิดของน้ำมัน ผลิตภัณฑ์ที่เก็บไว้ในถัง และอุปกรณ์ความปลอดภัยต่าง ๆ ที่ติดตั้งอยู่กับถัง สำหรับถังเก็บน้ำมันขนาดใหญ่ตามแนวตั้งให้จัดทำข้อมูลดังกล่าวในรูปแบบตาราง

ข้อ 52 แบบก่อสร้างถังเก็บน้ำมันขนาดใหญ่ ต้องแสดงรายละเอียดตามที่กำหนดไว้ในข้อ 19

ข้อ 53 แบบระบบท่อน้ำมันและอุปกรณ์ ต้องแสดงรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้

(1) จุดรับ จุดจ่าย ขนาดท่อ ลิ้นปิดเปิด และอุปกรณ์หลัก

(2) เครื่องสูบน้ำมันพร้อมระบุแรงดันและอัตราสูบของเครื่อง

(3) ฐานรองรับระบบท่อน้ำมันและอุปกรณ์

ข้อ 54 แบบระบบท่อดับเพลิงและอุปกรณ์ ต้องแสดงรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้

(1) ขนาดท่อ ลิ้นปิดเปิด และอุปกรณ์หลัก

(2) เครื่องสูบน้ำพร้อมระบุแรงดันและอัตราสูบของเครื่อง

(3) ฐานรองรับระบบท่อดับเพลิงและอุปกรณ์

ข้อ 55 แบบก่อสร้างอาคารแท่นจ่ายน้ำมัน อาคารเก็บภาชนะบรรจุน้ำมัน และอาคารติดตั้งถังเก็บน้ำมันโดยเฉพาะ ต้องแสดงรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้

(1) แปลนพื้น แปลนฐานราก แปลนหลังคา และแปลนโครงสร้าง

(2) รูปด้านอย่างน้อยสองด้าน

(3) รูปตัดตามขวางและรูปตัดตามยาว

(4) รายละเอียดของโครงสร้าง

(5) รายละเอียดของระบบท่อน้ำมันและอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่กับแท่นจ่ายน้ำมัน หรืออาคารติดตั้งถังเก็บน้ำมันโดยเฉพาะ

ข้อ 56 แบบก่อสร้างระบบบำบัดหรือแยกน้ำปนเปื้อนน้ำมัน ต้องแสดงรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้

(1) แปลนพื้นและแปลนฐานราก

(2) รูปตัดตามขวางและรูปตัดตามยาว

(3) รายละเอียดของโครงสร้าง

(4) รายละเอียดแสดงส่วนต่าง ๆ ของระบบบำบัดหรือแยกน้ำปนเปื้อนน้ำมัน

ข้อ 57 แบบก่อสร้างเขื่อน กำแพง หรือบ่อเก็บกักน้ำมัน ต้องแสดงรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้

(1) แปลนพื้นและแปลนฐานราก

(2) รูปตัดตามขวางและรูปตัดตามยาว

(3) รายละเอียดของโครงสร้าง

ข้อ 58 แบบก่อสร้างรั้วและประตู ต้องแสดงรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้

(1) แปลนฐานราก รูปด้าน และรูปตัด

(2) รายละเอียดส่วนต่าง ๆ ของรั้วและประตู

(3) รายละเอียดของโครงสร้าง

ข้อ 59 ในกรณีที่มีสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรับหรือจ่ายน้ำมัน ให้แสดงแบบรายละเอียดสิ่งก่อสร้างนั้นด้วย

ข้อ 60 แผนผังบริเวณหรือแบบก่อสร้าง ให้ใช้มาตราส่วน ดังต่อไปนี้

(1) แผนผังบริเวณตามข้อ 49 และข้อ 50 ให้ใช้มาตราส่วนไม่เล็กกว่า 1 ใน 500

(2) แบบก่อสร้างตามข้อ 52 ข้อ 55 (1) (2) และ (3) ข้อ 56 (1) และ (2) และข้อ 57 (1) และ (2) ให้ใช้มาตราส่วนไม่เล็กกว่า 1 ใน 100

ข้อ 61 การก่อสร้างสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ภายในสถานที่เก็บรักษาน้ำมันลักษณะที่สาม ให้มีระยะความคลาดเคลื่อนไปจากแผนผังบริเวณที่ได้รับอนุญาตได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบ ทั้งนี้ ต้องไม่น้อยกว่าระยะปลอดภัยตามที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้ และสัดส่วนของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ให้มีระยะความคลาดเคลื่อนจากแบบก่อสร้างที่ได้รับอนุญาตได้ไม่เกินร้อยละห้า

ข้อ 62 สถานที่เก็บรักษาน้ำมัน ลักษณะที่สาม ต้องแสดงรายการคำนวณความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัยของระบบควบคุมไอน้ำมัน แท่นจ่ายน้ำมัน อาคารเก็บภาชนะบรรจุน้ำมัน อาคารติดตั้งถังเก็บน้ำมันโดยเฉพาะ เขื่อน กำแพง หรือบ่อเก็บกักน้ำมัน ระบบท่อน้ำมัน ระบบท่อดับเพลิง ระบบบำบัดหรือแยกน้ำปนเปื้อนน้ำมัน ระบบอุปกรณ์นิรภัย ระบบไฟฟ้า ระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า หรือสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ภายในเขตสถานที่เก็บรักษาน้ำมัน

