ReadyPlanet.com
dot
ฐานข้อมูลกรมโยธาธิการและผังเมือง
กฎหมายเกี่ยวกับตรวจสอบอาคาร
ศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถตามมาตรา ๒๖/๔ (๒) สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร




กฎกระทรวง สถานที่บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทโรงบรรจุ พ.ศ. 2564

กฎกระทรวง
สถานที่บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทโรงบรรจุ
พ.ศ. 2564
---------------------------

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 7 วรรคหนึ่ง (1) (2) (3) (5) และ (7) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 และมาตรา 7 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ ควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป …. (มีผลบังคับใช้ 8 มกราคม 2565)

ข้อ 2 ในกฎกระทรวงนี้

ก๊าซปิโตรเลียมเหลว” หมายความว่า ก๊าซปิโตรเลียมเหลวตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง

โรงบรรจุ” หมายความว่า สถานที่บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทโรงบรรจุตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง

เขตโรงบรรจุ” หมายความว่า เขตพื้นที่โดยรอบโรงบรรจุตามที่กำหนดในแผนผังบริเวณของโรงบรรจุ

ถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้ม” หมายความว่า ถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้มตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง และให้หมายความรวมถึงถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวสำหรับรถฟอร์คลิฟท์ (forklift)

ผู้ประกอบกิจการควบคุม” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานที่บรรจุ ก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทโรงบรรจุ

ผู้ค้าน้ำมัน” หมายความว่า ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543

สถานีบริการก๊าซปิโตรเลียมเหลว” หมายความว่า สถานีบริการก๊าซปิโตรเลียมเหลวตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง

บริเวณอันตราย” หมายความว่า พื้นที่รอบ ๆ ที่ตั้งและเก็บภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวในโรงบรรจุ และพื้นที่รอบๆ บริเวณและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวในโรงบรรจุ

กำแพงกันไฟ” หมายความว่า กำแพงทึบที่สร้างด้วยวัสดุถาวรและทนไฟ มีความหนาไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร และไม่มีช่องให้ไฟผ่านได้

สถานศึกษา” หมายความว่า สถานศึกษาที่จัดการศึกษาในระบบที่เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือการศึกษาระดับอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ

สถานพยาบาล” หมายความว่า สถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล

โรงมหรสพ” หมายความว่า โรงมหรสพตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร

ศาสนสถาน” หมายความว่า วัดตามกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ มัสยิดตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม วัดบาทหลวงตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาทหลวงโรมันคาธอลิกในกรุงสยามตามกฎหมาย หรือสถานที่ประกอบศาสนกิจในนิกายหรือศาสนาอื่น

โบราณสถาน” หมายความว่า โบราณสถานตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

สนามกีฬา” หมายความว่า สถานที่ที่ใช้ในการเล่นกีฬา เช่น ฟุตบอล รักบี้ บาสเกตบอล มวย หรือกรีฑา และมีอัฒจันทร์ที่ก่อสร้างอย่างถาวรสำหรับผู้เข้าชม

ทางสัญจร” หมายความว่า ทางหลวง ถนนสาธารณะ ทางสาธารณะ หรือถนนส่วนบุคคล

ความกว้างของถนน” หมายความว่า ระยะที่วัดจากเขตทางด้านหนึ่งไปยังเขตทางด้านตรงข้าม

หมวด 1
บททั่วไป
--------------------

ข้อ 3 ลักษณะของถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้ม การออกแบบ การผลิตหรือการสร้าง และการทดสอบและตรวจสอบถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว

ข้อ 4 ผู้ประกอบกิจการควบคุมต้องเป็นผู้ค้าน้ำมันหรือเป็นตัวแทนค้าต่างจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวของผู้ค้าน้ำมัน และมีหน้าที่ควบคุมดูแลถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้มให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว

ในกรณีที่พบว่า ถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้มไม่เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือชำรุดบกพร่อง ให้ผู้ประกอบกิจการควบคุมงดใช้ถังดังกล่าวและ รวบรวมส่งให้ผู้ค้าน้ำมันเพื่อทำการซ่อมบำรุงหรือทำลาย แล้วแต่กรณี

ข้อ 5 ในกรณีที่ผู้ค้าน้ำมันหรือผู้ประกอบกิจการควบคุมยกเลิกการเป็นตัวแทนค้าต่างจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวระหว่างกัน ให้ผู้ประกอบกิจการควบคุมยื่นหนังสือแสดงการเป็นตัวแทนค้าต่างจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวของผู้ค้าน้ำมันรายใหม่ต่อผู้อนุญาต และเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาหกสิบวันนับแต่วันที่ยกเลิกการเป็นตัวแทนค้าต่างจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว ห้ามมิให้ผู้ประกอบกิจการควบคุมบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวลงในถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้มที่มีเครื่องหมายการค้าของผู้ค้าน้ำมันรายเดิม

ข้อ 6 ให้ผู้ประกอบกิจการควบคุมมีหน้าที่ควบคุมดูแลไม่ให้มีการเก็บถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้มที่มีเครื่องหมายการค้าของผู้ค้าน้ำมันรายอื่น หรือผู้ค้าน้ำมันที่ตนไม่ได้เป็นตัวแทนค้าต่างจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวไว้ในเขตโรงบรรจุ เว้นแต่ได้รับหนังสือยินยอมจากผู้ค้าน้ำมันรายอื่นที่เป็นเจ้าของถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้มนั้น

