การเสวนาเรื่อง “ตรวจสอบอย่างไร...ให้ได้ใบรับรอง ร.1”
โดย สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร
วันอังคารที่ 25 กันยายน 2555 เวลา 08.00-12.00 น.
ณ ห้องประชุม Sapphire 204-206 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี
----------------------------
ผู้ดำเนินการจัดเสวนา : สวัสดีค่ะ ผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 4 ท่าน แล้วก็คุณวสวัตติ์ก็อยู่ในแวดวงของอาคารด้วยเช่นเดียวกัน ก็เรียกว่าทั้งหมดอยู่ในวงการนี้ก็ดูแลในส่วนของการตรวจสอบอาคารอย่างต่อเนื่อง แล้วก็จะได้นำเสนอและพูดคุยแลกเปลี่ยนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการตรวจสอบ การรับรอง ร. 1 ที่ทุกท่านได้มีการยื่นขอไว้ ก็มีหลายส่วนที่อยู่ระหว่างดำเนินการและไม่ได้รับใบอนุญาตจากกรุงเทพมหานคร ซึ่งกรณีนี้คงจะได้รับข้อมูลและคงจะนำไปดำเนินการในส่วนขององค์กรของท่านมากยิ่งขึ้น ช่วงเวลานี้คงจะส่งต่อให้กับคุณวสวัตติ์ได้ดำเนินรายการต่อค่ะ
ผู้ดำเนินรายการ (นายวสวัตติ์ กฤษศิริธีรภาคย์) : ขอบคุณครับคุณอำพรรัตน์ ก่อนอื่นก่อนที่จะเข้าเรื่อง ตรวจสอบอย่างไรให้ได้รับใบรับรอง ร.1 ผมขอทำหน้าที่ให้ทุกท่านออกจากห้องนี้ด้วยควาปลอดภัย ผมขออธิบายเส้นทางอพยพหนีไฟ จากที่ทางออกใช้ได้มี 4 ประตู ก็จะมีประตูที่ใช้ได้ 4 ประตูในห้องนี้ ทิศทางการออกจะมี รปภ. อยู่ทั้ง 4 ด้านที่จะคอยเปิดประตูให้ท่านเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ด้านขวามือจะมี 2 ประตู ด้านซ้ายมือจะมี 2 ประตู เส้นทางหนีไฟจะมีด้านหลังเวที 2 เส้นทางจะมีป้ายและมีพนักงาน อันนี้ในเรื่องของเส้นทางหนีไฟ ก่อนที่ผมวสวัตติ์จะเริ่มดำเนินรายการ ผมขอใช้สิทธิว่าห้องนี้จากที่มี 400 คน บอกว่ามี 450 คน ไม่ทราบว่ามาผิดห้องหรือเปล่า ผมขอเสียงคนที่ยังไม่ได้รับใบ ร.1 ยกมือเลยครับ ได้รับใบ ร.1 แล้ว คนที่ไม่ยกมือคือยังไม่รู้ว่า ร.1 คืออะไร ก็น่าจะถูกห้อง อย่างที่วิทยากรผู้ดำเนินรายการท่านแรกบอกว่ามีการสัมมนาอยู่ 3 ครั้ง จัดครั้งแรกวันที่ 29 ก็คือรู้จักเข้าใจการตรวจสอบอาคารให้กับพนักงานท้องถิ่นกับผู้ตรวจอาคาร ก็คือให้ทราบแนวทางว่าจะตรวจอย่างไรในการตรวจสอบอาคาร เพราะว่า 5 ปีผ่านมาแล้วการตรวจสอบก็ยังค่อนข้างที่จะมีปัญหา แล้วก็มีพรุ่งนี้อาคาร 2,000-5,000 ตารางเมตรที่จะต้องยื่นรายงานภายใน 25 ตุลาคม ผมขอพูดเกริ่นปูพื้นนิดหนึ่งให้เข้าใจว่าที่มาของกฎหมายเป็นอย่างไร พ.ร.บ.ควบคุมอาคารปี 2522 คือเกิดจากการที่สถานพินิจที่โคราชเกิดถล่มเมื่อปี 2536 แล้วก็ทำไมต้องตรวจสอบอาคาร ก็ด้วยเหตุว่าเนื่องจากอาคารมีการใช้งานไป มีการปรับปรุงมีการเปลี่ยนแปลงเหมือนรถจะต้องมีการ maintenance ดังนั้นผู้ตรวจสอบอาคารก็จะเหมือนที่เข้ามาตรวจว่าสภาพของอาคารของท่านมีความปลอดภัยไหมก็อยู่ในกระบวนการในการตรวจสอบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องในช่วงแรกที่ออกมาก็คือ พ.ร.บ. ควบคุมก่อสร้าง คือว่าเป็นกฎหมายแม่เลย แล้วก็ออกกฎกระทรวงมาเมื่อปี 2548 ประเภท 9 อาคารที่จะต้องตรวจสอบอาคารมีอะไรบ้าง ผมคงไม่ได้บอก เพราะว่าทุกท่านเข้าข่ายอยู่แล้วที่จะต้องตรวจสอบ แล้วก็ในปี 2548 เช่นเดียวกัน คุณสมบัติของผู้ตรวจสอบและขึ้นทะเบียน หลักเกณฑ์การตรวจสอบมีอะไรบ้าง เดี๋ยวจะเข้าไปในเชิงวิชาการนิดเดียว ในหมวดที่ 4 ข้อที่ 13 ในเรื่องการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์แบ่งเป็น 2 ประเภท ก็คือตรวจสอบใหญ่เราตรวจทุก 5 ปี ปีแรกคือปี 2550 ปีนี้เราจะต้องตรวจสอบใหญ่แล้วอีกครั้งหนึ่ง ในหลายจังหวัดที่เชียงใหม่ ที่พัทยา ที่ชลบุรีที่ทุกที่เขาได้ใบ ร.15 ไว้แล้ว แต่บางคนยกมือแปลว่าไม่ได้สักใบเลยจึงมาในวันนี้ เดี๋ยวเราจะรู้ว่าออกจากห้องนี้เราจะมีช่องอย่างไรที่จะได้ใบ ร.1 ตรวจสอบประจำปีต้องตรวจทุกปี นี่คือข้อที่ 13 แล้วข้อนี้เป็นข้อที่จะคุยกันวันนี้ ข้อที่ 21 ก็คือเจ้าของอาคารหรือผู้จัดการนิติจะต้องเสนอรายงานตรวจสอบอาคารภายใน 30 วันก่อนใบ ร.1 ครบ 1 ปีแล้วเมื่อพนักงานท้องถิ่นได้รับรายงานแล้วจะต้องพิจารณาผลการตรวจสอบภายใน 30 วัน ถ้าเป็นไปตามว่ามีความปลอดภัยตามมาตรฐานตามกฎหมายต่างๆ จะต้องไม่รอช้าที่จะออก ร.1 ให้ แล้วเมื่อท่านได้รับ ร.1 แล้ว ท่านจะต้องเอาตัวนี้ไปติดไว้ให้ประชาชนผู้ใช้อาคารเห็นว่าท่านได้รับใบรับรอง ร.1 แล้ว อันนี้คือข้อความที่เราจะเสวนากันในห้องนี้ ทีนี้คงต้องเริ่มเจ้าภาพมันมีหลายปัจจัยที่ยกมือเมื่อกี้ค่อนข้างที่จะว่าไม่ได้รับ ร.1 มีตัวแปรอยู่ 6 ตัวแปร คือเจ้าของอาคาร ผู้ตรวจสอบอาคาร พนักงานท้องถิ่น ตัวรายงาน เอกสารประกอบรายงานหรืออาคารไม่ปลอดภัยจริงๆ ต้องขอเชิญท่านพินิตอธิบายที่มาหน่อยว่าอะไรบ้างที่ 5 ปีที่ผ่านมาทำให้ ร.1 ไม่ออก แล้วเรามีช่องทางที่จะบอกวันนี้ว่า ร.1ออกมีทางอย่างไร ท่าน ผอ. พินิตครับ
นายพินิต เลิศอุดมวัฒนา : ก็ขอสวัสดีผู้มีเกียรติทุกท่านที่เข้าร่วมเสวนาในครั้งนี้ เนื้อหาคงคล้าย ๆ กัน จะเรียนว่ากฎหมายฉบับนี้ที่ออกมาจริงๆ ก็คือว่าอยากให้เจ้าหน้าที่กำลังพลของเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบเรื่องความปลอดภัยเอง โดยเจ้าหน้าที่เองคงจะไม่เป็นระบบเท่าที่ควร ประกอบกับอาคารในกรุงเทพมหานครมีจำนวนมาก ก็เลยมีกฎหมายฉบับนี้คือให้ผู้ตรวจสอบเป็นผู้ตรวจสอบ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่เหมือนกับว่าช่วยแบ่งเบาภาระของภาครัฐ ก็คือต้องอาศัยวิชาชีพเข้ามาช่วยเหลือในเรื่องความปลอดภัย เสร็จแล้วจริงๆ วันนี้บรรยากาศน่ากลัวพอสมควร พอถามว่าใครไม่ได้ ร.1 มียกมือกัน 80 เปอร์เซ็นต์ วันนี้ผมก็เลยจะขอมาเป็นจำเลย ถ้าส่วนใด ร.1 ที่ผิด ถ้าเป็นความผิด กทม.ผมรับไว้คนเดียว แต่ถ้าเป็นความผิดของเจ้าของอาคารก็ไม่เป็นไร ลืมมันไปบ้างแล้วเดี๋ยวมาเริ่มต้นกัน มาคุยกันว่าจะทำอย่างไรถึงจะได้ ร.1 เพราะจริงๆ ที่ขึ้นไว้ 6 เรื่องจริงๆ เป็นเรื่องที่ในกฎหมายกำหนดอยู่แล้ว เ พียงแต่ว่าทางเราเจ้าของอาคารเองอาจจะไม่ดูรายละเอียดมากปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้ตรวจสอบ ซึ่งเราคุยกันไปเมื่อวันที่ 19 ที่ผ่านมาว่าผู้ตรวจสอบจุดที่มีปัญหาเกิดจากเรื่องอะไรบ้าง ก็จะอยู่ในประเด็นพวกนี้ว่าการตรวจสอบแต่รายงานไม่ครบหรืออะไรก็แล้วแต่ แต่หน้าที่ประเด็นนี้ก็คือว่าจุดมุ่งหมายของการจัดในวันนี้กลุ่มเป้าหมายคืออาคารที่มีการยื่นแล้วแล้วก็ยังไม่ได้รับใบรับรองการตรวจสอบ จะมาทำความเข้าใจกัน เพราะว่าของเราเกี่ยวข้อง ถ้าเป็นเรื่องของบุคลากรก็จะเป็นเรื่องของกรุงเทพหานคร ของเจ้าของอาคาร แล้วก็ของผู้ตรวจสอบ เราก็เลยจะมาคุยกันประเด็นนี้ว่าเราจะทำอย่างไรเพื่อให้อาคารทั้งหมดเข้าสู่ระบบในเรื่องการตรวจสอบความปลอดภัยเร็วที่สุด แล้วที่มาของการเสวนาในวันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทาง กทม.โดยทางผู้บริหารมองเห็นว่าถ้าทางกรุงเทพมหานครเองคงจะเดินลำบาก หมายถึงถ้าเดินแต่ฝ่ายเดียว เราคงต้องอาศัยทุกฝ่ายมาร่วมกันโดยเฉพาะประชาชนทั่วไปก็สามารถที่