ส่วนที่ 4
ถังเก็บน้ำมัน

-----------------------

ข้อ 63 ถังเก็บน้ำมัน ต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้

(1) ตัวถังต้องทำด้วยเหล็กที่มีความเค้นคราก (yield stress) ไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าของความเค้นที่เกิดขึ้น (allowable stress) เนื่องจากความดันใช้งานสูงสุดของน้ำมันในถัง หรือทำด้วยวัสดุอื่นที่มีมาตรฐานเทียบเท่าตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

(2) เหล็กและเหล็กโครงสร้างที่นำมาใช้สร้างถังต้องได้รับการรับรองว่าได้มาตรฐานสากล

(3) แผ่นเหล็กผนังถังต้องมีค่าความเค้นที่เกิดขึ้น (allowable stress) ไม่น้อยกว่า 145 นิวตันต่อตารางมิลลิเมตร ความเค้นคราก (yield stress) ไม่น้อยกว่า 206 นิวตันต่อตารางมิลลิเมตร และมีค่าความยืด (elongation) ไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบสอง

(4) ค่าความถ่วงจำเพาะของน้ำมันที่ใช้ในการออกแบบ ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่ง แต่ถ้าค่าความถ่วงจำเพาะมากกว่าหนึ่ง จะต้องใช้ค่าความถ่วงจำเพาะที่แท้จริงในการคำนวณออกแบบ

(5) ต้องติดตั้งอุปกรณ์วัดความดันหรือสุญญากาศในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นได้ง่าย

ข้อ 64 ถังเก็บน้ำมันขนาดใหญ่ต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้

(1) ฐานรองรับถังต้องมีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอที่จะรับน้ำหนักของตัวถังและน้ำหนักบรรทุกในอัตราสูงสุด รวมทั้งน้ำหนักอื่น ๆ ที่กระทำต่อตัวถังนั้นได้โดยปลอดภัย

(2) ถังที่มีปริมาณความจุตั้งแต่ 100,000 ลิตรขึ้นไป ต้องแสดงผลสำรวจคุณสมบัติของดินในบริเวณที่ก่อสร้างถังไม่น้อยกว่าหนึ่งจุดเพื่อประกอบการคำนวณความมั่นคงแข็งแรงของฐานรากรองรับถัง

(3) ต้องแสดงข้อมูลทางวิศวกรรมให้สามารถตรวจสอบได้ว่าจะไม่เกิดความเสียหายต่อถังในกรณีที่มีการรับหรือจ่ายน้ำมันเข้าหรือออกจากถัง หรือมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิภายในถัง

(4) ท่อระบายอากาศของถังต้องออกแบบให้มีความดันไม่เกิน 7.5 มิลลิบาร์ และความดันสุญญากาศไม่เกิน 2.5 มิลลิบาร์

ข้อ 65 ถังเก็บน้ำมันเหนือพื้นดินขนาดใหญ่ต้องระบุประเภทหรือชนิดของผลิตภัณฑ์ของน้ำมันและปริมาณความจุของน้ำมันที่ได้รับอนุญาต มีขนาดที่เห็นได้ชัดเจนและอ่านได้ง่ายในระยะ 25.00 เมตร ไว้ด้านข้างของผนังถังด้านนอกอย่างน้อยหนึ่งด้าน

ข้อ 66 ถังเก็บน้ำมันเหนือพื้นดินขนาดใหญ่ตามแนวตั้ง ต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้

(1) ผนังถังต้องทำด้วยเหล็กที่มีความหนาตามค่าที่ได้จากการคำนวณออกแบบให้รับน้ำหนักบรรทุกสูงสุดบวกด้วยค่าการกัดกร่อน และต้องไม่น้อยกว่าความหนาต่ำสุด ตามที่กำหนดไว้ในตารางที่ 15

ตารางที่ 15 ความหนาต่ำสุดของเหล็กผนังถังเก็บน้ำมันเหนือพื้นดินขนาดใหญ่ตามแนวตั้ง

ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของถัง (เมตร)

ความหนาต่ำสุด

น้อยกว่า 15.00
15.00 - 36.00

5.00 มิลลิเมตร (3 ส่วน 16 นิ้ว)
6.00 มิลลิเมตร (1 ส่วน 4 นิ้ว)

(2) การเชื่อมแผ่นเหล็กผนังถังต้องเชื่อมให้มีความมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัย การเชื่อมต่อท่อต่าง ๆ เข้ากับผนังถัง หากเป็นท่อที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเกิน 2 นิ้ว ผนังของถังจะต้องมีการเสริมความแข็งแรงที่หน้าตัดของเหล็กเสริมแรงนั้น ซึ่งจะต้องมีความหนาไม่น้อยกว่าความหนาของผนังถังและต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 2 เท่าของพื้นที่ช่องท่อ

(3) แผ่นเหล็กพื้นถังต้องมีความหนาไม่น้อยกว่า 6.00 มิลลิเมตร สำหรับถังที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเกิน 12.50 เมตร จะต้องมีแผ่นเหล็กวงแหวนที่มีความหนาไม่น้อยกว่า 6.00 มิลลิเมตรรองใต้แผ่นเหล็กพื้นถัง

