ReadyPlanet.com
dot
ฐานข้อมูลกรมโยธาธิการและผังเมือง
กฎหมายเกี่ยวกับตรวจสอบอาคาร
ศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถตามมาตรา ๒๖/๔ (๒) สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร




ถอดเทปการเสวนา เรื่อง “รู้จักและเข้าใจ...การตรวจสอบอาคาร” article
วันที่ 28/12/2012   00:40:11

  ถอดเทปการเสวนา เรื่อง “รู้จักและเข้าใจ...การตรวจสอบอาคาร”

 

โดยสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร

วันพุธที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๕ เวลา ๐๘.๐๐ - ๑๒.๐๐ นาฬิกา

ณ ห้องประชุม Sapphire ๑๐๑-๑๐๓ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี

-------------------------------

 

เริ่มประชุมเวลา ๐๘.๐๐ นาฬิกา

 

                        ผู้ดำเนินรายการ (นายวสวัตติ์ กฤษศิริธีรภาคย์) : สวัสดีครับ คุณดุษฎี บุญเจริญ ก่อนอื่นก่อนที่จะเริ่มดำเนินการผมขอชี้แจงเพื่อความปลอดภัยของทุกท่าน อธิบายเรื่องแผนผังสักนิดหนึ่ง เพื่อความปลอดภัยของทุกท่าน ทางออกที่นี่ในห้องนี้มีทั้งหมดที่ใช้ได้ในห้องนี้มี ๖ ช่องทาง ด้านซ้ายมือจะมีอยู่ ๓ ประตู เป็นลักษณะที่เป็นช่อง ก็จะมีเจ้าหน้าที่พาออกไป ด้านขวาจะมีอยู่ ๓ ช่องทาง แล้วก็ทางหนีไฟจะมี ๒ ทาง ใหญ่ ๆ คือด้านซ้ายมือของผม อันนี้ผมขอชี้แจงก่อนที่จะดำเนินการ วันนี้หัวข้อการเสวนาก็คือ รู้จักและเข้าใจ ... การตรวจสอบอาคาร แม้ว่ากฎหมายจะออกมาตั้งแต่ ๒๕๔๘ แต่บางท่านที่ยังไม่เข้าใจจริง ๆ ว่าลักษณะการตรวจสอบอาคารเป็นอย่างไร บทบาทที่จะมี ๓ ส่วนในกฎหมายตัวนี้จะมีอยู่ ๓ ส่วนด้วยกัน ก็คือเจ้าของอาคาร พนักงานท้องถิ่นและผู้ตรวจสอบอาคาร ในการเสวนาวันนี้ก็คือให้เฉพาะสำหรับผู้ตรวจสอบอาคารและพนักงานท้องถิ่นที่รับผิดชอบในส่วนนั้น ส่วนอีก ๒ วันที่จะมีในการสัมมนาในวันที่ ๒๕ วันที่ ๒๕ วันที่ ๒๕ ผมชี้แจงนิดหนึ่งเป็นปัญหาที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน กทม. เอง เรื่องการออกใบ ร ๑ ถ้าท่านมีลูกค้าหรือว่าเจ้าของห้างใดมีข้อข้องใจอย่างมากในเรื่องนี้ผมขอเรียนเชิญ เป็นอาคารที่เข้าข่าย ส่วนจำนวนอาคารเดี๋ยวเจ้าของเรื่องคงจะมาอธิบายว่าจะมีจำนวนเท่าไรในเรื่องว่าทำอย่างไรถึงจะได้ใบรับรอง ใบ ร ๑ ขอเชิญเลย เป็นเวทีที่ให้เจ้าของอาคารมารับฟังแล้วก็เข้าใจว่าแนวทางจะเป็นอย่างไร ส่วนวันที่ ๒๖ ก็จะเป็นเจ้าของอาคารยุคใหม่ที่ร่วมใส่ใจยื่นตรวจสอบอาคาร เป็นอาคารที่เข้าข่ายใหม่ในปีนี้ ซึ่งจะมีรอบในการยื่นส่งรายงานก็คือวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๕ ก็มีจำนวนหนึ่งเหมือนกัน ซึ่งห้องสัมมนาจะอยู่ชั้นบนของห้องนี้ ผมคิดว่าหลายท่านคงเข้าใจ มาที่นี่ยากก็อยากฝากประชาสัมพันธ์  ณ เวทีนี้ในการสัมมนาที่เกี่ยวกับเรื่องการตรวจสอบอาคารก็จะมี ๓ session คงจะเริ่มเลย ทุกท่านคงจะรู้แล้ว ขอเกริ่นคร่าว ๆ นิดหนึ่งว่าที่มาของกฎหมายตรวจสอบอาคารเป็นอย่างไร ผมคงไม่แนะนำวิทยากรแล้ว แต่จะลงในรายละเอียดว่าจะพิจารณาอย่างไร ขอเชิญตัวแทนของ วสท. ท่านอาจารย์ชี้แจงนิดหนึ่งนะครับ

                        นายอุทัย คำเสนาะ:  จริง ๆ แล้วคุ้นเคยกัน เพราะผมเคยคิดว่าครึ่งห้องน่าจะรู้จักวิทยากรเกินครึ่งแล้ว จริงๆ  แล้วเมื่อสักครู่ท่านผู้ดำเนินรายการพูดถึงเรื่อง ดูเหมือนเรากำลังซ้อมหนีไฟ เพราะให้สำรวจห้องแต่ละห้อง ผมก็พยายามมองดูว่าทางหนีไฟเป็นอย่างไร โดยเฉพาะท่านธีระมองทางหนีไฟทุกทางเลย อาจจะเป็นคนแรกที่วิ่งก่อน เวลาผมไปบรรยายก็ต้องคอยดูว่ามีถังดับเพลิงหรือเปล่า ทางหนีไฟมี นี่คือปัญหาใหญ่ของเมืองไทยตรงที่ว่ากฎหมายที่เราใช้กัน อย่างท้องถิ่นกับผู้ตรวจสอบอาคารที่ผ่านมา ท้องถิ่นบอกว่าจะต้องอาคารหลังหนึ่งจะต้องมีถังดับเพลิง ๑ เครื่องต่อ ๑,๐๐๐ ตารางเมตร มีป้ายทางหนีไฟที่มีแสงสว่างมีระบบตรวจสอบแจ้งเหตุ ที่ผ่านมาไม่มีระบบที่บอกว่าจะต้องตรวจสอบ จะต้อง maintenanceอย่างไร ฉะนั้นโบราณกาลเลยบอกว่ากฎหมายฉบับที่ ๑๑  ๑๒ ฉบับที่ ๕๕ บอกแค่นั้น นี่คือที่มา จริง ๆ ที่ผ่านมาทัศนคติของเจ้าของอาคารกับกฎหมายฉบับนี้ไม่ดีเลย คนที่เป็นผู้ตรวจสอบอาคารเดินไปตามอาคาร ประโยคแรกเขาจะถามว่าราคาเท่าไรใช่ไหม แล้วเราจะบอกราคาเท่าไร อันนี้เราไม่ได้พูดถึงราคานี่คือทัศนคติ จริง ๆ เราจะต้องถามว่าอาคารจะปลอดภัยได้อย่างไร ผู้ตรวจสอบอาคารต้องเป็นผู้ช่วยของท้องถิ่น ท้องถิ่นก็ต้องไปพยายามพูดกับเจ้าของอาคารว่าอาคารของท่านมันปลอดภัยในช่วงเวลานั้น ๆ แต่ช่วงเวลาปัจจุบันนี้ ณ เวลานี้ท่านต้องมีความปลอดภัยอย่างน้อยเท่าไร ๖ ข้อ ตามบท ๔๗ อะไรทำนองอย่างนี้ นี่คือปัญหาใหญ่ของการตรวจสอบอาคารในปัจจุบันตรงที่ว่าเจ้าของอาคารยังไม่เข้าใจลึกซึ้งเพียงพอว่าทำไมถึงต้องมีการตรวจสอบอาคาร เมื่อกี้ท่านผู้ดำเนินการรายการบอกอยากจะให้เล่าว่ามันเป็นอย่างไร จริง  ๆ แล้วการตรวจสอบอาคารมันเริ่มมานานแล้ว เริ่มในส่วนเฉพาะของท้องถิ่นเท่านั้นฉบับแรกที่ให้โอกาสท้องถิ่นตรวจสอบก็คือกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๗ ปี ๒๕๔๐ ตอนนี้ก็ยังไม่มีกฎกระทรวงเกี่ยวกับผู้ตรวจสอบอาคารออกมา จริง ๆ เกิดเหตุเยอะ มีโรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ แล้วก็มีไฟไหม้ที่โคราชตึกถล่มที่โคราชมีการต่อเติม โดนจับติดคุกออกมาแล้วป่านนี้ ๑๐ กว่าปีแล้ว สุดท้ายร่างออกมาเป็น พ.ร.บ. ฉบับที่ ๓ ปี ๒๕๔๓ ออกมาปี ๒๕๔๓ แต่กฎกระทรวงออกมาปี ๒๕๔๘ เห็นปมหรือยัง วสท. อ้างหน่อยก็มีการตั้งชมรม ช่วยกันตั้งชมรมหรือสมาคมขึ้นมา ตั้งชมรมมาปี ๒๕๔๒ เป็นรูปเป็นร่างก็เปลี่ยนมาเป็นสมาคมผู้ตรวจสอบอาคารในปัจจุบัน ให้เห็นว่าจริง ๆ แล้วเหตุการณ์พวกนี้ภาครัฐก็มีการเตรียมไว้เยอะแยะภาคเอกชนก็มีการเตรียมในส่วนของทางสมาคมสถาปนิกสยาม ทาง วสท. จนจวบมาถึงสมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร ปัญหาใหญ่คือเจ้าของอาคารไม่เข้าใจเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้  เพราะว่าอย่างล่าสุดเมื่อวานผมไปช่วยเขาดู เขาบอกเขามีแม่บ้านอยู่ ๒ คนในอพาร์ทเม้นท์ ๘ ชั้น และมีช่าง ๑ คน อยู่ที่อพาร์ทเม้นท์ เขาบอกอาคารเขาดีมากเลย เวลาอุปกรณ์บางอย่างไม่ติดเขาก็ใช้ปะแจไปเคาะที่อุปกรณ์นั้นมันก็ติด นี่คือช่างที่ประจำอาคาร ในฐานะผู้ตรวจสอบอาคารจะต้องบอกว่าจะต้องนำอาคารที่ว่านี้มาเข้าสู่ระบบ กลับไปบ้านไปดูว่าอย่างเฉพาะกลุ่มนี่ ๓๐๐-๔๕๐ คน กลับไปถึงบ้านท่าน ถ้าเป็นตึกแถวมีถังดับเพลิงหรือเปล่า ไม่มี สมัยก่อนบอกตึกแถวต้องมีถังดับเพลิงชั้นละ ๑ ถัง ถ้า ๓ ชั้นก็ต้องทุกชั้น กลับไปที่บ้านใครมีตึกแถวมีไหมถังดับเพลิง ๑,๐๐๐ ตารางเมตรต่อถัง มีเหมือนกันแต่ไม่มีน้ำเขาเรียกน้ำยาเคมี ใช้งานไม่ได้ เห็นไหมนี่คือปัญหาใหญ่ที่ว่าประชาชนจริง ๆ แล้วรู้ไหม รู้แต่รู้ไม่เยอะเป็นหน้าที่ของผู้ตรวจสอบอาคาร วสท. ก็ต้องฝากฝังไปทางผู้ตรวจสอบอาคารกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐคือสำนักงานเขตไปทำความเข้าใจกับเจ้าของอาคารในพื้นที่ของท่านที่ท่านสัมผัสด้วยว่าจะทำให้กฎหมายตรวจสอบอาคารมันสัมฤทธิผลอย่างไร อันนี้ก็ฝากเรียน น่าจะมีเท่านี้นะครับ เตรียมมาตั้ง ๒ เล่ม

                        ผู้ดำเนินรายการ : เมื่อกี้กล่าวพาดพิงท่านพนักงานท้องถิ่นนะครับ ผอ. พินิต ผู้อำนวยการกองควบคุมอาคาร จะกล่าวเสริมเรื่องกฎหมายและตัวเรื่องการตรวจสอบอาคารนิดหนึ่งครับ

                        นายพินิต เลิศอุดมธนา: สวัสดีผู้เข้าร่วมเสวนาทุกท่าน จริง ๆ คิวแรกเป็นคิวผม เตรียมขยับไมค์ปรากฏว่าทางโน้นก่อนเลย ไม่ทราบว่าเส้นใหญ่หรือเปล่า ผมจะเรียนอย่างนี้ดีกว่าเรียนว่าจริง ๆ ทาง กทม.เรามีโครงการสร้าง กทม.เป็นเมืองสวรรค์ จะมีอยู่หลายด้าน ความปลอดภัยก็คือเป็นด้านหนึ่งที่ผู้บริหารกรุงเทพมหานครให้ความสำคัญ ดังนั้นส่วนที่จะทำได้คือการตรวจสอบอาคาร เพราะกฎหมายอาคารเรามีมานานแล้ว เมื่อตึกสร้างเสร็จมีการออก ก ๖ เมื่อตรวจสอบถูกต้องครบถ้วนก็ใช้ได้แต่การติดตามหรือการบำรุงรักษาเราไม่มีการดูแลต่อไปเลย ดังนั้นเขาถึงมีกฎกระทรวงตัวนี้โดยเห็นว่าทางรัฐคงจะไม่สามารถที่จะไปตรวจสอบได้อย่างทั่วถึง ก็เป็นที่มาของกฎกระทรวงก็คือให้ผู้ตรวจสอบซึ่งผ่านเกณฑ์ตามกฎหมายเป็นผู้ตรวจสอบเพื่อให้อาคารมีความมั่นคงแข็งแรง แล้ววันนี้ก็เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ทางกรุงเทพมหานครซึ่งเรายอมรับว่าทางเราฝ่ายเดียวคงทำได้ไม่ประสบความสำเร็จแน่ ก็ต้องร่วมมือกับองค์กรทางด้านวิชาชีพ ทางสถาบันการเงิน ทางผู้ออกแบบงานระบบทั้งผู้จำหน่ายมาช่วยผลักดันให้เกิดการตรวจสอบอาคารเพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั่วกรุงเทพมหานคร แล้วสำหรับวันนี้ก็คือว่ากลุ่มเป้าหมายก็คือผู้ตรวจสอบอาคารแล้วก็เจ้าหน้าที่ของรัฐเอง ของกรุงเทพมหานครที่ต้องดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องกฎหมายควบคุมอาคาร ซึ่งกฎกระทรวงตัวนี้ใช้มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ มีผลบังคับใช้ปี ๒๕๕๐ ปีนี้ปลายปี๒๕๕๕ แล้ว ดูแล้วก็ยังค่อนข้างจะอยู่นิ่ง เรามีการสัมมนา เสวนามาหลายครั้งก็ดูแล้วไม่ค่อยจะคืบหน้าแล้วก็เห็นว่าสิ่งที่ทำให้ไม่คืบหน้าคงจะต้องน่าจะเกิดจากหลายส่วนด้วยกัน ส่วนหนึ่งทางภาครัฐเองคือทางกรุงเทพมหานครก็คือว่าเรื่องการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด เช่นว่าถ้าไม่ส่งรายงานก็มีโทษปรับ ปรับทั้งรายวัน จนกว่าจะทำถูกต้องตามกฎหมาย พวกท่านลองคิดดูรายไหนไม่รู้เรื่องแล้วยื่นมากฎหมายใช้บังคับสักปีหนึ่งเงินน่าจะมหาศาล ถ้าเป็นตัวผมเอง ผมก็จะมองว่าทาง กทม. หรือทางสำนักงานเขตผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องดำเนินคดี ถ้าเขาไม่ดำเนินคดีเป็นส่วนตัวผมว่าก็ดีเหมือนกันแต่สุดท้ายมันก็จบโดยที่ว่าทุกคนไม่ยอมทำ ถ้าทุกคนไม่ยอมทำกฎหมายฉบับนี้ก็ไม่มีประโยชน์ ก็ถึงวันหนึ่งที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องเคร่งครัดในการบังคับใช้กฎหมาย อีกส่วนหนึ่งคือทางผู้ตรวจสอบเองหลายครั้งที่ผ่านมาที่ทราบมาก็คือว่าอบรมแต่ละที่ แต่ละสถาบันที่กรมโยธารับรอง ซึ่งแต่ละที่การอบรมผมเข้าใจว่าก็คงมีความแตกต่างกันบ้าง  แล้วการทำความเข้าใจอาจจะเข้าใจได้ไม่ทั่วถึงเท่าที่ควร กลายเป็นว่าต่างคนต่างทำ สุดท้ายภาระก็คือว่ามีการทำรายงานมาบ้าง  ปรากฏว่าเรื่องไม่ผ่าน ตอนนี้ก็ขาดการติดต่อที่ไม่ผ่านเนื่องจากอะไร ก็จะมาบอกว่ายื่นแล้วทำไมไม่ออก ร ๑  แล้วยื่นแล้วให้แก้ไขก็ไม่แก้ไข จะมีเรื่องหลายอย่างรวมกันซึ่งทำให้ทุกวันนี้ก็ยังเป็นปัญหาสืบเนื่องมาโดยตลอด เราก็เลยเห็นว่าครั้งนี้น่าจะเป็นนิมิตหมายที่ดีที่เราจะเริ่มมาทำความเข้าใจในหลายฝ่าย คือทั้งผู้ตรวจสอบเอง เจ้าพนักงานท้องถิ่นเองเพื่อช่วยกันทำให้กฎหมายตัวนี้เป็นไปได้ตามวัตถุประสงค์ก็หวังว่าอย่างนั้น เพราะว่าตอนที่พูดปัญหานี้กฎหมายฉบับนี้ก็กำลังจะแก้ไขอยู่ ถ้าวันนี้คุยแล้วตกลงอะไรกันกฎหมายแก้มาแล้วจะเหมือนกับที่ตกลงหรือเปล่า คงจะต้องนัดเสวนากันอีกครั้งหนึ่ง ขอแค่นี้ก่อนครับ

                        ผู้ดำเนินรายการ : เมื่อกี้ก็พาดพิงมาถึงท่านพันตำรวจโท บัณฑิต ประดับสุข เพราะท่านก็อยู่ในคณะกรรมการที่กรมโยธาแต่งตั้งมาเพื่อปรับปรุงเรื่องกฎหมาย ผมคงต้องถามท่านว่ามีแนวทางอย่างไร เชิญครับ อธิบายเพิ่มเติมนิดหนึ่งครับที่บอกว่าจะแก้กฎหมาย