การเก็บถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้มเพื่อรอการบรรจุหรือขนส่ง ต้องเก็บไว้ในบริเวณที่จัดไว้เฉพาะในอาคารที่ใช้บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว อาคารเก็บภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือบริเวณที่จัดไว้เฉพาะแยกต่างหากจากอาคารที่ใช้บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว

การเก็บถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้มเพื่อรอซ่อมแซม ต้องเก็บไว้ในอาคารเก็บภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือบริเวณที่จัดไว้เฉพาะแยกต่างหากจากอาคารที่ใช้บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว

ข้อ 7 ให้ผู้ประกอบกิจการควบคุมมีหน้าที่ควบคุมดูแลไม่ให้รถยนต์ที่ใช้บรรทุกถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้มปริมาณรวมเกิน 150 กิโลกรัม ที่ไม่มีลักษณะตามที่กำหนดเข้ามาในเขตโรงบรรจุ

รถยนต์ที่ใช้บรรทุกถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้มตามวรรคหนึ่ง ต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้

(1) มีหลังคาหรือโครงโลหะที่แข็งแรง เพื่อป้องกันการกระเด็นหรือกระจายของถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้มออกจากตัวรถยนต์เมื่อเกิดอุบัติเหตุ

(2) มีป้ายและเครื่องหมายของรถบรรทุกวัตถุอันตรายตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด

(3) มีเครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง หรือน้ำยาดับเพลิง หรือเครื่องดับเพลิงชนิดอื่นที่มิใช่เครื่องดับเพลิงชนิดฟองก๊าซ ขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า 4 กิโลกรัม ตามมาตรฐานระบบป้องกันอัคคีภัยของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่าตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา จำนวนอย่างน้อยสองเครื่อง โดยต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีตลอดเวลา

ข้อ 8 การวัดระยะห่างของถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว อาคารที่ใช้บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรืออาคารเก็บภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว ให้วัดจากผนังถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว ขอบอาคารที่ใช้บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือขอบอาคารเก็บภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว แล้วแต่กรณี

การวัดระยะห่างของอาคาร ให้วัดจากผนังหรือเสาอาคาร

การวัดระยะห่างตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ต้องวัดจากระยะที่ใกล้ที่สุด

ข้อ 9 โรงบรรจุต้องแสดงรายงานการประเมินความเสี่ยง โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา

ข้อ 10 โรงบรรจุต้องจัดให้มีพนักงานที่ผ่านการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานตามกฎกระทรวงว่าด้วยคุณสมบัติและการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง

โรงบรรจุต้องจัดให้มีป้ายรายชื่อพนักงานที่ผ่านการฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งติดไว้ในที่ที่เห็นได้ง่าย

หมวด 2
ลักษณะของแผนผังและแบบก่อสร้าง
--------------------

ข้อ 11 โรงบรรจุต้องมีแผนผังโดยสังเขป แผนผังบริเวณ และแบบก่อสร้าง ดังต่อไปนี้

(1) แผนผังโดยสังเขปต้องแสดงตำแหน่งที่ตั้งของโรงบรรจุ พร้อมสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่อยู่โดยรอบเขตโรงบรรจุ ภายในระยะไม่น้อยกว่า 200.00 เมตร

(2) แผนผังบริเวณต้องแสดงเขตที่ดิน เขตโรงบรรจุ อาคารที่ใช้บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว อาคารเก็บภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว กำแพงกันไฟ ถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว แนวท่อก๊าซปิโตรเลียมเหลว เครื่องสูบและหัวจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว ท่อหรือรางระบายน้ำ ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย บ่อกักไขมันหรือระบบบำบัดน้ำเสีย และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ รวมทั้งทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะ

แผนผังบริเวณ ให้ใช้มาตราส่วนไม่เล็กกว่า 1 ใน 250

(3) แบบก่อสร้างอาคารที่ใช้บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวและอาคารเก็บภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว ต้องแสดงรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้

(ก) แปลนพื้น แปลนฐานราก แปลนโครงสร้าง และแปลนหลังคา

(ข) รูปด้านอย่างน้อยสองด้าน รูปตัดตามขวาง และรูปตัดตามยาว

(ค) รายละเอียดของโครงสร้างแสดงส่วนต่างๆ ของอาคารที่ใช้บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว และอาคารเก็บภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว

แบบก่อสร้างตาม (ก) และ (ข) ให้ใช้มาตราส่วนไม่เล็กกว่า 1 ใน 100

(4) แบบก่อสร้างกำแพงกันไฟ ต้องแสดงรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้

(ก) แปลนพื้น แปลนฐานราก รูปด้าน และรูปตัด

(ข) รายละเอียดแสดงส่วนต่างๆ ของกำแพงกันไฟ

แบบก่อสร้างตาม (ก) ให้ใช้มาตราส่วนไม่เล็กกว่า 1 ใน 20

(5) แบบก่อสร้างถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว ระบบท่อก๊าซปิโตรเลียมเหลว หัวจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว และอุปกรณ์ต่างๆ ต้องแสดงรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้