จะเข้ามาร่วมเป็นหูเป็นตาให้กับทางกรุงเทพมหานครในการที่จะเดินเรื่องนี้ให้ไปถึงจุดมุ่งหมายตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย แล้วการทำงานในส่วนหนึ่งทางกรุงเทพมหานครเราเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นเราทำงานบางครั้งดูตามตัวหนังสือ ซึ่งกฎหมายออกมาคือบางครั้งก็จะมีข้อความหรืออะไรที่ทำให้เมื่อหลาย ๆ ฝ่ายอ่านแล้ว ความเข้าใจอาจจะคลาดเคลื่อนไม่ตรงกัน ปัญหาที่จะมีต่อมา วันนี้พวกท่านมาตามเรื่อง ร.1 ของตรวจสอบใหญ่ ในขณะเดียวกันท่านก็กำลังงงว่าท่านส่งรายงานตรวจสอบประจำปีบ้างก็ส่งแล้ว บ้างก็ส่งเมื่อไร บ้างก็ว่าต้องตรวจหรือเปล่า จุดนี้ก็เป็นเรื่องที่เราคงจะได้มีการคุยในวันนี้ด้วย ดังนั้นช่วงนี้ผมขอแค่นี้ก่อน ขอทำใจไว้สำหรับช่วงท้าย ๆ เผื่อพวกท่านจะทวงใบ ร.1 จากทางผม
ผู้ดำเนินรายการ : คงเริ่มอย่างนี้ว่าในการตรวจบางครั้งมีคำถามมาที่ทางสมาคมเองกรมโยธาเองว่าผู้ตรวจสอบมาเดิน ๆ เหมือนไม่ค่อยได้อะไร จริงๆ หลักการเป็นอย่างนี้ครับ เรียนท่านพิชญะว่าที่เขาบอกว่าตรวจด้วยตาเปล่าตรวจอย่างไร แล้วก็ตรวจได้ดีแค่ไหน ขอเชิญครับ
นายพิชญะ จันทรานุวัฒน์: สวัสดีครับ เกี่ยวกับเรื่องการตรวจด้วยประสาทสัมผัสมนุษย์ ได้สายตาด้วยความสามารถทางธรรมชาติของมนุษย์ จริง ๆแล้วผมจัดว่าเป็นการตรวจที่ยาก การตรวจด้วยเครื่องมือ ด้วยเทคโนโลยี จริง ๆ ผมว่ามันง่าย เอาอุปกรณ์ไปวัดมาก็จะได้คำตอบ แต่การตรวจด้วยประสาทสัมผัสของมนุษย์ คนที่ไปตรวจจะต้องมีความรู้ เพราะฉะนั้นผู้ตรวจสอบอาคารที่ทำงานอยู่ก็จำเป็นที่จะต้องมีความรู้ เพราะว่าอย่างน้อย ๆ ที่ผ่านมาผู้ตรวจสอบอาคารก็ต้องผ่านการฝึกอบรมที่เข้มข้น แล้วการตรวจสอบถึงจะได้ขึ้นทะเบียน ก็เป็นเรื่องไม่ง่ายนักที่จะทำให้ผู้ตรวจสอบโดยรวมทั้งหมดมีความรู้ที่ดีเท่า ๆ กัน แล้วก็ถือว่าถ้าพูดถึงเรื่องการตรวจสอบด้วยประสาทสัมผัสของมนุษย์จำเป็นที่จะต้องมีความรู้ด้วย จะเป็นการยากที่จะสั่งลูกน้องไปให้ช่วยไปตรวจหน่อย
ผู้ดำเนินรายการ : อาจารย์มองเห็นภาพได้ไหมว่าสมมุติว่าเดินเข้าไปในห้อง คือตรวจลิฟต์อย่างเดียวหรือมองภาพอย่างไร
นายพิชญะ จันทรานุวัฒน์: ถ้าเข้าไปในห้องลิฟต์ จริง ๆ แล้วจมูกของผู้ตรวจสอบจะสำคัญ ผู้ตรวจสอบก็ต้องดมกลิ่นเหมือนกันว่ามีกลิ่นอะไรที่ผิดปกติหรือเปล่า เช่นการทำงานที่หนักอาจจะมีกลิ่นร่องรอยของการไหม้ หูต้องฟัง เสียงที่สลิงที่มันหมุดเสียดสีผิดปกติ เรื่องมอเตอร์ที่มีเสียงดังผิดปกติพวกนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งบอกเหตุของอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น ผิวหนังของเราเอง เราก็รับรู้เรื่องความร้อน ถ้าห้องมีความร้อนผิดปกติ เครื่องทำงานหนัก พัดลมระบายอากาศหรือเครื่องปรับอากาศเสีย ความร้อนก็จะผิดปกติ เราก็จะพอรู้ว่าตอนนี้ร้อนประมาณสัก 30 35 40 องศาคร่าว ๆ ผู้ตรวจสอบต้องใช้ประสาทสัมผัสทั้งหมด สายตาแน่นอนจะต้องคอยสอดส่องดูเรื่องความผิดปกติ ทั้งเรื่องความสะอาด ฝุ่น แล้วก็ติดตั้งอะไรต่างๆ ที่ผิดปกติ ตรงนี้สลิง สายพาน เบรก ก็เป็นเรื่องป้าย อุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ช่วยในยามฉุกเฉิน
ผู้ดำเนินรายการ : แต่ระบบพวกนี้ปกติเขาก็จะมีผู้ตรวจสอบลิฟต์อยู่แล้วในกฎหมาย มันจะไปซ้ำซ้อนกับที่เราทำหรือเปล่าครับ
นายพิชญะ จันทรานุวัฒน์: การตรวจสอบของผู้ตรวจสอบอาคารไม่ได้ตรวจสอบในเชิง mechanic หรือว่ากลไกของทางการทำงานของลิฟต์ ก็ต้องยอมรับผู้ตรวจสอบไม่มีความรู้เชิงลึกขนาดนั้น การตรวจสอบของผู้ตรวจสอบอาคารเราเน้นเป็นการตรวจสอบเชิงพื้นฐาน ถ้าผมเปรียบเทียบก็เหมือนกับอายุรแพทย์ตรวจโรคทั่วไป แล้วก็ใช้เครื่องมือพื้นฐาน เช่น หูฟังดูการเต้นของหัวใจ อุณหภูมิ เช็กความดัน หมอคงจะวินิจฉัยได้ขั้นต้นว่าคุณเป็นโรคกระเพาะ หัวใจ ทางเดินอาหาร เขาก็ฟังจากอาการ ดูจากอาการภายนอก แต่หมอก็จะมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง สมมุติว่าเขาตรวจขั้นต้นว่าเป็นหวัด แต่ว่าเป็นหวัดอะไร ติดเชื้อหวัดอะไร หมอก็ไม่มีทางรู้หรอกครับ เหมือนผู้ตรวจสอบอาคารก็ไม่มีทางรู้ แต่รู้ว่าผิดปกติ เมื่อหมอทราบว่าคนนี้เป็นหวัดผิดปกติแล้วก็ถามอาการแล้วเป็นหวัดมา 3 วันแล้วไข้ไม่ยอมลด หมอก็ต้องเอะใจแล้วว่าต้องมีอะไรผิดปกติ หมออาจจะแนะนำไปให้เจาะเลือดไปเอกซเรย์ดู สุดท้ายอาจจะเป็นไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ 2009 อะไรก็แล้วแต่ก็ต้องดูแลรักษาเฉพาะทางไป คือหมออายุรแพทย์คนเดียวตรวจสอบด้วยสายตาก็จะเป็นตรวจขั้นต้นเท่านั้นเอง จะเป็นโรคหัวใจต้องไปวิ่งสายพาน แสกน 4 สีผู้ตรวจสอบไม่ได้ลงลึกแบบนั้น เราเป็นเหมือนกับอายุรแพทย์ที่ตรวจกว้าง ๆ ทั่ว ๆไป สิ่งบอกเหตุที่ผิดปกติ แล้วตรงนี้จะทำให้เจ้าของอาคารประหยัดเงินค่าใช้จ่าย ไม่ต้องไปตรวจมันทุกอย่างละเอียดหมดเลยตรวจขั้นต้นก่อน แล้วหลังจากนั้นผู้ตรวจสอบถึงค่อยแนะนำว่าน่าจะไปให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านลิฟต์ดู ทางด้านน้ำ ดับเพลิงเพลิงไหม้มาตรวจสอบในเชิงลึก รวมทั้งโครงสร้างด้วย ถ้าอาคารมีร่องรอยของการแตกร้าวที่ผิดปกติ ผู้ตรวจสอบก็จะต้องรู้ แต่ไม่รู้หรอกว่ามันอันตรายแค่ไหน ก็จำเป็นที่จะต้องหาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางมาติดตั้งเครื่องมือว่าหยุดการทรุดเอียงหรือยัง มีการแตกร้าวแบบนี้มันยังมีการทรุดอย่างต่อเนื่องหรือเปล่าต้องใช้เครื่องมือแล้ว ตรงนี้ก็จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเข้ามารวมทั้งลิฟต์ด้วย
ผู้ดำเนินรายการ : มาที่ท่านอาจารย์บัณฑิตครับ ไม่ทราบว่าใน MOU ข้อตกลงร่วมก็จะมี 4 หน่วยงาน ก็คือทางสถาปนิกสยาม ทางวิศวกรสถาน ทางสมาคมผู้ตรวจสอบอาคารแล้วก็ กทม. ร่วมกันทำคู่มือฉบับหนึ่งหรือรายงานออกมาฉบับหนึ่งสำหรับตรวจสอบอาคาร 9 ประเภท อยากให้ทราบที่มานิดหนึ่งแล้วก็ลักษณะรายละเอียดของรายงานมันเปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างไร เชิญครับ
พันตำรวจโท ด.ร. บัณฑิต ประดับสุข : จาก MOU ของ 4 หน่วยงานก็มีการออกแบบเช็กลิสต์ในการตรวจสอบอาคาร ซึ่งจะเป็นการออกแบบที่กระชับขึ้น แล้วก็มีการครอบคลุม มีเกณฑ์ให้ว่าสมมุติเรื่องการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคารทั้ง 7 ประเภท การต่อเติม การเปลี่ยนแปลงก็มีเกณฑ์ให้ไว้ เช่น ไม่มีร่องรอยการเสียรูปของอาคารเป็นต้น แล้วก็จะมีรายละเอียดค่อนข้างสั้นกระชับ ซึ่งต่างประเทศก็จะลักษณะสั้นอย่างนี้ง่าย ๆ
ผู้ดำเนินรายการ : ที่สั้นนี้ครอบคลุมทุกหมวด 4 ส่วนที่ตรวจไหมครับ
พันตำรวจโท ด.ร. บัณฑิต ประดับสุข : ครอบคลุมหมดครับ แล้วก็มีการเสริมในเรื่องของรายละเอียดอ้างอิง ถ้าเผื่อจุดไหนมีปัญหาในเรื่องว่ามีการเสียหายจากการใช้งานหรือว่าไม่ครบถ้วนก็จะมีการแจ้งเป็นอ้างอิงเลข แล้วก็มีรูปถ่ายให้เขียน คิดว่าท่านที่เข้าร่วมประชุมในคราวที่แล้ววันที่ 29 คงได้รับแบบคู่มือไปแล้ว คือวันนี้ก็เหมือนคล้าย ๆ 18000 นิดหนึ่งเขาเรียกว่า unacceptable เช่นบันไดชำรุดบ้าง สายไฟพวกนี้จะมีการให้ถ่ายภาพ แล้วก็ให้แก้ไข โดยการแก้ไขกำหนดว่าถ้าแก้ไขเสร็จ เมื่อวันที่เท่าไรเพื่อจะให้ กทม. ได้รับทราบ คู่มือใหม่อันนี้เป็นเสมือนสื่อกลางการศึกษาระหว่างผู้ตรวจสอบอาคาร เจ้าของอาคารกับ กทม.