                      พันตำรวจโท บัณฑิต ประดับสุข : ปัจจุบันมีการแก้กฎหมาย ผมก็เป็นอนุกรรมการด้วยประชุมมา ๓ ครั้ง ครั้งล่าสุดเมื่อวันจันทร์ จากปัญหาที่เกิดขึ้น ๕ ปี ที่จริงแล้วผมก็เป็นอนุร่างตั้งแต่กฎหมายฉบับแรก ทีนี้ส่วนใหญ่ที่จะแก้ก็คือเรื่องของคำจำกัดความของคำว่า การตรวจสอบอาคาร เพราะตอนนั้นในยกร่างกฎหมายคุยกันในคณะกรรมการก็เป็นการ audit แต่วันนี้ในกฎหมายใช้คำว่าเฉพาะการตรวจสอบอาคาร audit ถ้าเกิดเปรียบเทียบ มอก.๑๘ ก็คือการตรวจประเมิน ถ้าเกิดท่านเรียน ๑๘ มาคงจะทราบ อันที่ ๒ ที่จะแก้คือในเรื่อง wording อย่างเรื่องความมั่นคงแข็งแรงผมก็เสนอให้ใช้คำว่า ไม่ได้ตรวจความมั่นคง เป็นการตรวจสถานภาพของโครงสร้างแทน เพราะว่าเนื่องจากผู้ตรวจสอบอาคารมีหลายสาขาวิชาชีพ ฉะนั้นถ้าจะตรวจเรื่องความมั่นคงอาจจะก้าวล่างไปในของทางด้านวิศวกรรมโยธา กำลังจะเปลี่ยนคำพูดคำนี้ใหม่ เพื่อจะไม่ให้ล่วงละเมิดในเรื่องจรรยาบรรณวิชาชีพ แล้ววัตถุประสงค์ของการออกกฎหมายฉบับนี้ก็ตรง เราไม่ได้ตรวจ design เราตรวจสถานภาพที่เป็นอยู่ปัจจุบันว่ายังทำงานได้อยู่ไหม แล้วก็จะเน้นในเรื่องอาจจะมีการแบ่งชั้นผู้ตรวจสอบอาคาร อาจจะมีการต้องทำ CPD หรือเปล่า แล้วก็เนื่องจากว่าปัญหาอันหนึ่งคือท่านพินิตบอกว่าในเรื่องการศึกษาอบรมผู้ตรวจสอบอาคาร กฎหมายจะต้องเรียน ๔๕ ชั่วโมง จริงๆ ตอนนั้น ๑๘๐ เสนอเอาไว้แล้วปรับไปปรับมาเสนอ ๔๐ ผมต้องยกมือขออีก ๕ ให้ตรงกับเวลาเรียนมหาวิทยาลัย ๔๕ ชั่วโมงไม่พอหรอก ต่อเนื่องจากปัญหาทาง กทม.  อาจจะมีการศึกษาเพิ่มเติมไหม ต้องมีการแบ่งไหม เพราะว่าบางครั้งผู้ตรวจสอบอาคารไม่สามารถที่จะตรวจได้ในอาคารประเภทนี้ต่าง ๆ แล้วก็กำลังจะให้ กทม. รู้สึกว่าจะกังวลเหลือเกินกับใบ ร๑ ว่า กทม. เป็นผู้รับรองความปลอดภัย ก็กำลังพิจารณาใบ ร ๑ ว่าจะแก้ไขเป็นแบบไม่ใช้คำว่ารับรองความปลอดภัย เพราะว่ารู้สึกทาง กทม. Mind กับคำนี้มากว่าตัวเองจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ แต่จริงๆในกฎหมายฉบับนี้ กทม. ไม่ได้รับผิดชอบ ผู้ตรวจสอบอาคารรับผิดชอบในของกฎหมายฉบับนี้ ก็บอกกับทาง ผอ.พินิตมาตั้งนานแล้วว่ากลัวอะไรออก ร ๑ เพราะว่าความรับผิดชอบไม่ได้อยู่ที่ท่าน อยู่กับผู้ตรวจสอบอาคาร เกิดอะไรขึ้นมาก็ผู้ตรวจสอบอาคารก่อน เพราะผู้ตรวจสอบอาคารที่มีขึ้นมาได้ก็เพราะว่ารัฐไม่สามารถมีบุคลากรเพียงพอที่จะไปตรวจสอบอาคารได้ ก็เลยออก spec ของผู้ตรวจสอบอาคารว่าคุณต้องออกเป็นภาษาวิศวกรมีใบอนุญาตแล้วก็อบรม ๔๕ ชั่วโมงแล้วผ่านการสอบเป็นผู้ตรวจสอบอาคาร คือ modify แล้วว่าเป็นผู้ตรวจสอบอาคารซึ่งสามารถทำหน้าที่แทนรัฐได้

                        ผู้ดำเนินรายการ  : ก็บอกว่าการเสวนาวันนี้ไม่มีคิว ไม่มีการเตรียมคำถาม คำถามตรงผมชี้แจงนิดหนึ่ง เดี๋ยวผมจะมีคำถามอยู่จำนวนหนึ่ง จะมีไมค์ ๒ ตัว ท่านสามารถที่จะถามสดหรือว่ามีกระดาษส่งมาด้านข้างก็ได้ถ้าท่านไม่ประสงค์จะออกนาม เมื่อกี้มาที่เรื่องคุณภาพผู้ตรวจสอบ ผู้ที่รับผิดชอบโดยตรงก็คงเป็นท่านนายกสมาคมผู้ตรวจสอบและบริหารความปลอดภัยอาคารว่ามีแนวทางอย่างไรที่ว่าอบรมแค่ ๔๐ กว่าชั่วโมงแล้วมาตรวจสอบตึกใหญ่ ๆ ได้ เชิญครับ

                        นายวิเชียร บุษยบัณฑูร : ขอบพระคุณครับ ก็ขอประชาสัมพันธ์นิดหนึ่งว่าสมาคมผู้ตรวจสอบและบริหารความปลอดภัยอาคาร คณะกรรมการชุดปัจจุบันที่กำลังดำเนินการอยู่นี้เป็นคณะกรรมการชุดใหม่ที่เพิ่งจะได้รับการเลือกตั้งแล้วก็แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ตอนนี้อายุคณะกรรมการ ๑ เดือนกว่า ๆ มีเวลาประมาณ ๓ ปี สำหรับคณะกรรมการชุดนี้ แนวทางเรื่องการพัฒนาผู้ตรวจสอบ จริง ๆ เป็นเรื่องปกติที่ต้องแปลกใจว่าผู้ตรวจสอบเรามาจากหลายค่ายเรียนที่ผลิตขึ้นมามีอิสระเสรีในการที่จะนำเสนอแนวทางการตรวจสอบอาคารที่จะสร้างหรือยกระดับความปลอดภัยให้กับเจ้าของหรือผู้ใช้สอยอาคารโดยมีแนวทางเบื้องต้นเริ่มต้นจากกรมโยธาธิการที่วางกรอบไว้ให้เพื่อที่จะให้ไปพัฒนาต่อ ผลลัพธ์ที่ออกมาทำให้ในทางปฏิบัติเกิดความไม่ชัดเจน งงงวยเกิดขึ้น ก็เป็นเรื่องที่ปกติที่วันนี้เรารู้แล้วเราเติบโตมา เราอายุ ๕ ขวบแล้ว ดังนั้นเราก็เลยเริ่มกลับมารวมตัวว่าเราจะทำอย่างไรให้ความไม่สอดคล้องตรงนี้เริ่มสอดคล้อง ธรรมดาก็ต้องมีการออกมาตรฐานการปฏิบัติงาน มีการที่จะต้องกลับเข้ามารวมตัวเพื่อจะบอกว่าสิ่งที่ออกแบบไว้ ณ วันนั้น ๆ ออกแบบการตรวจสอบอาคารอยู่ในจินตนาการ เราลงสนามแล้วอะไรที่มันปฏิบัติไม่ได้อะไรที่มันควรจะปฏิบัติแล้วไม่ได้ปฏิบัติ เราก็สามารถที่จะมาตั้งกรอบและตกลงแนวทางโดยมีเจตนาสำคัญคือการยกระดับความปลอดภัยให้กับสาธารณะเป็นตัวธงที่ปักไว้ดังนั้นในแง่ของการที่จะยกระดับผู้ตรวจสอบได้ก็คือการที่จะต้องมีการจัดอบรมสัมมนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้พวกเรามีโอกาสเข้ามารวมตัวกันเป็นเครือข่าย การอบรมจะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อเราเอาประสบการณ์ที่ผู้ตรวจสอบเจอในแต่ละสถานการณ์มาแชร์ร่วมกัน อันนี้ก็คือทางที่ ๑ ทางที่ ๒ เกี่ยวกับเรื่องการแบ่งระดับผู้ตรวจสอบ ซึ่งถึงแม้ว่าตอนนี้เราจะรู้ว่าทางกรมโยธาธิการและผังเมืองมีการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาเพื่อจะแก้กฎกระทรวงตัวนี้ ซึ่งคณะอนุกรรมการตั้งแล้ว แต่ว่าทางสมาคมยังไม่ได้มีตัวแทนเข้าไปอยู่ในคณะอนุกรรมการชุดนี้ ก็ไม่เป็นไรอาจจะฝากผ่านทางท่านที่ปรึกษาของสมาคม คือท่านพันตำรวจโทบัณฑิต ประดับสุข ในการที่จะ feedback ความเห็นของเราเข้าไปยังกรมโยธาธิการ เมื่อกี้ท่านพูดถึงเรื่องแนวทางการแบ่งระดับผู้ตรวจสอบในเรื่องของการเป็นแค่แนวคิดว่าจะแบ่งภาคีสามัญหรือวุฒิมันเป็นการแบ่งอย่างหนึ่งที่มีข้อดีเหมือนกัน แต่ก็มีข้อจำกัดเช่นเดียวกัน ในสมาคมก็มีการคุยหารือเรื่องนี้เกี่ยวกับการแบ่งระดับ ถ้าในระดับภาคีสามัญแล้วก็วุฒิน่าจะเหมาะกับการตรวจสอบผู้ตรวจสอบแบบบุคคล จะใช้ระบบนี้น่าจะเหมาะ แต่พอมาเป็นผู้ตรวจสอบระบบนิติบุคคล ผมคิดว่าระบบนี้อาจจะเป็นข้อจำกัด ในสมาคมในกรรมการด้วยกันมีการหารือกันเกี่ยวกับเรื่องการแบ่งระดับ ซึ่งตอนนี้ก็ยังไม่เปิดเผยเรารอให้ผู้ตรวจสอบเราเข้ามารวมตัวมีความเป็น unity มากกว่านี้ เราจะเริ่ม work กันเป็นคณะอนุกรรมการ คณะอนุกรรมการตั้งแล้วมีประธานคณะอนุกรรมการเรียบร้อยแล้ว มีกรอบคร่าวๆ ว่าเราจะทำระบบผู้ตรวจสอบนิติบุคคลแบ่งระดับได้อย่างไร ไม่ใช่แบ่งเพื่อพวกเรา แต่เป็นการแบ่งเพื่อให้ลูกค้าของเรามีแนวทางในการเลือก จะคนละแบบกับการแบ่งบุคคลธรรมดาที่ทางท่านดอกเตอร์บัณฑิตพูดถึงเรื่องการแบ่งภาคีสามัญแล้วก็วุฒิ เป็นการแบ่งศักยภาพของผู้ตรวจสอบซึ่งคนแต่ละคนไม่เท่ากันผู้ตรวจสอบหน้าใหม่เข้ามาเรียกว่าต้องเป็นภาคี จะบอกว่าตัวเองเก่งกาจคงไม่ได้ต้องใช้เวลา แต่ในแง่ของนิติ

บุคคล ในแง่ผู้ตรวจสอบ ในแง่เจ้าของอาคาร บางครั้งเขาไม่ได้ต้องการการแบ่งในลักษณะนี้ เขาต้องการการแบ่งในลักษณะว่ากลุ่มผู้ตรวจสอบกลุ่มไหนที่สนิทกับเขา ยกตัวอย่างเช่น เจ้าของอาคารเป็นเจ้าของคอนโดมิเนียมขนาดพื้นที่ไม่มาก เขาต้องการกลุ่มผู้ตรวจสอบในกลุ่มซึ่งเป็นลักษณะที่ราคาย่อมเยาเหมาะกับเขา ผู้ตรวจสอบกลุ่มนั้นอยู่ไหนเขามากลุ่มนั้น ในขณะที่บางอาคารเป็นอาคารชั้นน้ำของประเทศ เขาต้องการรู้ว่าผู้ตรวจสอบที่เป็นกลุ่มเบอร์ ๑ กลุ่ม leading กลุ่มไหนไปคุยกลุ่มนั้น แต่ทุกวันนี้เราไม่มีระบบนี้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็เป็นคำตอบที่พวกเราควรจะเฝ้าดูและสังเกตว่าคือคำตอบที่เกิดขึ้นแต่พอเรารู้แล้วว่าคำตอบเป็นแบบนี้เราก็ต้องกลับมาดูสาเหตุและต้องมาวางว่าเราจะพัฒนาอย่างไร เดี๋ยวผมจบคำถามนี้ไว้ก่อน

                        ผู้ดำเนินรายการ :   หลากหลายความคิด เสริมนิดหนึ่ง ทีนี้ทางกรมโยธา สมาคมเองก็ได้เข้าไปปรึกษาท่านสินิทธ์ พลสินธุ์ ก็อยากจะให้ผู้ตรวจสอบรวมตัวกันแล้วก็จัดเสวนาระดมความคิดเพื่อแนวทางที่จะปรับปรุงทั้งเรื่องกฎหมาย เสนอไปที่ทางท่านอธิบดีกรมโยธา ทีนี้ถ้าท่านใดมีข้อคิดเห็นอะไรก็สามารถที่จะ post หรือว่าส่งข้อความมาที่ท่านนายกสมาคมหรือที่สมาคมได้ เดี๋ยวทางสมาคมคงจะจัดให้มีการเสวนาตรงนี้ย่อย ๆ อีกทีหนึ่งในเรื่องการจัดระดับหรือว่าแนวทางการดำเนินการร่วมกันตอนนี้เรามีการประชุมไป ๒ รอบแล้ว ที่ปรึษาสมาคมปัจจุบันที่คุณวิเชียรพูดถึง นอกจากท่านบัณฑิตแล้วก็มีท่านอาจารย์พิชญะ คุณสินิทธิ์ แล้วก็มีหลายท่านมาร่วมกัน ก็อยากฝากตรงนี้ ทีนี้ผมขอกลับมาที่เจ้าภาพงานนี้นิดหนึ่ง ท่าน ผอ. พินิต เห็นว่าวันนี้เรามีแจกเอกสารด้วย เป็นคู่มือ อยากทราบว่าคู่มือที่กรมโยธาเคยให้เป็น guideline ตอนที่เราอบรมกันก็มีอยู่แล้ว ตัวนี้มีที่มาอย่างไรทำไมต้องทำตัวนี้ เชิญครับ

                        นายพินิต เลิศอุดมธนา: สักครู่ที่กล่าวไปเบื้องต้น ผมลืมไปว่าเรามีอะไรให้ในการเสวนาครั้งนี้ มีหนังสือเล่มหนึ่งหน้าปกสีเขียว ซึ่งหลายครั้งเรื่องสัมมนาผมก็ยืนยันมาตลอดว่าจริง ๆ แล้วแบบฟอร์มผมไม่สนใจอยู่แล้ว ผมสนใจแค่ว่าสิ่งไหนที่ต้องตรวจ ท่านก็บอกว่าท่านตรวจแล้วครบถ้วนใช้งานได้ ผมต้องการตรงนี้กับต้องการสรุป ถ้ามีแก้ไขก็บอกมาว่าแก้ไขจุดไหนเนื่องจากอะไร ใช้เวลาเท่าไรแต่ถ้าดูแล้วครบถ้วนก็สรุปมาว่าครบถ้วน เพราะว่าทุกครั้งที่ผ่านมาคือแบบฟอร์มใช้กรมโยธา คือกรมโยธาเขายกเป็นตุ๊กตาขึ้นมาเพื่อความสะดวกว่าถ้าไม่อยากกำหนดแบบฟอร์มเองก็ใช้ของกรมโยธาเพื่อความสะดวก เรื่องนี้ก็คงจะแนวทางเดียวกัน แต่โดยทาง กสท. ทางสมาคมผู้ตรวจสอบ แล้วก็ทางสถาปนิกก็ร่วมกันทำเป็น checklistแล้วผมก็ไม่ทราบว่าทำไมทุกเรื่องพอพูดถึงอะไรสักอย่างก็บอกต้องมี checklist ผมก็ไม่รู้ว่า checklist มันช่วยให้ตึกปลอดภัยหรือเปล่า ผมก็เลยต้องทำตามเพราะส่วนใหญ่บอก checklist มันเป็นเจ้านายผม แต่คราวนี้ฉบับนี้คือว่าเราทำให้มันดูง่ายขึ้นกับส่วนท้าย ผมมาเน้นส่วนท้ายมีกำหนดว่าส่วนไหนที่ชำรุด เพราะส่วนนี้มีผลกับการที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องนำไปกำหนดไว้ในคำสั่งเพื่อให้เจ้าของอาคารแก้ไข คือทุกวันนี้ที่ว่ามีปัญหาคือว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเราออกคำสั่งไม่ได้ เพราะบางทีบอกว่ามีอะไรชำรุดต้องปรับปรุงก็ไม่บอกว่าต้องปรับปรุงอะไรที่ไหน คำสั่งนี้เราออกโดยไม่มีรายละเอียดไม่ได้ ออกไปนี่เขาไม่ทำ หรือว่าทำอะไรไม่ได้ถึงเวลาอุทธรณ์มาเขาก็ให้เรายกเลิกคำสั่ง เราก็มีปัญหาเรื่องนี้มาตลอด เพราะฉะนั้นในฉบับนี้ตอนท้ายจะมีกำหนดว่าส่วนไหนจะต้องแสดงว่ามีการชำรุดที่ไหน เพื่อเป็นรายละเอียดที่เราจะไปออกคำสั่ง ซึ่งเมื่อเราออกคำสั่งแล้วเราก็สามารถที่จะติดตามกับเจ้าของอาคารได้ว่าถ้าให้แก้ไขภายในกำหนดกี่วัน แล้วถึงกี่วันเราก็ให้ทางผู้ตรวจสอบเป็นคนกำหนดมาในเวลาที่เหมาะสม  แล้วก็ถ้าเลยกำหนดเราสามารถที่จะออกคำสั่งเพื่อไป forceเจ้าของอาคารได้ว่าให้ดำเนินการ ก็คือเราทำได้คือให้ระงับการใช้อาคารบางส่วนหรือทั้งหมดถ้าเคสนี้ผู้ตรวจสอบหลายท่านก็น่าจะ happy เพราะทุกครั้งที่มีการสัมมนาเสวนากันมาก็จะบอกว่าทำไม กทม.ไม่ดำเนินคดีสักทีปล่อยให้เรื่องคั่งค้าง ก็จะมีเรื่องพวกนี้ว่าเราออกคำสั่งแล้วก็ไม่รู้รายละเอียดว่าเราจะออกอะไร เพราะเรื่องนี้การตรวจสอบเป็นเรื่องของผู้ตรวจสอบ

                        แล้วก็อีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องการออก ร ๑ คือที่เมื่อกี้ทางอาจารย์บัณฑิตที่กล่าวว่าเจตนาจริง ๆ คือไม่ใช่มารับรองว่าตึกจะปลอดภัย คือการตรวจให้รู้ว่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ยังใช้ได้ เป็นส่วนหนึ่งที่ถ้าใช้ได้ก็นำไปสู่ความปลอดภัย กทม.เราไม่มีสิทธิไปตรวจส่วนนี้ ผู้ตรวจสอบเป็นคนตรวจ เพียงแต่เราดูว่ารายงานที่คุณส่งมามันขัดแย้งกันเองหรือเปล่า แต่ถ้าตรวจแล้วว่าตรงไหนใช้ได้หรืออะไรเราไปก้าวก่ายเรื่องนี้ไม่ได้ ยกเว้นมีปัญหาเราอาจจะต้องมีการสุ่มพอเกิดเรื่องที่อาจจะมีการสุ่ม ซึ่งถ้าสุ่มแล้วไม่ตรงเราก็ดำเนินการตามกฎกระทรวงเพราะถือว่ารายงานเท็จ ซึ่งส่วนนี้เราคงไม่อยากจะทำเพราะว่างานอย่างอื่นก็เยอะแยะแล้ว ถ้ามาดำเนินการเรื่องว่าทำรายงานเท็จก็ไปกันใหญ่ ดังนั้นทางที่ดีก็คิดว่าน่าจะทำความเข้าใจกับผู้ตรวจสอบ ถ้าเข้าใจกันผมว่าเรามาช่วยกันวิธีนี้ดีกว่า อย่าลืมของแถมที่ให้ไปเล่มนั้น ถ้าบอกว่าเยอะเกินไปก็บอกใช้แบบฟอร์มอะไรก็ได้ เพราะว่าแบบฟอร์มพวกนี้ไม่ใช่แบบฟอร์มตามกฎหมาย ผมต้องการแค่ตรงสรุปตอนท้าย แค่นี้ก่อนครับ