(ก) แปลนส่วนบน รูปด้าน รูปตัด และแปลนฐานราก

(ข) รายละเอียดการก่อสร้างและการติดตั้งถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว ระบบท่อก๊าซปิโตรเลียมเหลว หัวจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว และอุปกรณ์ต่างๆ

แบบก่อสร้างตาม (ก) ให้ใช้มาตราส่วนไม่เล็กกว่า 1 ใน 50

(6) แบบก่อสร้างท่อหรือรางระบายน้ำ และบ่อกักไขมันหรือระบบบำบัดน้ำเสีย ต้องแสดงรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้

(ก) แปลนส่วนล่าง รูปตัดตามขวาง และรูปตัดตามยาว

(ข) ฝาตะแกรงปิดรางระบายน้ำ บ่อพัก และบ่อกักไขมัน

(ค) รายละเอียดแสดงส่วนต่างๆ ของท่อหรือรางระบายน้ำ และบ่อกักไขมันหรือระบบบำบัดน้ำเสีย

แบบก่อสร้างตาม (ก) ให้ใช้มาตราส่วนไม่เล็กกว่า 1 ใน 50

ข้อ 12 โรงบรรจุต้องแสดงรายการคำนวณความมั่นคงแข็งแรงของอาคารที่ใช้บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว อาคารเก็บภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว กำแพงกันไฟ ถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว ท่อก๊าซปิโตรเลียมเหลว ท่อหรือรางระบายน้ำ บ่อกักไขมันหรือระบบบำบัดน้ำเสีย หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ แล้วแต่กรณี

ข้อ 13 แบบก่อสร้างและรายการคำนวณความมั่นคงแข็งแรงของอาคารที่ใช้บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว อาคารเก็บภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว กำแพงกันไฟ ท่อหรือรางระบายน้ำ และบ่อกักไขมันหรือระบบบำบัดน้ำเสีย ตามข้อ 11 (3) (4) และ (6) และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ตามข้อ 12 ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นผู้อนุญาตแล้ว ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องแสดงรายละเอียดตามที่ระบุไว้ แต่ให้ใช้แบบก่อสร้างและรายการคำนวณดังกล่าวมาแสดงแทน

ข้อ 14 การก่อสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ ภายในโรงบรรจุให้มีระยะความคลาดเคลื่อนไปจากแผนผังบริเวณที่ได้รับอนุญาตได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบ ทั้งนี้ ต้องไม่น้อยกว่าระยะปลอดภัยตามที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้ และสัดส่วนของสิ่งก่อสร้างต่างๆ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ให้มีระยะความคลาดเคลื่อนจากแบบก่อสร้างที่ได้รับอนุญาตได้ไม่เกินร้อยละห้า

หมวด 3
ที่ตั้ง ลักษณะ และระยะปลอดภัย
--------------------

ข้อ 15 โรงบรรจุต้องมีที่ตั้ง ลักษณะ และระยะปลอดภัย ดังต่อไปนี้

(1) ตั้งอยู่ห่างจากเขตพระราชฐานไม่น้อยกว่า 1,000.00 เมตร

(2) ตั้งอยู่ห่างจากเขตสถานีบริการก๊าซปิโตรเลียมเหลวไม่น้อยกว่า 50.00 เมตร

(3) ตั้งอยู่ห่างจากเขตสถานทูต สถานกงสุล สถานศึกษา สถานพยาบาล โรงมหรสพ ศาสนสถาน โบราณสถาน หรือสนามกีฬาไม่น้อยกว่า 200.00 เมตร เว้นแต่สถานที่ดังกล่าวจะได้รับอนุญาตให้มีขึ้นหรือก่อสร้างขึ้นภายหลังวันที่ผู้ประสงค์จะประกอบกิจการได้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมครบถ้วนและถูกต้องแล้ว

(4) เขตโรงบรรจุที่ใช้เป็นทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะ ต้องอยู่ติดทางสัญจรซึ่งมีความกว้างของถนนไม่น้อยกว่า 12.00 เมตร และต้องได้รับอนุญาตหรือได้รับความยินยอมให้ทำทางเชื่อมเพื่อใช้เป็นทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะจากเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจอนุญาตหรือเจ้าของทางสัญจรดังกล่าว

(5) ตั้งอยู่ห่างจากเขตสถานที่อื่นใดนอกจาก (1) (2) และ (3) และในระยะห่างเท่าใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา

ข้อ 16 อาคารที่ใช้บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวและอาคารเก็บภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว ต้องมีลักษณะและระยะปลอดภัย ดังต่อไปนี้

(1) ต้องเป็นอาคารชั้นเดียวมีความสูงวัดจากพื้นอาคารถึงเพดานตรงยอดฝาหรือผนังหรือยอดเสาที่ต่ำที่สุดไม่น้อยกว่า 3.50 เมตร หลังคาต้องทำด้วยวัสดุทนไฟ หากมีฝาหรือผนัง ฝาหรือผนังนั้นต้องทำด้วยวัสดุทนไฟ และมีช่องระบายอากาศทุกด้านที่มีฝาหรือผนัง ทั้งในระดับชิดหลังคาและระดับชิดพื้นอาคาร ช่องระบายอากาศของฝาหรือผนังแต่ละด้านต้องมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่าร้อยละสามสิบของฝาหรือผนังด้านนั้น ทั้งนี้ ช่องระบายอากาศที่อยู่ในระดับชิดพื้นอาคารต้องอยู่ติดกับพื้นอาคาร และช่องระบายนั้นต้องมีความสูงจากพื้นอาคารไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร

(2) พื้นของอาคารที่ใช้บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวและอาคารเก็บภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวต้องแข็งแรง เรียบ และผิวพื้นต้องเป็นวัสดุชนิดที่ทำให้เกิดประกายไฟจากการเสียดสีได้ยาก เช่น ซีเมนต์ขัดมัน หินเกล็ดขัดมัน กระเบื้องยาง ระดับพื้นของอาคารที่ใช้บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวต้องไม่ต่ำกว่าระดับพื้นภายนอก ถ้าทำเป็นพื้นลอย ใต้พื้นต้องเปิดโล่งทุกด้านเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ระดับพื้นลอยต้องสูงกว่าระดับพื้นภายนอก และห้ามเก็บหรือวางวัสดุใดๆ ไว้ใต้พื้นนั้น

(3) พื้นของอาคารที่ใช้บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวและอาคารเก็บภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวต้องไม่มีร่อง บ่อ หรือที่ต่ำซึ่งจะเป็นที่สะสมก๊าซปิโตรเลียมเหลวได้ ถ้าจำเป็นต้องมีร่อง บ่อ หรือที่ต่ำต้องทำท่อหรือรางระบายก๊าซปิโตรเลียมเหลวออกสู่ภายนอกอย่างเพียงพอ ท่อหรือรางระบายก๊าซปิโตรเลียมเหลวต้องแยกจากท่อหรือรางระบายน้ำ

(4) ต้องจัดให้มีที่ว่างรอบอาคารที่ใช้บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว มีความกว้างไม่น้อยกว่า 7.50 เมตร บริเวณที่ว่างนี้ต้องปรับพื้นให้เรียบ และสามารถรับน้ำหนักรถตั้งแต่ 20 ตันขึ้นไปได้ ห้ามเก็บหรือวางวัสดุใดๆ ในบริเวณที่ว่างดังกล่าว

(5) อาคารที่ใช้บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวต้องอยู่ห่างจากอาคารอื่น ยกเว้นอาคารเก็บภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือแนวเขตที่ดินของบุคคลอื่น หรือทางหลวง หรือถนนสาธารณะ หรือทางสาธารณะไม่น้อยกว่า 20.00 เมตร

ในกรณีที่อาคารที่ใช้บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวไม่อาจจัดให้อยู่ห่างจากแนวเขตที่ดินของบุคคลอื่นตามวรรคหนึ่งได้ ต้องสร้างกำแพงกันไฟด้านนั้นสูงไม่น้อยกว่า 1.80 เมตร และห่างจากอาคารที่ใช้บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวไม่น้อยกว่า 10.00 เมตร

ในกรณีที่โรงบรรจุตั้งอยู่ในเขตคลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว อาคารที่ใช้บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวต้องอยู่ห่างจากแท่นจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวของคลังก๊าซปิโตรเลียมเหลวไม่น้อยกว่า 7.50 เมตร

(6) อาคารเก็บภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวต้องอยู่ห่างจากอาคารที่ใช้บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรืออาคารอื่นไม่น้อยกว่า 7.50 เมตร และต้องอยู่ห่างจากแนวเขตที่ดินของบุคคลอื่นไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร

(7) ต้องจัดให้มีท่อหรือรางระบายน้ำในอาคารที่ใช้บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว ถ้าวางทะลุผ่านท่อหรือรางระบายน้ำอื่นภายในโรงบรรจุ ต้องอุดหรือยาให้แน่นจนน้ำไม่รั่วไหลไปท่อหรือรางระบายน้ำอื่น และต้องมีระบบกักก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือน้ำมันก่อนที่จะปล่อยลงท่อหรือรางระบายน้ำภายนอกโรงบรรจุ

(8) ต้องจัดให้มีบริเวณสำหรับจอดรถยนต์ที่ใช้บรรทุกถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้ม และบริเวณดังกล่าวต้องอยู่ห่างจากหัวจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวในอาคารที่ใช้บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวไม่น้อยกว่า 15.00 เมตร

หมวด 4
การตั้งถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว หัวจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว
และระบบท่อก๊าซปิโตรเลียมเหลวและอุปกรณ์
--------------------

ข้อ 17 การตั้งถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวในโรงบรรจุต้องมีลักษณะและระยะ ปลอดภัย ดังต่อไปนี้

(1) จัดให้มีระบบท่อฉีดน้ำเหนือผิวถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวแบบเหนือพื้นดินเพื่อลดอุณหภูมิของผิวถัง โดยลักษณะ การติดตั้ง และการทดสอบและตรวจสอบระบบท่อฉีดน้ำดังกล่าว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา

(2) ไม่ตั้งถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวซ้อนกัน

(3) ตั้งถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวห่างจากภาชนะบรรจุน้ำมันซึ่งบรรจุน้ำมันที่มีจุดวาบไฟต่ำกว่า 60 องศาเซลเซียส ไม่น้อยกว่า 6.00 เมตร

(4) บริเวณพื้นใต้ถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวแบบเหนือพื้นดินต้องทำให้ลาดต่ำลงไปทางด้านใดด้านหนึ่งตามความเหมาะสม และเทคอนกรีตหรือลาดด้วยยางแอสฟัลต์ให้เรียบ และภายในรัศมี 6.00 เมตร จากถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวต้องเป็นพื้นเรียบและอัดแน่น

(5) บริเวณที่ตั้งถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวต้องมีรั้วโปร่งทำด้วยวัสดุทนไฟสูงไม่น้อยกว่า 1.80 เมตร ล้อมรอบถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว และที่รั้วโปร่งมีทางเข้าออกอย่างน้อยสองทางอยู่ห่างกันไม่น้อยกว่า 5.00 เมตร ทางเข้าออกดังกล่าวมีประตูโปร่งที่เปิดออกด้านนอกมีกุญแจชนิดที่สามารถเปิดออกจากภายในได้โดยไม่ต้องไขกุญแจ และปิดประตูตลอดเวลาที่ไม่มีการปฏิบัติงาน และห้ามเก็บหรือวางวัสดุใดๆ ภายในบริเวณรั้วโปร่ง

(6) หัวท่อรับก๊าซปิโตรเลียมเหลวของท่อรับก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ไปสู่ถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวต้องอยู่ภายในบริเวณรั้วโปร่งและห่างจากแนวเขตที่ดินของบุคคลอื่นไม่น้อยกว่า 10.00 เมตร

(7) ที่ประตูทางเข้ารั้วโปร่งต้องจัดให้มีป้ายโดยใช้ตัวอักษรสีแดงบนพื้นสีขาวมีขนาดของตัวอักษรที่เห็นได้ชัดเจนและอ่านได้ง่าย มีความสูงของตัวอักษรไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร ติดป้ายไว้ในที่ที่เห็นได้ง่าย และอย่างน้อยต้องมีข้อความ ดังต่อไปนี้

“อันตราย

1. ห้ามสูบบุหรี่

2. ห้ามกระทำการใดๆ ที่อาจเกิดเปลวไฟหรือประกายไฟ

3. ห้ามบุคคลภายนอกเข้า”

(8) รั้วโปร่งด้านใดที่ยานพาหนะอาจเข้าไปชนได้ต้องจัดให้มีเสาท่อเหล็ก หรืออุปกรณ์กันชนอื่นที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบ ทั้งนี้ เสาท่อเหล็กดังกล่าวมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร ภายในท่อเหล็กให้เทคอนกรีตเต็ม ฝังแน่นในดินนอกแนวรั้วโปร่งด้านนั้นลึกไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร โดยเสาท่อเหล็กอยู่ห่างจากรั้วโปร่งไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร เสาแต่ละต้นสูงจากระดับพื้นดินไม่น้อยกว่า 1.10 เมตร แต่ไม่เกิน 1.20 เมตร และมีระยะห่างระหว่างเสาแต่ละต้นไม่เกิน 1.20 เมตร

(9) ระยะห่างสำหรับถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวแบบเหนือพื้นดิน ให้เป็นไปตามตาราง 1 ท้ายกฎกระทรวงนี้

(10) ระยะห่างสำหรับถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวแบบกลบและแบบฝังไว้ในดิน ให้เป็นไปตามตาราง 2 ท้ายกฎกระทรวงนี้

ระยะห่างของถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวกับสิ่งก่อสร้างอื่นใดนอกจากที่กำหนดไว้ตาม (9) และ (10) ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา

ข้อ 18 การวางระบบท่อก๊าซปิโตรเลียมเหลว การติดตั้งอุปกรณ์เข้ากับถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว หัวจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวและสายหัวจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวในโรงบรรจุ รวมทั้งการทดสอบและตรวจสอบระบบท่อก๊าซปิโตรเลียมเหลวและอุปกรณ์ หัวจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวและสายหัวจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวในโรงบรรจุ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ การทดสอบและตรวจสอบดังกล่าวต้องดำเนินการโดยผู้ทดสอบและตรวจสอบตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคุณสมบัติของผู้ทดสอบและตรวจสอบที่ออกตามมาตรา 7

หมวด 5
วิธีการบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว
--------------------

ข้อ 19 การบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวลงในถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้ม ต้องกระทำภายในอาคารที่ใช้บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวและต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

(1) การบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวลงในถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้ม ให้บรรจุได้ไม่เกินร้อยละแปดสิบห้าของปริมาตรของถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้ม

(2) ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการควบคุมเป็นผู้ค้าน้ำมัน ต้องบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวลงในถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้มที่มีเครื่องหมายการค้าของตน และภายใต้บังคับข้อ 5 ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการควบคุมเป็นตัวแทนค้าต่างจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว ต้องบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวลงในถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้มที่มีเครื่องหมายการค้าของผู้ค้าน้ำมันที่เป็นตัวการของตน