(4) การเชื่อมแผ่นเหล็กหลังคาของถังชนิดหลังคาติดตาย (fixed roof) หรือชนิดหลังคาลอยภายใน (internal floating roof) ให้มีการเชื่อมต่อกันแบบเกยทับและมีรอยเชื่อมด้านบนเพียงด้านเดียวแผ่นหลังคาส่วนที่เชื่อมต่อกับผนังถังให้มีรอยเชื่อมด้านบนเพียงด้านเดียว

(5) ถังที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 25.00 เมตร ต้องมีช่องคนลอด (Manhole) อย่างน้อยสองช่องที่บริเวณผนังถังและหลังคาถัง ถังที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเกิน 25.00 เมตร ต้องมีช่องคนลอด (Manhole) อย่างน้อยสามช่องที่บริเวณผนังถังสองช่อง และบริเวณหลังคาถังหนึ่งช่อง โดยตำแหน่งของช่องคนลอด (Manhole) ต้องวางในตำแหน่งตรงกันข้าม ขนาดของช่องคนลอด (Manhole) ต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 0.40 เมตร

(6) ต้องติดตั้งอุปกรณ์เตือนภัยเพื่อป้องกันน้ำมันล้นถัง

ข้อ 67 การประกอบและการติดตั้งถังเก็บน้ำมันเหนือพื้นดินขนาดใหญ่ตามแนวตั้ง ต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

(1) การเชื่อมแผ่นเหล็กพื้นถัง

(ก) การเชื่อมผนังถังชั้นล่างที่ติดกับแผ่นวงแหวนรองและแผ่นเหล็กพื้นถัง จะต้องเชื่อมเต็มแบบต่อเนื่องทั้งในและนอกของผนังถัง

(ข) การเชื่อมแผ่นเหล็กพื้นถังต้องเกยกันอย่างน้อย 5 เท่าของความหนาของแผ่นเหล็กพื้นถัง โดยการเกยกันของแผ่นเหล็กพื้นถังกับแผ่นวงแหวนรองต้องเกยกันอย่างน้อย 65.00 มิลลิเมตร

(2) แนวเชื่อมในแนวตั้งของแผ่นเหล็กผนังถัง จะต้องห่างกันอย่างน้อย 0.30 เมตร หรือ 1 ใน 3 ของความยาวแผ่นเหล็ก และแนวเชื่อมจะต้องไม่อยู่ในแนวเดียวกันภายในสามแผ่นที่ตั้งซ้อนกัน

(3) ผิวภายนอกของถังต้องทารองพื้นกันสนิม แล้วทาทับด้วยสีทาภายนอก

(4) การต่อแผ่นเหล็กหลังคาให้วางแผ่นเหล็กที่ตำแหน่งสูงกว่าอยู่บนแผ่นเหล็กที่ตำแหน่งต่ำกว่า

ข้อ 68 การติดตั้งกลอุปกรณ์นิรภัยของถังเก็บน้ำมันเหนือพื้นดินขนาดใหญ่ตามแนวตั้ง ต้องออกแบบโดยคำนึงถึงการระบายความดันของถังในกรณี ดังต่อไปนี้

(1) การรับน้ำมันเข้าสู่ถัง

(2) การจ่ายน้ำมันออกจากถัง

(3) การที่อุณหภูมิภายนอกถังลดต่ำลง

(4) การขยายตัวของถังที่เกิดจากอุณหภูมิภายนอกถังสูงขึ้น

ข้อ 69 ในการก่อสร้างถังเก็บน้ำ มันเชื้อเพลิงเหนือพื้นดินขนาดใหญ่ตามแนวตั้งที่มีปริมาณความจุเกิน 100,000 ลิตรขึ้นไป ผู้ประกอบกิจการควบคุมต้องแจ้งแผนการก่อสร้างฐานรากรองรับถังต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานมอบหมายเพื่อตรวจสอบก่อนการก่อสร้าง

ข้อ 70 ถังเก็บน้ำมันขนาดใหญ่ตามแนวตั้งที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และเมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วก่อนการใช้งาน ต้องทำการทดสอบและตรวจสอบตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา โดยต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนการทดสอบและตรวจสอบ

รายงานผลการทดสอบและตรวจสอบถังตามวรรคหนึ่ง ต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานมอบหมายด้วย

ข้อ 71 ถังเก็บน้ำมันเหนือพื้นดินขนาดใหญ่ตามแนวตั้ง เมื่อใช้งานครบหนึ่งปีและสิบปีต้องทำการทดสอบและตรวจสอบตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยการซ่อมบำรุงถังน้ำมันและถังขนส่งน้ำมันที่ออกตามมาตรา 7

ข้อ 72 ถังเก็บน้ำมันเหนือพื้นดินขนาดใหญ่ตามแนวนอน ต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้

(1) ผนังถังต้องมีความหนาตามค่าที่ได้จากการคำนวณออกแบบให้รับน้ำหนักบรรทุกสูงสุดบวกด้วยค่าการสึกกร่อน