                        ผู้ดำเนินรายการ : ชัดเจนครับ มีหลายคำถามมาหาผมว่ามีแบบฟอร์มตัวนี้แล้ว แล้วตัวเดิมหรือแบบตัวอื่นที่ใช้ยังใช้อยู่ไหม ก็ชัดเจน ท่านบอกว่านี่เป็นทางเลือกหนึ่งที่ให้แบบง่าย  ๆ เพราะว่าในส่วนเดิมที่เห็นเป็น ๑๐๐ กว่าหน้า บางทีส่วน ๓ กับส่วน ๔ มันซ้ำซ้อนกันอยู่ แนวตั้งกับแนวนอน ก็คือสามารถใช้ตัวนี้ได้แต่ท่านบอกชัดเจนว่าสิ่งสาระที่สำคัญก็คือบางครั้งท่านผู้ตรวจสอบอาคารหลายท่านบอกว่าข้างในมี comment ไปหมดสุดท้ายสรุปว่ามั่นคงแข็งแรงแล้วจะออกมาอย่างไร วันนี้ก็จะเป็นแบบง่าย ๆ สอดคล้องบทกฎหมายในข้อ ๑๘ มีทั้งหมดใน ๔ ส่วนที่มี แล้วใส่สุดท้ายมีหน้าสรุปว่ามี commentอะไรบ้าง ในตัวอย่างนี้ในหนังสือจะมี ๒ ข้อ แล้วตัวอย่างก็มีว่า comment ข้อไหนแล้วที่ท่าน ผอ. พินิตเน้นย้ำว่าผู้ตรวจสอบต้องใช้ดุลยพินิจว่ามีระยะเวลาการแก้ไขอย่างไร เพื่อพนักงานท้องถิ่นจะออกคำสั่งตามนั้น อันนี้ชัดเจน เนื่องจากว่ามี ๙ ประเภท เดิมมีประเภทเดียว ต้องถามท่านรองประธานคณะกรรมการจัดรายงาน จากเกณฑ์ ๙ ประเภท ท่านอาจารย์บัณฑิตกล่าวพอสังเขปนิดหนึ่งว่าตัวรายงานมันเป็นอย่างไรครับ

                        พันตำรวจโท  บัณฑิต ประดับสุข : ตัวรายงานนี้เป็นความร่วมมือกันของ  MOU ทั้ง ๔  ฝ่ายที่ได้แจ้งไปแล้ว คือเราทำให้มันกระชับขึ้นจากที่กรมโยธาทำมา กรมโยธาทำไว้อันนั้นอาจจะไม่ประกาศกันใช้ผ่านที่ประชุม มีการอธิบายกัน แล้วก็ในส่วนตัวผมที่ช่วยแก้ไขกับเขาก็ยังใช้ได้อันนั้น อันที่ ๒ กำหนดเอาไว้ใน format ของ checklist อันนี้ checklist เป็นเครื่องมือผมเห็นอาจจะเห็นแย้งกับท่านพินิต ผมอาจจะเห็นแย้งกับท่านพินิต checklist เป็นเครื่องมือที่ดีในการตรวจสอบอาคาร เพราะทำให้เราสามารถจะตรวจได้ครอบคลุม แล้วก็มีการอ้างอิงเวลาเขียนรายงานว่าคุณไปตรวจจริงเป็นแบบนี้ อันนี้สำหรับคนที่ไปตรวจจริงไม่ได้นั่งเทียนตรวจ เป็นสิ่งแสดงอันหนึ่งว่าคุณได้ไปตรวจจริง เราก็แบ่งเป็นการตรวจสอบอาคารทั้ง ๙ ประเภท ก็มีอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ผมสรุปให้แล้วกัน อาคารชุมนุมคน อบรม โรงแรม อาคารชุดหรือว่าอยู่อาศัยรวม โรงงาน สถานบริการและป้าย ส่วนใหญ่ของ checklist อันนี้จะเป็นกฎหมายที่ออกมาสำหรับใช้ก่อนปี ๒๕๓๕ ให้มีดอกจันอยู่ก็หลังปี ๒๕๓๕ ก็คือกฎกระทรวงที่ทำตาม ส่วนในเรื่องการตรวจสอบของสถานบริการก็จะอ้างอิงจากกฎกระทรวงที่ออกในปี ๒๕๕๕ ซึ่งประกาศใช้ไปแล้ว รูปแบบของ checklist ค่อนข้างย่อ ขอบเขต หลักการ เหตุผล เป็นเสมือนสิ่งที่ทำความเข้าใจกับทุกท่านและทาง กทม. เพื่อให้ formatได้ตรงกัน ถ้ามาดูไล่เรียงไป อย่างสมมุติยกตัวอย่างเดียวหรืออาจจะเป็น ๒ ตัวอย่าง เอาเป็นอาคารสูงอันแรกเลย อันนี้จะเห็นว่าระดับ มีคำว่า ระดับ ระดับ ๑ คือเกณฑ์ขั้นต่ำคือในช่วงแรก เราจะเป็นเกณฑ์ขั้นต่ำในการตรวจถือตามกฎหมายเลยแล้วก็มีขอบเขต ๑  ๒ ๓  ๔  ๕  ๖  ๗  ๘ ทำการแก้ไขอาคารวัตถุประสงค์เป็นอย่างไร ข้อมูลอาคารต่อมา รายละเอียดตรวจสอบอาคาร บทที่ ๑การตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรง ถ้าเผื่อแก้ไขกฎหมายแล้วคงจะไม่ใช้คำว่า มั่นคงแข็งแรงไปล่วงละเมิดทางจรรยาบรรณของทางโครงสร้าง จะเป็นการตรวจสถานภาพของอาคารจะตรงกับมาตรา ๓๒ ของ พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร

                        ผู้ดำเนินรายการ : คือหมายความว่าปรับบทนี้ไปเลยหรือครับ หรือต่างอย่างไร

                        พันตำรวจโท บัณฑิต ประดับสุข : ไม่ต่างครับ เพียงแต่ wording ถ้าเกิดใช้คำว่าตรวจความมั่นคงแข็งแรงจะไปข้าวของทางวิศวกรรมโยธา มาตรา ๓๒ ทวิซึ่งเจ้าของจะต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบด้านวิศวกรรมแล้วแต่กรณีทำการตรวจสอบสภาพอาคาร ถ้าเผื่อเปิดดูกฎหมาย ย้ำอีกครั้งหนึ่งเราดูสภาพ ไม่ได้ดู design

                        ผู้ดำเนินรายการ : ตรงส่วนสรุปที่บอกว่ามั่นคงแข็งแรง จะเป็นอย่างไรครับ

                        พันตำรวจโท บัณฑิต ประดับสุข : ยังคงในสภาพที่ยังใช้งานได้อยู่ เป็นต้น ก็คือใช้คำว่าสภาพพร้อมใช้งานในตัวสรุป ถ้าอาคารนั้นไม่มีก็บกพร่องตามกฎหมาย ซึ่งถ้าคนที่เรียนกับผมมาหลายปี ผมพูดเรื่องแรกเลยว่าท่านไม่ใช่ผู้รับรองความปลอดภัยอาคาร แล้ว checklist อันนี้ดีอยู่อย่างหนึ่งในหมวดที่ ๑ จะมีคำว่าไม่มีร่องรอยการเสียรูป อันนี้จะไม่เกี่ยวกับทางวิศวกรรมโยธาเท่าไร เพราะเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาผมก็ยกเรื่องนี้ขึ้นมาว่าจะขอเปลี่ยนแปลงคำนี้เนื่องจากจะไปก้าวล่วงกับทางวิศวกรรมโยธา ไม่มีร่องรอยหรือความเสี่ยงของการที่จะหลุดรูปทรงของอาคาร อันนี้ให้เกณฑ์ด้วย เพราะฉะนั้นท่านผู้ตรวจสอบอาคารก็ตรวจสภาพอาคาร หมวดที่ ๒ ก็เหมือนกัน ระบบลิฟต์ก็มีป้ายคำเตือนไว้ ระบบดับเพลิง

                        ผู้ดำเนินรายการ : อันนี้คือล้อในส่วนของข้อ ๑๘ ลงมาเลย

                        พันตำรวจโท บัณฑิต ประดับสุข : ใช่ครับ

                        ผู้ดำเนินรายการ : แต่ผมเห็นใน checklistจะมีดาวข้างหลังคืออย่างไรครับ

                        พันตำรวจโท บัณฑิต ประดับสุข : ดาวข้างหลังหมายความว่าในข้อนั้นเป็นอาคารที่สร้างหลังปี ๒๕๓๕

                        ผู้ดำเนินรายการ : คือกรณีอย่างนี้ พวกเราก็อย่างนี้ บางอาคารเขาต้องการมาตรฐานที่สูงขึ้น แต่ว่าอยากรู้ว่าถ้าฉันจะปรับปรุงคุณภาพที่สูงขึ้น คือในนี้จะใส่ข้อกฎหมายที่สูงขึ้นไปด้วย เขาอยากจะมีสปริงเกอร์หรืออยากจะมีอุปกรณ์อย่างอื่น ก็คือใส่ใน commentตัวนี้ด้วย แต่ว่าไม่ให้เป็นข้อบกพร่อง แต่เป็นข้อเสนอแนะ

                        พันตำรวจโท บัณฑิต ประดับสุข : ครับ อันนี้ต้องระวังหน่อยเพราะว่าเดี๋ยว กทม.บอกว่าอันนี้ทำไมไม่แจ้งไป อันนี้ต้องไปเปรียบเทียบกับกระทรวง

                        ผู้ดำเนินรายการ : ก็ใส่เพิ่มตรงนี้

                        พันตำรวจโท บัณฑิต ประดับสุข : เปรียบเทียบกฎกระทรวงใน พ.ศ. ที่ตึกสร้าง สิ่งที่ยังขาดหายไปของformat อันนี้ก็คือการตรวจตามกฎหมายอย่างที่เราบอกว่าอันนี้ไม่ใช่ format checklist ตามกฎหมาย เป็น checklist ที่ค่อนข้างจะตรวจ performance มากกว่า

                        ผู้ดำเนินรายการ : ก็ชัดเจน ท่านสามารถที่จะไปดูรายละเอียดถ้ามีข้อเสนอแนะหรือข้อสอบถามสามารถที่จะถามมาทางอาจารย์บัณฑิตหรือทางสมาคม ทำไมต้องแบ่งประเภทออกเป็นตั้ง๙ ประเภท ก็คือเนื่องจากประเภทความเสี่ยง

                        พันตำรวจโท บัณฑิต ประดับสุข : ใช่ครับ เป็นประเภทความเสี่ยง คือก็อ้างอิงทางต่างประเทศในการพิจารณาความเสี่ยงและลักษณะการใช้งานของอาคาร

                        ผู้ดำเนินรายการ : แสดงว่าแนวโน้มตัวนี้ก็มีแนวโน้มการตรวจอาคารก็จะเน้นเรื่องการประเมินความเสี่ยงเข้ามาด้วย

                        พันตำรวจโท บัณฑิต ประดับสุข : ครับ คืออันนี้ยังขาดแบบประเมิน เหมือนกับไปเทียบกับมาตรการ มอก. ๑๘๐๐๐ อีกที ๑๘๐๐๐ ก็ไม่ได้ออกแบบการประเมินไว้ให้ ผู้ทำ ๑๘๐๐๐ ก็จะต้องไปทำออกแบบการประเมินเอง ซึ่งเป็นที่ยอมรับของ CB หรือ auditor อันนี้ผมจะเปรียบเทียบระหว่าง ๑๘๐๐๐ คือการตรวจอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มันจะคล้ายกัน ใช้คำว่า audit เหมือนกัน คือถ้าเผื่อเป็นการตรวจประเมินซึ่งเราจะให้คำจำกัดความใหม่ของกฎหมายที่แก้ไข คือ audit เมื่อไรต้องมีประเมิน คำว่า audit คือต้องเป็นบุคคลที่สามมาตรวจซึ่งเราก็ใช่ แล้วก็ตรวจในสิ่งที่เขาทำไว้แล้ว อย่างเช่นท่านเข้าไป audit ในโรงงานท่านอาจจะเจอเขาเรียก unsafe act คือสถานที่ภาพที่ไม่ปลอดภัย เช่นบันไดอับ หรือขับรถเร็ว ใช้ความเร็วขนาดนี้เป็นที่ไม่ปลอดภัย

                        ผู้ดำเนินรายการ : ที่อาจารย์พูดเมื่อกี้ ตอนนี้ปัญหาเรื่องรถค่อนข้างที่จะเป็นปัญหาเยอะพอทำ checklist ตัวนี้มาแล้วมีแนวทางที่ให้พนักงานท้องถิ่นออกคำสั่งแล้วถามว่าตรงนี้จบหรือเปล่าท่าน ผอ. พินิต จะต้องพิจารณาอะไรอีกไหมครับ

                        นายพินิต เลิศอุดมธนา: จริง ๆ เราน่าจะคุยกันอยู่ ๒ ส่วน อีกส่วนหนึ่งคือขั้นตอนการตรวจสอบเป็นส่วนหนึ่ง ผมเข้าใจว่าตอนนี้ปัญหามันอยู่ที่ขั้นตอนที่กฎหมายเขียนกับที่เราเข้าใจกัน ซึ่งกฎหมายบางตัวยังทำให้เราสับสน เช่น จำนวนครั้งหรือ ๕ ปี ขั้นตอนพวกนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ทุกวันนี้มีปัญหาอยู่ อีกด้านหนึ่งด้านเทคนิคที่แก้ไขอยู่ ที่อาจารย์บัณฑิตบอกว่าเป็นเรื่องเทคนิคที่ว่าการตรวจ ทำไมกฎหมายออกมาต้องบอกว่าปลอดภัย ซึ่งเกินขอบเขตที่จะสามารถระบุตัวนี้ได้ อันนี้ด้านเทคนิคเหมือนกับว่าโครงสร้างกฎหมายเขียนมาว่ามีการต่อเติม ฐานล่างทรุดไหม จริง ๆ เป็นเรื่องที่ว่าพวกท่านต้องดูส่วนนี้เอง แล้วก็สรุปมาเพียงแต่ว่าไม่มีสภาพที่บ่งว่าอันตราย มันจบแค่ตรงนี้ แต่คราวนี้เรามองลึกไปว่าต้องระบุว่ามีต่อเติมไหม ระบุว่ามีการเปลี่ยนการใช้ไหม ซึ่งส่วนนี้เราไปมองลึกเกินไปหรือเปล่า คือจริง ๆ เป็นแนวทางเฉย ๆ ว่าเราควรจะให้รู้ว่าต้องมองในแง่ไหน เหมือนกับเป็น guide ให้ สรุปก็คือว่าไม่มีสภาพบ่งบอกว่าจะมีอันตรายก็จบในส่วนนี้ใช่ไหม จริง ๆ เทคนิคอยากจะเรียนว่าตอนนี้เราควรคุยว่าจุดไหนเป็นปัญหามากกว่า น่าจะเคลียร์เรื่องพวกนี้จะได้เป็นส่วน ๆ ไป ผมเข้าใจว่าทางผู้ตรวจสอบหลายท่านยังไม่เข้าใจตัวขั้นตอน เพราะผมเองอ่านแล้วยังไม่เข้าใจ เพียงแต่ว่าทางผมเป็นผู้ปฏิบัติ ดังนั้นผมต้องฟังทางธง เพราะถ้าผมจะหารือกรมโยธาตอบมา ผมก็ไม่เชื่อว่าผมจะทำได้เลย ผมก็ต้องมาฟันธงอยู่ดี ทาง กทม. เราก็จะฟันธงไปเลยว่าให้ยื่นอย่างไร เพียงแต่อาศัยของกรมโยธามาประกอบเป็นเหตุผลในการที่จะฟันธงว่าให้ยื่นอย่างไร

                        ผู้ดำเนินรายการ : การยื่นอย่างไร แล้วออก ร ๑ อย่างไร  เดี๋ยวผมขอทางนายกสมาคมผู้ตรวจสอบเสริมนิดหนึ่งว่ามีแนวทางและเอกสารที่จะต้องยื่น แล้วเห็นว่ามีแบบแปลนอย่างง่าย ๆ ที่จริงปัญหาค่อนข้างเยอะทั้งเรื่องเอกสารและแบบแปลนเป็นอย่างไร เชิญนิดหนึ่งครับ

                        นายวิเชียร บุษยบัณฑูร : ขอบคุณครับ ผู้ตรวจสอบก่อนว่าเราต้องเข้าใจบทบาท เดิมเองผู้ตรวจสอบบางท่านทำหน้าที่เป็นแค่ตา แค่กล้อง ไปดูสภาพ ดูอะไรออกมาแล้วก็มา tell fact คือบอกความจริงแล้วเขียนใน comment ตามที่พบ แล้วก็บอกกภาระเรื่องจะใบ ร ๑ ไม่ใบ ร ๑ สั่งไม่สั่งเป็นเรื่องของท้องถิ่น กำลังจะบอกว่าเข้าใจเจตนารมณ์ของกฎหมายให้ถูกต้องเสียทีเดียวก่อนอื่นคือผู้ตรวจสอบเรามีคุณสมบัติการจะมาเป็นผู้ตรวจสอบได้ คุณสมบัติสูงมาก มีวิศวกร สถาปนิกเป็นบุคคลอื่น ๆ ทั่ว ๆ ไปไม่ได้ ดังนั้นคงไม่ใช่เอาตราผู้ตรวจสอบมาทำกันเพียงแค่กล้องฉายภาพ ผู้ตรวจสอบเราคือนักวินิจฉัย หน้าที่ของผู้ตรวจสอบเราต้องทำการตรวจสภาพให้ครบตามที่กฎกระทรวงกำหนดไว้ ๑๗ เรื่องหรืออะไรก็แล้วแต่ เราไม่มีความจำเป็นที่ต้องบอกมาว่า ๑๗ เรื่องทำอะไร เราทำ ๑๗ เรื่องแล้วก็มาสรุปตอนสุดท้ายว่าตกลงเราจะส่งเรื่องรายงานผลไปยังท้องถิ่นอย่างไร อย่างที่บอกว่าท้องถิ่นเขาดูใบสุดท้ายว่าตกลงท่านคิดว่าเจ้าของอาคารนั้นควรจะได้ใบ ร ๑ หรือควรจะโดนสั่งให้แก้ไข มีอยู่๒ ขั้นตอน ท่านเป็นคนตัดสินใจว่าท่านจะไปไหนแล้วทำแนวทางบทสรุป ทีนี้ทำอย่างไรที่จะให้ผู้ตรวจสอบทำงานได้ ก็เลยต้องเป็นรูปเล่มเหมือนโยธาทำมาให้ มีรายละเอียด มี checklist เต็มไปหมดเลยทำให้ ๒ สิ่งที่อยู่มารวมกันทำให้เราปฏิบัติเกิดความสับสนขึ้น แต่วันนี้เรารู้แล้วว่าสุดท้ายถ้ายืนกรานว่าได้ทำหน้าที่ตรวจครบทั้ง ๑๗ ระบบและมีความเห็นว่าอาคารนั้น