ในกรณีที่ผู้ค้าน้ำมันหรือตัวแทนค้าต่างจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวจะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวลงในถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้มที่มีเครื่องหมายการค้าของผู้ค้าน้ำมันรายอื่น ต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ค้าน้ำมันรายอื่นที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น หรือจากผู้ค้าน้ำมันที่เป็นตัวการและผู้ค้าน้ำมันรายอื่นที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น แล้วแต่กรณี และได้แจ้งเป็นหนังสือให้อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานทราบแล้ว

(3) การบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวลงในถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้มที่เป็นถังใหม่ ต้องบรรจุลงในถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้มที่ได้มาตรฐานตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมว่าด้วยถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่กระทรวงอุตสาหกรรมประกาศกำหนด ตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

(4) การบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวลงในถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้มที่ใช้แล้ว ต้องบรรจุลงในถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้มที่ได้มาตรฐานตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมว่าด้วยการใช้และการซ่อมบำรุงถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่กระทรวงอุตสาหกรรมประกาศกำหนด ตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

(5) ก่อนบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวลงในถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้มที่เป็นถังใหม่หรือถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้มที่ซ่อมใหม่ ต้องทำความสะอาดไม่ให้มีน้ำหรือสิ่งใดๆ ตกค้างอยู่ในถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้มและต้องสูบอากาศออกหรือใช้ก๊าซไล่อากาศออกก่อน

ข้อ 20 เมื่อบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวแล้ว ต้องทดสอบและตรวจสอบว่า ถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้มและลิ้นปิดเปิดอยู่ในสภาพที่เรียบร้อยและไม่รั่ว โดยวิธีจมถังลงในน้ำหรือวิธีอื่นที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบ

ข้อ 21 การบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวจากถังขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว ต้องบรรจุลงในถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวเท่านั้น และต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

(1) ก่อนต่อหัวจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวจากถังขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวเข้ากับท่อรับก๊าซปิโตรเลียมเหลวของถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว ต้องต่อสายดินของรถขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวให้ลงดิน และให้ต่อไว้ตลอดเวลาจนกว่าจะถอดหัวจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวนั้นออก

(2) เมื่อต่อหัวจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวเข้ากับท่อรับก๊าซปิโตรเลียมเหลวต้องตรวจว่า ได้ต่อแน่นสนิทและไม่รั่ว

(3) ก่อนบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว ต้องตรวจลิ้นปิดเปิดที่ปลายท่อรับก๊าซปิโตรเลียมเหลวและที่ปลายท่อไอก๊าซปิโตรเลียมเหลวไหลกลับ และต้องปิดทันทีเมื่อบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวเสร็จ

(4) การบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวลงในถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว ให้บรรจุได้ไม่เกินร้อยละแปดสิบห้าของปริมาตรถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว

หมวด 6
การป้องกันและระงับอัคคีภัย
--------------------

ข้อ 22 บริเวณอันตราย ระบบไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า และระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าของโรงบรรจุ ต้องเป็นไปตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบไฟฟ้าและระบบป้องกัน อันตรายจากฟ้าผ่าของสถานที่ประกอบกิจการก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ออกตามมาตรา 7

ข้อ 23 เมื่อติดตั้งระบบไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า และระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าเสร็จแล้ว ให้ผู้ประสงค์จะประกอบกิจการโรงบรรจุหรือผู้ประกอบกิจการควบคุมยื่นหนังสือขอรับการตรวจสอบและหนังสือรับรองการปฏิบัติตามข้อ 22 จากผู้ทดสอบและตรวจสอบตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคุณสมบัติของผู้ทดสอบและตรวจสอบที่ออกตามมาตรา 7 และกฎกระทรวงว่าด้วยระบบไฟฟ้าและระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าของสถานที่ประกอบกิจการ ก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ออกตามมาตรา 7

ในกรณีที่ยังไม่มีผู้ทดสอบและตรวจสอบตามวรรคหนึ่ง ให้ทำการตรวจสอบระบบไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า และระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า โดยพนักงานเจ้าหน้าที่

ข้อ 24 โรงบรรจุต้องมีระบบการป้องกันและระงับอัคคีภัย ดังต่อไปนี้

(1) ติดตั้งท่อน้ำประปาสำหรับดับเพลิงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 50.00 มิลลิเมตร หรือเท่ากับขนาดของท่อน้ำประปาสำหรับดับเพลิงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีข้อต่อรับน้ำดับเพลิงขนาดเดียวกับข้อต่อของรถดับเพลิงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และต้องมี

(ก) หัวจ่ายน้ำดับเพลิงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 62.50 มิลลิเมตร จำนวนไม่น้อยกว่าสองจุด

(ข) เครื่องสูบน้ำสำหรับสูบน้ำดับเพลิงตามมาตรฐานระบบป้องกันอัคคีภัยของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่าตามที่รัฐมนตรี ประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา และ

(ค) สายจ่ายที่มีความยาวไม่น้อยกว่าความยาวของเส้นทแยงมุมที่ยาวที่สุดของโรงบรรจุ เก็บไว้ในที่ที่จะนำมาใช้ได้ง่าย