(2) แผ่นเหล็กผนังถังต้องมีวิธีการเชื่อมให้มีความมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัย การเชื่อมต่อท่อต่าง ๆ เข้ากับผนังถัง หากเป็นท่อที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเกิน 2 นิ้ว ผนังของถังจะต้องมีการเสริมความแข็งแรงที่หน้าตัดของเหล็กเสริมแรงนั้น ซึ่งจะต้องมีความหนาไม่น้อยกว่าความหนาของผนังถังและต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 2 เท่าของพื้นที่ช่องท่อ

(3) สำหรับถังที่มีปริมาณความจุเกิน 19,000 ลิตร ต้องมีช่องคนลอด (Manhole) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 0.60 เมตร อย่างน้อยหนึ่งช่อง

ข้อ 73 ถังเก็บน้ำมันใต้พื้นดิน ต้องมีลักษณะและวิธีการติดตั้ง ดังต่อไปนี้

(1) ตัวถังต้องทำด้วยเหล็กที่มีความเค้นคราก (yield stress) ไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าของความเค้นที่เกิดขึ้น (allowable stress) เนื่องจากการรับแรงและน้ำหนักบรรทุกต่าง ๆ หรือทำด้วยวัสดุอื่นที่มีมาตรฐานเทียบเท่าตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

(2) ตัวถังต้องติดตั้งและยึดแน่นกับฐานรากในลักษณะที่ไม่อาจเคลื่อนที่หรือลอยตัว เนื่องจากแรงดันของน้ำใต้ดิน และห้ามมีสิ่งก่อสร้างใด ๆ อยู่เหนือบริเวณดังกล่าว

(3) ส่วนบนของผนังถังต้องอยู่ต่ำกว่าระดับพื้นดินไม่น้อยกว่า 0.50 เมตร

(4) ต้องมีระยะห่างระหว่างผนังถังแต่ละถังไม่น้อยกว่า 0.60 เมตร

(5) ตัวถังต้องตั้งอยู่ในเขตสถานที่เก็บรักษาน้ำมันและผนังถังต้องห่างจากเขตสถานที่เก็บรักษาน้ำมัน ไม่น้อยกว่า 3.00 เมตร

(6) ต้องติดตั้งท่อระบายไอน้ำมันไว้ทุกถัง สำหรับถังที่แบ่งเป็นห้อง (compartments) ต้องติดตั้งท่อระบายไอน้ำมันไว้ทุกห้องแยกจากกัน โดยท่อระบายไอน้ำมันต้องมีลักษณะและวิธีการติดตั้ง ดังต่อไปนี้

(ก) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 40.00 มิลลิเมตร

(ข) ปลายท่อระบายไอน้ำมันต้องอยู่สูงจากระดับพื้นดินไม่น้อยกว่า 4.00 เมตร และอยู่ห่างจากเขตสถานที่เก็บรักษาน้ำมันไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร

(7) ปลายท่อรับน้ำมันต้องอยู่ห่างจากเขตสถานที่เก็บรักษาน้ำมันไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร

ข้อ 74 ถังเก็บน้ำมันใต้พื้นดินและถังเก็บน้ำมันเหนือพื้นดินขนาดใหญ่ตามแนวนอน เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้ว ต้องทำการทดสอบและตรวจสอบตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา

ข้อ 75 ถังเก็บน้ำมันใต้พื้นดินและถังเก็บน้ำมันเหนือพื้นดินขนาดใหญ่ตามแนวนอน เมื่อใช้งานครบหนึ่งปีและสิบปี ต้องทำการทดสอบและตรวจสอบตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยการซ่อมบำรุงถังเก็บน้ำมันและถังขนส่งน้ำมันที่ออกตามมาตรา 7

ข้อ 76 ถังเก็บน้ำมันเหนือพื้นดินขนาดใหญ่ตามแนวตั้งชนิดหลังคาลอย ต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้

(1) มีการระบายน้ำฝนจากแผ่นหลังคาลอยให้เพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อหลังคาถัง

(2) วัสดุกันรั่วที่ขอบถังจะต้องไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำมัน

(3) มีอุปกรณ์ระบายไอน้ำมัน เพื่อป้องกันมิให้มีความดันและสุญญากาศเกินความสามารถของการระบายไอน้ำมันขณะสูบน้ำมันเข้าออก

(4) ระบบการต่อไฟฟ้าลงดิน (earthing) ต้องมีการเชื่อมต่อสายดินระหว่างหลังคาลอยกับตัวถังเพื่อถ่ายเทประจุไฟฟ้าลงดิน

(5) ต้องเสริมความมั่นคงแข็งแรงโดยรอบของผนังถังระดับไม่เกิน 1.00 เมตร จากส่วนสูงสุดของผนังถัง

(6) ขาหยั่งของหลังคาลอยต้องสามารถปรับขึ้นลงได้ในตำแหน่งต่ำสุดขณะสูบน้ำมันเข้าออก และในตำแหน่งสูงสุดระหว่างการซ่อมบำรุง

(7) แผ่นเหล็กหลังคาจะต้องวางซ้อนกันโดยแผ่นบนจะอยู่ใต้แผ่นล่าง เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ความชื้นสะสมอยู่ในแนวที่ซ้อนกันใต้หลังคา