มีสภาพปลอดภัยแล้วส่งให้ท้องถิ่น ท้องถิ่นก็ออกใบ ร ๑ อยู่บนเงื่อนไขที่ว่าขอแนบเอกสารดังต่อไปนี้ แนบเรื่องแบบแปลน ขอให้แนบหนังสือที่แสดงความเป็นเจ้าของ ข้อที่ ๓ แนบหลักฐานความเป็นผู้ตรวจสอบตัวจริงจนกระทั่งครบ เมื่อครบตามนั้นก็ต้องส่งเข้าทางท้องถิ่น เขาก็ออกใบ ร ๑ ให้ในกรณีที่ไม่มีการแก้ไข แต่ถ้าเกิดท่านต้องการให้แก้ไข เจ้าของอาคารเกิดเขาแก้ไขทัน ก็คือรับรองปลอดภัย แต่ถ้าแก้ไม่ทันเพราะรายงานมี deadline ต้องส่งท่านก็เขียน comment ไว้แล้วก็ส่งทางท้องถิ่น ท้องถิ่นก็ออกคำสั่ง ท้องถิ่นจะออกคำสั่งได้อย่างไรถ้าไม่ชัดเจน ท่านก็ต้องเขียนรายละเอียดว่าเขาควรจะต้องได้รับคำสั่งแก้ไขเพราะว่ากฎหมายข้อไหนบอกว่าเขาต้องทำ มันก็ต้องมีระยะกฎหมายชัดเจน ไม่อย่างนั้นคำสั่งไปเจ้าของอาคารเขามีสิทธิอุทธรณ์ว่าท้องถิ่นไม่มีอำนาจสั่ง คำสั่งก็ตกไปอย่างที่ท่าน ผอ. พินิตพูด ถ้าเราเห็นภาพพวกนี้จะรู้เลยว่าจากนี้ไปเราควรจะตรวจสอบอาคารอย่างไร ส่วนเรื่องค้างเก่าเราจะแก้อย่างไร ก็จะต้องมารวมตัวกัน ตอนนี้สมาคมมีหารือเกี่ยวกับปัญหาการออกมใบ ร ๑ ไม่ได้กับทาง กทม. ทางสำนักการโยธาหลายประชุมจนกระทั่งตกสะเก็ดสะเด็ดน้ำเรียบร้อยว่าอย่างไรถึงได้ใบ ร ๑ อย่างไรเจ้าของได้คำสั่งตามมาตรา ๔๖ ทวิ มีเกณฑ์กติกาชัดเจน ดังนั้นจากนี้ไปเพื่อที่จะตามเรื่องใบ ร ๑ ให้กับเจ้าของอาคารรายเก่า ๆ ก็สามารถเข้ามาปรึกษาหารือกับสมาคม สมาคมก็คือผู้ตรวจสอบด้วยกัน เพราะทุกท่านมาหารือก็คงตอบไม่ทัน ท่านต้องมารวมกลุ่มกัน ต้องมาร่วมอยู่ในสมาคม แล้วก็มาร่วมอยู่ในคณะอนุกรรมการเพื่อจะเป็นปึกแผ่น เพื่อที่จะได้กระจายข่าวสารต่าง ๆ ไปยังสมาชิกอื่น ๆ

                        ผู้ดำเนินรายการ : เดี๋ยวท่านอาจารย์บัณฑิตจะกล่าวเสริมเรื่องตรวจประจำปี ๕ ปี

                        พันตำรวจโท บัณฑิต ประดับสุข : ที่ผมเรียนให้ทราบว่าที่จะแก้กฎหมายเรื่องนิยามต่าง ๆ แล้วก็การจัดระดับของผู้ตรวจสอบ ก็ยังมีอีกอันหนึ่งจะมีการตรวจสอบใหญ่ประจำปี ตรวจทุกปี ซึ่งปกติแล้วในการปฏิบัติต้องเป็นอย่างนั้น ระหว่างตรวจประจำปีกับตรวจสอบใหญ่ ก็คงจะตอบคำถามท่านพินิตอีกเรื่องหนึ่งที่ผ่านมาตรวจแล้วทำไมรายงานมีความขัดแย้งว่าต้องแก้ไข คือในที่ผมสอน ผมจะบอกเลยที่ต้องแก้ไขคือแก้ไขให้ตามกฎหมาย ใช้คำว่า ต้องแก้ไข ถ้าเป็นข้อเสนอแนะตามกฎหมายคือว่าการใช้มาตรฐานที่สูงกว่าหรือใช้มาตรฐานต่างประเทศหรือใช้หลักวิชาการอื่นในการที่จะให้ข้อเสนอแนะแก่เจ้าของ ผู้ตรวจสอบอาคารเก่งหรือไม่เก่งผมดูที่ข้อเสนอแนะ ผมไม่ดูเทคนิคเขาเท่าไร

                        ผู้ดำเนินรายการ : ผมชี้แจงนิดหนึ่ง ถ้าท่านมีคำถามท่านสามารถมาที่ไมค์ได้ ถามสดได้เพราะว่ารายการนี้ไขข้อข้องใจสำหรับผู้ตรวจสอบ ท่านเห็นว่ามีแนวปฏิบัติอย่างไรเพื่อจะเป็นแนวทางร่วมกันในการปฏิบัติงาน เพราะอย่างที่ท่านนายกสมาคมพูด มีรูปแบบชัดเจนแล้วการจะออก ร ๑ ทำอย่างไร มีแนวปฏิบัติอย่างไร ขอให้ทุกท่านที่ออกจากห้องนี้ไปก็สามารถที่จะปฏิบัติได้ถูกต้อง คำถามที่คาใจถ้าไม่สามารถตอบในที่นี้ได้ก็ส่งมาแล้วผมจะตอบในเว็บไซต์ของสมาคม กทม. ท่านสามารถที่จะดาวน์ โหลดแบบฟอร์มแล้วสามารถที่จะดูคำถามวันนี้ได้จาก ๒ ช่องทางใน website ของ กทม.ก็คือwww.bangkok.go.th หรือในหน้า ๒๐๙ แล้วก็ในเว็บของสมาคมก็คือ www.bsa.or.thเดี๋ยวผมขอถามจากคำถามข้างล่างเลย คือคำถามค่อนข้างที่จะมีความรู้แล้วก็เป็นปัญหาเหมือนกัน ต้องถามท่าน ผอ. พินิต ข้อแรกในใบ ร ๑ ออกจากหน่วยงานราชการท้องถิ่นภายใน ๖๐ วัน แต่ว่าปัจจุบันผู้ประกอบการยังไม่ได้ ร ๑ เลย จะต้องดำเนินการอย่างไร คำถามที่  ๒ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๐-๒๕๕๔ ยังไม่ได้ ร ๑ เลย แล้วปี ๒๕๕๕ จะต้องยื่นรายงานแบบไหน

                        นายพินิต เลิศอุดมธนา: ข้อแรกคือที่ยื่นมานานแล้วยังไม่ได้จะต้องไปเช็กว่าติดขัดอะไร ถ้าท่านไม่เช็กเอง ท่านมาถามผม ผมก็ไม่รู้จะตอบอย่างไร ยื่นปี ๒๕๕๐ ตอนนี้ ๒๕๕๔ ยังไม่ออกผมถามว่าแล้วคุณได้รับจดหมายจาก กทม. ไหม เพราะถ้าเราส่งให้ เราส่งให้กับเจ้าของอาคาร ผมไม่ทราบว่าเจ้าของอาคารกับผู้ตรวจสอบประสานกันขนาดไหน ไม่ใช่ว่ายื่นมาถึงเสร็จจะรอ ร ๑ อย่างเดียว ผมว่าก็ไม่น่าจะใช่ แล้วก็พูดถึงว่าเรื่อง ๕ ปีค้าง เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ตอนนี้ยังมีปัญหาอยู่จะอย่างไร ที่ผมบอกว่าทาง กทม. คงจะต้องมีการฟันธงบ้าง คือตรวจสอบใหญ่ให้ตรวจ ๕ ปีครั้ง  แล้วก็ต้องตรวจย่อยทุกปีถ้าพื้น ๆ คือว่าตรวจสอบใหญ่ครั้งหนึ่ง ตรวจสอบย่อยอีก ๔ ครั้ง แต่คราวนี้ข้อเท็จจริงไม่ใช่ เพราะจริงพอยื่นมาแล้วกว่าจะผ่าน ถึงแม้ว่าไม่มีอะไรติดขัด ร ๑ ตามกฎหมายก็เสียเวลาไป ๒ เดือน การที่เขาจะนับเขาก็นับจากที่ออกใบ ร ๑ ไม่นับวันที่ยื่นอยู่แล้ว ดังนั้นเวลาจะชิดไปเรื่อย ๆ แต่พอปีที่ ๑ ตรวจสอบย่อยประจำปีก็เลทไปอีก พอเลทไปถึงเวลาบอกว่าครบ ๕ ปีแล้วตรวจสอบประจำปีไป ๒ ครั้ง ตรวจสอบใหญ่ถ้าเราไปบังคับว่าตรวจสอบใหญ่อีกทีผมคิดว่าสมเหตุสมผลหรือเปล่า เพราะบางทีผมมองว่าถ้าผมเอาตามตัวหนังสือเป๊ะเลยว่าพอถึง ๕ ปีต้องตรวจ ทางเจ้าพนักงานท้องถิ่นก็ต้องไปเช็กวันที่เราออก ซึ่งแต่ละเรื่องวันไม่เหมือนกัน วันนั้นอีก ๕ ปีถึงหรือยัง ถ้าถึงก็คือว่าต้องตรวจสอบใหญ่ มันก็ค่อนข้างจะยาก ดังนั้นทางเราก็มองว่าในเมื่อตรวจสอบใหญ่แล้วได้ ร ๑ ครั้งต่อไปตรวจสอบย่อยเราก็ให้อีก ๔ ครั้ง แต่เราไม่บอกว่าประจำปี พ.ศ. อะไร เราบอกว่าตรวจสอบประจำปีครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ ครั้งที่ ๓ ครั้งที่ ๔ เหตุที่เราทำอันนี้ก็เพราะว่ากรมโยธาบอกว่าต้องตรวจประจำปีทุกปี ทั้ง ๆ ที่ กทม. บอกว่าเมื่อตรวจเสร็จผู้ตรวจสอบก็ส่งรายงาน แต่พอส่งรายงานมาเราทำไม่ได้เพราะ ร ๑ ยังไม่ออก คุณจะส่งกี่ปีมาเราก็ตรวจไม่ได้ ก็มีหนังสือแจ้งไปว่าที่คุณทำมาใบ ร ๑ ยังไม่ออก เราไม่สามารถที่จะพิจารณาได้ เพราะตรวจสอบใหญ่คุณจะต้องกำหนดแผนการตรวจประจำปี ในเมื่อแผนคุณยังไม่approve แล้วตรวจประจำปีได้อย่างไร ข้อเท็จจริงมันอยู่ตรงนี้ คุณก็ต้องมาตามฉบับแรกว่าตรวจสอบใหญ่ออกหรือยังถ้าออกแล้วครั้งต่อไปตรวจสอบย่อย ๑  ๒ ๓ ก็ตรวจตามแผนก็ง่ายหน่อย ตอนนี้ตรวจไปครั้งที่ ๓ ครั้งที่ ๔ ก็หลายราย ก็คงจะเคลียร์ตรงนี้เรื่อง ๕ ปี

                        นายวิเชียร บุษยบัณฑูร: ขออนุญาตเสริม ท่าน ผอ. พินิตก็บอกแนวทางไว้เรียบร้อยแล้วคือท่านอยู่ในฐานะเจ้าหน้าที่รัฐ ท่านจะต้องบอกทุกอย่างเป็นไปตามเกณฑ์กฎหมาย ซึ่งเป็นธรรมชาติที่ว่าพอเสร็จแล้วเราต้องเข้าใจแนวคิด เสร็จแล้วเราก็ต้องมาหาวิธีแนวทางปฏิบัติ แล้วจะทำอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องของที่ติดค้าง ก่อนอื่นต้องตั้งหลักก่อนว่ากฎหมายนี้ กฎกระทรวงเขียนมาฉบับเดียวกันก็ตาม ถ้าทำงานตรวจสอบมาก ๆ คือทั่วประเทศท่านจะพบว่าท่านจะยอมรับ ท่านต้องเข้าใจก่อนว่ากฎหมายตัวเดียวกันแนวทางปฏิบัติมันเป็นไปได้มากกว่า ๑ แนวทาง เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้น ดังนั้นแนวทางของ กทม. ท่านก็ต้องเรียนรู้ว่าแนวทางของ กทม. เขาตีความกฎหมายอย่างไร ส่วนแนวทางต่างจังหวัดเขาตีอย่างไร ต่างจังหวัดยังมีรูปแบบที่หลากหลาย บางที่ก็ยึดถือวันสุดท้ายของปีเป็นเกณฑ์ในการยื่นรายงาน ถ้าทำจะรู้เลยว่าเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นจะโทรมาติดตามเลยว่ารายงานออกหรือยัง รายงานส่งหรือยังจะได้รีบออกใบ ร ๑ ส่งมาด่วน จะหมดปีอยู่แล้ว เรายอมรับความจริงในตรงนี้ว่ามันมีแนวทางปฏิบัติที่แตกต่างกัน ท่านต้องcustomize มันเสีย ส่วนของ กทม.ถามว่าแล้วเราจะออกจากอุปสรรคตรงนี้ได้อย่างไร แน่นอนสมาคมก็มีคณะทำงานร่วมกันกับทางวิศวกรโยธา กำลังจะเข้าไปตรวจเรื่องต่าง ๆ ตอนนี้ข้อมูลเบื้องต้นว่าอาคารที่ยื่นในปี ๒๕๕๐ มีฐานข้อมูลอยู่ประมาณ ๕,๐๐๐ กว่าเรื่อง ประกอบไปด้วยอาคารแล้วก็ป้ายใน ๕,๐๐๐ กว่าเรื่องมีได้ใบ ร ๑ออกไปแล้วประมาณ ๑,๐๐๐ กว่าเรื่องเศษ ๆ พวกนี้ยังไม่ได้รับใบ ร ๑ตรวจสอบใหญ่ ๆ ว่ากันง่าย ๆ จะมีอยู่ประมาณ ๔,๐๐๐ เรื่อง ถือว่ายังไม่ได้เกิดกำเนิดใบ ร ๑ ดังนั้นถ้าท่านอยู่ในข่ายว่ายังไม่ได้กำเนิดใบ ร ๑ ใบแรกแล้วจะทำอย่างไร ปีนี้จะตรวจอย่างไร แนะนำได้ ๒ อย่างจะตรวจใหญ่ก็ดี จะตรวจปีก็ได้ พอตรวจเสร็จตามกฎหมายแล้วเจ้าของอาคารต้องตรวจทุกปี กฎหมายกำหนดชัดเจน เมื่อตรวจเรียบร้อยแล้วเจ้าของอาคารมี option อันที่ ๒ ต่อว่าเขาจะยื่นมาที่ กทม.หรือจะไม่ยื่น ถ้ายื่น กทม. ก็รับ แล้วเดี๋ยวก็จะส่งคืนให้ เพราะใบ ร ๑ ตรวจใหญ่ยังไม่กำเนิด ส่วนถ้าไม่ยื่นก็เก็บไว้ก่อนไม่เป็นไร แต่ว่าเจ้าของอาคารควรจะร่วมมือกับผู้ตรวจสอบอาคาร มาศึกษาว่าเรื่องที่ติดค้างเดิมจะแก้ปัญหาอย่างไร เพราะว่าเรื่องที่ติดค้างเดิมถ้าเข้าไปดูส่วนใหญ่คือกติกาที่เขาจะออกใบ ร ๑ ไม่ครบแน่นอน ติดเรื่องใดก็เรื่องหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น ท่านรับรองว่าปลอดภัยแต่ข้างในมี comment มันเป็นการขัดกันของความตั้งใจที่ท่านจะรับรอง ท่านต้องไปแก้รายงานฉบับนั้นให้เรียบร้อย จะตั้งคำถามต่อว่าแล้วผู้ตรวจสอบรายเดิมหายไปแล้วทำอย่างไร พวกนี้ก็เป็นการแก้ทางเทคนิคอีกที่ต้องเข้ามาคุยทางสมาคม เพราะว่าเรื่องปัญหาต่างๆ เหล่านี้มีการพูดคุยหารือแล้วก็มีแนวทางที่จะแก้ไขไว้เรียบร้อยแล้วว่าแต่ละเรื่องจะแก้อย่างไร แต่เนื่องจากมีประมาณ ๔,๐๐๐ เรื่อง นโยบายท่านผู้ใหญ่เขาต้องการให้อาคารทุกอาคารได้ใบ ร ๑ เป็นนโยบายอยู่แล้ว แล้วก็ตั้งใจให้ได้ใบ ร ๑ ได้ภายในระยะเวลาอันสั้น แต่ตอนนี้มีอยู่๔,๐๐๐ เรื่องก็ต้องใช้เวลา ผู้ตรวจสอบก็คงต้องมานั่งสอบถามว่าหลังจากที่เราร่วม data base ได้แล้ว เราก็สามารถบอกได้ว่าเรื่องของใครอยู่ในลำดับที่เท่าไร  ส่วนท่านใดที่ได้ใบ ร ๑ ตรวจสอบใหญ่เรียบร้อยแล้วแล้วก็เข้าสู่การตรวจสอบประจำปี บางท่านก็อาจจะได้ใบ ร ๑ ตรวจสอบประจำปีครั้งที่ ๑บางท่านก็ได คนที่เก่งที่สุดเท่าที่ดูจากฐานข้อมูลน่าจะได้แค่ครั้งที่ ๒ ดังนั้นสรุปกับสิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้คือบางท่านได้ใบที่ ๑ บางท่านได้ใบที่ ๒ บางท่านได้ใบที่ ๓ บางท่านได้ใบที่ ๔ ท่านได้ใบไหนเป็นใบล่าสุดท่านไปดูวันนี้ในนั้นแล้วบวกไปอีก ๑ ปีแล้วลบมาอีก ๓๐ วัน คือท่านต้องยื่นรายงาน รายงานของท่านให้ลบปี พ.ศ. ทิ้ง แล้วท่านจะเข้าใจวิธีการทันทีว่าท่านควรจะทำอย่างไร สำหรับเคสของ กทม. อย่าไปใส่ พ.ศ. ให้ใส่ว่ารายงานประจำปีครั้งที่ ๑  ๒  ๓ มันจะเป็นครั้งที่เท่าไรให้ท่านดูจากใบ ร  ๑  ที่ท่านถืออยู่ใบสุดท้าย

                        ผู้ดำเนินรายการ : โดยสรุปก็คืออย่างที่ข้อมูลกรมโยธามา มีคนขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบอาคารอยู่ ๒,๔๐๐ ตอนนี้เหลือที่ update ปัจจุบันอยู่แค่ ๑,๔๐๐ แสดงว่าผู้ตรวจสอบหายไป ผู้ตรวจสอบคนใหม่สามารถที่จะไปรับงานได้ใช่ไหมท่านนายกหรืออย่างไร

                        นายวิเชียร บุษยบัณฑูร : ได้ครับ เพราะว่าท่านต้องเอาเจ้าของอาคารเป็นที่ตั้ง เจ้าของอาคารเป็นเป้าสุดท้าย เขาต้องมีผู้ตรวจสอบอาคาร เขาต้องมีใบ ร ๑ ต้องแก้ปัญหาให้เขา แก้อย่างไรแล้วก็มาคุยกันที่สมาคม