ผู้ดำเนินรายการ : อันนี้ผมถามนิดหนึ่งครับ คือรายงานเดิมยกเลิกเลยหรือว่าอันนี้เป็นทางเลือกครับ
พันตำรวจโท ด.ร. บัณฑิต ประดับสุข : อันนี้เป็นทางเลือกครับ รายงานเดิมก็ยังใช้ได้อยู่ อันนี้เป็นการออกแบบมาแบบหนึ่ง
ผู้ดำเนินรายการ : อันนี้ที่ท่านอาจารย์บัณฑิตบอกว่าจะมีข้อเสนอแนะ มี comment เข้าไปด้วย เพราะว่าเดิมที่เขาเสวนากับท่าน ผอ.พินิตก็คือรายงานเดิมที่ตรวจอยู่ ที่ส่ง ๆ อยู่ ปรากฏว่าข้างในผู้ตรวจสอบก็ไม่รู้จะทำอย่างไรก็ comment สุดท้ายหน้าสรุปเป็นอย่างไรครับมั่นคงแข็งแรง อย่างนี้พนักงานท้องถิ่นก็ไม่ออกใช่ไหมที่เดิมรู้สึกอย่างนั้น
พันตำรวจโท ด.ร. บัณฑิต ประดับสุข : อยากจะเรียนอย่างนี้คือเอาเป็นส่วนใหญ่แล้วกัน ส่วนใหญ่คืออาจจะบอกว่าปลอดภัย แต่ข้างในบอกมีอะไรบ้างที่ต้องแก้ไข คือถ้าเกิดแก้ไขคงจะต้องแก้ไขก่อนถึงจะปลอดภัย คงไม่ใช่มาปลอดภัยที่ปัจจุบันกำลังแก้อยู่ พอถึงตรงนี้ก็เลยไม่สามารถที่จะออกใบรับรองให้
ผู้ดำเนินรายการ : ก็คือจะมีความชัดเจนมากขึ้น ทีนี้ถ้าสมมุติว่าแก้ไข ผมถามท่าน ผอ. นิดหนึ่งว่าใช้เวลา ทีนี้รายงานก็ไม่ต้องส่งหรือว่าให้ส่งแต่ว่ามีข้อแก้ไขครับ
พันตำรวจโท ด.ร. บัณฑิต ประดับสุข : คือกฎหมายกำหนดว่าต้องส่งผมเรียนว่าอย่างไรก็ต้องส่ง แต่กาส่งว่าเราได้ทำการตรวจสอบแล้ว แล้วในรายงานการตรวจสอบก็ต้องมีบอกว่าถ้าแก้ไขอยู่ก็ต้องบอกว่าแก้ไขอะไร ใช้เวลาเท่าไร เพื่อทางเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะได้ออกคำสั่งได้ชัดเจนถูกต้อง แต่ถ้าเกิดท่านไม่ส่งเลย มัวแต่รอแก้อยู่ 2 ปีท่านก็ขัดกฎหมาย ก็คือถึงแม้อาคารจะยังไม่ปลอดภัยท่านก็ต้องส่งก่อนแต่ตอนท้ายท่านอย่าไปใส่ว่าปลอดภัย เพราะเดี๋ยวเกิดไปตรวจซ้ำอีกทีเดี๋ยวเราต้องแจ้งกรมโยธาธิการและผังเมือง
ผู้ดำเนินรายการ : วกกลับมาที่ท่านบัณฑิต ตัวรายละเอียดหรือรายงานจะมีหมวดหนึ่งที่โต้แย้งกันเรื่องความมั่นคงแข็งแรง
พันตำรวจโท ด.ร. บัณฑิต ประดับสุข : คือผมสรุปเรื่องความมั่นคงแข็งแรง ตอนนี้กำลังแก้กฎหมายใหม่ เนื่องจากว่าศัพท์คำนี้ใช้คำว่ามั่นคงแข็งแรง มันอาจจะไปก้าวล่วงในจรรยาบรรณวิชาชีพของ
วิศวะโครงสร้าง วิศวโยธาก็จะเปลี่ยนเป็นเรื่องการตรวจสภาพของอาคาร สถานภาพของโครงสร้าง คือจะหลีกเลี่ยงคำว่าความมั่นคงแข็งแรง เพราะเนื่องจากว่าผู้ตรวจสอบอาคารหลายท่านไม่ได้เป็นวิศวะโครงสร้าง เรื่องความมั่นคงแข็งแรงท่านไม่มีสิทธิที่จะชี้หรือว่าบอก อันนี้จะเปลี่ยน แต่ว่าเวลาผมสอนผมก็จะบอกคำนี้ว่าการตรวจสอบอาคารคือการตรวจสถานภาพอาคารว่า function อยู่หรือเปล่า ซึ่งศัพท์คำว่าสภาพอาคารจะตรงกับในมาตรา 32 ทวิ ซึ่งกำหนดให้สถาปนิกหรือวิศวกรตรวจสภาพอาคาร อันที่ 2 ต้องเห็นแย้งกับผอ. พินิตว่าผู้ตรวจสอบอาคารไม่สามารถจะบอกว่าอาคารหลังนี้ปลอดภัยได้นะครับ เพราะท่านไม่สามารถจะรับรองความปลอดภัยของอาคารได้ การตรวจสภาพอาคารก็คือตรวจว่ามันยัง functionอยู่หรือเปล่า ระบบโครงสร้างว่ายังทำหน้าที่เหมือนเดิมหรือเปล่า อาจจะมีรอยร้าว ก็เลยชี้แจงก่อนในเบื้องต้นของการออกกฎหมายฉบับนี้เพราะว่าเป็นอนุกรรมการยกร่างเอง
ผู้ดำเนินรายการ : อาจารย์ชัดๆ นิดหนึ่งว่าตรงหน้าสรุปที่ไม่ผิดเรื่องจรรยาบรรณ กฎหมายควรจะสรุปว่าอะไรครับ
พันตำรวจโท ด.ร. บัณฑิต ประดับสุข : ในหน้าสรุป ท้องถิ่นส่วนใหญ่จะอ่านหน้านี้เป็นหลัก เพราะฉะนั้นคำสรุปของผู้ตรวจสอบอาคารเราไม่สามารถจะสรุปได้ว่าอาคารหลังนี้ปลอดภัยได้ควรจะดูว่าโครงสร้าง องค์ประกอบแล้วก็สถานะต่างๆ ยังทำงานปกติ ซึ่งผมก็เห็นใจทาง กทม.เนื่องจากว่าใบ ร.1 บอกว่าอาคารหลังนี้ปลอดภัยกำลังจะแก้wording คำนี้อยู่ คือในกฎหมายใหม่ เพราะว่าผู้ตรวจสอบอาคารอย่างที่ผมเรียนบอกในขั้นต้นว่าไม่สามารถเป็นผู้รับรองความปลอดภัยอาคารได้
ผู้ดำเนินรายการ : ก็คือ wording ว่าสภาพพร้อมใช้งานพอได้ไหมครับ
พันตำรวจโท ด.ร. บัณฑิต ประดับสุข : พอได้ครับ รู้สึกว่าอันนี้จะไม่พูดแทนของ กทม. เองที่อนุกรรมการแก้กฎหมายไปหา wording
ผู้ดำเนินรายการ : สรุปคือตัวรายงานเองที่บอกว่าจะเป็นทางเลือกในมือผม ในเล่มนี้สามารถที่จะดาวน์โหลดในเว็บของ กทม. ก็คือ Bangkok.go.th หรือว่าของสมาคมผู้ตรวจสอบและบริหารความปลอดภัยอาคาร ก็คือ www.bsa.or.th ตัวนี้จะมีตัวหลักตัวอย่างรายงานด้วยที่ comment รายงานที่ดีและรายงานที่ไม่ปลอดภัยจะเป็นอย่างไร เนื่องจากจำนวนที่ทำไม่สามารถแจกท่านได้ ทำมาจำนวนจำกัดแค่ 500 คน เพื่อให้พนักงานท้องถิ่นกับผู้ตรวจสอบอาคารเข้าใจว่ารายงานที่จะส่งให้ กทม. นี่เป็นทางเลือก แต่ทางเลือกเลือกไม่ได้คือท่านต้องระบุให้ชัด รายงานที่ท่านต้องระบุให้ชัดก็คือท่านไม่มีสิทธิกำกวม มีสิทธิอย่างเดียวคืออาคารสภาพพร้อมใช้งาน มี function อย่างที่ท่านอาจารย์บัณฑิตบอกหรือไม่ว่ามีอุปกรณ์อะไรบกพร่อง พนักงานท้องถิ่นจะได้ออกคำสั่งตามที่ผู้ตรวจสอบให้ความเห็นในรายงาน มีทางเลือกเดียว ส่วนรูปแบบรายงานเดิมก็สามารถใช้ได้ มาที่ท่านนายกนิดหนึ่งอย่างนี้มีเกณฑ์ใหม่ มีแนวทางใหม่ ตัวปัญหาหรือว่าส่วนหนึ่งที่ผมพูดใน 6 ข้อ ถือว่าผู้ตรวจสอบอาคารสำคัญเลย แล้วมีแนวทางอย่างไรที่ผู้ตรวจสอบ
อาคารจะเข้าใจแล้วก็ไม่ใส่ข้อมูลที่กำกวมอย่างนี้ เพราะผมคิดว่าทางผู้ตรวจสอบอาคารชี้ทางไหนเจ้าของอาคารก็ต้องเป็นอย่างนั้น ท่านนายกมีความคิดเห็นอย่างไรครับ
นายวิเชียร บุษยบัณฑูร : ก็เข้าใจว่าผู้ฟังนี้ส่วนใหญ่น่าจะเป็นเจ้าของอาคารและได้มีการว่าจ้างผู้ตรวจสอบดำเนินการตรวจสอบมาแล้วเป็นระยะเวลาร่วม 5 ปี แล้วยังไม่ได้รับใบ ร.1 คงต้องการจะรู้ว่าจะทำอย่างไรให้ได้รับใบ ร.1 วันนี้เข้าใจว่าส่วนใหญ่ต้องการรู้ว่า process จากนี้ไปทำอย่างไร เอกสารที่กองกันอยู่ใน กทม. จะทำอย่างไรเพื่อให้ได้ใบ ร.1 ก่อนอื่นอยากจะรบกวนท่านเจ้าของอาคารได้ติดต่อไปที่ตรวจสอบของท่านว่าผู้ตรวจสอบของท่านคือใคร แล้วจะต้องประสานงานว่าจะทำอย่างไรให้อาคารได้รับใบ ร.1 ทีนี้จะต้องกลับมาเข้าใจในกฎ กติกาก่อนว่าการได้รับใบ ร.1 หมายความว่าอย่างไรการที่จะได้รับใบ ร.1 หมายความว่าอาคารนั้นเจ้าของอาคารนั้นได้มีการว่าจ้างผู้ตรวจสอบและผู้ตรวจสอบได้ทำการตรวจสอบอาคารแล้วก็ออกรายงานผล รายงานผลถ้าเรากลับไปใบสุดท้ายคือใบสรุปว่าผู้ตรวจสอบให้ความเห็นว่าอย่างไร ถ้าผู้ตรวจสอบให้ความเห็นว่าอาคารนั้นมีสภาพการใช้ปลอดภัย สิ่งประเด็นสำคัญก็คือสาระที่อยู่ในรายงานนั้นจะต้องสอดคล้องกันว่าการที่บ่งบอกถึงความปลอดภัยได้แสดงว่ารายการต่าง ๆ ที่อยู่ในรายละเอียดปลีกย่อยได้รับการแก้ไขเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นเมื่อเอารายงานเข้ามาส่งทางสำนักการโยธาก็สมควรที่จะได้รับใบ ร.1 โดยมีเงื่อนไขว่าเอกสารประกอบต่าง ๆ จะต้องครบถ้วนตามเกณฑ์ คือทีนี้ผมเข้าใจว่าตอนที่เริ่มต้นกฎหมายใหม่ ๆ คงเป็นไปไม่ได้ที่อาคารจะมีสภาพพร้อมสมบูรณ์ดังนั้นรายงานส่วนใหญ่อาจจะเกือบทั้งหมดหรือทั้งหมดเลยก็ได้ว่าเป็นรายงานที่ในเนื้อหาสาระจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งในระหว่างที่เจ้าของอาคารมีความรู้สึกมีความเข้าใจว่าท่านก็จ้างตรวจสอบอาคารแล้วควรจะได้ใบ ร.1 แต่หารู้ไม่ว่าอาคารยังไม่ได้รับการปรับปรุง แต่ผมเชื่อมั่นว่าจากวันนี้ถึงวันนี้ตลอดเวลาประมาณ 4-5 ปีที่ผ่านมา เจ้าของอาคารหลายอาคารก็ยังคงมีการว่าจ้างผู้ตรวจสอบอาคาร การตรวจสอบอย่างต่อเนื่องเพื่อความปลอดภัยของอาคารตัวเองเพื่อเป็นหลักประกันต่อผู้ใช้สอยอาคาร ก็มีการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา มีการส่งรายงานประจำปีเรื่อยมา แต่ก็ยังไม่ได้รับการพิจารณาใบ ร.1 เกิดจากอะไร เกิดจากเล่มแรกที่ยังไม่เรียบร้อย ดังนั้นการที่จะนำไปสู่การที่จะได้รับใบ ร.1 ได้ สิ่งที่ต้องเดินจากนี้ไปคือเจ้าของอาคารต้องกลับไปหาผู้ตรวจสอบอาคาร แล้วก็ร่วมกันว่าจะต้องให้ทำอย่างไรเพื่อจะได้ใบ ร. 1 เพื่อตรวจสอบอาคารจะเป็นกลุ่มซึ่งประสานงานเข้ามากับทางสำนักการโยธาหรือทางสมาคมเพื่อจะบอกว่าเคสแต่ละเคสจะต้องแก้ไขอย่างไร และผมมั่นใจว่าด้วยวิธีการหรือเรื่องกระบวนการแบบนี้ภายในระยะเวลา 3 เดือน 6 เดือน ผมเชื่อมั่นว่าทั้งหมดน่าจะได้รับใบ ร.1 อยู่บนเงื่อนไขว่าอาคารของท่านจะต้องมีการปรับปรุงเงื่อนไขบางอย่างที่เป็นข้อตกลงพื้นฐานร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่นอาคารของท่านจะต้องมีระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ถ้าอาคารของท่านไม่มีระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ไม่ต้องพูดถึงเลย อย่างไรก็ไม่ได้ใบ ร.1จะได้คำสั่งเพื่อสั่งแก้ด้วย อันที่ 2 ถ้าอาคารของท่านมีระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ระบบต้องใช้งานได้ นี่คือยกตัวอย่างระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ตัวอย่างที่ 2 ก็คือพวกป้ายทางหนีไฟ ไฟแสงสว่างฉุกเฉิน อันที่ 3 ก็คือทางหนีไฟที่มีการปิดล้อม ยกตัวอย่างอย่างนี้เป็นต้น ผมขอแค่นี้ก่อน
ผู้ดำเนินรายการ : คือไม่ได้สักข้อคือออกไม่ได้เลยใช่ไหมครับ
นายวิเชียร บุษยบัณฑูร : เข้าใจว่ามันจะมีกฎความปลอดภัยพื้นฐานขั้นต่ำที่ว่าถ้าต่ำกว่านี้คงจะออกใบ ร.1 ไม่ได้ ซึ่งอย่างน้อย ณ เวลานี้ของเราอาคารส่วนใหญ่จะต้องผ่านกฎกระทรวง 47 อยากให้ท่านนึกถึงกฎกระทรวง 47 เป็นกฎกระทรวงที่พูดถึงความปลอดภัย จริง ๆ แล้วบอกแค่ 6 เรื่องเองผมมั่นใจว่า 6 เรื่องดำเนินการไม่ยาก แต่ผมเชื่อว่าอาคารส่วนใหญ่แค่กฎกระทรวง 47 ที่มีแค่ 6 เรื่องก็อาจจะยังไม่สมบูรณ์เสียทีเดียว ดังนั้นเจ้าของอาคารที่อยากจะ focus เกี่ยวกับเรื่องใบ ร.1 ก็ให้ไปศึกษาว่ากฎกระทรวง 47 บังคับเรื่องอะไร ส่วนใครที่เป็นอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษซึ่งคือกฎกระทรวงพิเศษ ตัวนั้นก็ต้องศึกษาเพิ่ม คือกฎกระทรวง 33 ครับ
ผู้ดำเนินรายการ : ผมเข้าใจว่าในวันนี้ได้รับการตอบรับค่อนข้างจะเยอะ ตามจริงจัดงานเพียงแค่ 400 คน ปรากฏว่ามาวันนี้น่าจะ 600-700 คนแล้ว ผมก็จะใช้เวทีตรงนี้ให้พวกท่านค่อนข้างที่จะใช้คำถาม ทุกคำถามที่ท่านถาม ถ้าไม่สามารถจบภายในวันนี้ภายในเที่ยง ผมจะเอาคำตอบท่านขึ้นในwebsite ของ กทม. หรือว่า website ของสมาคม ทั้ง 3 วันก็มีเรื่องคล้าย ๆ กัน พยายามที่จะตอบคำถามให้ได้ทุกคำถาม ทีนี้ท่านที่มีคำถามสามารถที่จะส่งคำถามได้ซ้ายขวา หรือว่ามีไมค์อยู่ตรงกลางก็สามารถถามสดได้ต้องบอกว่าเวทีนี้เป็นเวทีของท่านที่จริงๆ ที่ทาง กทม. เองอยากจะจัดให้เพื่อจะเคลียร์ใจ เพื่อจะทำอย่างไรออกจากห้องนี้สามารถที่จะไปบอกคนที่เป็นเจ้าของอาคารหรือว่าบอกกับตัวเองได้ว่ามาวันนี้ ร.1 จะต้องมีเกณฑ์อย่างไรมีแนวทางอย่างไร ก็สามารถเขียนคำถามและส่งมาได้จะมีเจ้าหน้าที่รับอยู่ ส่งมาให้ผมอ่านบนเวทีหรือท่านสามารถที่จะถามสดได้ ตรงนี้เราได้สรุปที่สะเด็ดน้ำจริง ๆ แล้วว่า ร.1 คือถ้าใครมาถามปุ๊บ เจ้าหน้าที่อาคารคงเข้าใจว่า ณ วันนี้มีอาคารที่เข้าข่ายตรวจสอบเอง นอกจากใน กทม. เอง ที่นั่งอยู่ในห้องนี้ มีทั้งหมดอยู่ 5,000 กว่าอาคาร แล้วก็เข้ามาอีกในวันที่ 25ตุลาคม เข้ามาปีนี้ที่ได้รับการยกเว้นคืออะไร 2. อาคาร 2,000-5,000 ตารางเมตร ทาง กร. เอาอยู่แล้วก็อยู่ในกรอบกฎหมายที่สามารถที่จะออก ร.1 ได้ถ้าเขาผ่านเกณฑ์
พันตำรวจโท ด.ร. บัณฑิต ประดับสุข : คำว่าเอาอยู่นี้ไม่กล้าพูด เดี๋ยวกระเทือนไปด้วย ผมเรียนอย่างนี้ที่ผมคุยแต่เบื้องต้นว่ากฎหมายเมื่อออกมาแล้วทางเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องปฏิบัติ แล้วผมเชื่อว่ากฎหมายที่ออกมาแต่ละฉบับออกมาแล้วไม่ค่อยจะเคลียร์เลย ยกตัวอย่างว่าตรวจสอบใหญ่ เขาบอกตรวจสอบใหญ่ต้องตรวจทุก 5 ปี แล้วหลังจากนั้นก็ตรวจประจำปีทุกปี ถ้าขั้นตอนมองว่าประจำปีต้องกี่ชั้น ถ้าทฤษฎีมองง่ายตรวจสอบใหญ่เสร็จตรวจประจำปีอีก 4 ครั้ง เดี๋ยวครบอีกทีก็ตรวจสอบใหญ่แต่ข้อเท็จจริงมันไม่ใช่ กว่าท่านจะตรวจสอบมาเผื่อมีอะไรต้องแก้ไขหรือเผื่อรอเซ็นใบ ร.1 ก็ชิดไปเรื่อย ๆที่เกิดขึ้นมาคือเช่นว่าเมื่อส่งรายงานตรวจสอบประจำปีก็มักจะใส่ พ.ศ. แต่อีกข้อหนึ่งก็บอกว่าการจัดส่งให้ส่งหลังจากที่ใบ ร.1 เดิมก่อนจะครบ 30 วันก่อนจะหมดอายุ 1 ปี คราวนี้ก็สับสนแล้วว่าตกลงตรวจสอบใหญ่ผมต้องตรวจ 5 ปีครั้ง
หรือว่าผมจะตรวจสอบใหญ่ทีหนึ่ง ตรวจสอบประจำปีอีก 4 ครั้ง ในส่วนนี้พูดง่าย ๆ ทางผมถ้าเรื่องบางเรื่องมัวแต่หารือกรมโยธาคงเสียเวลา เพราะหลายครั้งที่หารือไปพอตอบมาก็ตอบในลักษณะคำพูดเรื่องกฎหมายต้องตีความอีก ดังนั้นทางเราก็ต้องตัดสินใจว่าเราจะเดินอย่างไร ซึ่งเคสนี้ทางผมก็ตัดสินใจว่าทางผมจะให้ตรวจสอบใหญ่ 1 ครั้ง ให้ตรวจสอบย่อยคือตรวจสอบประจำปี 4 ครั้งดังนั้นประจำปีไม่ต้องใส่มาเลยว่าประจำปี พ.ศ. ไหน คือผมคงเอาตามนั้นไม่ได้ ไม่อย่างนั้นทางผมจะไม่มีหลักในการปฏิบัติ แล้วจะเรียนเบื้องต้นไว้ก่อนว่าถ้าเกิดไปยื่นที่ท้องถิ่นอื่นก็คงไม่เหมือนของ กทม. อันนี้ขอเรียนไว้ก่อนทางเราคงจะต้องกำหนดแนวทาง ถ้าผมมองแล้วกำหนดแนวทางคือผมคิดว่าเรื่องนี้ประชาชนน่าจะได้ผลดีมากกว่า เพราะตรวจสอบย่อย 4 ครั้งก็ถูกหน่อย ถูกกว่าตรวจสอบใหญ่ ดังนั้นผมถือว่าเป็นด้านบวกกับประชาชน ส่วนความปลอดภัยคือว่าเมื่อกฎหมายออกมาทางเราก็หารือทางโยธาบางเคสเช่นว่าที่เราถามบ่อยว่ายื่นประจำปีต้องยื่นหรือเปล่าในเมื่อ ร.1 ยังไม่ได้ ทาง กทม. ก็จะบอกว่าในเมื่อ ร. 1 ไม่ได้เราไม่รับพิจารณา แต่ถ้ายื่นมาเรารับแต่ไม่รับพิจารณา แต่เนื่องจาก ร.1 ยังไม่ได้ ข้อนี้เราก็หารือทางกรมโยธา ก็ตอบมาว่าการที่ ร.1 ยังไม่ออก ดังนั้นภายใน 30 วันก่อนครบปียังไม่เกิดขึ้น ดังนั้นก็ยังไม่ต้องส่งรายงานประจำปี แต่ต้องตรวจเป็นประจำทุกปี ข้อนี้ก็งงไปหน่อยหนึ่ง แล้วทำไมต้องตรวจทุกปีไม่ต้องส่งรายงาน แต่สุดท้ายก็บอกว่าในเมื่อถ้า ร.1ได้แล้ว พอจะครบปีรายงานที่ส่งต่อมาก็ต้องบอกว่าเราตรวจเมื่อไรบ้าง เข้าใจว่าเจตนาจะบอกว่ามีการตรวจสม่ำเสมอจนถึงดิวที่ต้องยื่น ร.1 ประจำปี คือเราก็ยึดถือแบบนี้อยู่ เพียงแต่ว่าทาง กทม. กับทางพวกท่านคงจะไม่ได้สื่ออะไรพวกนี้ แต่เรื่องพวกนี้เราเคยคุยกับผู้ตรวจสอบหลายครั้ง ซึ่งผู้ตรวจสอบหลายครั้งพูดตรง ๆ บางท่านก็เข้าใจ บางท่านก็ไม่เข้าใจ เพราะว่ามีจิตใจ มีอะไรติดอะไรอยู่ผมก็ไม่ทราบว่าทำไมบางอย่างพูดแล้วข้อนี้ไม่ยอมรับ คือเป็นแนวทางปฏิบัติที่ทำให้ถึงวันนี้ตรวจสอบย่อยก็ยังส่งกันอยู่ ซึ่งบางทีจะถือโอกาสว่าเที่ยวนี้ ครั้งที่แล้วเราคุยกับผู้ตรวจสอบ ครั้งนี้กับเจ้าของอาคาร จริงๆ เจ้าของอาคารกับผู้ตรวจสอบต้องเดินคู่กันไป หนังสือที่ท่านยื่นมาเกิดมีข้อไหนข้อทักท้วงที่ทาง กทม. แจ้งกลับ เราจะแจ้งกลับไปทางเจ้าของอาคาร ถ้าเจ้าของอาคารเก็บไว้ผู้ตรวจสอบก็อาจจะไม่ทราบ แต่ตอนตามเรื่องให้ผู้ตรวจสอบอาคารก็เลยคลาดเคลื่อนกันหมด ดังนั้นปัญหาทั้งหมดที่ผมจำลองแล้วมันไม่ใช่เป็นปัญหาแบบเดียวกันหมด เพียงแต่ว่าต่างเรื่องแต่ละเรื่องก็เกิดปัญหาหนึ่ง ภาพรวมอาจจะมีเคสได้หลายเคส ถ้าตอบคงจะไม่หมด ผมถึงพยายามบอกเป็นแนวทางกลางๆ ไว้เช่นว่าถ้าให้คุยถึงเรื่องที่ล่าช้า