ในกรณีที่ไม่มีน้ำประปาหรือไม่ใช้น้ำประปา ต้องต่อท่อสำหรับสูบน้ำจากแหล่งน้ำหรือที่เก็บน้ำซึ่งมีน้ำอยู่ตลอดเวลา และแหล่งน้ำหรือที่เก็บน้ำนั้นต้องมีปริมาตรน้ำไม่น้อยกว่า 0.6 ลูกบาศก์เมตร หรือ 600 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร ของพื้นที่ผิวด้านนอกของถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว เศษของ 1 ตารางเมตร ให้คิดเป็น 1 ตารางเมตร

(2) จัดให้มีระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยแบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงโดยสามารถฉีดน้ำได้ครอบคลุมพื้นที่อาคารที่ใช้บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวและอาคารเก็บภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว ทั้งนี้ ลักษณะการติดตั้ง และการทดสอบและตรวจสอบให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดี กรมธุรกิจพลังงานประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา

(3) ติดตั้งเครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง หรือน้ำยาดับเพลิง หรือเครื่องดับเพลิงชนิดอื่นที่มิใช่เครื่องดับเพลิงชนิดฟองก๊าซ ขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า 6.80 กิโลกรัม ตามมาตรฐานระบบป้องกันอัคคีภัยของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่าตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา ไว้ที่ประตูทางเข้าออกของรั้วโปร่งล้อมรอบถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวประตูละไม่น้อยกว่าสองเครื่อง อาคารที่ใช้บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวไม่น้อยกว่าหนึ่งเครื่องต่อหัวจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวสามหัว และอาคารเก็บภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวไม่น้อยกว่าสองเครื่อง

เครื่องดับเพลิงตามวรรคหนึ่ง ต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี และผู้ประกอบกิจการควบคุมต้องตรวจสอบและบำรุงรักษาทุกหกเดือน โดยมีหลักฐานการตรวจสอบติดหรือแขวนไว้ที่เครื่องดับเพลิง

(4) จัดให้มีป้ายโดยใช้ตัวอักษรสีแดง บนพื้นสีขาว โดยมีขนาดของตัวอักษรที่เห็นได้ชัดเจนและอ่านได้ง่าย มีความสูงของตัวอักษรไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร ติดป้ายไว้ในที่ที่เห็นได้ง่าย และ อย่างน้อยต้องมีข้อความ ดังต่อไปนี้

“วิธีปฏิบัติเมื่อก๊าซปิโตรเลียมเหลวรั่ว

1. ปิดลิ้นทุกตัวทันที

2. ไม่กระทำการใดๆ ที่อาจเกิดเปลวไฟหรือประกายไฟ

3. นำเครื่องดับเพลิงออกมาเตรียมพร้อม”

ข้อ 25 ให้ผู้ประกอบกิจการควบคุมมีหน้าที่ควบคุมดูแลไม่ให้มีการกระทำการใดๆ ที่อาจเกิดเปลวไฟหรือประกายไฟในโรงบรรจุ

ข้อ 26 โรงบรรจุต้องติดตั้งเครื่องส่งเสียงดังเมื่อก๊าซปิโตรเลียมเหลวรั่ว ไว้ที่บริเวณที่ตั้งถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว อาคารที่ใช้บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว และอาคารเก็บภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวอย่างน้อยบริเวณละหนึ่งเครื่อง โดยต้องมีจำนวนที่เพียงพอต่อการรักษาความปลอดภัย และต้องตรวจสอบให้เครื่องส่งเสียงดังเมื่อก๊าซปิโตรเลียมเหลวรั่วอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้และเปิดใช้งานตลอดเวลา

การติดตั้งเครื่องส่งเสียงดังเมื่อก๊าซปิโตรเลียมเหลวรั่วตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา

บทเฉพาะกาล
--------------------

ข้อ 27 โรงบรรจุที่ได้รับใบอนุญาตหรือมีคำสั่งรับคำขอรับใบอนุญาตไว้พิจารณาตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ในวันก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ 15 และข้อ 17 วรรคหนึ่ง (9) และ (10)

ข้อ 28 โรงบรรจุที่ได้รับใบอนุญาตอยู่ในวันก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ หากมีการรื้อถอน แล้วก่อสร้างถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวขึ้นใหม่ในตำแหน่งเดิม โดยมีขนาดและปริมาณการเก็บก๊าซปิโตรเลียมเหลวไม่เกินกว่าที่เคยได้รับใบอนุญาตไว้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ 17 วรรคหนึ่ง (9) และ (10)

 

ให้ไว้ ณ วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2564
สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

 

เล่ม 138 ตอนที่ 45 ก ราชกิจจานุเบกษา 12 กรกฎาคม 2564

 

ตาราง 1
ระยะห่างสำหรับถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวแบบเหนือพื้นดิน
---------------------

 

ปริมาตรถังเก็บและจ่ายก๊าซ ปิโตรเลียมเหลว
(ลิตร)

ระยะห่างต่ำสุด (เมตร)

เกิน 7,600114,000

15.00

7.50

1.50

3.00

15.00

10.00

เกิน 114,000265,000

23.00

15.00

*

3.00

15.00

10.00

เกิน 265,000341,000

30.00

15.00

*

3.00

15.00

20.00

เกิน 341,000454,000

38.00

15.00

*

3.00

15.00

20.00

เกิน 454,000 ขึ้นไป

60.00

30.00

*

3.00

15.00

20.00

หมายเหตุ       ก = ระยะห่างระหว่างถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวกับแนวเขตที่ดินของบุคคลอื่นหรือทางหลวง หรือถนนสาธารณะ หรือทางสาธารณะ