                        ผู้ดำเนินรายการ : คือทำรายงานเล่มใหม่เลย

                        นายวิเชียร บุษยบัณฑูร : นั่นก็คือแนวทางหนึ่งซึ่งเป็นรายละเอียดย่อยว่าผู้ตรวจสอบจะทำรายงานเล่มใหม่หรือจะอย่างไร ต้องมาคุยในเสวนาย่อยอีกทีว่าทำไมเราถึงจะไป cover ความปลอดภัยของเขาได้ในฐานะผู้ให้บริการรายล่าสุด เราเป็นที่ปรึกษาเขา เราเป็นหมอประจำตัวอาคารเราต้องให้แนวทาง แก้ปัญหาให้เจ้าของอาคารโน้มน้าวเขาให้รักษาสุขภาพแล้วก็ปรับปรุงเพื่อให้สุขภาพเขาแข็งแรงขึ้น ค่อยยกระดับขึ้นต้องมีแนวทาง

                        ผู้ดำเนินรายการ : ที่ท่านบอกว่ามีข้อความที่สะเด็ดน้ำแล้ว ปัญหาที่ผู้ตรวจสอบเราพบค่อนข้างเยอะก็คือเรื่องแบบแปลนอาคาร แล้วก็เรื่องเอกสารประกอบค่อนข้างที่จะเยอะประมาณ ๓๐-๔๐ เปอร์เซ็นต์ที่ ร ๑ ไม่ออก ท่านพอจะบอกได้ไหมที่สะเด็ดน้ำมันเป็นอย่างไร ควรจะต้องมีดีเทลอย่างไรบ้าง

                        นายพินิต เลิศอุดมธนา: จริง ๆ เรื่องนี้ก็ปัญหาใหญ่ เรื่องที่ว่าหลักเกณฑ์จะให้ ร ๑ กับอาคารที่ถูกต้องตามกฎหมาย คือถ้าอาคารไหนเป็นอาคารที่ก่อสร้างโดยไม่รับใบอนุญาตเราไม่ออกใบ ร ๑ ให้ พื้นฐานคือตรงที่ว่าได้รับอนุญาตก่อน ส่วนการดัดแปลงจริงๆ ก็ไม่ได้ให้ผู้ตรวจสอบไปเช็กว่ามีการดัดแปลงหรือเปล่า อย่างที่บอกเมื่อต้นว่าพอหัวข้อ ๑๗ (๑) ที่จะบอกว่าเรื่องความมั่นคงแข็งแรงก็ไปพูดถึงว่ามีการต่อเติมไหม มีอะไรไหมก็เลยใส่หมดเลย ซึ่งจริง ๆ ที่บอกให้ดูสภาพของโครงสร้าง สภาพของอาคารแต่ตอนนี้ก็ไปใส่เข้ามากลายเป็นเรื่องติดตรงที่ว่ามีดัดแปลง การที่ดัดแปลงทางท้องถิ่นก็ต้องดำเนินคดี เราก็ต้องมีกระบวนการที่ว่าเมื่อรูปแบบเดิมไม่มีก็ต้องค้นหาแล้วต้องเช็กตามกฎหมายว่าตึกนั้น พ.ศ. ไหนใช้กฎหมายฉบับไหนในการตรวจสอบ ดังนั้นที่เรายังขอคือว่ามีหลักฐานการอนุญาต มี อ๑ มีใบรับรองการก่อสร้าง อ ๖ หรือไม่มีส่วนนี้ก็ต้องมีเอกสารทางราชการอะไรสักอย่างที่พอที่ทำให้เราสื่อไปได้ถึงตัวอาคาร เช่นว่าอาคารบางหลังใช้เป็นโรงงาน ก็ควรจะใบจากโรงงานที่ว่าใบประกอบกิจการ อย่างน้อยเอกสารทางราชการที่มาอ้างอิงได้ว่าเป็นอาคารที่มีการรับรองบางอย่างจากหน่วยราชการ ถ้าไม่มีเลยบางทีเราก็เช็กลำบาก เช็กที่ไปที่มาเพราะเราต้องเช็ก คือฉบับนี้ทางกรมโยธาบอกว่าท้องถิ่นจะต้องตรวจสอบเองว่าอาคารนี้ผิดกฎหมายอาคารหรือเปล่า แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องของท้องถิ่น ผู้ตรวจสอบจะดูแค่ว่าเรื่องตรวจสอบสภาพอาคารการดัดแปลงไม่เกี่ยวข้อง ไม่ได้รับรองตรงส่วนนี้ถ้าใส่มาก็มีปัญหา เพราะเราก็ต้องไปแยกเรื่องดำเนินคดี แต่ ร ๑ เราออกได้ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ สามารถที่จะออกได้

                        ผู้ดำเนินรายการ : ท่านนายกเสริมนิดหนึ่งครับเรื่องดัดแปลง

                        นายวิเชียร บุษยบัณฑูร : ก่อนที่จะเสริมก็จะขอพูดคำถามเลย เป็นคำถามจากเวทีข้างล่างว่าแบบแปลนอาคารต้องระบุอะไรลงไปในแบบแปลนบ้าง ถ้าแบบแปลนเดิมไม่มีหรือหาย เจ้าของเดิมทำอย่างไร อุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ในแบบแปลนหนีไฟ ตัวอย่างคืออะไร หมายถึงกระดิ่งหรืออุปกรณ์ตรวจจับความเย็น ความร้อน แบบแปลนเป็น item หนึ่งเป็นรายการหนึ่งที่เป็นรายการสำคัญในการพิจารณาออกใบ ร ๑ ของทาง กทม. แล้วก็เป็นรายการที่ติดเยอะที่สุด และตัวนี้หมายถึงแบบ architect ในการยื่นขอใช่ไหม ไม่ใช่ แบบแปลนตัวนี้หมายถึงแบบที่แปะอยู่บนใช่หรือไม่ ไม่ใช่แบบแปลนตัวนี้เป็นแบบที่ กทม. เขาต้องการแบบแปลนระบบที่จะสื่อว่าเจ้าของอาคารได้ดูระบบความปลอดภัยพื้นฐานครบถ้วนและเห็นว่าอาคารนั้นมีอุปกรณ์ระบบความปลอดภัยครบและการใช้การได้หรือไม่ ดังนั้น layout กระดาษขึ้นมา ๑ แผ่นทุกชั้น เป็น layout ที่เห็นแผนผังของอาคาร มีเส้นเพื่อที่จะแบ่งห้องภายในชั้นนั้น แล้วก็เริ่มระบุว่ามีถังดับเพลิงอัตโนมัติซึ่งประกอบไปด้วยหัวฉีดน้ำดับเพลิงอยู่ตรงไหน สปริงเกอร์อยู่ตรงไหน ถังดับเพลิงชนิดมือถืออยู่ตรงไหนบ้าง มีระบบแฟร์อลามซึ่งไปด้วยตำแหน่งที่แจ้งสัญญาณด้วยมืออยู่ตรงไหน มีตรวจจับอัตโนมัติอยู่ตรงไหนบ้าง มีอุปกรณ์ส่งสัญญาณเสียงหรือแสงหรืออะไรก็แล้วแต่อยู่ตรงไหน มีป้ายบอกทางหนีไฟอยู่ตรงไหน มีบันไดหนีไฟอยู่ที่ตรงไหน มีไฟแสงสว่างส่องสว่างสำรองตรงไหน นี่คือแบบแปลนที่ต้องการเข้าไปประกอบเป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณา ทีนี้ถามว่าแล้วจะแสดงสัญลักษณ์อย่างไร เมื่อเรารู้เจตนาว่าเอกสารตัวนี้เพื่อให้แน่ใจว่าอาคารนั้น ๆ มีระบบความปลอดภัยเกี่ยวกับอัคคีภัยแล้ว มีอพยพหนีไฟแล้ว อาคารนี้มีกลุ่มพวกนี้ซึ่งเป็นขั้นพื้นฐานของกฎกระทรวงฉบับที่ ๔๗ แล้วผู้ตรวจสอบก็รับทราบ รับรู้ว่าอุปกรณ์เหล่านั้นมีสภาพใช้งานได้แล้วก็ใช้งานได้จริงแล้วก็รับรอง ตรงนี้คือเป้าสำคัญ ดังนั้นสัญลักษณ์อะไร ผู้ตรวจสอบบางท่านอย่างในรูปนี้ใช้สัญลักษณ์ป้ายทางหนีไฟก็เอารูปสัญลักษณ์ทางหนีไฟมาใส่ ถังดับเพลิงก็เอารูปถังดับเพลิงมาใส่จุดที่แสดงสัญญาณแจ้งเหตุด้วยมือก็เอาสัญลักษณ์มาใส่ ทีนี้ท่านใช้สัญลักษณ์อย่างนี้ก็ได้ ใส่เร็กเจ้นท์ บางท่านอาจจะใช้ตัวเลขก็ได้ ตัวเลข ๑  ๒  ๓  ๔ ว่า ๑  ๒  ๓  ๔ คืออะไร หรือจะใช้ตัวอักษร ก  ข ค หรือ ABC แล้วก็บอกว่า A  B C คืออะไร ทีนี้ท่านอาจจะบอกว่าแล้วหัวสปริงเกอร์จะใส่อย่างไรใส่ไปก็เต็มฟลอร์ ท่านก็ใช้วิธีการเขียนตัวอักษรว่ามีตัวจับสัญญาณเพลิงไหม้ครอบคลุมทุกพื้นที่แล้วก็เซ็นกำกับว่ามีครบถ้วน นี่คือแบบแปลนประกอบระบบขั้นต่ำที่ทาง กทม. ใช้ในการประกอบพิจารณาออกใบร ๑ ส่วนในอนาคตจะเขียนเป็นออโต้แคทแล้วก็มีความสวยงามแล้วก็ชัดเจนเพื่อจะไปประยุกต์ใช้ต่อกับเจ้าของอาคารก็เป็นอีกขั้นหนึ่ง

                        ผู้ดำเนินรายการ : ตัวอย่างตัวนี้สามารถที่มีตัวอย่างใน website ของ กทม.แล้วก็ของสมาคมใช่ไหมครับ

                        นายวิเชียร บุษยบัณฑูร : ครับ เพราะว่าแบบแปลนตัวนี้จะอยู่ในเล่มนี้ เดี๋ยวจะเอาขึ้น website น่าจะประมาณปลายสัปดาห์นี้ หรืออาจจะต้นสัปดาห์หน้า ไฟล์น่าจะสัก ๒๐ กว่าเม็ก

                        ผู้ดำเนินรายการ : ไม่มีลิขสิทธิ์นะครับ

                        นายวิเชียร บุษยบัณฑูร : ไม่มีลิขสิทธิ์ครับ เอาไปประยุกต์ต่อได้

                        ผู้ดำเนินรายการ : ท่าน ผอ. มีอะไรเสริมครับ

                        นายพินิต เลิศอุดมธนา: จะเรียนอย่างนี้ คืออาคารเก่า ๆ คือถ้าเกิดมายื่นขอดัดแปลงระบบพวกนี้ก็จะมีครบถ้วนตามกฎหมายปัจจุบัน ถ้าอาคารเก่าที่ไม่มีการดัดแปลง อุปกรณ์พวกนี้อาจจะยังไม่มี เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สามารถที่จะไปตรวจสอบและบังคับให้เพิ่มอุปกรณ์เรื่องอัคคีภัยก็คือตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๔๗ ซึ่งอยากจะฝากทางผู้ตรวจสอบด้วยว่าช่วยศึกษากฎกระทรวงฉบับที่ ๔๗ ด้วย ซึ่งอุปกรณ์เหล่านั้นคืออุปกรณ์ที่จะต้องแสดงในผัง แล้วทีนี้ผังควรจะมีเรื่องประตูบันไดหนีไฟด้วยเช่นประตูเหล็กกลายเป็นประตูไม้ อาจจะต้องมี comment ในส่วนนี้ แบบแปลนพวกนี้ควรจะมีอะไรก็แล้วแต่เพื่อแสดงถึงอุปกรณ์ในเรื่องความปลอดภัยในด้านอัคคีภัย

                        ผู้ดำเนินรายการ : ก็ค่อนข้างที่จะชัดเจน ผมมีประเด็นคำถามหนึ่งว่าออกกฎหมายมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ คิดว่ามีผู้ที่ฝ่าฝืนและทำผิดมากมาย แต่รู้สึกว่ายังไม่มีการลงโทษหรือบทลงโทษออกมาทั้งที่ในกฎกระทรวงมีอยู่แล้วแนวทาง ตรงนี้หลังจากนี้ไปจากวันนี้ทางกองควบคุมอาคารหรือว่าทาง กทม.มีแนวทางอย่างไรครับ

                        นายพินิต เลิศอุดมธนา: จริง ๆ กฎกระทรวงฉบับนี้เขาออกมาพร้อมกับเจ้าหน้าที่มีกำลังไม่เพียงพอ ที่บอกว่าในบางครั้งอาคารที่ไม่ทำตามหรืออะไร เราก็ยอมรับทางเราก็ตรวจสอบได้ไม่ทั่วถึง แม้กระทั่งฐานข้อมูล ถึงแม้จะสำรวจมา ข้อมูลกับเรื่องของจริงสำรวจลำบาก ทั้งพื้นที่ ทั้งอาคารมีการดัดแปลงอะไรหรือเปล่าพวกนี้ลำบาก ส่วนหนึ่งที่ผมพูดตอนต้นว่าส่วนตัวของผม ถ้าเกิดเจ้าพนักงานท้องถิ่นยังไม่ดำเนินคดี เห็นด้วยว่าอย่างน้อยประชาชนส่วนใหญ่จะบอกว่าไม่รู้กฎหมาย ผมเชื่อว่าเจ้าของหลายท่านก็ไม่รู้กฎหมายข้อนี้เหมือนกัน การที่เราจะไปถึงเราดำเนินคดีเขาเลยจะรุนแรงเกินไปหรือเปล่าก่อนหน้านี้ผมก็ฟังมาว่าบอกให้ win win ตอนนี้มัน ๓ win แล้วเพราะว่าต้องมีประชาชนเป็นหลักอยู่ส่วนหนึ่ง ทางเราจะหาทางอย่างไรเพื่อกระตุ้นให้เจ้าของอาคาร ซึ่งส่วนนี้เป็นส่วนที่เรามองแต่แรกแล้วว่ากระตุ้นให้เจ้าของอาคารเข้ามาสู่ระบบการตรวจสอบอาคาร เราถึงเอาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน องค์กรหลาย ๆ องค์กรมาร่วมมือกันว่าจะทำอย่างไร เช่น ประชาสัมพันธ์แล้วเราก็ทำหลายด้านคือให้เจ้าของอาคารรับรู้ในขั้นตอนวิธีการ ซึ่งเราหวังว่าอนาคตคงจะดีขึ้นจากความร่วมมือของหลาย ๆ ฝ่าย

                        ผู้ดำเนินรายการ : ผมขอถามประเด็นนิดหนึ่งว่าผู้ที่ออกคำสั่งหรือว่าห้ามใช้อาคารหรือว่าห้ามใช้บางส่วนของอาคาร เป็นทางกองควบคุมอาคารหรือว่าเป็นเขตครับที่จะออกตรงนั้น

                        นายพินิต เลิศอุดมธนา: ของสำนักงานเขต รับมอบอำนาจจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับเรื่องคำสั่งตามกฎหมายอาคาร ตอนนี้ทางเขต หลักเกณฑ์ที่กรมโยธากำหนดว่าให้ยื่นชุดเดียว รายงานชุดเดียว ถ้าเกิดมาถึง กทม.เราอาจจะระบุว่าเราขอ ๒ ชุด เพราะชุดหนึ่งเราจะต้องส่งให้ทางเขตเพราะทำงานคู่กันไป เขตเป็นเจ้าของพื้นที่ สำนักการโยธาต้องตรวจสอบ ต้องขอเป็น ๒ ชุดเพื่อเราจะได้ประสานงานกับทางเขต เช่นว่าการออกคำสั่งเขตเป็นคนออกคำสั่งแต่ทีนี้ทางสำนักการโยธาจะส่งให้เขต เราก็ต้องมีรายละเอียดที่

ชัดเจนว่าจะออกคำสั่งเรื่องอะไร ซึ่งเราก็ต้องดูจากรายงานที่ทางผู้ตรวจสอบทุกท่านทำมา ถ้าเกิดผ่านเราก็เสนอออก ร ๑ ถ้ามีการแก้ไขก็ต้องรายละเอียดตัวนี้ส่งเขตไปเพื่อให้ออกคำสั่งเพื่อจะได้บังคับต่อไป ซึ่งโทษสุดท้ายถ้าไม่ปฏิบัติตามก็ระงับใช้บางส่วนหรือต่อไปก็ทั้งหมด หลักเกณฑ์ก็มีอยู่แค่ตรงนี้ ถ้าเขาฝ่าฝืนไปก็ฟ้องกันไปเรื่อย ๆ

                        ผู้ดำเนินรายการ : ก็คือหมายความว่าจากตัวอย่างเมื่อสักครู่ที่บอกว่าในหน้าสรุปprocess คือว่าผู้ตรวจสอบ comment ไปบอกระยะเวลามาที่กองควบคุมอาคาร ก็จะประสานงาน รายงาน ๒ ฉบับ ฉบับหนึ่งอยู่ที่กองอาคาร อีกฉบับหนึ่งอยู่ที่เขต แล้วเขตก็ออกคำสั่งในระยะเวลาที่ผู้ตรวจสอบให้ไว้ เจ้าของอาคารเซ็นรับทราบด้วย

                        นายพินิต เลิศอุดมธนา:  คือในรายงานเสนอมาเถอะ เพียงแต่เราต้องการรายละเอียดในรายงานว่าต้องทำอะไร แล้วทาง กทม. ทางสำนักโยธากับทางเขตก็ประสานกันโดยเอารายละเอียดที่ผู้ตรวจสอบกำหนดเอาไว้

                        ผู้ดำเนินรายการ : ในรายละเอียดที่อ่านดูก็จะบอกว่าผิดกฎหมายข้ออะไร บริเวณอะไรบอกชัดเจนแล้วก็บอกระยะเวลาด้วย ก็ค่อนข้างที่จะชัดเจน เป็นแนวทางให้ผู้ตรวจสอบได้

                        ผู้เข้าร่วมเสวนา : ท่าน ผอ. ครับ ปัญหาตอนนี้ของ กทม. ก็คือการติดตามใบ ร ๑ ช่องทางการติดต่อมีน้อย โทรไม่ว่าง ข้อ ๒ เมื่อ operator รับแล้วไม่ทราบกรณีว่าติดค้างเรื่องอะไร แล้วให้ติดต่อกับนายตรวจผู้รับเรื่อง ซึ่งช่องทางนี้มันติดต่อไม่ได้ทั้งคู่เลยว่าสาเหตุเกิดจากอะไรท่าน ผอ. คิดว่าจะทำอย่างไรดีครับ

                        นายพินิต เลิศอุดมธนา: ผมว่าเดี๋ยวมันก็กลับมาคำตอบเดิมอีก แต่ก็ยอมรับว่าเบอร์โทรศัพท์ของเราก็มีน้อย บางทีสิ่งที่เราต้องการคือหากมีเลขรับ เลขอะไร เพื่อเราจะเช็กได้ว่าเรื่องอยู่ที่คนไหน แต่ถ้าถามทันที ผมเชื่อว่าเขาตอบไม่ได้เพราะเอกสารอยู่กับเขาความจริงมันหลายร้อยเรื่อง ก็ต้องบอกรายไป เขาจะได้ไปดูว่าเรื่องนี้มีติดขัดเรื่องอะไร อาจจะต้องใช้เวลาตรงนี้ มีการคุยและนัดแนะกันว่าจะขอทราบผลเมื่อไร

                        ผู้ดำเนินรายการ : มีคำถามอีกไหมครับ รบกวนนิดหนึ่ง แจ้งเชื่อว่าเป็นผู้ตรวจสอบหรือว่าเป็นทางท้องถิ่น