ผู้ดำเนินรายการ : คือเกิดความสับสนกันแล้วว่าเจ้าของอาคารอาจจะพูดว่าถ้าไม่พิจารณาแล้วจะตรวจทำไม แต่ต้องมีทางหนึ่งต้องเข้าใจว่าเจตนารมณ์ของกฎหมายคือการตรวจอาคารเหมือนการตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี แต่ถ้าจะเอาผลก็คือผู้ตรวจสอบอาคารคือให้ผลอยู่แล้วว่าผลตรวจสุขภาพเป็นอย่างไร ใบรับรอง ร.1 ก็คือเป็นสิ่งที่ กทม. ออกให้ แต่ว่าจริง ๆ ผู้ตรวจสอบเองก็คือออกให้ ณ ตอนนั้นอยู่แล้วถูกไหมครับท่านนายกสมาคม
นายวิเชียร บุษยบัณฑูร : พูดอย่างนั้นไม่น่าจะได้ คือผู้ตรวจสอบควรให้ใบ ร.1 ได้ไหมไม่ใช่ครับ
ผู้ดำเนินรายการ : คือให้ผลรายงานว่าอาคารสภาพเป็นอย่างไร
นายวิเชียร บุษยบัณฑูร : คือจริง ๆ แล้วเจ้าของอาคารกับผู้ตรวจสอบอาคารจะต้องกลมเกลียวกัน คือผู้ตรวจสอบอาคารจะเป็นเหมือนที่ปรึกษาอาคารของท่าน จริงๆ ถ้าย้อนเวลากลับไปได้ตอนที่เขาตรวจสอบอาคาร เจ้าของอาคารจะรู้แล้วว่าใบ ร.1 จะได้หรือไม่ได้ ถ้าไม่ได้แล้วจะทำอย่างไร คือโดยง่าย ๆ ก็คือว่าผู้ตรวจสอบอาคารสามารถบ่งบอกได้ว่าเจ้าของอาคารมีระบบต่อไปนี้ มีความผิดต่อเรื่องความปลอดภัยที่จะต้องทำการปรับปรุงแก้ไขในระหว่างที่กำลังครบดิวที่จะต้องยื่นรายงาน รายงานก็อาจจะออกไป แน่นอนไม่ได้ใบ ร.1 เพราะในรายงานจะติด comment ว่าอาคารของท่านต้องปรับปรุงระบบ Fire Alarm ยกตัวอย่างเช่นเจ้าของอาคารจะรู้แล้ว แล้วก็แน่นอนหนังสือที่ไปรายงานผลที่ไปท่านก็จะไม่ได้ใบ ร. 1 แน่นอน การที่ไม่ได้ใบ ร.1 ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ได้ใบ ร.1 ตลอดกาล ในระหว่างที่ถ้าผู้ตรวจสอบเขาออกรายการชัดเจนว่าอาคารนี้ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขในระบบ Fire Alarm ตรงนี้ทาง กทม. ทางสำนักการโยธาก็จะมีหนังสือมาหาท่านว่าท่านต้องปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ แล้วก็ให้ยื่นรายงานเข้ามาใหม่ ซึ่งถ้าเกิดท่านเข้ากระบวนการนี้แล้วก็มีการปรับปรุงอาคาร เสร็จแล้วมีผู้ตรวจสอบมารับรองว่าได้ปรับปรุงแก้ไขแล้วแล้วก็ส่งรายงานเพิ่มเติมมา โดยหลักการแล้วก็จะต้องได้รับใบ ร.1
ผู้ดำเนินรายการ : มาที่ผู้มีส่วนร่วมออกกฎหมายตัวนี้นิดหนึ่งว่าเจตนารมณ์หรือแนวทางจริง ๆ ถ้ายก diagram ด้านขวามือ อาจารย์บัณฑิตลองอธิบายนิดหนึ่งว่าแนวทางเป็นอย่างไร ดูว่าแนวทางการปรับปรุงจะมีอะไรบ้าง
พันตำรวจโท ด.ร. บัณฑิต ประดับสุข : ในเรื่องฉบับนี้ที่ออกมาทำมาตั้งแต่ต้นแล้วจริง ๆ ท่าน ผอ. พินิตก็พูดไปแล้ว แต่ตอนนี้ผมจะมาเรื่องว่าทำไมกฎหมายฉบับนี้มีปัญหาว่าออกใบ ร.1 ไม่ได้เลย ตะกี้สไลด์อันแรกปัจจัยในการได้ใบ ร.1 เจ้าของอาคาร ตอนนี้ผมจะพูดเป็นกลาง ๆ และตรงนิดหนึ่ง เจ้าของอาคารต้องมี aware ต้องมีความตระหนักว่าการตรวจสอบผู้ตรวจสอบเขาจะได้รู้ว่าอาคารเราระบบในอาคารใช้งานได้อยู่หรือเปล่า คือเมืองไทยแปลกอย่างหนึ่ง ผมเรียนเรื่องไฟที่สวีเดนต้องมีการตรวจอาคาร เวลาไปตรวจในศูนย์การค้า พอบอกว่ามาทำอะไร บอกว่าเป็น final มาตรวจเขายินดีที่จะให้ไปตรวจ พอกลับมาเรียนเมืองไทยต้องตรวจเมืองไทยด้วย ห้างบางห้างก็ไม่ให้ตรวจ หรือว่าบางครั้งไปสอนผู้ตรวจสอบอาคาร มีอยู่ที่หนึ่งเป็นโรงแรม ผู้จัดการให้ตรวจ ตรวจ ๆ กันอยู่เจ้าของตัวจริงมาไม่ให้ตรวจก็มี คือถ้าไม่มีความตระหนักในเรื่องนี้ก็ส่งผลเสีย คือเมื่อเกิดเหตุการณ์เข้ามา goodwill ของท่านมันหมดไป เสร็จแล้วก็มานั่งยัดเงินสื่อ ไม่ลงข่าวบ้าง บางท่านบอกว่างบความปลอดภัยมันมหาศาล แต่จริง ๆ มีจุดคุ้มทุนของมันที่คุ้มกัน ซานติก้าก่อนเกิดเหตุลงทุนในการปรับ look ใหม่30 ล้าน แต่ในนั้นไม่มีเรื่อง safety เท่าไรเลย เสร็จแล้วพอมีคดีต้องวิ่งโน่นนี่ เคสหนึ่งส่วนตัวผมเมื่อ 10 กว่าปีออกแบบ interior ร้านรองเท้าอยู่ร้านหนึ่งในห้างใหญ่แถวปทุมวัน ร้านรองเท้าส่วนใหญ่ข้างบนจะเป็น stock ของ ก็คือเก็บรองเท้า ในนั้นคือเชื้อเพลิงอย่างดี ทั้งหนัง ทั้งกาวโดยเฉพาะกาว ผมก็บอกว่าคุณควรจะต้องปิดในส่วนบนในส่วนที่เป็นเหนือฝ้าไฟของทางเดินหน้าร้าน ปรากฏว่าแกก็ไม่ทำ ผมก็ไม่ทำงานกับแกนะครับ เพราะว่าแนะนำไปแล้ว ปรากฏว่าไหม้จริง ๆ ไหม้จุดนั้นพอดี ควันก็จะแพร่กระจายไปบนใต้ฝ้าของทางเดินมาก จนกระทั่งมาถึงที่ที่หนึ่งมันก็พังลงมาออกซิเจนก็เข้าไป ก็เกิดการลุกไหม้ ห้างต้องปิดไ 2 วัน ลูกน้องผมคนหนึ่งไปเจอแกเมื่อคดีกำลังจะเสร็จแล้ว แกบอกว่าต้องเสียทั้งสิ้นเสียทั้งรถเบนซ์ไปเยอะ แกควรจะเชื่อผม อันนี้ไม่ได้บอกว่าผมเก่ง แต่ว่าเจอกับตัวเองตั้งแต่ตอนแรกว่าควรจะต้องทำปิดในเรื่องการแพร่กระจายของไฟ อันนี้เป็นตัวอย่าง 2. ผู้ตรวจสอบอาคารมีเรื่องร้องเรียนมาเยอะที่กรมโยธาเหมือนกันเรื่องคุณภาพจากเจ้าของอาคารเองในเรื่องคุณภาพผู้ตรวจสอบอาคารว่าตรวจให้เขาไม่ดี คือถ้าพูดถึงการคุ้มครองผู้บริโภคแบบสินค้าหรือบริการไม่ได้มาตรฐาน อาจจะเป็นเพราะว่าการสอนอาจจะชั่วโมงสั้นไป การพัฒนาต่อเนื่องไม่มี องค์การท้องถิ่นเอง ความเข้าใจกันระหว่างผู้ตรวจสอบอาคารหรือตัวรายงานก็ยังไม่เข้าใจว่า concept ของกฎหมายฉบับนี้คืออะไร อาจจะมี wording ของใบ ร.1 ซึ่งกำลังแก้ไขอยู่ เอกสารรายงานบางท่านก็ยังไม่ได้ทำการประเมิน จริง ๆ audit การตรวจสอบอันนี้เป็นการ audit ถ้าแปลไปตามพวก 14000 และ 18000 คือการตรวจประเมิน ท่านต้องประเมินว่าเกณฑ์ที่ท่านกำหนดไว้ ท่านตรวจไปมันผ่านเกณฑ์คัดนั้นหรือเปล่า แล้วก็ยื่นเอกสารไปให้กับ กทม. อันนี้คือสิ่งต่าง ๆ ซึ่งทำให้ใบ ร.1 มีปัญหา วัตถุประสงค์ของการเสวนาในวันนี้คือเป็นการปรับความเข้าใจกันระหว่าง 3 ส่วน ซึ่งผมชอบจะได้มาเคลียร์ปัญหาอะไรกัน เพราะข้อมูลจากที่คุยกันวันนี้จะเป็นข้อมูลในการแก้ไขกฎหมายผู้ตรวจสอบอาคารนี้ต่อไป ตอนนี้กำลังแก้ไขอยู่ ประชุมไป 3 ครั้งแล้ว เชิญครับ
