ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง
-----------------------
โดยที่กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559 กําหนดให้นายจ้างจัดให้สถานประกอบกิจการมีความเข้มของแสงสว่างไม่ต่ำกว่ามาตรฐานตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
อาศัยอํานาจตามความในข้อ๔ แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า“ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ 3 ในประกาศนี้
“ความเข้มของแสงสว่าง” หมายความว่า ปริมาณแสงที่ตกกระทบต่อหนึ่งหน่วยตารางเมตร ซึ่งในประกาศนี้ใช้หน่วยความเข้มของแสงสว่างเป็นลักซ์ (lux)
ข้อ 4 นายจ้างต้องจัดให้สถานประกอบกิจการมีความเข้มของแสงสว่างไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กําหนดไว้ตามตารางแนบท้ายประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
อนันต์ชัย อทุัยพัฒนาชีพ
ผู้ตรวจราชการกระทรวง รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เล่ม 135 ตอนพิเศษ 39 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 กุมภาพันธ์ 2561
(ตารางแนบท้ายประกาศ)
ตารางที่ 1 มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง ณ บริเวณพื้นที่ทั่วไปและบริเวณการผลิตภายในสถานประกอบกิจการ
บริเวณพื้นที่และ/หรือลักษณะงาน
|
ลักษณะพื้นที่เฉพาะ
|
ตัวอย่างบริเวณพื้นที่และ/หรือลักษณะงาน
|
ค่าเฉลี่ยความเข้มของแสงสว่าง (ลักซ์)
|
จุดที่ความเข้มของแสงสว่างต่ำสุด (ลักซ์)
|
บริเวณพื้นที่ทั่วไปที่มีการสัญจนของบุคคลและ/หรือยานพาหนะในภาวะปกติ และบริเวณที่มีการสัญจรในภาวะฉุกเฉิน
|
ทางสัญจรในภาวะฉุกเฉิน
|
ทางออกฉุกเฉิน เส้นทางหนีไฟ บันไดทางฉุกเฉิน (กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินไฟดับ โดยวัดตามเส้นทางของทางออกที่ระดับพื้น
|
10
|
-
|
ภายนอกอาคาร
|
ลานจอดรถ ทางเดิน บันได
|
50
|
25
|
ประตูทางเข้าใหญ่ของสถานประกอบกิจการ
|
50
|
-
|
ภายในอาคาร
|
ทางเดิน บันได ทางเข้าห้องโถง
|
100
|
50
|
ลิฟต์
|
100
|
-
|
บริเวณพื้นที่ใช้ประโยชน์ทั่วไป
|
|
ห้องพักฟื้นสำหรับการปฐมพยาบาล ห้องพักผ่อน
|
50
|
25
|
ป้อมยาม
|
100
|
-
|
- ห้องสุขา ห้องอาบน้ำ ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า
- ห้องลอบบี้หรือบริเวณตอนรับ
- ห้องเก็บของ
|
100
|
50
|
โรงอาหาร ห้องปรุงอาหาร ห้องตรวจรักษา
|
300
|
150
|
บริเวณพื้นที่ใช้ประโยชน์ในสำนักงาน
|
|
- ห้องสำนักงาน ห้องฝึกอบรม ห้องบรรยาย ห้องสืบค้นหนังสือ/เอกสาร ห้องถ่ายเอกสาร ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องประชุม บริเวณโต๊ะประชาสัมพันธ์หรือติดต่อลูกค้า พื้นที่ห้องออกแบบ เขียนแบบ
|
300
|
150
|
บริเวณพื้นที่ใช้ประโยชน์ในกระบวนการผลิตหรือการปฏิบัติงาน
|
|