(8) มีช่องคนลอด (Manhole) ของถังขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 30 นิ้ว ในกรณีมีช่องคนลอด (Manhole) ที่ผนังถัง ช่องคนลอด (Manhole) ต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 24 นิ้ว

ข้อ 77 ในกรณีพื้นที่ใดอยู่ในเขตที่อาจได้รับแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร การออกแบบสิ่งก่อสร้างถังเก็บน้ำมันขนาดใหญ่ที่มีปริมาณความจุเกิน 100,000 ลิตร ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารด้วย

ข้อ 78 ผู้ประกอบกิจการควบคุมต้องยื่นรายละเอียดของอุปกรณ์ (specification) เกี่ยวกับลิ้นปิดเปิด และอุปกรณ์นิรภัยต่าง ๆ ที่ติดตั้งไว้กับถังเก็บน้ำมันขนาดใหญ่ ให้อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานมอบหมายให้ความเห็นชอบก่อนการติดตั้ง

การตรวจสอบภายหลังการติดตั้งตามวรรคหนึ่ง ต้องทำการทดสอบและตรวจสอบก่อนใช้งานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา

ข้อ 79 การทดสอบและตรวจสอบถังเก็บน้ำมันและอุปกรณ์ส่วนควบ ต้องดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในข้อ 25

ส่วนที่ 5
ระบบท่อน้ำมันและอุปกรณ์
-----------------------

ข้อ 80 ระบบท่อน้ำมันและอุปกรณ์ ต้องมีลักษณะและวิธีการติดตั้งตามที่กำหนดไว้ในข้อ 23

ข้อ 81 แท่นจ่ายน้ำมัน หรือจุดรับหรือจ่ายน้ำมัน ต้องติดตั้งระบบป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าสถิตย์ โดยต้องมีหลักสายดินเชื่อมโยงกันเป็นระบบ และต้องเชื่อมต่อสายดินระหว่างถังเก็บน้ำมันกับรถขนส่งน้ำมันขณะที่มีการรับหรือจ่ายน้ำมัน ทั้งนี้ ตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบไฟฟ้าที่ออกตามมาตรา 7

ข้อ 82 ผู้ประกอบกิจการควบคุมต้องยื่นรายละเอียดของอุปกรณ์ (specification) เกี่ยวกับการติดตั้งท่อน้ำมัน ลิ้นปิดเปิด กลอุปกรณ์นิรภัย ท่ออ่อน และเครื่องสูบน้ำมันที่ติดตั้งกับระบบท่อน้ำมัน ให้อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานมอบหมายพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนการติดตั้ง

การตรวจสอบภายหลังการติดตั้งตามวรรคหนึ่ง ต้องทำการทดสอบและตรวจสอบก่อนใช้งานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา

ข้อ 83 ระบบท่อน้ำมันและอุปกรณ์ เมื่อใช้งานครบหนึ่งปีและสิบปี ต้องทำการทดสอบและตรวจสอบตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยการซ่อมบำรุงถังเก็บน้ำมันและถังขนส่งน้ำมันที่ออกตามมาตรา 7

ข้อ 84 การทดสอบและตรวจสอบระบบท่อน้ำมันและอุปกรณ์ ต้องดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในข้อ 25

ส่วนที่ 6
การป้องกันและระงับอัคคีภัย
-----------------------

ข้อ 85 สถานที่เก็บรักษาน้ำมัน ลักษณะที่สาม เพื่อการจำหน่าย ต้องติดตั้งระบบท่อน้ำดับเพลิงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 100.00 มิลลิเมตร หรือเท่ากับขนาดของท่อน้ำประปาสำหรับดับเพลิงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีข้อต่อรับน้ำดับเพลิงขนาดเดียวกับข้อต่อของรถดับเพลิงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และต้องมีหัวจ่ายน้ำดับเพลิงไม่น้อยกว่าสองจุด

ข้อ 86 สถานที่เก็บรักษาน้ำมัน ลักษณะที่สาม ต้องมีเครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งหรือน้ำยาดับเพลิงขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า 6.80 กิโลกรัม มีความสามารถในการดับเพลิงไม่น้อยกว่า 3A 40B ตามมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัยของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่าตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ติดตั้งไว้ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

(1) อาคารเก็บภาชนะบรรจุน้ำมันและอาคารติดตั้งถังเก็บน้ำมันโดยเฉพาะ ต้องมีเครื่องดับเพลิงไม่น้อยกว่าสองเครื่องต่อพื้นที่ 200.00 ตารางเมตร

(2) อาคารบรรจุผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปของน้ำมันชนิดไวไฟปานกลาง ต้องมีเครื่องดับเพลิงไม่น้อยกว่าสี่เครื่องต่อพื้นที่ 200.00 ตารางเมตร สำหรับน้ำมันชนิดไวไฟน้อย ต้องมีเครื่องดับเพลิงไม่น้อยกว่าหนึ่งเครื่องต่อพื้นที่ 200.00 ตารางเมตร

(3) บริเวณที่ตั้งเครื่องสูบน้ำมันต้องมีเครื่องดับเพลิงไม่น้อยกว่าหนึ่งเครื่องต่อจำนวนเครื่องสูบน้ำมันสองเครื่อง กรณีมีเครื่องสูบน้ำมันมากกว่าแปดเครื่อง จะต้องมีเครื่องดับเพลิงไม่น้อยกว่าสี่เครื่อง