ผู้ดำเนินรายการ : นิดหนึ่งครับอาจารย์พิชญะว่าถ้าผู้ตรวจสอบหรือเจ้าของอาคารค่อนข้างอายุการก่อสร้างมันเก่ามาก หลักฐานใบ อ.6 อ. 6 ไม่มีเลย แล้วไม่รู้จะตรวจสอบอย่างไร รู้ว่าไม่ถูกกฎหมายในการก่อสร้าง ถามว่าจำเป็นต้องตรวจไหม เจตนารมณ์ของกฎหมายจริง ๆ คืออย่างไร เราไปตรวจเพื่ออย่างไร
นายพิชญะ จันทรานุวัฒน์: จริง ๆ แล้วเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ยังเป็นปัญหาอยู่ในการดำเนินการ แต่ในการฝึกอบรมผู้ตรวจสอบอาคารเราไม่ได้มุ่งเน้นไปตรวจสอบตามกฎหมายว่าเขาขออนุญาตมาเป็นอะไรอย่างไร ใช้ผิดประเภทหรือเปล่าการตรวจสอบเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นอยู่แล้ว ซึ่งเขาสามารถที่จะตรวจได้ทุกวันอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องมาอาศัยผู้ตรวจสอบในการตรวจ แล้วก็ผู้ตรวจสอบเองจะถูกกำหนดให้ตรวจสภาพที่เป็นจริงที่ใช้งานอยู่จริงมีความปลอดภัยในการใช้งานอยู่แล้ว อย่างที่บอกว่าผู้ตรวจสอบจริง ๆ เราเข้ามาทำให้อาคารปลอดภัยเป็นมิตรกับเจ้าของอาคารถ้ามาตรวจในลักษณะจับผิดเหมือนกับเจ้าหน้าที่ของ
รัฐที่มาตรวจตามกฎหมาย เหมือนกับเพิ่มศัตรูอีกคนหนึ่งก็กลายเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เหมือนกับเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่จะต้องมาตรวจคุณผิดอะไร จริง ๆ แล้วผู้ตรวจสอบถูกส่งมาเพื่อที่จะมาเป็นมิตร เป็นเพื่อนคู่คิดกับเจ้าของอาคารเพื่อที่จะปรับปรุงอาคารให้เกิดความปลอดภัยตรงนั้นเป็นเจตนารมณ์
ผู้ดำเนินรายการ : ผมเข้าใจว่าเป็นเพื่อนคู่คิดมาก เพื่อนคู่คิดในเรื่องการตาม ร.1ด้วย ทีนี้มาที่ท่านนายกนิดหนึ่ง ในรูปแบบของกรมโยธาที่กำหนดไว้บางครั้งปัจจุบันเจ้าของอาคารเดี๋ยวก็มาครั้งหนึ่งบ้าง 2 ครั้งบ้าง รูปแบบจริงๆ อะไรปีหนึ่งจะต้องตรวจกี่ครั้ง มีแนวทางคิดอย่างไรครับ
นายวิเชียร บุษยบัณฑูร : จริงๆ เรื่องความถี่ในการตรวจสอบ เจตนาของผู้ออกแบบกฎหมายเขาเปิดช่องไว้เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นว่าผู้ตรวจสอบในฐานะที่เป็นที่ปรึกษาอาคารมองว่าอาคารนั้น ๆ ควรจะมีความถี่ในการตรวจในฐานะของผู้ตรวจสอบอย่างไร แล้วก็จะกำหนดความถี่ให้เจ้าของอาคารจัดให้มีการบำรุงรักษาแบบไหน ในการตรวจสอบใหญ่ผู้ตรวจสอบจะต้องจัดหนังสือจัดแผนให้อีก 2 แผน แผนแรกคือแผนตรวจสอบประจำปีว่าผู้ตรวจสอบเห็นว่าเจ้าของอาคารควรจัดให้มีผู้ตรวจสอบเข้าไปตรวจปีละกี่ครั้ง กรมโยธาจะวางตุ๊กตาไว้ให้ปีละ 3 ครั้งเป็นต้นแบบ ซึ่งทุกคนก็ลอกเลียนแบบว่าปีละ 3 ครั้ง แต่จริง ๆ ไม่จำเป็น ผู้ตรวจสอบอาจจะเสนอในแผนตัวเองว่าปีละ 1 ครั้งก็ได้ ปีละ 4 ครั้งก็ได้ตามความเหมาะสมในความเสี่ยงนั้น ๆ ส่วนอีกแผนหนึ่งคือแผนบำรุงรักษา ถ้าเจ้าของอาคารไม่ได้มีแผนบำรุงรักษาในบางเรื่องหรือเรื่องใด ผู้ตรวจสอบก็มีหน้าที่จัดแผนบำรุงรักษานั้นให้แล้วก็จัดความถี่ไว้ให้ หรือเจ้าของอาคารมีแผนบำรุงรักษาอยู่แล้ว ผู้ตรวจสอบอาจจะให้ความเห็นเพิ่มเติมว่ามันน้อยไปหรือว่าเยอะเกินไป ตรงนี้ต่างหากที่เป็นความยืดหยุ่นที่ผู้ตรวจสอบสามารถดำเนินการจัดการได้ในฐานะที่ปรึกษาของอาคารนั้น ๆ เพียงแต่ว่าเรามีตำราต้นแบบจากกรมโยธาธิการแล้วก็ด้วยสังคมเราก็ชอบ คือให้แล้วก็ชอบลอกแล้วก็ใช้ตาม จริง ๆ ไม่ได้จำกัด ดังนั้นความถี่ก็คือยืดหยุ่น
ผู้ดำเนินรายการ : เป็นแนวทางหนึ่ง
พันตำรวจโท ด.ร. บัณฑิต ประดับสุข : เดี๋ยวผมจะกลับวกมาคุยเรื่องเก่าดีกว่า ไม่อย่างนั้นฟังแล้วบางทีคนละแนวออกไป คือทางท้องถิ่นเราต้องดูตามกฎหมาย กฎหมายแต่ละฉบับมีเจตนารมณ์ กฎหมายผู้ตรวจสอบฉบับนี้ที่เบื้องต้นคุยกันเรื่องความปลอดภัย ต้องยอมรับก่อนว่าที่เราตรวจเพื่อสุดท้ายถึงความปลอดภัย แม้กระทั่งแบบฟอร์มในกฎกระทรวงก็ระบุไว้ว่าอาคารนี้ปลอดภัย ดังนั้นวิธีตรวจเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ว่าตรวจสภาพไม่เป็นไร แต่เราไม่ถึงขนาดนั้น แต่เรื่องปลอดภัยในเมื่อกฎหมายกำหนดว่าแบบฟอร์มยังบอกเลยว่าปลอดภัย ผมยังถือว่าก็ต้องบอกว่าปลอดภัย เพียงแต่ว่าวิธีตรวจที่นำไปสู่การจะสรุปว่าปลอดภัยนี่ตรวจวิธีไหน พอมีเรื่องจริง ๆ ก็เช็กข้อเท็จจริงอยู่แล้ว ดังนั้นเจตนาผมว่าจริง ๆ เหมือนกันหมดคือเพื่อตรวจสอบให้ถึงความปลอดภัย แล้วบางครั้งอาจจะต้องโทษถึงสถานศึกษาที่ให้การอบรมด้วยว่าจริง ๆ อบรมเขาได้พูดเรื่องนี้ให้กับผู้เข้าอบรมหรือเปล่า ผมยกตัวอย่างเช่นเรื่องความมั่นคงแข็งแรงจริง ๆ
ควรจะเป็นเรื่อง lecture ให้คนเข้าอบรมฟังว่าเรื่องความมั่นคงควรจะดูเรื่องอะไรบ้าง ดูว่ามีการต่อเติมไหม ดูว่าฐานรากทรุดหรือเปล่า แต่เขาไม่จำเป็นว่าให้ท่านเขียนอยู่ในรายงานเขียนทุกข้อว่าไม่มีการต่อเติม ฐานรากไม่ทรุดผมว่าไม่ใช่ ก็สรุปเท่าที่เหมือนกับเป็นข้อแนะนำว่าต้องดูอะไร พอดูเสร็จก็สรุปในรายงานว่าตรวจสอบสภาพแล้วไม่มีส่วนไหนที่ส่อให้เห็นว่ามีโครงสร้างไม่ปลอดภัยก็จบแค่นั้น เป็นผม ผมจะโทษทางสถาบันการศึกษาที่ว่าให้การอบรมได้พูดถึงเรื่องพวกนี้หรือเปล่า คือการไปอบรมกันมา ผมก็ไม่รู้ว่าอบรมกันมาทำให้ผู้ตรวจสอบ ผมยังไม่รู้ว่ากฎกระทรวง ฉบับที่ 47 ผู้ตรวจสอบรับทราบหมดหรือเปล่าว่าไม่อะไรบ้างว่าเคสไหนต้อง 47 เคสไหนถึงมีเกิน 47 หรืออะไร คิดว่าหลายท่านคงไม่รู้ เพราะบางทีไม่ได้ main มาทางเรื่องได้อาคาร ดังนั้นสิ่งที่พยายามที่จะบอกว่ามีการคุยกันเพื่อให้เข้าใจกัน แล้วพอทำงานกันจะได้ไปแนวเดียวกัน แล้วจะได้รู้ว่าปัญหาที่เกิดมาเกิดจากอะไร ไม่อย่างนั้นที่บอกทาง กทม. ว่าเป็นจำเลยตลอดทุกครั้ง ผมมาแล้วผมก็สบายใจ เพราะว่าส่วนใหญ่จะมีทางผมมากกว่าคนอื่นตอบจริง ๆ ก็ซ้ำ ๆ กัน
ผู้ดำเนินรายการ : คำว่าพนักงานท้องถิ่นใน กทม. บางครั้งก็มองถึงเขต บางครั้งก็กองควบคุมอาคาร แท้จริงในตัวกฎหมายคือผู้ใด แล้วอย่างไร มีบทบาทอย่างไรระหว่างเขตกับทางกองอาคาร
นายพินิต เลิศอุดมวัฒนา: พ.ร.บ. ควบคุมอาคารอำนาจเบ็ดเสร็จอยู่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น ทาง กทม. ก็คือผู้ว่าราการ กทม. คราวนี้อยู่ที่ว่าท่านผู้ว่าจะมอบอำนาจให้ใคร สำหรับเรื่องผู้ตรวจสอบอาคารก็มอบอำนาจให้สำนักการโยธา โดยกองควบคุมอาคาร แต่เรื่องดำเนินคดีเรื่องการออกคำสั่งมอบให้ทางสำนักงานเขต ดังนั้นบางครั้งตอนยื่นก็ไปยื่นเรื่องที่เขต จากเขต 1 เดือน รวมมา 10 กว่าเรื่องก็ส่งกันมา แต่ไม่เป็นไรเรื่องวันที่เราดูวันที่ที่ กทม. รับอยู่แล้ว เรื่อง lateหรือไม่เราดูวันที่ กทม. รับ ไม่ว่าจะรับที่ไหนก็แล้วแต่เราดูวันนั้น เสริมอีกนิดหนึ่ง เรื่องมีใบ อ.1 หรือเปล่า ใบอนุญาตหรือเปล่ามีใบรับรองของอาคารหรือเปล่า คือต้องเรียนตรงๆ เรื่องพวกนี้คุยกับทางกรมโยธาก็บอกว่าอาคารที่ยื่นมาถ้าบอกว่าปลอดภัยเราต้องออก ร.1 ให้ ถึงแม้จะสร้างผิดหรือแม้จะต่อเติมหรืออะไร แต่หมายถึงอาคารนี้ต้องได้รับอนุญาตก่อน แล้วการที่จะไปต่อเติมทีหลังเขาก็บอกว่าเป็นหน้าที่ของท้องถิ่นต้องไปไล่จับเอาเองแต่ท้องถิ่นต้องออก ร.1แล้วก็ต้องดำเนินคดีด้วย ดังนั้นทางเราก็ต้องมีหลักฐานจากเจ้าของแสดงมา ซึ่งหลักฐานควรจะเป็นหลักฐานของทางราชการที่อ้างอิงได้ว่าอาคารนี้มีมาตั้งแต่สมัยไหน คือพอที่จะอ้างอิงได้ว่าได้เคยรับอนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งเราไม่ได้คุยว่าต้องมีใบอนุญาตหรืออะไร เพียงแต่มีเอกสารใดของทางราชการก็ได้ที่อ้างอิงถึง แล้วเมื่อช่วงแรก ๆ ก็เกิดปัญหาแบบนี้ว่าล่าช้า ทาง กทม. ก็มาโทษทาง กทม. ว่ามัวแต่ไปทวงใบอนุญาต ซึ่งจริง ๆ เราไม่ได้คนอนุญาต คือหลักฐานแสดงว่ามีอาคาร จนสุดท้ายกรมโยธาก็ออกหลักเกณฑ์มาฉบับหนึ่งว่า กทม. ไม่ต้องดู แต่ กทม. ยังยืนยันว่าตอนนี้ก็ยังขอเอกสารตัวนั้นอยู่ แต่เอกสารคือเอกสารของทางราชการที่พอเชื่อถือได้ว่าอาคารนั้นเคยได้รับอนุญาตถูกต้อง ถึงแม้จะเป็นสมัยไหนก็แล้วแต่ อันนี้ไม่เป็นไร เพราะว่า
เราเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น เราทำตามกฎหมาย กรมโยธาไม่ได้ทำ มีปัญหาก็โยนมา กทม.ซึ่งบางอย่างเราก็รับไม่ค่อยได้ ถ้าเกิดเราไม่ดูเรื่องว่าใครผิดกฎหมายหรือเปล่าเราก็จะมีความผิด คืออันนี้ทางเราต้องพูดตรง ๆ จริงๆ เป็นแบบนี้ครับ
ผู้ดำเนินรายการ : ผมขอสรุปที่ ผอ. พินิตพูดนิดหนึ่งก็คือพนักงานท้องถิ่นในทีนี้คือท่านผู้ว่าก็มอบหมายให้ทางสำนักการโยธา ก็คือท่าน ผอ. พินิต เป็นผู้อำนวยการกองควบคุมอาคารอยู่ที่ดินแดง ก็คือ กทม. 2 ท่านไปส่งรายงานที่นี้ ถ้าส่งที่เขตก็จะส่งมาที่นี่อีก ทีนี่จะเป็นศูนย์กลาง ท่านส่งรายงานมา 2 ฉบับที่ กทม. ตรงดินแดงก็จะกระจายไปที่สำนักงานเขต แต่บางครั้งการกระจายช้าอาจจะทำให้ที่เขตจะไปตามเจ้าของอาคารอีกทีหนึ่ง แต่ท่านก็จะเอาใบรับ คือใบที่ส่งรายงานตรวจสอบอาคารให้ทางเขตดูว่าได้ส่งแล้ว มีคำถามมาผมก็ตอบว่าใบ ร.1 ออกโดยที่สำนักการโยธาโดยกองควบคุมอาคาร แล้วข้อกฎหมายท่านสามารถที่จะดาวน์โหลดได้จากในของกรมโยธาหรือว่าของสมาคมก็มี http://www.bsa.or.th แต่กำลังปรับปรุงอยู่ ขณะที่มีคำถามมา เพื่อไม่ให้เสียเวลา คิดว่าทุกท่านในที่นี้คงมีคำถาม 1 คำถามอย่างน้อยมา แต่ถ้าเกิดซ้ำอย่างไรขอมีคนที่ช่วยคัดกรองก่อน ไม่ได้ตัดทิ้งผมจะตอบทุกคำถาม ทางวิทยากรจะตอบทุกคำถามแต่จะให้ความกระจ่างทุกท่านให้เป็นระบบยิ่งขึ้น ก็สามารถที่จะส่งตัวคำถามมา หรือจะถามสดได้ เวทีนี้เป็นเวทีของพวกท่าน เมื่อสักครูท่าน ผอ.พินิตพูดถึงเรื่องการปรับปรุงในครั้งนี้เนื่องจากการตรวจอาคารส่วนใหญ่ที่ผมบอกว่ามีอาคารไม่ปลอดภัย เรื่องใบอนุญาต ร.1 ถ้าไม่มีจริงๆ ก็ให้แสดงออกว่าอาคารหลังนี้ขออนุญาตโดยอะไร บางทีโรงงานอาจจะมีใบ รง.4 เพื่อจะให้รู้ว่าใบ ร.1 ที่จะออก ออกเพื่ออาคารหลังไหนกี่ชั้น ผมฝากประชาสัมพันธ์นิดหนึ่ง เนื่องจากโครงการนี้เป็น one stop service ที่รองผู้ว่าธีระชนบอกว่าอยากให้อาคาร เนื่องจากตรวจแล้วจะต้องมีการปรับปรุง มีการใช้งบประมาณ ทางธนาคารกรุงไทยก็จะให้สินเชื่อพิเศษสำหรับโครงการ MOU ตัวนี้เลย เป็นข่าวดีสำหรับเจ้าของอาคารสามารถที่จะสอบถามที่บูธได้ สินเชื่อประเภท term loan ระยะเวลา 7 ปี แล้วก็มีวงเงิน 100 เปอร์เซ็นต์ในการปรับปรุง เงื่อนไขขอไม่อ่านรายละเอียด ขอให้ถามทางแบงก์เองจะมีบูธอยู่ ไม่เฉพาะแต่เจ้าของอาคารที่จะได้สินเชื่อตรงนี้ supplier ที่มาร่วมงานก็สามารถที่จะสินเชื่อตัวนี้ได้เช่นกัน บริษัทนิปปอนเคมิคอลก็จะให้ส่วนลด เห็นว่ามีการตรวจถังดับเพลิงฟรีให้กับพวกท่านเลย แล้วก็ให้ส่วนลดพิเศษ อุปกรณ์แจ้งเหตุไฟไหม้ลด 20 เปอร์เซ็นต์ แล้วก็ไม่ยอมน้อยหน้าอิมพีเรียล ฟรีในการตรวจเช็กให้คำปรึกษาและให้การอบรมตามกฎหมาย นอกจากถังดับเพลิงก็ยังมีเรื่องอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ อย่างซินดิเคทก็จะให้ส่วนลดแล้วก็เพิ่มประกันจาก 1 ปีเป็น 2 ปี และมีบริการ 2 ปีก็คือ 2 ครั้ง ลิงเซ่ไลท์ติ้ง ผู้นำด้านแสงสว่าง ถ้าท่านจองในวันนี้ถึงสิ้นเดือนซื้อ 100 ตัว ไอแพดรับทันทีแล้วก็มีการประกันแผงวงจรจาก 2 ปีเป็น 5 ปี แล้วก็แบตเตอรี่จาก 1 ปีเป็น 2 ปี แมดไทยไฟไม่แพ้กันซื้อครบ 1 ล้าน ไอแพดนิวไอแพด 16 จิ๊ก แล้วก็ให้ส่วนลด 15 เปอร์เซ็นต์สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ ถ้าสามารถจองที่นี้ เพราะว่าอาจจะมีจำกัด แล้วก็ให้ประกันเพิ่มจาก 1 ปีเป็น 3 ปี ตรวจเช็ก 3 ครั้งต่อปี
แล้วก็ออกแบบ แมททิคลิงก์ในเรื่องสปริงเกอร์และระบบดับเพลิง ซื้อครบ 2 แสนก็ให้ถังดับเพลิง 5 ถังแล้วก็ในส่วนของที่ไม่ได้แจ้งผมมา ถ้าท่านซื้ออุปกรณ์ครบ 10,000 ท่านไหนที่มีรถใช้แก๊ส LPG NGV จะแจกถังดับเพลิงติดรถ 1 เครื่อง นอกจากนี้เรามี supplier มีส่วนที่ให้ข้อมูลออกมา ถ้าท่านตรวจอาคารได้ ร.1 แล้วท่านได้ส่วนลดในการขอเบี้ยประกันที่ท่านต้องทำประกันรถลดลงอีกเป็นพิเศษท่านสามารถขอรายละเอียดที่บูธได้ ถ้ามีคำถามเชิญครับ เชิญข้างหน้าครับ
ผู้เข้าร่วมเสวนา : ผมจากบริษัทพีทีเอส ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี 2550 ที่ให้มีการตรวจสอบใหญ่ของอาคาร ซึ่งบริษัททำการตรวจ แล้วบริษัทที่เข้ามาตรวจสอบก็จะมี comment เพราะผมก็เชื่อว่าปีแรกทุกบริษัทจะมี comment แน่นอน เพราะว่าตามหลักสูตรของผู้ตรวจสอบอาคารก็พยายามที่จะกันตัวเองเอาไว้ แล้วพองวดแรกส่งไปที่กรมโยธาที่ดินแดง ปีแรกอย่างไรก็ไม่ได้รับ ร. 1 ผมก็คิดว่างานเยอะ แล้วพอประมาณไม่กี่เดือนทาง กทม. ก็ส่งจดหมายมาที่บริษัทว่าขอเอกสารเพิ่มเติม ผมก็เอาเอกสารเพิ่มเติมไปให้จากผู้ตรวจสอบอาคารมาให้ด้วยแล้วเคลียร์เสร็จเรียบร้อย หลังจากนั้นก็จะมีเอกสารจาก กทม. มาอีกว่าที่ comment ให้มีการทำ schedule ผมก็ทำตามไป แล้วผมก็โทรถามทางผู้ตรวจสอบอาคารด้วยว่าจะต้องทำอย่างไรต่อ ซึ่งทางนั้นบอกว่าเขาติดต่อทาง กทม. ไม่ได้หรือเขาเข้าไม่ถึง กทม. เพราะฉะนั้นทำอะไรไม่ได้ ผมก็ส่ง schedule ไปแล้วก็มีการแก้ไขแล้วปีถัดมาผู้ตรวจสอบก็ตรวจสอบ แล้วก็ comment ไปว่าทุกอย่างโอเคที่มีการแก้ไข ก็ทำไปเรื่อยๆ จนถึงปี 2555 ปีนี้ต้นปี ทาง กทม. ก็ส่งจดหมายมาอีกว่าไม่มีการแก้ไข ซึ่งผมก็งง เพราะว่าปีที่ 2 ปีที่ 3ก็มีการตรวจสอบแล้วมี commentออกมาโอเคเพราะว่าแก้ไขเรียบร้อยตาม scheduleที่ให้ไป พอผมสอบถามที่ กทม.เ ขาบอกว่าเมื่อปีแรกไม่เคลียร์ ปีที่ 2 ก็จะไม่อ่าน ผมก็ยังคิดว่าไม่อ่านจะรู้ได้อย่างไรว่าเขาแก้ไขหรือเปล่า อันนี้คือสิ่งหนึ่งที่ไม่เข้าใจ และอันที่ 2 ก็คือผู้ตรวจสอบไม่สามารถเข้าถึง กทม. ได้ เพราะฉะนั้นที่บอกว่าให้ผมไปพูดกับผู้ตรวจสอบเพื่อจะมาหาข้อมูลที่ กทม. ผมก็เลยไม่รู้ว่าจะเป็นจริงหรือเปล่า
ผู้ดำเนินรายการ : มี 2 คำถาม ข้อแรกก็คือในเรื่องของรายงานที่ส่งมาไม่ได้ ปีที่ 2ไม่ตรวจไม่พิจารณา ขอเชิญท่าน ผอ. พินิตครับ
นายพินิต เลิศอุดมวัฒนา : อันดับแรกcommentต้องคุยกันก่อน comment มีอยู่ 2 อย่าง commentแรกคือตามกฎหมายขั้นต่ำที่ต้องมีตามกฎหมายส่วนนี้มี comment มาแล้วก็ต้องแก้ให้เรียบร้อยถึงจะส่งในส่วน ส่วนอีก commentหนึ่งเป็น comment ที่นอกเหนือจากกฎหมายเพื่อให้มีความปลอดภัยสูงขึ้น ส่วนนี้เจ้าของอาคารไม่ต้องทำก็ได้ เพียงแต่ว่า comment ของผู้ตรวจสอบ ซึ่งผู้ตรวจสอบก็ต้องเขียนให้ชัดเจนว่าส่วนนี้เป็นส่วนที่นอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด จะเรียนทำความเข้าใจเรื่อง comment ก่อน