ห้องเก็บวัตถุดิบ บริเวณห้องอบหรือห้องทำให้แห้งของโรงซักรีด
|
100
|
50
|
- จุด/ลานขนถ่ายสินค้า
- คลังสินค้า
- โกดังเก็บของไว้เพื่อการเคลื่อนย้าย
- อาคารหม้อน้ำ
- ห้องควบคุม
- ห้องสวิตช์
|
200
|
100
|
- บริเวณเตรียมการผลิต การเตรียมวัตถุดิบ
- บริเวณพื้นที่บรรจุภัณฑ์
- บริเวณกระบวนการผลิต/บริเวณที่ทำงานกับเครื่องจักร
- บริเวณการก่อสร้าง การขุดเจาะ การขุดดิน
- งานทาสี
|
300
|
150
|
ตารางที่ 2 มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง ณ บริเวณที่ลูกจ้างต้องทำงาน โดยใช้สายตามองเฉพาะจุดหรือต้องใช้สายตาอยู่กับที่ในการทำงาน
การใช้สายตา
|
ลักษณะงาน
|
ตัวอย่างลักษณะงาน
|
ค่าความเข้มของแสงสว่าง (ลักซ์)
|
งานหยาบ
|
งานที่ชิ้นงานมีขนาดใหญ่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน มีความแตกต่างของสีชัดเจนมาก
|
- งานหยาบที่ทำที่โต๊ะหรือเครื่องจักร ชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่กว่า 750 ไมโครเมตร (0.75 มิลลิเมตร)
- การตรวจงานหยาบด้วยสายตา การประกอบ การนับ การตรวจเช็คสิ่งของที่มีขนาดใหญ่
- การรีดเส้นด้าย
- การอัดเบล การผสมเส้นใย หรือการสางเส้นใย
- การซักรีด ซักแห้ง การอบ
- การปั้มขึ้นรุปแก้ว เป่าแก้ว และขัดเงาแก้ว
- งานตี และเชื่อมเหล็ก
|
200-300
|
งานละเอียดเล็กน้อย
|
งานที่ชิ้นงานมีขนาดปานกลาง สามารถมองเห็นได้และมีความแตกต่างของสีชัดเจน
|
- งานรับจ่ายเสื้อผ้า
- การทำงานไม้ที่ชิ้นงานมีขนาดปานกลาง
- งานบรรจุน้ำลงขวดหรือกระป๋อง
- งานเจระรู ทากาว หรือเย็บเล่มหนังสือ งานบันทึกและคัดลอกข้อมูล
- งานเตรียมอาหาร ปรุงอาหาร และล้างจาน
- งานผสมและตกแต่งขนมปัง
- การทอผ้าดิบ
|
300-400
|
|
งานที่ชิ้นงานมีขนาดปานกลางหรือเล็ก สามารถมองเห็นได้แต่ไม่ชัดเจน และมีความแตกต่างของสีปานกลาง
|
- งานประจำในสำนักงาน เช่น งานเขียน งานบันทึกข้อมูล การอ่านและประมวลผลข้อมูล การจัดเก็บแฟ้ม
- การปฏิบัติงานที่ชิ้นงานมีขนาดตั้งแต่ 125 ไมโครเมตร (0.125 มิลลิเมตร)
- งานออกแบบและเขียนแบบ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
- งานประกอบรถยนต์และตัวถัง
- งานตรวจสอบแผ่นเหล็ก
- การทำงานไม้อย่างละเอียดบนโต๊ะหรือที่เครื่องจักร
- การทอผ้าสีอ่อน ทอละเอียด
- การคัดเกรดแป้ง
- การเตรียมอาหาร เช่น การทำความสะอาด การต้มฯ
- การสืบด้าย การแต่ง การบรรจุในงานทอผ้า
|
400-500
|
งานละเอียดปานกลาง
|
งานที่ชิ้นงานมีขนาดปานกลางหรือเล็ก สามารถมองเห็นได้แต่ไม่ชัดเจน และมีความแตกต่างของสีบ้าง และต้องใช้สายตาในการทำงานค่อนข้างมาก
|
- งานระบายสี พ่นสี ตกแต่งสี หรือขัดตกแต่งละเอียด
- งานพิสูจน์อักษร
- งานตรวจสอบขั้นสุดท้ายในโรงงานผลิตรถยนต์
|
500-600
|
- งานออกแบบและเขียนแบบ โดยไม่ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