(4) บริเวณแท่นจ่ายน้ำมันหรือจุดรับน้ำมัน ต้องมีเครื่องดับเพลิงไม่น้อยกว่าหนึ่งเครื่องต่อจุดรับหรือจ่ายน้ำมันสองช่อง

(5) บริเวณจุดรับหรือจ่ายน้ำมันโดยถังขนส่งน้ำมันที่ติดตั้งบนรถไฟ ต้องมีเครื่องดับเพลิงไม่น้อยกว่าหนึ่งเครื่องต่อความยาวระหว่างช่องรับหรือจ่ายน้ำมันไม่เกิน 30.00 เมตร

(6) บริเวณท่าเรือซึ่งรับหรือจ่ายน้ำมัน ต้องมีเครื่องดับเพลิงไม่น้อยกว่าสองเครื่องต่อจุดรับหรือจ่ายน้ำมัน และให้มีเครื่องดับเพลิงขนาดบรรจุสารเคมีไม่น้อยกว่า 50 กิโลกรัม อีกหนึ่งเครื่องต่อจุดรับหรือจ่ายน้ำมัน

(7) การติดตั้งเครื่องดับเพลิง ให้ติดตั้งโดยรอบบริเวณสถานที่เก็บรักษาน้ำมันในที่ที่สามารถมองเห็นและนำไปใช้งานได้โดยสะดวก

ข้อ 87 สถานที่เก็บรักษาน้ำมัน ลักษณะที่สาม เพื่อการจำหน่าย ที่มีปริมาณการเก็บน้ำมันเกิน 15,000 ลิตร และสถานที่เก็บรักษาน้ำมันที่มีอาคารติดตั้งถังเก็บน้ำมันโดยเฉพาะต้องจัดให้มีโฟมเข้มข้นซึ่งนำมาใช้เป็นสารละลายโฟมได้ตลอดเวลาตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

(1) จำนวนสารละลายโฟมที่ต้องฉีดเข้าถังเก็บน้ำมันเหนือพื้นดินขนาดใหญ่ ให้คำนวณจากชนิดของน้ำมันและชนิดของถัง ตามที่กำหนดไว้ตารางที่ 16

ตารางที่ 16 จำนวนสารละลายโฟมที่ต้องฉีดเข้าถังเก็บน้ำมัน

ชนิดของน้ำมัน

ชนิดของถัง

อัตราการใช้สารละลายโฟม (ลิตรต่อนาทีต่อตารางเมตร)

พื้นที่ที่ใช้ในการคำนวณ
(ตารางเมตร)

เวลาที่ใช้ในการคำนวณ
(นาที)

ชนิดไวไฟมาก



ชนิดหลังคาติดตาย



4.1



พื้นที่หน้าตัดของถัง

55

ชนิดไวไฟ
ปานกลาง หรือ
ชนิดไวไฟน้อย

30


ทุกชนิด


ชนิดหลังคาลอย


12.2

พื้นที่หน้าตัดระหว่างเขื่อนกันโฟมบนหลังคาถังถึงผนังถัง


20

ชนิดไวไฟมาก




ชนิดหลังคาลอยภายใน



4.1



พื้นที่หน้าตัดของถัง

55

ชนิดไวไฟปานกลางหรือชนิดไวไฟน้อย

30

ทุกชนิด



12.2

พื้นที่หน้าตัดระหว่างเขื่อนกันโฟมบนหลังคาถังถึงผนังถัง กรณีหลังคาลอยภายในทำด้วยเหล็ก



20

(2) ปริมาณสารละลายโฟมต้องเติมเต็มท่อโฟมโดยการคำนวณจากขนาดและความยาวรวมของท่อโฟม

(3) ปริมาณสารละลายโฟมที่ใช้สำหรับฉีดเสริมเฉพาะจุดต้องมีอัตราการฉีดสารละลายโฟมไม่น้อยกว่า 189 ลิตรต่อนาที จำนวนอุปกรณ์ฉีดสารละลายโฟมและระยะเวลาในการฉีด ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในตารางที่ 17 และตารางที่ 18

ตารางที่ 17 ขนาดของถังเก็บน้ำมันกับจำนวนอุปกรณ์ฉีดสารละลายโฟม

เส้นผ่าศูนย์กลางของถัง (เมตร)

จำนวนขั้นต่ำของอุปกรณ์ฉีดโฟม (จุด)

ไม่เกิน 19.50
เกิน
19.50- 36.00

1
2

ตารางที่ 18 ขนาดของถังเก็บน้ำมันกับระยะเวลาในการฉีดสารละลายโฟม

เส้นผ่าศูนย์กลางของถัง (เมตร)

เวลาขั้นต่ำของการฉีด (นาที)

ไม่เกิน 10.50
เกิน
10.50 - 28.50

10
20

(4) สารละลายโฟมต้องมีคุณสมบัติเหมาะสมในการดับเพลิงตามชนิดของน้ำมัน

(5) ปริมาณโฟมเข้มข้นที่ต้องจัดเก็บให้คำนวณจากสารละลายโฟมตาม (1) (2) และ (3) ของถังที่ใช้ปริมาณโฟมเข้มข้นสูงสุด และต้องมีการสำรองโฟมเข้มข้นไว้อีกไม่น้อยกว่า 1 เท่าของปริมาณโฟมที่ใช้ไปทุกครั้ง