                      ข = ระยะห่างระหว่างถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวกับอาคาร

                      ค = ระยะห่างระหว่างถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวด้วยกัน

                      ง =  ระยะห่างระหว่างถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวกับรั้วโปร่ง

                      จ = ในกรณีที่อยู่ใกล้กับถังเก็บน้ำมันที่ต้องมีเขื่อนหรือกำแพงล้อมรอบ เป็นระยะห่างระหว่างถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวกับจุดศูนย์กลางเขื่อนหรือกำแพงล้อมรอบถังเก็บน้ำมัน แต่ในกรณีที่อยู่ใกล้กับถังเก็บน้ำมันที่ไม่ต้องมีเขื่อนหรือกำแพงล้อมรอบ เป็นระยะห่างระหว่างผนังถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวกับผนังถังเก็บน้ำมัน โดยให้ลดระยะดังกล่าวลงกึ่งหนึ่ง

                      ฉ = ระยะห่างระหว่างถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวกับเครื่องสูบน้ำมัน

                       * = 1/4 ของผลบวกของเส้นผ่าศูนย์กลางของถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่อยู่ติดกัน

 

ตาราง 2
ระยะห่างสำหรับถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวแบบกลบและแบบฝังไว้ในดิน
---------------------

 

ปริมาตรถังเก็บและจ่ายก๊าซ ปิโตรเลียมเหลว
(ลิตร)

ระยะห่างต่ำสุด (เมตร)

เกิน 500 - 7,600

3.00

3.00

1.50

1.50

10.00

เกิน 7,600 ขึ้นไป

15.00

7.50

1.50

1.50

20.00

หมายเหตุ       ก = ระยะห่างระหว่างถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวกับแนวเขตที่ดินของบุคคลอื่น หรือทางหลวง หรือถนนสาธารณะ หรือทางสาธารณะ

                      ข = ระยะห่างระหว่างถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวกับอาคาร

                      ค = ระยะห่างระหว่างถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวด้วยกัน

                      ง =  ระยะห่างระหว่างถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวกับรั้วโปร่ง

                      จ = ระยะห่างระหว่างถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวกับเครื่องสูบน้ำมัน

 

ถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวแบบกลบ หมายถึง ถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวบนดินที่หุ้มด้วยดินทราย หรือวัสดุทนไฟที่ฉาบด้วยปูนก่อ หรือก่อด้วยอิฐ หรือวัสดุทนไฟอย่างอื่น และความหนาของวัสดุที่หุ้มถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวไม่น้อยกว่า 0.60 เมตรโดยรอบ

ถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวแบบฝังไว้ในดิน หมายถึง ถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ติดตั้งไว้ภายในบ่อคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีความหนาของผนังและพื้นไม่น้อยกว่า 0.20 เมตร ซึ่งมีการป้องกันน้ำรั่วซึมผ่านได้ และกลบด้วยทรายน้ำจืดเม็ดหยาบแห้งสนิท มีความหนาของวัสดุที่กลบถังไม่น้อยกว่า 0.60 เมตรโดยรอบ มีฝาคอนกรีตเสริมเหล็กปิดที่ส่วนบนของบ่อ และบนฝาดังกล่าวมีรูปลักษณะและตำแหน่งของถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวแสดงไว้ บ่อคอนกรีตเสริมเหล็กและฐานรากรองรับบ่อต้องออกแบบและก่อสร้างให้สามารถรับแรง และน้ำหนักต่าง ๆ ที่มากระทำต่อได้โดยปลอดภัย

 

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา 7 วรรคหนึ่ง (1) (2) (3) (5) และ (7) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมน้้ามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 บัญญัติให้ออกกฎกระทรวงก้าหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับที่ตั้ง แผนผัง รูปแบบ และลักษณะของสถานที่บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทโรงบรรจุ การเก็บรักษาและการแบ่งบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว ลักษณะของถังหรือภาชนะที่ใช้ในการบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวและการบ้ารุงรักษาถังหรือภาชนะดังกล่าว และวิธีการปฏิบัติงาน และการจัดให้มีและบำรุงรักษาอุปกรณ์หรือเครื่องมืออื่นใดภายในสถานที่ดังกล่าว รวมทั้งกำหนดการอื่นใดอันจำเป็น เพื่อประโยชน์แก่การป้องกันหรือระงับเหตุเดือดร้อนรำคาญ หรือความเสียหาย หรืออันตรายที่จะมีผลกระทบต่อบุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์หรือสิ่งแวดล้อมจากการประกอบกิจการสถานที่บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว ประเภทโรงบรรจุ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้




กฎหมาย




Copyright © 2012 All Rights Reserved.


  

 

สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร | THE BUILDING INSPECTORS ASSOCIATION
เลขที่ 487 ซ.รามคำแหง 39 (เทพลีลา 1) ถ.รามคำแหง
แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
โทรศัพท์: 0-2184-4612   โทรสาร: 0-2184-4613
http://www.bsa.or.th