- งานตรวจสอบอาหาร เช่น การตรวจอาหารกระป๋อง
- การคัดเกรดน้ำตาล
|
600-700
|
งานความละเอียดสูง
|
งานที่ชิ้นงานมีขนาดเล็ก สามารถมองเห็นได้แต่ไม่ชัดเจน และมีความแตกต่างของสีน้อย ต้องใช้สายตาในการทำงานมาก
|
- การปฏิบัติงานที่ชิ้นงานมีขนาดตั้งแต่ 25 ไมโครเมตร (0.025 มิลลิเมตร)
- งานปรับเทียบมาตรฐานความถูกต้องและความแม่นยำของอุปกรณ์
- การระบายสี พ่นสี และตกแต่งชิ้นงานที่ต้องการความละเอียดมากหรือต้องการความแม่นยำสูง
- งานย้อมสี
|
700-800
|
งานที่ชิ้นงานมีขนาดเล็ก สามารถมองเห็นได้แต่ไม่ชัดเจน และมีความแตกต่างของสีน้อย ต้องใช้สายตาในการทำงานมากและใช้เวลาในการทำงาน
|
- การตรวจสอบ การตัดเย็บเสื้อผ้าด้วยมือ
- การตรวจสอบและตกแต่งสิ่งทอ สิ่งถัก หรือเสื้อผ้าที่มีสีอ่อนขั้นสุดท้ายด้วยมือ
- การคัดแยกและเทียบสีหนังที่มีสีเข้ม
- การเทียบสีในงานย้อมผ้า
- การทอผ้าสีเข้ม ทอละเอียด
- การร้อยตะกร้อ
|
800-1,200
|
งานละเอียดสูงมาก
|
งานที่ขิ้นงานมีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน และมีความแตกต่างของสีน้อยมากหรือมีสีไม่แตกต่างกัน ต้องใช้สายตาเพ่งในการทำงานมาก และใช้เวลาในการทำงานระยะเวลายาวนาน
|
- งานละเอียดที่ทำที่โต๊ะหรือเครื่องจักร ชิ้นงานที่มีขนาดเล็กกว่า 25 ไมโครเมตร (0.025 มิลลิเมตร)
- งานตรวจสอบชิ้นส่วนที่มีขนาดเล็ก
- งานซ่อมแซม สิ่งทอ สิ่งถักที่มีสีอ่อน
- งานตรวจสอบและตกต่างชิ้นส่วนของสิ่งทอ สิ่งถักที่มีสีเข้มด้วยมือ
- การตรวจสอบและตกแต่งผลิตภัณฑ์สีเข้มและสีอ่อนด้วยมือ
|
1,200-1,600
|
งานละเอียดสูงมากเป็นพิเศษ
|
งานที่ชิ้นงานมีขนาดเล็กมากเป็นพิเศษ ไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน และมีความแต่กต่างของสีน้อยมากหรือมีสีไม่แตกต่างกัน ต้องใช้สายตาเพ่งในการทำงานมากหรือใช้ทักษะและความชำนาญสูง และใช้เวลาในการทำงานระยะเวลานาน
|
- การปฏิบัติงานตรวจสอบชิ้นงานที่มีขนาดเล็กมากเป็นพิเศษ
- การเจียระไนเพชร พลอย การทำนาฬิกาข้อมือสำหรับกระบวนการผลิตที่มีขนาดเล็กมากเป็นพิเศษ
- งานทางการแพทย์ เช่น งานทันตกรรม ห้องผ่าตัด
|
2,400 หรือมากกว่า
|
ตารางที่ 3 มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง (ลักซ์) บริเวณโดยรอบที่ให้ลูกจ้างคนใดคนหนึ่งทำงาน โดยสายตามองเฉพาะจุดในการปฏิบัติงาน
พื้นที่ 1
|
พื้นที่ 2
|
พื้นที่ 3
|
1,000 – 2,000
มากกว่า 2,000 – 5,000
มากกว่า 5,000 – 10,000
มากกว่า 10,000
|
300
600
1,000
2,000
|
200
300
400
600
|
หมายเหตุ พื้นที่ 1 หมายถึง จุดที่ให้ลูกจ้างทำงานโดยใช้สายตามองเฉพาะจัดในการปฏิบัติงาน
พื้นที่ 2 หมายถึง บริเวณถัดจากที่ที่ให้ลูกจ้างคนใดคนหนึ่งทำงานในรัศมีที่ลูกจ้างเอื้อมมือถึง
พื้นที่ 3 หมายถึง บริเวณโดยรอบที่ติดพื้นที่ 2 ที่มีการปฏิบัติงานของลูกจ้างคนใดคนหนึ่ง