                        นายพลทวิช (ผู้ตรวจสอบอาคารหมายเลข ๓๔๖/๒๕๕๐) : จากที่ผมได้ไป กทม. ก็เห็นว่า กทม.พนักงานก็ไม่มาก แต่ต้องรับผิดชอบอาคาร ทั้งป้าย ทาง กทม. ก็ยอมรับว่าพนักงานน้อย งานก็เยอะ ปรากฏว่างานก็ค้างมาเป็น ๔-๕ ปี เข้าไปก็เห็นเอกสารกองเป็นภูเขา ก็เลยหารือว่าเป็นไปได้ไหมว่าหน้าที่การออกใบ ร ๑ ขออนุญาตเรียนไปยังอาจารย์บัณฑิตว่าถ้าเร่าจะแก้กฎหมายหน้าที่การออกใบ ร ๑จำเป็นต้องเป็น กทม.ที่เดียวหรือเปล่าเพราะตอนนี้มีปัญหาที่ กทม. เป็นคอขวด พนักงานก็น้อย งานก็เยอะ

ทำงานไม่ทัน แล้วก็ล่าช้ากัน ๔-๕ ปี ต้องรอกัน หน้าที่การออกใบ ร ๑ จำเป็นต้องเป็น กทม. ที่เดียวไหมเป็นไปได้ไหมว่าจะออกโดย วสท. หรือออกโดยมหาวิทยาลัยหรือออกโดยกรมโยธาธิการ ซึ่งผมว่าจะแก้ปัญหาจุดนี้ได้

                        พันตำรวจโท บัณฑิต ประดับสุข : เป็นข้อเสนอที่ดี ผมจะนำไปในการประชุมแก้ไขกฎหมายอันนี้ต่อไป เพราะว่าปัญหานี้จริง ๆ รับทราบ อย่างที่ผมเรียนในตอนต้นว่ากฎหมายฉบับนี้เป็นที่ยอมรับว่ามีคุณภาพให้กับรัฐบาลหรือหน่วยงานเอกชนท้องถิ่นเองเพื่อให้ไปตรวจอาคาร ถ้าเกิดผ่านเข้ามาเขาก็จะให้มีผู้รับผิดชอบ ผมพยายามเน้นอย่างนี้มาเรื่อยว่าผู้ตรวจสอบอาคารถ้าเกิดมีอะไรขึ้นมาท่านต้องรับผิดชอบ ไม่ใช่ไปตรวจนั่งติ๊ก ๆ ไปแล้วเกิดอะไรขึ้นมาไม่รับผิดชอบ

                        ผู้ดำเนินรายการ : ท่านก็ไม่อยากเจออย่างนั้น ท่านพูดจากความรู้สึก ขอเชิญ ผอ. พินิตพูดนิดหนึ่งในเรื่องคอขวดตรงนี้  ในเรื่องการแก้ปัญหาตรงนี้

                        นายพินิต เลิศอุดมธนา: แสดงว่าเข้าไปจริงเลยเจอของแท้ที่ว่าเอกสารกอง ๆ คอขวดหรือเปล่า เราก็ยอมรับว่าคนของเราไม่พอ แต่ช้านี่จะให้รับว่า กทม. ช้าอย่างเดียวว่าเรามากเกินไปหรือเปล่า เราร่วมกันรับผิดชอบแล้วกันว่า กทม.ช้าด้วย ท่านเจ้าของอาคารดีกว่า เพราะบางทีรับหนังสือไปอาจจะไม่แจ้งผู้ตรวจสอบก็เป็นไปได้ เราช่วยกันรับผิดแล้วกัน ต่อไปจะอย่างไร ตอนนี้ทางผู้บริหารของ กทม.ก็เล็งเห็นข้อนี้ ก็ดำเนินการอยู่ที่ว่าจะให้บุคคลที่สามเข้ามาช่วยในการตรวจสอบอาคารที่ค้างกับอาคารที่ถึงดิวที่จะต้องยื่น กำลังหาบุคคลที่สามเข้ามาช่วยตรวจสอบ อย่างไรก็ต้องภายใต้การดูแลของทางกรุงเทพมหานครอยู่ดี ตอนนี้กำลังทำอยู่ เร็ว ๆ นี้เรื่องพวกนี้คงจะซาลง

                        นายวิเชียร บุษยบัณฑูร : ขอเสริมนิดหนึ่ง เพราะว่าในเรื่องใช้คำว่าตรวจสอบ จะซ้ำกันหลายท่านอาจจะงง ผมใช้ภาษาอังกฤษแทน คือทางท่าน ผอ.พินิต ทางสำนักการโยธากำลังพิจารณาคนมาช่วย เรียกว่า document processing เพราะว่าอำนาจทั้งหมดยังเป็นของ กทม.เพราะเวลาท่านเรียกคนเข้ามาช่วยกันทำ document processing และหน่วยงานที่เข้ามาทำจะเริ่มแกะทีละเรื่องแล้วจะมีเป้าหมายอย่างที่นโยบายของผู้ใหญ่ก็คืออาคารใน กทม. ทั้งหมดต้องได้ใบ ร ๑ แล้วก็มี deadline อยู่ไม่ไกล พวกเราอดทนนิดหนึ่งแล้วเข้าใจ process แล้วพอเรารู้ว่าเราเข้าใจ process แล้วเราต้องเข้ามาร่วมมือ อย่างที่บอกว่าเรามาร่วมกันดีกว่าช่วยกันรับผิดแล้วก็แก้ปัญหานี้ คนที่อาจจะมีส่วนผิดด้วยคือเจ้าของอาคาร เพราะเรามีหน้าที่ไปอธิบาย เพราะเขารู้น้อยที่สุดเกี่ยวกับกฎหมายตัวนี้ เขารู้น้อยที่สุดในเรื่องของเอกสาร ตรวจสอบต้องช่วย

                        ผู้ดำเนินรายการ : อาจารย์อุทัยเสริมนิดหนึ่ง

                        นายอุทัย คำเสนาะ : คล้าย ๆ ผมเป็นปลา ๒ น้ำ อยู่น้ำเก่าแล้วมาอยู่น้ำใหม่ ก็เลยมองภาพพอจะออกว่าจริง ๆ แล้ว เมื่อกี้สนับสนุนท่านผู้ตรวจสอบอาคารหมายเลข ๓๔๖ อาคารต้องแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม กลุ่มเก่าเจ้าของอาคารยื่นแล้วไม่แก้ อันนี้เป็นปัญหาที่รากงอก งอกตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ไม่แก้แล้วจะเอาตาม ร ๑ เพราะ กทม. เขาบอกไปหา ร ๑ มานะ บางทีจะขายตึกฝรั่งบอกให้ไปเอา ร ๑ มาจึงจะขายตึกได้

อันนี้เป็นปัญหาใหญ่ พอจะไปทำให้ ร ๑ ได้ ไปปรับปรุงอาคารปั๊บเสียเงินอีก ๑ ล้านบาท ค่าปรับปรุงอาคารบานประตูหนีไฟเท่าไร ๑๐,๐๐๐ บาท มีตึกอยู่ ๓๐ ชั้น มีประตู ๒ บาน ชั้นละ ๒ บานเสร็จเลย นี่คือปัญหาส่วนหนึ่ง ส่วนที่ ๒ อันนี้สนับสนุน ผอ. พินิต ผู้ตรวจสอบอาคารเอกสารไม่ครบหายไปเลย อันนี้ว่าพวกเรากันเอง

                        ผู้ดำเนินรายการ : คือผู้ตรวจสอบอาคารเขาบอกว่ายื่นมาแล้ว เผลอ ๆ หมดอายุเพราะว่าใช้เวลานาน

                        นายอุทัย คำเสนาะ : ตอนนี้นโยบายเขาดี ใบอนุญาตหมดอายุไม่สนใจออกให้ก่อนเลย พูดจริง ๆ

                        ผู้ดำเนินรายการ : สรุปก็คือง่าย  ๆ วันที่ยื่นไม่หมดอายุ

                        นายอุทัย คำเสนาะ : แต่ถ้าใครบอกว่าเจ้าพนักงานบอกว่าไปเอาต่ออายุมา บัตรประชาชนหมดอายุ ไปหา ผอ. พินิตเลย เขาจะบอกว่าวันที่ยื่น สมมุติยื่นมาปี ๒๕๕๐ หน้าตาไม่ตรงกับตอนนี้เพราะมัน ๕ ปีแล้ว โดนข้อหานี้ไม่ได้ ไปหาเลยเพราะนโยบายผู้ใหญ่บอกว่า ณ วันที่ยื่น  ใบ กว.ก็ไม่เป็นไร ถ้าใครจะทำงานต่อต้องมีใบ กว. ต่ออายุถูกไหม ใบผู้ตรวจสอบอาคารก็ต้องมาต่ออีกแล้ว เขาอาจจะขออย่างนั้น หาเรื่องให้เจอ ฉะนั้นก็มีอยู่กี่เรื่อง เจ้าของอาคารไม่แจ้ง ผู้ตรวจสอบอาคารไม่มีเอกสารอีกอันหนึ่ง กทม.ดูไม่ทัน อันนี้สมาคมช่วยอยู่ ผมว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องเดินพร้อม ๆ กันทั้ง ๓ ฝ่าย มี ๓ win ก็ว่าไป ก็ต้องฝากไว้ทาง กทม. ทางสมาคมและผู้ตรวจสอบอาคารที่จะต้องเดินทางไปพร้อม ๆจริง ๆ มีคำถามฝาก ถ้าตึกอพาร์ทเม้นท์ ๒,๐๐๐ ตารางเมตรจะต้องยื่น ๒๕ ถ้าไม่ยื่น ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๕อะไรจะเกิดขึ้น ข้อที่ ๑ ข้อที่ ๒ อาคารพวกนี้เป็นอาคารเก่า ต้องมีการปรับปรุงระบบความปลอดภัยตามกฎฉบับที่ ๔๗  ๖ ข้อ เยอะมากเลย มีแบบอัตโนมัติ ป้ายที่ท่านนายกวิเชียรพูดนั้นง่ายไม่ยาก บันไดหนีไฟต้องมีประตูหนีไฟ มีโช้คอัพ แล้วก็ต้องมีสายล่อฟ้าอีก แล้วก็ต้องมีไฟฉุกเฉินที่ไฟดับแล้วติด อันนี้ตัวละเป็นหมื่นเหมือนกัน ไฟฉุกเฉิน ส่วนอย่างอื่นไม่ยาก ป้ายโฆษณา ถังดับเพลิงก็ไม่ยาก พวกนี้ต้องมีค่าใช้จ่าย และอาคาร ๒,๐๐๐ ตารางเมตรผมเชื่อได้เลยว่าอาคารกลุ่มพวกนี้ราคาไม่แพง ค่าเช่าราคาไม่แพง ๑,๕๐๐ บาท บางทีอยู่ตามโรงงาน นิคมอุตสาหกรรมพวกนี้ ก็เลยถามว่าถ้ายังไม่ยื่นแล้วไปแก้อาคารก่อนได้ไหมหรือจะต้องแก้ก่อนแล้วค่อยมายื่น ผมถามรวม ๆ แค่นี้ก่อน เชิญครับ

                        ผู้ดำเนินรายการ : ที่ท่านอุทัยพูดเมื่อสักครู่ก็คือมีจดหมายออกไปตั้งแต่วันที่ ๘ สิงหาคม จดหมายฉบับนี้บอกว่าอาคารที่ ๒,๐๐๐-๕,๐๐๐ ตารางเมตรจะต้องเข้าข่ายตรวจสอบอาคารแล้วก็ส่งรายงานภายใน ๒๕ ตุลาคม

                        นายพินิต เลิศอุดมธนา: คือถ้าส่งรายงานช้าก็ผิดแล้ว แต่เขาบอกว่าให้ส่งรายงานภายในกำหนดเมื่อไร รายงานส่งมาคือหมายถึงว่าได้มีการตรวจสอบแล้ว จากนี้มีอะไรแก้ไขอีกเรื่องหนึ่งต้องส่งว่ามีอะไรแก้ไขเดินตามขั้นตอนเพราะเขาให้ส่งรายงาน เขาไม่ได้บอกให้ส่งรายงานที่จะต้องได้ ร ๑ เพราะถือว่าได้รับการตรวจสอบแล้ว

                        นายอุทัย คำเสนาะ : แต่ ผอ. พินิตไม่ได้ส่งเขตให้จับนะครับ เพราะจะมีข้อเสนอแนะ สมมุติว่าใน commentของผู้ตรวจสอบอาคารว่าจะต้องมีการปรับปรุงอาคารให้ปลอดภัยตามกฎ ๔๗มันมี ๖ ข้อ ๕ ข้อทำได้ข้อเดียวคือผังทำง่ายหน่อย

                        นายพินิต เลิศอุดมธนา: เรื่องปรับเป็นเรื่องของส่งรายงานช้า แต่คราวนี้เรื่องที่ว่าแก้ไขมี ๒ อย่าง อย่างหนึ่งคือตามกฎหมายกับอีกอย่างหนึ่งที่สูงกว่ากฎหมาย ที่สูงกว่ากฎหมายต้องระบุให้ชัดเพราะว่าส่วนนี้ยังไม่ทำก็ได้ แต่ที่กำหนดให้ทำตามกฎหมายอย่างไรก็ต้องทำ ทำภายในกำหนดด้วย ถ้าเลยกำหนดก็ถือว่าผิดอีก

                        นายอุทัย คำเสนาะ : พูดง่าย ๆ ผอ. พินิตบอกว่าควรจะแนะนำให้เจ้าของอาคารส่งรายงาน

                        นายพินิต เลิศอุดมธนา: ไม่ใช่ควร ต้อง

                        นายอุทัย คำเสนาะ : ต้องให้เจ้าของอาคารส่ง ๔๖ ส่วนจะแก้ไขหรือไม่แก้ไขอีกเรื่องหนึ่ง ถ้ายังไม่แก้ไขก็ต้องมีติดอยู่ในรายงานมา

                        ผู้ดำเนินรายการ :  โดยสรุปก็คือตัวรายงาน ตัวจดหมายที่ออกมาต้องส่งรายงานวันที่ ๒๕ ตุลาคม ถ้าเจ้าของอาคารไม่ส่งถือว่าผิด วันแรกที่โดนปรับในกฎหมายคือ ๖๐,๐๐๐ บาท แล้ววันละ ๑๐,๐๐๐ จนกว่าจะปฏิบัติตามกฎหมาย ส่วนมี commentอะไร พนักงานท้องถิ่นก็จะออกคำสั่งให้แก้ไขตามที่ผู้ตรวจสอบเห็นสมควร แต่ว่าต้องส่งรายงาน ต้องชี้แจงให้เข้าใจ ณ ที่นี้ด้วย เมื่อสักครู่ทางท่านอุทัยบอกว่าอาคารมีการปรับปรุง ใน MOU จะมีอย่างนี้ จะมีผู้สนับสนุนที่จะช่วยในการปรับปรุงอาคารให้ราคาพิเศษ แม้กระทั่งสินเชื่อของธนาคารกรุงไทย หรือว่าสำนักงานประกันภัยเองก็จะมีเบี้ยลด เราได้มีการประชุมเมื่อวันก่อนถ้าอาคารไหนที่ได้รับ ร ๑ แล้วสามารถที่จะเอาตัวนี้เพื่อจะขอลดเบี้ยเพื่อส่งเสริมแนวทางอื่นที่ทางสมาคมได้นำเสนอไปที่กรมการปกครองก็จะเป็นให้เงื่อนไขในการต่ออายุ อย่างเช่นต่ออายุโรงแรมอะไรอย่างนี้มีเงื่อนไข ร ๑ ด้วย เรื่องเหล่านี้ทางสมาคมเองคิดว่ามีการคุยกันแล้วก็หาแนวทางเมื่อกี้ที่บอกว่ามีการปรับปรุง ทีนี้ใน MOU ก่อนที่เราจะเริ่มโครงการจะเห็นมีโฆษณาทั้งหมดเลย มีผู้ที่ร่วมขายอุปกรณ์ทั้งหลายจะถูกกว่าท้องตลาดให้ราคาพิเศษ  ผมยกตัวอย่างอย่างถังดับเพลิงยี่ห้อหนึ่งให้ส่วนลดหรือว่าตรวจเช็กฟรีเลย แล้ววันที่ ๒๕ ๒๖ จะแจ้งเจ้าของอาคาร เขาจะมีการเปิดบูธ ถ้าผู้ตรวจสอบท่านใดที่อยากจะร่วมก็สามารถที่จะลงชื่อได้ตามงาน หรือว่าบางยี่ห้อที่เขาทำอุปกรณ์ไฟรางก็ให้ส่วนลดพิเศษ ถ้าซื้อครบ ๑ ล้านบาทแจ้งมาทางผม บอกว่าจะแจก ipad ๑๖ จิ๊ก ๑ เครื่องด้วยเพื่องานนี้โดยเฉพาะ ต้องการที่จะให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองสวรรค์ด้านความปลอดภัยจริง ๆ เราต้องทำตรงนี้จริง ๆเพราะท่านรองผู้ว่าธีระชนก็ได้ประกาศแล้วว่าอยากจะให้เป็นone stop service ด้านความปลอดภัย จะมีทั้งการตรวจและการส่งเสริมให้ปรับปรุงอาคารในราคาพิเศษ กทม.เอง ทางสมาคมเองก็ไม่ได้มีส่วนได้จากการซื้อขายในครั้งนี้ แต่ต้องการให้เจ้าของอาคารมีการปรับปรุงอย่างแท้จริง ต้องบอกอย่างนั้น

                        ผู้เข้าร่วมเสวนา : ขออนุญาตครับ คือผมจับประเด็นสำคัญเมื่อตอนที่ท่านเสวนาไปบอกว่าเรื่องของใบอนุญาต ร ๑ ก็คือเรื่องหนึ่ง แต่ตามกฎหมายบอกว่าให้ตรวจทุกปี ตกลงว่าในส่วนของผู้ปฏิบัติจะทำทั้ง ๒ อย่างเลยใช่ไหม ในการตรวจอาคาร ตามกฎหมายว่าให้ตรวจทุกปีใช่ไหม แต่อีกกลุ่มหนึ่งบอกว่าใบ ร ๑ ยังไม่ออกยังไม่ต้องตรวจ แต่อีกกลุ่มหนึ่งตามกฎหมายบอกว่าต้องตรวจทุกปี แนวทางปฏิบัติถูกต้องอย่างไรครับ

                        ผู้ดำเนินรายการ : คือเรียนชี้แจงอย่างนี้ ต้องตรวจทุกปีในกฎหมายของกรมโยธาที่ออกมา ประเด็นที่อาจารย์บัณฑิตจะต้องไป fight ให้เรา ร ๑ ยังไม่หมดอายุแล้วทำอย่างไร คือทางสมาคมเองทำหนังสือถึงทางกรมโยธาแล้วว่าต้องตรวจทุกปี แม้ว่าพนักงานท้องถิ่นจะรับหรือไม่รับ หน้าที่ของเจ้าของอาคารคือต้องตรวจทุกปี

                        นายพินิต เลิศอุดมธนา: ขอขยายให้ การตรวจทุกปีอยู่ในกฎกระทรวง การที่จะออกใบ ร ๑ หรือไม่ออกใบ ร ๑ หรือกระบวนการออกใบ ร ๑ ก็อยู่กฎกระทรวงอีกข้อหนึ่ง เวลาอ่านกฎกระทรวงก็ต้องเข้าใจว่ากฎกระทรวงเขียนไว้ว่าต้องตรวจทุกปีก็ต้องทำ ส่วนถึงเวลาเจ้าของอาคารเขาทำไม่ทันก็เป็นภาพของเจ้าของอาคารว่าเขาจะปฏิบัติตามกฎหมายหรือไม่ ส่วนการที่ท้องถิ่นจะเข้ามากระชับตรงนี้มากขึ้นก็ต้องเป็นความพร้อมอีกระดับหนึ่งที่ว่าถึงจุดที่จะกระชับหรือยัง  step แรกเราต้องแก้ปัญหาของอาคารที่เขายื่นและกำลังรอใบ ร ๑ step แรกคือเราต้องเอาก่อน คือเขียนใบ ร ๑ ออกมา เพื่อให้อาคารที่เขาพร้อมที่จะตรวจทุกปีหรือตอนนี้เขาก็ตรวจทุกปีอยู่แล้ว ถ้าเขาเดินหน้าไปแล้วเราก็จะมีเวลามาหารือกันว่าพวกที่ยังไม่ยอมตรวจจะทำอย่างไรให้เขากลับเข้ามา แล้วก็ step สุดท้ายคือพวกที่อยู่นอกระบบ ซึ่งก็ต้องหาว่าทำอย่างไรให้พวกอยู่นอกระบบกลับเข้ามา เพราะว่าเป้าหมายสุดท้ายคือความปลอดภัยของสาธารณะ