(6) การเก็บโฟมเข้มข้นและอุปกรณ์ประกอบที่ใช้ในการดับเพลิง ให้จัดเก็บไว้โดยรอบบริเวณสถานที่เก็บรักษาน้ำมัน ลักษณะที่สาม ในที่ที่สามารถมองเห็นและนำไปใช้งานได้โดยสะดวก และมีสภาพพร้อมที่จะใช้งานได้ตลอดเวลา

ข้อ 88 สถานที่เก็บรักษาน้ำมัน ลักษณะที่สาม ต้องจัดให้มีระบบจ่ายน้ำสำหรับดับเพลิงให้เพียงพอต่อการระงับอัคคีภัย ดังต่อไปนี้

(1) ใช้สำหรับฉีดสารละลายโฟม กรณีที่มีการติดตั้งระบบฉีดสารละลายโฟมตามข้อ 87 หรือข้อ 90

(2) ใช้เป็นน้ำหล่อเย็นโดยต้องมีปริมาณไม่น้อยกว่า 2 ลิตรต่อนาทีต่อตารางเมตร ในเวลาหนึ่งชั่วโมง

(3) ใช้เป็นน้ำดับเพลิงเพื่อสนับสนุนการดำเนินการตาม (1) และ (2) โดยต้องมีปริมาณน้ำในอัตราไม่น้อยกว่า 1,900 ลิตรต่อนาที เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30 นาที

ข้อ 89 สถานที่เก็บรักษาน้ำมัน ลักษณะที่สาม ต้องจัดให้มีแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำไม่น้อยกว่าปริมาณการใช้น้ำสูงสุด ตามข้อ 87 และข้อ 88 เว้นแต่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีแหล่งน้ำที่ใช้ประกอบการดับเพลิงตามปริมาณที่กำหนดไว้อย่างเพียงพอ

ข้อ 90 ถังเก็บน้ำมันดังต่อไปนี้ ต้องติดตั้งระบบฉีดสารละลายโฟมและระบบน้ำหล่อเย็น หรือหัวฉีดน้ำที่สามารถหล่อเย็นโดยรอบถัง

(1) ถังเก็บน้ำมันเหนือพื้นดินขนาดใหญ่ตามแนวตั้งที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 6.00 เมตร และเก็บน้ำมันชนิดไวไฟมาก

(2) ถังเก็บน้ำมันเหนือพื้นดินขนาดใหญ่ตามแนวตั้งที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 6.00 เมตร และเก็บน้ำมันชนิดไวไฟปานกลางหรือชนิดไวไฟน้อย ยกเว้นน้ำมันหล่อลื่นซึ่งตั้งอยู่และมีการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากหรือที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง ตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง

(3) ถังเก็บน้ำมันชนิดไวไฟปานกลางหรือชนิดไวไฟน้อยที่ตั้งอยู่ในกลุ่มถังเก็บน้ำมันชนิดไวไฟมากตาม (1)

ข้อ 91 เครื่องสูบน้ำดับเพลิงต้องมีความดันและอัตราการไหลสอดคล้องกับปริมาณการใช้น้ำหล่อเย็น สารละลายโฟม และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบในการดับเพลิงตามที่กำหนดไว้ในข้อ 87 และข้อ 88 และต้องมีเครื่องสูบน้ำดับเพลิงที่ใช้เครื่องยนต์สำหรับสูบน้ำจากแหล่งน้ำอย่างน้อยหนึ่งเครื่องโดยตำแหน่งการเปิดปิดของเครื่องสูบน้ำดับเพลิงต้องอยู่ในตำแหน่งที่สามารถเข้าไปใช้งานได้โดยสะดวกและมีสภาพพร้อมที่จะใช้งานได้ตลอดเวลา และจะต้องทำการตรวจสอบเครื่องสูบน้ำดับเพลิงอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง

ข้อ 92 เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง หรือน้ำยาดับเพลิง ต้องตรวจสอบคุณภาพอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง สำหรับน้ำยาโฟมเข้มข้นต้องตรวจสอบคุณภาพโดยการสุ่มตัวอย่างทุกสามปี และส่งรายงานการตรวจสอบคุณภาพให้อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานมอบหมายทราบ

เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง น้ำยาดับเพลิง และน้ำยาโฟมเข้มข้นต้องมีคุณภาพพร้อมที่จะใช้งานได้ตลอดเวลา

ข้อ 93 สถานที่เก็บรักษาน้ำมัน ลักษณะที่สาม ที่ติดตั้งถังเก็บน้ำมันขนาดใหญ่ให้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน ต้องจัดใหมีระบบตรวจจับและแจ้งเตือนน้ำมันรั่ว (leak detection and annunciation) ที่ถังเก็บน้ำมัน ทั้งนี้ ลักษณะ วิธีการติดตั้ง และวิธีการตรวจสอบให้เป็นไปตามมาตรฐานออกแบบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่าที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจากนุเบกษา

ข้อ 94 ผู้ประกอบกิจการควบคุมต้องยื่นรายละเอียดของอุปกรณ์ (specification) เกี่ยวกับการติดตั้งท่อน้ำ ลิ้นปิดเปิด กลอุปกรณ์นิรภัย ท่ออ่อน และเครื่องสูบน้ำที่ติดตั้งกับระบบจ่ายน้ำสำหรับดับเพลิง ระบบน้ำหล่อเย็น และรบบฉีดสารละลายโฟม ให้อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานมอบหมายให้ความเห็นชอบก่อนการติดตั้ง

การตรวจสอบภายหลังการติดตั้งตามวรรคหนึ่ง ต้องดำเนินการตรวจสอบก่อนการใช้งานและอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง โดยผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตั้งแต่ประเภทสามัญวิศวกรขึ้นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร และผู้ประกอบกิจการควบคุมต้องเก็บรักษารายงานการตรวจสอบไว้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถเรียกตรวจสอบได้เป็นระยะเวลาหนึ่งปี

ข้อ 95 ผู้ประกอบกิจการควบคุมต้องจัดทำแผนระงับเหตุเพลิงไหม้ และมีการฝึกซ้อมแผนระงับเหตุเพลิงไหม้อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และต้องจัดทำรายงานการฝึกซ้อมแผนระงับเหตุเพลิงไหม้ให้อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานมอบหมายทราบและเก็บรักษารายงานการฝึกซ้อมไว้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถเรียกตรวจสอบได้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี

ข้อ 96 ผู้ประกอบกิจการควบคุมต้องจัดทำขั้นตอนในการรับหรือจ่ายน้ำมันไว้ในบริเวณจุดรับหรือจ่ายน้ำมัน หรือแท่นจ่ายน้ำมัน

หมวด 5
การเลิกประกอบกิจการ
-----------------------

ข้อ 97 การเลิกประกอบกิจการสถานที่เก็บรักษาน้ำมัน ลักษณะที่สอง หรือสถานที่เก็บรักษาน้ำมัน ลักษณะที่สาม ผู้ประกอบกิจการควบคุมต้องแจ้งยกเลิกประกอบกิจการต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานมอบหมาย และในกรณีที่มีการติดตั้งถังเก็บน้ำมันจะต้องมีการรับรองจากผู้ทดสอบและตรวจสอบตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคุณสมบัติของผู้ทดสอบและตรวจสอบน้ำมันที่ออกตามมาตรา 7 ว่าไม่มีน้ำมันและไอน้ำมันค้างเหลืออยู่ในถังเก็บน้ำมัน ระบบท่อน้ำมันและอุปกรณ์

เมื่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานมอบหมายได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่ามีความปลอดภัยและถูกต้องตามที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ประกอบกิจการควบคุมตามวรรคหนึ่งเลิกประกอบกิจการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการพิจารณาจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานมอบหมาย

บทเฉพาะกาล
-----------------------

ข้อ 98 สถานที่เก็บรักษาน้ำมัน ลักษณะที่สาม ที่ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับความเห็นชอบแบบแปลนแผนผังและแบบก่อสร้างอยู่ในวันก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงนี้ เว้นแต่ข้อ 85 ข้อ 86 ข้อ 87 ข้อ 88 ข้อ 89 ข้อ 90 ข้อ 91 ข้อ 92ข้อ 93 ข้อ 94ข้อ 95ข้อ 96 และข้อ 97

กรณีที่มีการแก้ไข ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงถังเก็บน้ำมัน ระบบท่อน้ำมันและอุปกรณ์ ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงนี้เฉพาะถังเก็บน้ำมัน ระบบท่อน้ำมันและอุปกรณ์ที่มีการแก้ไข ปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลง เว้นแต่ข้อ 28 (2) (3) และข้อ 30

                                                                        

                                             ให้ไว้ ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

                                                         พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค

                                                 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

 

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่กฎกระทรวงสถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2551 แม้จะได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการกอบกิจการสถานที่เก็บรักษาน้ำมัน แต่ยังไม่ครอบคลุมการติดตั้งภาชนะบรรจุน้ำมันภายในอาคารติดตั้งถังเก็บน้ำมันโดยเฉพาะ รวมทั้งมีความจำเป็นต้องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการติดหรือติดตั้งภาชนะบรรจุน้ำมันภายในและภายนอกอาคาร เพื่อให้เกิดความชัดเจนและสอดคล้องกับการประกอบกิจการสถานที่เก็บรักษาน้ำมันในปัจจับันและเทคโนโลยีที่มีการเปลี่นแปลงไป จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

 

เล่ม 141 ตอนที่ 8 ก ราชกิจจานุเบกษา 22 กุมภาพันธ์ 2567




กฎหมาย




Copyright © 2012 All Rights Reserved.


  

 

สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร | THE BUILDING INSPECTORS ASSOCIATION
เลขที่ 487 ซ.รามคำแหง 39 (เทพลีลา 1) ถ.รามคำแหง
แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
โทรศัพท์: 0-2184-4612   โทรสาร: 0-2184-4613
http://www.bsa.or.th