                        ผู้เข้าร่วมเสวนา : คือเรียนนิดหนึ่งที่ผมเกริ่นถามเบื้องต้นไป กรณีที่ตรวจสอบการติดขัดคือผมเป็นผู้ตรวจสอบ ได้ผ่านตรวจสอบใหญ่ไปแล้วแต่มี comment ออกมาและมีการยื่นเอกสารเพิ่มเติมไป หลังจากนั้นติดตามไปเพื่อดูใบ ร ๑ ปรากฏว่าในการถาม operator รับเรื่องรับทราบแต่ต้องไปดูว่าต้นทางนายตรวจเป็นใคร พอได้นายตรวจต้องติดต่อกับนายตรวจโดยตรง พอติดต่อนายตรวจได้ นายตรวจบอกว่าไม่มีเอกสาร เนื่องจากออกตรวจท้องที่อยู่ เป็นลักษณะอย่างนี้ไป ท่าน ผอ. จะทำอย่างไรดีครับ

                        นายพินิต เลิศอุดมธนา: นายตรวจนี่ของเดิม เพราะทุกวันนี้เราให้วิศวกร ทีนี้เขาแบ่งเป็นฝ่ายแบ่งพื้นที่กัน ถ้าตรวจแต่ละพื้นที่ก็ขอชื่อไว้ให้เขาเช็กก่อนว่าแต่ละฝ่ายเรื่องนี้อยู่กับใคร ก็ขอเบอร์โทรศัพท์เขาแล้วกัน แล้วจะได้คุยโดยตรงได้ เลขที่เท่าไรอะไรอย่างไร จริง ๆ อยากขอความร่วมมือช่วยหน่อยหนึ่งตามหน่อยหนึ่งว่าเรื่องอย่างไร เพราะบางทีจริง ๆ งานแต่ละคนก็เยอะ ถ้าเราไม่ตามเขาก็นิ่งก็ปล่อยกองไว้แบบนั้น ซึ่งบางทีเขากองไว้เป็นร้อยเรื่อง บางทีไปดึงปึ๊งล่างมาทำ แล้วเดี๋ยวเสริมเมี่อกี้ที่ว่าต้องตรวจหรือเปล่าที่ประจำปี คือกรมโยธาเขาเคยตอบข้อหารือว่ายังคงต้องตรวจทุกปี แต่เนื่องจาก ร ๑ตรวจสอบใหญ่ยังไม่ออก ดังนั้นก็ยังไม่ต้องส่งจนกว่าออกแล้วค่อยส่ง แต่ถ้าเรามองข้อเท็จจริง เป็นผมผมไม่รู้จะตรวจทำไม ในเมื่อตรวจก่อน ร ๑ จะออก ผมไม่ดูให้ ผมบอกว่ามันเลยไปแล้ว ต้องตรวจสอบใหญ่อย่างไรต้องตรวจประจำปีอีกทีก่อนครบปี ไม่ใช่มายื่นตอนที่มันเลยไปแล้ว ผมไม่รู้จะยื่นทำไม นี่คือตัวหนังสือของระบบราชการ

                        ผู้ดำเนินรายการ : ก็คือว่าถ้าปี ๒๕๕๐ ยังไม่ออก ร ๑ ไม่ต้องยื่นตรวจ ทุกปีมาก็ไม่ต้องตรวจเลยถูกไหมครับ

                        นายพินิต เลิศอุดมธนา: คือกรมโยธาเขาบอกต้องตรวจ แต่ไม่ต้องส่ง คือตรวจนะครับต้องตรวจ เพราะตามกฎกระทรวงต้องตรวจทุกปี แต่ไม่ต้องส่ง ส่งมาเราต้องรับ แต่เรารับเราไม่พิจารณาคุณยังส่งไม่ได้เพราะเราทำไม่ได้ ส่งให้มารับเรื่องคืน เพราะว่าบางทีตอบตามตัวหนังสือปฏิบัติมันตลกดี

                        ผู้เข้าร่วมเสวนา : ขออนุญาตพูดแทนผู้ตรวจสอบอาคารนิดหนึ่งครับ เผอิญถ้าตรวจสอบทุกปีแล้วไม่ได้ ร ๑ มันไม่ได้สตางค์ถูกไหม เพราะจะโยงอยู่กับ ร ๑

                        นายพินิต เลิศอุดมธนา:  ในเรื่องสตางค์ไม่มีกำหนดในข้อกฎหมายใช่ไหม

                        นายวิเชียร บุษยบัณฑูร:  ไม่มี ผอ.บอกว่าต้องตรวจสอบทุกปีตามกฎหมาย แต่ในหลักปฏิบัติในเรื่องการส่ง ร ๑ ต้องได้ ร ๑ ก่อนจึงจะส่งรายงานฉบับต่อไปได้ เพียรพยายามบอกว่าตรวจทุกปี คุณก็ไปรับงานตรวจทุกปีบอกว่าฟรี ไม่ได้สตางค์ คือขอคำอธิบายเพิ่มเติมเพราะว่าเราจะได้เดินในแง่ของการประกอบวิชาชีพ เพราะว่าไม่เช่นนั้นงานตรวจสอบอาคารก็จะกลายเป็นงานอดิเรกเพราะทำแล้วไม่ได้สตางค์ จริง ๆ ต้องอธิบายเจ้าของอาคาร ผมก็มีสภาวะเดียวกับท่านเมื่อสักครู่ เราจะอธิบายกับเจ้าของอาคารอย่างไร เพราะว่าเจ้าของอาคารเขาหงุดหงิดมากเมื่อไม่ได้ใบ ร ๑ แก้ก็แก้แล้ว ทำทุกอย่างก็ทำแล้วทำไมยังไม่ได้ใบ ร ๑ เขาก็ไม่เซ็นสัญญาก็ไปคุยกับเขา ผมไม่ทราบลูกค้ามีกี่ประเภทเราสามารถจะแบ่งได้แต่มีลูกค้าจำนวนไม่น้อยที่บอกว่าเขาจะมี logoเขาจะมี motto ของเขา คือเขา complianceto law ลูกค้าอาคารอะไรก็แล้วแต่ที่เป็น ISO ไม่ว่าจะ ๙๐๐๐ ๑๔๐๐๐ ๑๘๐๐๐ กลุ่มลูกค้าพวกนี้เราควรจะ focus กลุ่มนี้ไปก่อน ถามว่าให้เขาทำอย่างไร ผมก็อธิบายในเชิงเปรียบเทียบว่าตอนแรกเหมือนมีไฟแดงอยู่ไฟแดงหนึ่ง ถ้ามี ๒ ทางเลือก ไฟแดงนี้ท่านรู้ดีหรือว่าฝ่าได้ ตำรวจไม่จบ ท่านสามารถอธิบายกับคนขับรถได้ว่าท่านมี ๒ ทาง ทางที่ ๑ ท่านจอดติดไฟแดงถ้าท่านจะปฏิบัติตามกฎหมายจราจร กับอีกทางหนึ่งท่านฝ่าไปเถอะ ท่านฝ่าได้เพราะตำรวจไม่จับที่นี่ คำตอบคือสิ่งที่ท่าน design ว่าท่านจะตัดสินใจแบบไหน ในกรณีตรวจสอบอาคารท่านมีทางเลือกว่าท่านจะตรวจตามกฎหมายไหม หรือท่านจะใช้ช่องว่างของกฎหมายที่ตอนนี้ท้องถิ่นยังเข้าไปไม่ถึง ยังชะลออยู่ วันแน่เขาเอาแน่ แต่ตอนนี้เขาชะลออยู่ เพราะเขากำลังเตรียมแต่ละเรื่องอยู่ ท่านฝ่าไฟแดงไปก็ได้ คำถามคือท่านเป็นบุคคลประเภทไหน ผมก็เจอปัญหานี้กับลูกค้าผม เพราะว่าลูกค้าผมเผอิญอยู่ในกลุ่มที่ compliance to law เขาก็ตรวจทุกปี ส่วนการตรวจแล้วถ้าเขามีฝ่ายกฎหมายจะชัดมากเลย ฝ่ายกฎหมายจะแนะนำเลยว่า

ยื่นครับ แล้วก็ให้ทาง กทม. เขาส่งหนังสือแทงกลับแล้วก็เก็บเข้าไฟล์ เขาปฏิบัติตามกฎหมายครบถ้วน ก็ขึ้นอยู่กับระดับของเจ้าของอาคารซึ่งมีหลายระดับ เราต้องแยกให้ได้ว่าลูกค้าของคุณอยู่กลุ่มไหน ส่วนลูกค้ากลุ่มที่เป็น price sensitive budgeted ตัวนั้นเราอาจจะต้องอะลุ้มอล่วยเขาไปก่อน เพราะอยากจะรอมชอมราคาประหยัดแล้วก็ guide เพื่อจะดูว่าจะทำอย่างไรให้เขาปรับปรุงอาคาร ผมเชื่อว่าลูกค้าที่เป็น price sensitive ถ้าไปดูลึก ๆ เขาอาจจะไม่ปรับปรุงอะไรเลยด้วยซ้ำก็ได้ ซึ่งเขาจะต้องแก้ไขตรงนี้ก่อน

                        ผู้ดำเนินรายการ :  ผมกล่าวเสริมท่านนายกนิดหนึ่งครับ คือแล้วแต่ว่ากฎหมายบังคับตรวจสอบอาคาร คือจะมีแบบประเภทที่เพิกเฉย แต่ท่านเชื่อไหมว่าอย่างผมกับท่านอาจารย์บัณฑิตไปที่ไทเกอร์ผับที่เกิดเหตุปุ๊บที่เราต้องให้ปากคำในระดับผู้เชี่ยวชาญ เป็นนักวิชาการ วันที่เกิดเหตุทุกครั้ง เขาจะต้องถามทางผม อาคารเหล่านี้มีการตรวจสอบอาคารหรือไม่ ตรวจครั้งล่าสุดเมื่อไร ใครตรวจ อันนั้นจะกลับมาถึงพวกท่านเจ้าของอาคารที่ละเว้น ทุกครั้งที่เกิดเหตุครับ

                        พันตำรวจโท บัณฑิต ประดับสุข :  ขอตอบต่อเนื่องก่อน คือเรื่องว่าตรวจสอบใหญ่เสร็จแล้ว ร ๑ ยังไม่ออกแล้วตรวจสอบประจำปีต้องทำหรือเปล่า ประชุมครั้งสุดท้ายเมื่อวันจันทร์ต้องตรวจครับส่วนปัญหาในเรื่องนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ขัดแย้งกัน ผมก็จะนำไปแก้ไข รออีกแป๊บหนึ่งแต่ช่วงระหว่างเวลารอก็ตรวจไป

                        ผู้ดำเนินรายการ :  ทางสมาคมเคยไปยื่นเรื่องแล้วว่าไม่จำเป็นต้อง ร ๑ หมดอายุ คือตรวจทุกปีคือหน้าที่จบ อาจจะเป็นอย่างนั้น บทบาทเจ้าของงานคือตรวจรายงาน ส่งรายงานทุกปีเป็นประจำทุกปี

                        นายพินิต เลิศอุดมธนา:  ถึงแม้ส่งไปแล้ว กทม. ใช้คำภาษาอังกฤษ receive แต่ไม่ accept ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเกิดท่านแน่ใจว่าท่านถูกจริง ๆ แล้ว กทม. ไม่ออกให้เขาถึงจะออกให้พร้อมกับ

                        ผู้เข้าร่วมเสวนา : ขออนุญาตนิดหนึ่ง จะขอหารือเกี่ยวกับการแบ่งประเภทของผู้ตรวจอาคาร อยากจะเรียนถามว่าจำเป็นหรือเปล่าเพราะว่าขอเรียนถามว่าอย่างแพทย์เรามีแบ่งเป็นแพทย์สามัญ แพทย์ภาคี แพทย์วุฒิหรือเปล่าหรือบัญชี เรามีแบ่งเป็นบัญชีสามัญ วุฒิอะไรหรือเปล่า ไม่ใช่วิศวกรเหมือนเมืองนอก การจะมีวิศวกรที่ทำงานได้ต้องไปสอบ professionalอีกที แล้วก็ทำงานไม่มีการแบ่งเป็นภาคี วุฒิ สามัญ ประเด็นก็คือจำเป็นไหม แล้วอีกประเด็นหนึ่งเป็นข้อสังเกตอย่างที่ท่านวิทยากรพูด การอบรมของผู้ตรวจอาคารแต่ละที่อบรมก็จะแตกต่างกัน ซึ่งอันนี้ประเด็นเรื่องการอบรมการเป็นผู้ตรวจสอบอาคารจบใหม่ ๆ ก็เป็นผู้ตรวจสอบอาคารได้ถ้าอ่านหนังสือแล้วก็ท่องแล้วไปสอบก็เป็นได้ แต่ขณะที่วิชาชีพบัญชี การเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีก็จะมีข้อบังคับว่าจะต้องมีความเชื่อถือที่สามารถจะเซ็นรับรองเขาได้ ต้องทำงานมาเท่านั้นเท่านี้ถึงจะเป็นผู้ตรวจสอบบัญชี แต่ในขณะที่การตรวจสอบอาคารไม่ใช่อย่างนั้น ผมว่าประเด็นอยู่ที่การจะ qualify ผู้ตรวจสอบอาคาร คุณสมบัติการเป็นผู้ตรวจสอบอาคารควรจะต้องแก้ไขมากกว่าประเด็นการที่เป็นภาคี วุฒิ สามัญ

                        ผู้ดำเนินรายการ : อันนี้ผมขยายนิดหนึ่งพอดีว่าได้พูดคุย มันมีหลายแนวทางแต่ยังไม่สรุป อย่างที่ท่านเห็นก็เป็นแนวทางที่เป็นเสียงส่วนใหญ่ว่าผู้ตรวจสอบอาคารต้องมีการเก็บชั่วโมงก่อน แล้วก็อาจจะแยกประเภทว่าผู้ตรวจสอบอาคารสูง ขนาดใหญ่ อาคารโรงงาน แล้วก็แบ่งระดับ ไม่เป็นระดับภาคีไม่ใช่อย่างนั้น แต่ว่าเป็นความชำนาญในด้านวิชาชีพตรวจสอบอาคาร

                        ผู้เข้าร่วมเสวนา : ผมว่าถ้าเป็นไปได้อยากจะให้แก้กฎหมายการเป็นผู้ตรวจสอบอาคาร ควรจะเพิ่มประสบการณ์ การเป็นผู้ใหญ่พอหรือผู้มีความเชี่ยวชาญพอที่จะไปตรวจเขาได้ ไม่ใช่จบใหม่ ๆ มาอบรมผ่านแล้วก็เป็นผู้ตรวจได้ ผมคิดว่าควรจะต้องแก้นะครับ

                        นายพินิต เลิศอุดมธนา: อันนี้จะพิจารณาเลย เพราะว่าที่คุยกันในอนุแก้ไขก็พูดถึงเรื่องนี้ ประสบการณ์ตอนใหม่ ๆ ที่สอนมีวิศวกรคนหนึ่งไม่ได้อบรมแล้วไปสอบ สอบทีเดียวผ่านเลย แล้วก็บอกว่าไม่เห็นต้องเรียนเลยก็สอบผ่าน เพราะข้อสอบ choice อาศัยความจำ รู้สึกมาถาม อาจารย์เขาสอบได้ไม่เห็นต้องอบรม ผมก็บอกว่าคุณต้องอบรม ถ้าคุณไม่อบรมไม่มีทางสอบได้ การสอบนั้นคือความจำ แรก ๆ การสอบผมออกตอนนั้นกรรมการออกข้อสอบทำไมเอาข้อสอบเป็นแบบนี้ choice เลือกเอา สอบแบบขับรถยนต์ สอบเอา license ขับรถยนต์ที่อเมริกามาสอบ ไม่ได้นะ อันนี้เป็น practice ต้องเขียน แต่จะเสี่ยงน้อย ผม fight ตั้งแต่ชั่วโมงการสอบ แล้วก็เรื่องสอบ ซึ่งอันนั้นชัด ๆ เลยผมได้ยินอย่างนี้มา ขนาดผมเองอย่างสอบข้อสอบผมสอบ ๒ ครั้ง เพราะฉะนั้นการอบรมไม่เพียงพอ เรื่องแบ่งภาคี สามัญแล้วก็วุฒิเห็นด้วยต่างประเทศ คือสิงคโปร์ที่ผมทำงานอยู่ก็ไม่มีเขาใช้คำว่า professional เป็น ๒ ระดับไป ทีนี้ถ้าเผื่อเสนอมาเมื่อกี้ ผมจะ fight ให้ ถ้าเผื่อผู้ตรวจสอบอาคารสามารถรับรองตัวเองได้ เป็นแบบ CB แต่ว่าต้องมาเรียนกันหนักหน่อย มาฝึกกันใหม่ เรียนเพิ่มขึ้นแล้วก็ประสบการณ์เอาไหม

                        ผู้เข้าร่วมเสวนา : ผมอยากจะให้ดูตัวอย่างของผู้ตรวจสอบบัญชี การเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีเขาจะต้องมีชั่วโมงการตรวจสอบบัญชีมาก่อน มีประสบการณ์มาก่อนถึงจะเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีได้แต่อาคารไม่ใช่อย่างนั้น อยากจะฝากนิดหนึ่งนะครับ

                        ผู้ดำเนินรายการ : อย่างนั้นขอรับแนวทางไว้ มีท่านอื่นไหม อยากจะได้ยินคำถามจากพนักงานท้องถิ่นแต่ละเขตบ้าง ไม่ทราบมากันหรือเปล่าเกือบทุกเขต เชิญท่านหัวหน้าฝ่ายครับ

                        นายสุจิต ภัทรลาภ : สวัสดีครับ ท่านคณะวิทยากรครับ ผม สุจิต ภัทรลาภ หัวหน้าฝ่ายโยธา สำนักงานเขตพระโขนงครับ ในส่วนของ กทม. ส่วนใหญ่เท่าที่ผ่านมาอาคารประเด็นที่ ๑ คือยื่นตรวจสอบหลังจากที่กฎหมายกำหนด ซึ่งทางผู้ประกอบการได้ส่งเรื่องให้สำนักงานเขตดำเนินคดีประเด็นหนึ่ง ประเด็นที่หนักใจที่สุดก็คือส่วนใหญ่เจ้าของอาคารไม่ดำเนินการแก้ไขอาคารในระยะเวลาที่กำหนด เป็นปัญหาหลัก เกือบ ๙๐ เปอร์เซ็นต์ไม่แก้ไข อย่างเช่นอาคารที่ปัจจุบันอาคารขนาดเล็ก มีพื้นที่ประมาณ๒,๐๐๐ ตารางเมตร อย่างเช่นว่าอาคารขนาดเล็ก ผู้เช่ารายย่อยหรือว่าลักษณะราคาถูกเดือนละ ๑,๕๐๐ บาท ผมไปตรวจสอบอาคารเสี่ยงภัย ส่วนใหญ่มักจะอุปกรณ์ทั้งหมดโดนขโมยหมด ถังเคมีดับเพลิงก็หาย ขนาดมีกุญแจล็อคก็หาย

แม้กระทั่งสายดับเพลิงที่มีลักษณะหัวทองเหลืองหายหมด ทีนี้เราก็แจ้งให้เจ้าของอาคารดำเนินการแก้ไข เจ้าของอาคารลักษณะว่าอาคารขนาดที่มีราคาถูก เนื่องจากว่ามีการจดนิติบุคคลอาคารชุด ก็ไม่สามารถแก้ไขได้ ก็พยายามดำเนินการอะลุ่มอล่วยตลอด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่แก้ไขครับ เป็นสิ่งที่หนักใจของเจ้าพนักงานท้องถิ่น แล้วก็ในส่วนของการตรวจสอบอาคาร เนื่องจากว่าประชาชนส่วนใหญ่เจ้าของอาคารไม่รู้ข้อกฎหมายบังคับ ขณะนี้กองควบคุมอาคารได้มีหนังสือสั่งการ ฉบับที่ ๑๘ สิงหาคมแจ้งให้เจ้าของอาคารให้ดำเนินการตรวจสอบเนื่องจากว่าครบ ๕ ปี มีประชาชนโทรมาถามผมเรื่อยว่าจะตรวจสอบอย่างไร ผมก็แจ้งว่าให้ดูใน website ของกรมโยธา มีผู้ขึ้นใบอนุญาตตรวจสอบอาคารจำนวนมากกว่า ๒,๐๐๐ ราย ก็ไปติดต่อที่นั่นแล้วกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นส่วนใหญ่จากประสบการณ์ที่เห็นมักจะมีการต่อเติมเพิ่มจากเดิม ถ้าตรวจสอบแล้วส่งมาที่เขต เขตก็ต้องดำเนินคดี เป็นปัญหาเรื้อรังที่ก็ไม่อยากทำ ก็อยากให้ผู้ตรวจสอบอาคารอย่างไรก็ประสานงานเจ้าของอาคารแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมายขอบคุณครับ

                        ผู้ดำเนินรายการ : ก็เป็นข้อเสนอแนะ ทีนี้ผมประชาสัมพันธ์นิดหนึ่ง หลังจากวันนี้ไปวันที่ ๒๕ วันที่ ๒๖ จะเข้มข้น โดยเฉพาะเรื่อง ร ๑ วันที่ ๒๕ เจ้าของอาคารที่ยังไม่ได้รับ ร ๑ ถ้าท่านมีว่ายังไม่ได้เงินค่าตรวจสอบอาคาร พยายามเข็นเขามาในวันนั้น ท่านพูดเองไม่ไพเราะหรือไม่เข้าหูแน่นอน ให้มาวันที่ ๒๕ วันที่ ๒๖ สำหรับอาคารที่เข้าข่ายใหม่ที่ท่านบอกว่า ๒,๐๐๐-๕,๐๐๐ ตารางเมตร วันที่ ๒๕  ๒๖ จะมีการแจกคู่มือฉบับเล่มเล็ก ประมาณความหนา ๖๔ หน้า เป็นฉบับชาวบ้าน ฉบับเจ้าของอาคารอ่านง่ายว่าตรวจสอบอาคารอย่างไร ทำไมต้องตรวจสอบ มีกฎหมายอะไร ตรวจอะไรบ้าง ผู้ตรวจสอบคือใคร แจกฟรี๑๕,๐๐๐ เล่ม แต่วันที่ ๒๕  จะมีการแจก สั้น ๆ ขอให้ทุกท่านกล่าวสักนิดหนึ่งคนละ ๑ นาทีสั้น ๆ เริ่มจาก ผอ. พินิตครับ

                        นายพินิต เลิศอุดมธนา: จริง ๆ สัมมนาเรื่องนี้เราทำมาบ่อยเหลือเกิน หวังว่าครั้งนี้กับอีก ๒ ครั้งหน้าน่าจะทำให้หลาย ๆ อย่างดีขึ้น ก็หวังอย่างนั้น ขอความร่วมมือจากทุกฝ่ายด้วย ขอบคุณครับ

                        นายวิเชียร บุษยบัณฑูร : ผมขอฝากผู้ตรวจสอบแล้วกันว่าผู้ตรวจสอบหลาย ๆ ท่านอาจจะบอกว่าไม่มีความเสี่ยง อย่างเช่นผู้ตรวจสอบจบใหม่ประสบการณ์น้อย จริง ๆ แล้วท่านมีความเสี่ยงมาก เพราะว่าท่านถ้ากล้าหาญชาญชัยไปตรวจสอบอาคารที่เสี่ยงมาก ๆ ด้วยความรู้น้อย ๆ นั่นหมายความว่าท่านเพิ่มโอกาสชีวิตที่จะประสบปัญหาในอนาคต เพราะว่าจากนี้ไปเวลาเกิดเหตุขึ้นตำรวจเขาวิ่งหาผู้ตรวจสอบแน่นอนว่าใคร คนนั้นจะต้องมานั่ง defense ก่อนว่าคุณไปทำอะไรบกพร่องหรือเปล่า ก็จะฝากผู้ตรวจสอบที่รับงานตรวจสอบอาคาร ท่านรับงานก็รับตามความสามารถของท่าน ตึกที่เสี่ยงมากก็ควรจะหลีกเลี่ยงเสียก็ต้องให้มืออาชีพจริง ๆ ตึกไหนเสี่ยงน้อย ๆ เช่นอพาร์ทเม้นท์เล็ก ๆ ถ้าท่านยังไม่แข็งก็รับกลุ่มนั้นก่อน ส่วนกระดูกแข็งก็ค่อยไปรับที่สลับซับซ้อน เช่นในโรงพยาบาลก็ซับซ้อนเหมือนกันขอบคุณมากครับ

                        ผู้ดำเนินรายการ : ท่านอาจารย์บัณฑิตครับ เดี๋ยวตัวคำถาม ผมชี้แจงนิดหนึ่ง คำถามของท่านผมจะให้ผู้ที่สามารถที่จะตอบแล้วก็มีคัดกรองแล้วก็ขึ้นใน website ของสมาคม www.bsa.or.th จะ upload อย่างช้าที่สุดน่าจะเช้าวันจันทร์ คำถาม คำตอบทุกท่าน ผมต้องขออภัยที่ไม่สามารถอ่านคำถาม คำตอบของท่าน ผมดูแล้วก็เป็นผู้มีความรู้จริง ๆ แล้วก็เข้าใจปัญหา ผมคิดว่าน่าจะสามารถที่จะเผยแพร่ ขออภัยในที่นี้ที่ไม่สามารถออกอากาศในที่นี้ได้ เชิญท่านอาจารย์บัณฑิตครับ

                        พันตำรวจโท บัณฑิต ประดับสุข : คำถามทั้งหมดบางส่วนนี่ผมจะขอไป เพราะว่าจะไปเป็นข้อมูลในการแก้ไขกฎหมาย เพราะฉะนั้นเป็นประโยชน์มาก ที่จริงอยากให้มีคำถามมากกว่านี้ อันที่ ๒ เราคุยถึงเรื่องจรรยาบรรณคงจะเข้มงวดหนึ่งในคณะอนุกรรมการ เพราะว่าเหตุการณ์ไฟไหม้ เหตุการณ์เด็กที่บันไดเลื่อน ผมก็ไปดู จริง ๆ แล้วเหตุการณ์ไฟไหม้หลาย ๆ อย่าง ผมถามผู้ตรวจสอบอาคาร เจ้าของไม่ค่อยบอก ในทางดำเนินคดีถึงท่านนะครับ ท่านไปตรวจสอบอาคารแล้วปล่อยปละละเลย แต่เผอิญโชคดีตำรวจยังทำคดีไม่ค่อยเป็น

                      ผู้ดำเนินรายการ : อาจารย์บัณฑิตเป็น DSI ด้วย

                        พันตำรวจโท บัณฑิต ประดับสุข : เพราะข้อเท็จจริงมันถึงท่านนะครับ ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒๙๗ ไปอ่าน ผู้ที่มีหน้าที่ออกแบบหรือควบคุมการก่อสร้างน่าจะทำให้เกิดอันตราย จำคุก ๕ ปี ฉะนั้นตรวจมีจรรยาบรรณหน่อย ถ้าเผื่อเขาบอกว่าราคาแค่นี้ตรวจได้ไหม ถ้าตรวจไม่ได้ก็ไม่ต้องตรวจ เราต้องยกระดับวิชาชีพเรา ถ้าเผื่อแข่งขันกันมันก็ไม่มีประโยชน์ ไม่ค่อยได้ตรวจอาคาร เพราะผมก็ไม่ลดราคาของผมมากเท่าไร

                        ผู้ดำเนินรายการ : อาจารย์ก็เน้นไปตรวจศพแทนใช่ไหมครับ ขอเชิญอาจารย์อุทัยครับ

                        นายอุทัย คำเสนาะ : นิดหนึ่งสั้น ๆ มาในนามของ วสท. สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ก็ฝากผู้ตรวจสอบอาคาร เรื่องนี้สำคัญมากเลย พยายามไปสร้างทัศนคติที่ดีกับเจ้าของอาคารเกี่ยวกับเรื่องการตรวจสอบอาคารตามกฎหมายครั้งนี้ เพราะจริง ๆ แล้วเวลาไปคุย ผมคุยแรก ๆ ถ้าคุยเรื่องราคาผมไม่คุยด้วย ต้องทัศนคติที่ดีในเรื่องความปลอดภัยให้ได้ก่อน เขาจะรู้เลยว่าการตรวจสอบอาคารมันสำคัญมากเลย ไม่ใช่เราแค่ไปดูว่ามันมีแล้วก็ทำรายงานมา อะไรก็ไม่รู้ต้องให้เขาเห็นว่าตรวจสอบอาคารแล้วมันดี แล้วรายงานที่ว่าที่มีอยู่ในมือของเจ้าของอาคาร ๑ เล่มมีคุณค่าถูกไหมครับ เวลาไฟไหม้ตำรวจดับเพลิงจะถามก่อนเลยว่าขอดูรายงานก่อนเพื่อจะไปดูผัง จะได้เข้าไปช่วยทางบันไดหนีไฟตรงไหน ก็ฝากกับผู้ตรวจสอบอาคาร รวมไปถึงท้องถิ่น จริง ๆ ต้องทำงานคู่กันเป็นพี่เลี้ยงกันในการ promote กฎหมายตัวนี้ให้ศักดิ์สิทธิ์ ฝากขอบคุณมากครับ

                        ผู้ดำเนินรายการ : ก่อนที่จะจบรายงานนี้ ก็ฝากประชาสัมพันธ์เรื่องหนึ่งคือวันที่ ๒๑ นี้ ทางสำนักงานโยธากรุงเทพมหานครร่วมกับสมาคมผู้ตรวจสอบและบริหารความปลอดภัยอาคารจะจัดสัมมนาเรื่องกฎหมายสถานบริการ ก็ได้เชิญทางท่านสินิทธิ์ บุญสิทธิ์ แล้วก็ท่านอาจารย์บัณฑิต ประดับสุขในกรณีศึกษาของไทเกอร์ผับมาพูดคุย เพราะว่าอาคารเหล่านี้ใน กทม. มี ๗๐๐ แห่งยังไม่ตรวจสอบอาคารเลย เชิญผู้ตรวจสอบอาคารที่สนใจ มีที่นั่งจำกัด ฟรีนะครับ ลงชื่อที่ด้านหน้าที่มีเลขาสมาคมได้ ณ ที่นี้ขอคืนเวทีให้คุณดุษฎี

                        ผู้ดำเนินการจัดเสวนา : ห้องฟีนิกซ์ ๓ อยู่ฝ่าย exhibition วันที่ ๒๑

                        คุณดุษฎี : สำหรับคำถามเดี๋ยวคงจะทิ้งไว้ แล้วก็ให้ทางสมาคมได้ตอบทาง website ในโอกาสนี้ขอกราบขอบพระคุณคุณวสวัตติ์ที่ให้เกียรติดำเนินรายการ แล้วก็ขอกราบขอบพระคุณท่านวิทยากร ขอเสียงปรบมือให้วิทยากรทั้ง ๔ ท่านและคุณวสวัตติ์ด้วยค่ะ ในโอกาสนี้ทางกรุงเทพมหานครมีของที่ระลึกมอบให้กับทางท่านผู้ดำเนินรายการและทางท่านวิทยากรโดยท่านพินิตเลิศอุดมธนา ท่าน ผอ. กองควบคุมอาคาร สำนักการโยธาจะได้มอบให้ ซึ่งเป็นหนังสือกรุงเทพฯ เมืองสวรรค์ตามแนวพระราชดำริ ต้องขอกราบขอบพระคุณ แล้วเดี๋ยวในส่วนของการบันทึกภาพด้วย ก็จะได้บันทึกภาพอีกครั้งหนึ่งเป็นภาพประชาสัมพันธ์ร่วมกัน เรียนเชิญท่าน ผอ. พินิตได้มอบของที่ระลึก แล้วก็ขอกราบขอบพระคุณทุกท่านที่มาร่วมงานในวันนี้ มีข่าวประชาสัมพันธ์ในการเปิดงานวันนี้ที่อาคาร IEC hall ๕-๘ มี construction and building technology week เจ้าหน้าที่เขามีบริการรถ shuttle but ที่จะให้บริการอยู่ เรียนเชิญนะคะ ในโอกาสนี้เรียนเชิญท่าน ผอ. พินิตได้มอบของที่ระลึกให้กับท่านวิทยากร เรียนเชิญท่านวิเชียร ท่านเป็นนายกสมาคมผู้ตรวจสอบและบริหารความปลอดภัยอาคาร เรียนเชิญท่านอาจารย์อุทัย คำเสนาะ ท่านเป็นผู้แทนจากสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เรียนเชิญท่านพลตำรวจโท ดอกเตอร์บัณฑิต ประดับสุข ท่านผู้แทนจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ แล้วท่านสุดท้ายผู้ดำเนินรายการ ท่านวสวัตติ์กฤษศิริธีรภาคย์ ท่านเป็นอุปนายกสมาคมผู้ตรวจสอบและบริหารความปลอดภัยอาคาร ขอกราบขอบพระคุณทุกท่านบนเวทีอีกครั้งหนึ่ง ขอกราบขอบพระคุณค่ะแล้วก็ยินดีเป็นอย่างยิ่งสำหรับงานวันนี้ที่เกิดขึ้นได้โดยสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร ขอกราบขอบพระคุณท่านผู้อำนวยการกองควบคุมอาคารสำนักการโยธา ท่าน ผอ. พินิต เลิศอุดมธนา รายละเอียดในเรื่องของการตอบคำถามต่าง ๆ ก็ฝากไว้ที่ website ของสมาคมผู้ตรวจสอบและบริหารความปลอดภัยอาคาร ที่ www.bsa.or.thสำหรับการจัดงานในครั้งนี้หวังใจเป็นอย่างยิ่งว่าความตื่นตัวในเรื่องของการตรวจสอบอาคารจะเริ่มขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของพี่น้องประชาชน เป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้อาคาร รวมถึงพี่น้องประชาชนทั่วไปด้วย ในครั้งต่อไปจะมีการจัดเสวนาอีก ๒ ครั้งด้วยกัน ก็คือวันที่ ๒๕ กันยายน ก็จะเป็นการเสวนาในส่วนของความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตามขั้นตอนการตรวจสอบอาคารสำหรับเจ้าของอาคารรายเก่าที่ยื่นเอกสารแล้วยังไม่ได้รับใบรับรองการตรวจสอบอาคาร ส่วนในวันพุธที่ ๒๖ กันยายน ก็จะเป็นผู้ที่เป็นเจ้าของอาคารรายใหม่ที่จะได้รับความรู้เกี่ยวกับการยื่นเอกสารทำอย่างไรให้ดำเนินการตรวจสอบอาคารนั้นเป็นไปตามกฎหมาย

                        ในนามของกรุงเทพมหานคร สำนักการโยธา ต้องขอกราบขอบพระคุณทุกท่านที่สละเวลามาร่วมรับฟังการเสวนา ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าในวันนี้จะเป็นประโยชน์กับทุก ๆ ท่านในเรื่องของการตรวจสอบอาคาร ในเรื่องของความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน ขอกราบขอบพระคุณผู้ดำเนินรายการท่านวิทยากรทุกท่านในโอกาสนี้ แล้วขอกราบขอบพระคุณท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน ขอให้ทุกท่านเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ สวัสดีค่ะ 




ถาม-ตอบ และดาวโหลดเอกสาร จากเสวนา

แนวทางการตรวจสอบและรับรองรายงานการจัดการพลังงานอย่างไรให้ได้ประสิทธิผล วันที่ 11/01/2017   19:42:49
ข้อปฏิบัติการทำรายงานการตรวจสอบอาคารให้ได้ใบร.1 วันที่ 01/04/2016   14:24:55
ถาม-ตอบ สัมมนาแนวทางการจัดทำและส่งรายงานการตรวจสอบอาคารตามพรบ.อำนวยความสะดวก วันที่ 01/04/2016   11:22:08 article
คลิปวีดีโอเปิดงานเสวนา วันที่ 28/12/2012   00:39:57 article
ถาม-ตอบ จากเสวนา วันที่ 19 กันยายน 2555 วันที่ 28/12/2012   00:40:53 article
ถอดเทปการเสวนาเรื่อง “ตรวจสอบอย่างไร...ให้ได้ใบรับรอง ร.1” วันที่ 28/12/2012   00:41:12 article
ถาม-ตอบ จากเสวนา วันที่ 25 กันยายน 2555 วันที่ 28/12/2012   00:41:37 article
ถอดเทปการเสวนา เรื่อง “เจ้าของอาคารยุคใหม่...ร่วมใส่ใจยื่นตรวจสอบอาคาร” วันที่ 28/12/2012   00:41:55 article
ถาม-ตอบ จากเสวนา วันที่ 26 กันยายน 2555 วันที่ 28/12/2012   00:42:08 article
พระราชบัญญัติ การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 วันที่ 22/10/2022   18:31:07
พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 วันที่ 07/09/2022   15:19:54
ตปอ-ใบรับรอง ร1-15 มค 2556-10 วันที่ 21/01/2013   14:05:00
ตปอ-ใบรับรอง ร1-15 มค 2556-9 วันที่ 21/01/2013   12:20:22
ตปอ-ใบรับรอง ร1-15 มค 2556-8 วันที่ 21/01/2013   11:19:43 article
ตปอ-ใบรับรอง ร1-15 มค 2556-7 วันที่ 21/01/2013   11:19:16 article
ตปอ-ใบรับรอง ร1-15 มค 2556-6 วันที่ 21/01/2013   11:18:44 article
ตปอ-ใบรับรอง ร1-15 มค 2556-5 วันที่ 21/01/2013   11:18:03 article
ตปอ-ใบรับรอง ร1-15 มค 2556-4 วันที่ 21/01/2013   11:17:26 article
ตปอ-ใบรับรอง ร1-15 มค 2556-3 วันที่ 21/01/2013   11:16:51 article
ตปอ-ใบรับรอง ร1-15 มค 2556-2 วันที่ 21/01/2013   11:14:36 article
ตปอ-ใบรับรอง ร1-15 มค 2556-1 วันที่ 21/01/2013   11:14:53 article



Copyright © 2012 All Rights Reserved.


  

 

สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร | THE BUILDING INSPECTORS ASSOCIATION
เลขที่ 487 ซ.รามคำแหง 39 (เทพลีลา 1) ถ.รามคำแหง
แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
โทรศัพท์: 0-2184-4612   โทรสาร: 0-2184-4613
http://www.bsa.or.th