ผู้ดำเนินรายการ : เพื่อจะขยายเรื่องคือว่าใน comment บางทีผู้ตรวจสอบไม่ได้บอกว่าผิดกฎกระทรวงข้อไหน ถ้าผิดข้อไหนอย่างไร คือมีความชัดเจนตรงนั้น พนักงานท้องถิ่นก็ไม่สามารถออกคำสั่งได้
นายพินิต เลิศอุดมวัฒนา : ส่วนที่บอกอันแรกคือบอกให้ทุกคนรับรู้ว่า comment มีอยู่ 2 อย่าง อย่างหนึ่งต้องทำ อย่างหนึ่งคือไม่ทำก็ได้ เป็นส่วนที่นอกเหนือที่กฎหมายกำหนด แต่คราวนี้จะเรียนว่านี่เป็นเรื่องจริงที่ผมก็วกเข้ามาแก้ตัวว่าเจ้าหน้าที่ของเรามีเจ้าหน้าที่อยู่กลุ่มหนึ่ง อยู่จำนวนหนึ่งที่เดิมทีมีหน้าที่ประจำอยู่แล้ว วันดีคืนดีกฎหมายกำหนดว่าต้องมีการตรวจสอบ ดังนั้นเจ้าหน้าที่เรามาแบกภาระรับในเรื่องพวกนี้ ซึ่งยื่นมาครั้งแรกหลายพันเรื่อง ที่ช้าก็ขออภัย แต่ทีนี้ขั้นตอนเมื่อเราตรวจสอบภาพถ่ายเอกสารแจ้งไปทางเจ้าของอาคาร ทีนี้เช่นท่านบอกว่าเอกสารส่งให้หมดแล้วคือผมไม่แน่ใจว่าเอกสารที่ส่งให้ถูกต้องหรือเปล่า เพราะจริง ๆ แล้วทางผู้ตรวจสอบก็ควรจะดูก่อนว่าเอกสารถูกต้องไหม ที่เจอบ่อย ๆ คือแปลนพื้นอาคารที่จะให้กำหนดตำแหน่งของอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ครบถ้วน ส่งมาส่วนใหญ่ก็มีแต่ทางหนีไฟวิ่งไปทางไหนก็ส่งตัวนี้มา ซึ่งขอใหม่ก็ยังส่งตัวเก่ามา นี่ประเด็นหนึ่ง อีกประเด็นหนึ่งว่าติดต่อ กทม. ไม่ได้ ผมก็ไม่ทราบเพราะ กทม. 2 ดินแดงอยู่ที่เดิม ผมก็ไม่ทราบว่าทำไมผู้ตรวจสอบบอกติดต่อ กทม.ไม่ได้
ผู้เข้าร่วมเสวนา : ก็คือว่าเขาโทรถามแล้ว ทางโน้นเขาจะไม่ตอบคำถามทางผู้ตรวจสอบ
นายพินิต เลิศอุดมวัฒนา : จะเรียนว่า กทม. มี 50 เขต แต่ทางกองอาคารมีแบ่งอยู่ 3 ฝ่าย กรุงเทพฯ เหนือ ใต้ ฝั่งธนบุรี ถ้าโทรไปบางทีไปถามส่วนกลางเขาไม่รู้ ถ้าถามเสร็จก็ต้องว่าคุณมีเลขอะไร ซึ่งจริง ๆ แล้วถ้าเขาตามจริงจะรู้ว่าเจ้าหน้าที่คนไหน ส่วนใหญ่ก็ใช้โทรศัพท์หากันว่าขาดอะไรไหม ถ้าขาดก็รับไปเคลียร์ ซึ่งบางรายพอมาถึงไม่ครบถ้วนปล่อยไป 2 วัน เขาก็ส่งใหม่เป็นใบใหม่ แล้วก็ออกใบ ร.1ให้ แต่คราวนี้ผมขอหน่อยว่าถ้าเคสที่ว่าเราแจ้งทางเจ้าของอาคาร เจ้าของอาคารก็ให้ผู้ตรวจสอบมาตาม ผมก็เกรงว่าบางทีมีการคลาดเคลื่อนกันหรือเปล่า บางอย่างให้ท่านเจ้าของอาคารติดตามอีกทางแต่ตามนี้ขอให้ตามโดยมีเลขที่ที่ยื่น แล้วก็เขตไหนจะได้ตามได้ถูกจุด เข้าไปก็ถามว่าอยู่กับเจ้าหน้าที่คนไหน จะได้ตามได้ถูกจุด แล้วอย่างที่ 2 ก็คือมีเลขที่ในการส่งเอกสารอยู่แล้วที่ กทม. รับ สิ่งที่แก้ไขไปเกิดจากรายงานฉบับถัดมาแต่ละปี แต่ กทม.ไม่อ่าน แล้ว กทม. จะรู้ได้อย่างไรว่าแก้ไขแล้ว ผมเรียนแต่ต้นแล้วว่าท่านส่งรายงานตรวจสอบประจำปี เราจะตรวจสอบได้อย่างไรในเมื่อตรวจสอบใหญ่ยังไม่ครบถ้วน ยกตัวอย่างว่าตรวจสอบใหญ่มีแผนการตรวจ เมื่อตรวจสอบใหญ่ ร.1 ยังไม่ออก คุณจะตรวจสอบประจำปีเอาแผนมาจากไหนแล้วกรมโยธาบอกว่าภายใน 30 วันก่อนจะครบปียังไม่เกิดขึ้น ดังนั้นรายงานประจำปียังไม่ต้องส่ง ผมว่าส่งมาในลักษณะว่าส่งเป็นประจำปี ถ้าประจำปีทางเรารับเรื่องแต่เราไม่สามารถพิจารณาได้ เราจะแจ้งไปว่าเราพิจารณาไม่ได้เนื่องจากใบ ร.1 ยังไม่ออก เราก็จะให้ท่านมารับกลับ เพราะจะปฏิเสธไม่รับคงไม่ได้ แต่ถ้าท่านมีการแก้ไข ท่านแก้ไขเสร็จก็มีคำร้องที่บอกว่าได้แก้ไขเรียบร้อยแล้วก็มีผู้ตรวจสอบ มีเจ้าของเซ็นมา แล้วก็ไปรวมเรื่องสรุปได้ แต่ช่วยอ้างเลขเดิมที่ว่าตอนยื่นจะได้หาง่ายไม่ใช่ส่งเอกสารอะไรก็ส่งมา แต่ท่านส่งไปเล่มใหม่ หน้าปกควรจะชัดเจนว่าตรวจสอบใหญ่ฉบับแก้ไขหรืออะไรจะได้ดูรู้ ถ้าท่านใส่ว่าเป็นประจำปีเราไม่ดูอยู่แล้ว ที่บอกว่าตอนนี้ไม่รู้เลยว่ารายงานตรวจสอบย่อยประจำปีต้องส่งหรือเปล่า ผู้ตรวจสอบยังไม่รู้เลยว่าต้องส่งหรือเปล่า
ผู้เข้าร่วมเสวนา : อย่างนั้นสรุปแล้วปีนี้เป็นปีที่ต้องตรวจสอบใหญ่ ตรวจสอบใหญ่ครั้งนี้ต้องให้เขามาตรวจสอบใหญ่หรือมีการแก้ไขตรวจสอบใหญ่ปี 2550
นายพินิต เลิศอุดมวัฒนา : อันนี้ผมพูดแต่แรกแล้วตรวจสอบใหญ่ให้ตรวจทุกด 5 ปีตรวจสอบย่อยทุกปี แต่คราวนี้ที่บอกเวลาจะเคลื่อนไปเรื่อย ๆ ถ้าทางผมยืดหยุ่น คุณก็ตรวจสอบประจำปีครั้งที่ 1 2 3 4 ผมไม่สนว่าตรวจ พ.ศ. อะไร ผมจะบอกว่าคุณตรวจประจำปีครั้งที่ 1 2 เพียงแต่ว่าขณะนี้ทางกรมโยธากำลังแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ ดังนั้นในส่วนตรงนี้จะต้องไปอยู่ในส่วนการแก้ไขด้วยเพื่อให้ออกมาชัดเจนว่าต้องส่งอย่างไร ส่งหรือไม่ส่งฉบับแรกก็ 5 ปี ฉบับนี้เพิ่งเริ่มก็ไปอีก 5 ปีถึงจะออก การแก้ไขถ้าเกิดแก้ต้องมีข้อนี้อยู่แล้วเรื่องเวลาต้องชัดเจน เพียงแต่ว่าตอนนี้ทางผมจะถือปฏิบัติว่าส่งตรวจสอบใหญ่แล้วก็ตรวจสอบประจำปี ครั้งที่ 1 2 3 4 แล้วก็ตรวจสอบใหญ่อีก ทาง กทม. จะถือแบบนี้ อย่างนั้นคุณก็รอร.1 ได้คุณก็ส่งประจำปีครั้งที่ 1
ผู้เข้าร่วมเสวนา : ตอนนี้ ร. 1 ยังไม่ได้แน่นอน ยังงงว่าปีนี้จะต้องส่งแบบแก้ไขปี 2550ที่ว่ามีปัญหาหรือเปล่า หรืออย่างไร
นายพินิต เลิศอุดมวัฒนา : ส่งในนามของตรวจสอบครั้งนั้นในนามว่าคุณยื่นเมื่อปี 2550 ปัจจุบันมีเอกสารเพิ่มเติมมา มีแก้ไขตรงไหนแล้วคุณก็แจ้งเรามา จะเป็นเอกสารซึ่งไปประกอบกับชุดปี 2550 ปีตัวต้นเรื่องเลย แต่ขอให้อ้างตัวเดิม เช่น บางท่านสมมุติตรวจสอบยังไม่ได้ ปัจจุบันตรวจสอบคนเดิมสาบสูญไปแล้ว จะตรวจสอบใหม่บอกว่าถ้ามายื่นตอนนี้จะมีโทษหรือเปล่า อันนี้ถ้ายื่นก็ยื่นอ้างถึงเลขเดิมที่เคยยื่นเมื่อ 2550 เพียงแต่บอกว่าปัจจุบันผู้ตรวจสอบคนเดิมไม่อยู่แล้วเราจึงให้ผู้ตรวจสอบคนใหม่มาตรวจสอบใหม่เลย เราก็จะถือเอาวันที่เคยยื่นในปี 2550 ปัญหาจริงๆ มีหลายแบบ ก็เลยว่าช่วยคิดว่าตัวไหนปรับใช้กันได้ก็ไปปรับแก้ปัญหาของแต่ละท่านด้วยจะขอบพระคุณมาก เพราะบางอย่างค่อนข้างจะคล้าย ๆ กันบ้าง เช่นบางเรื่องบางท่านอาจจะบอกว่าเรื่องเดิมเจ้าหน้าที่หาไม่เจอแล้ว บางทีอยู่ล่างสุดพอดึงมาข้างบนจะหล่นมาทับ เขาก็ไม่กล้าดึง เรื่องอยู่เฉย ๆ อยู่ข้างล่าง แบบนี้ถ้าจะไม่รบกวนเกินไปท่านก็สามารถเอาเล่มใหม่มาเลยแล้วก็มาอ้างถึงเลขเดิมเพื่อความรวดเร็ว ทางผู้บริหาร กทม.เล็งเห็นว่ากำลังพลเราไม่มี ก็เลยจะหา outsource ก็คือจะให้ทางสมาคมมาช่วยในเรื่องเอกสารในเรื่อง ร.1 ให้กับทาง กทม. ตอนนี้กำลังดำเนินการอยู่ ก็เข้าใจว่าเราจะไล่เคลียร์เรื่องเก่า ๆ กับเรื่องที่จะครบกำหนดเมื่อปลายตุลาคมนี้ ก็คิดว่าคงจะพร้อม เที่ยวต่อไปที่ยกมือคงจะน้อยกว่านี้หรืออาจจะไม่มีเลย
นายวิเชียร บุษยบัณฑูร : ผมขออนุญาตเสริมจะได้เห็นชัด เข้าใจว่าตัวอย่างที่ท่านให้มาคิดว่าส่วนใหญ่เจอปัญหาเดียวกันเนื่องจากว่าได้จัดให้มีการตรวจสอบเป็นประจำทุกปีและยื่นรายงานทุกปี ล่าสุดก็ปรับปรุงแก้ไขตามที่ผู้ตรวจสอบแนะนำแล้วทำไมไม่ได้ใบ ร.1 ขอให้จินตนาการว่าตะกร้ามีอยู่ 5 ใบ ตะกร้าที่อยู่ในปี 2550 แล้วก็ตะกร้าปี 2551 2552 2553 2554 ปรากฏว่า กทม.ส่งตะกร้าคืน 2551 2552
2553 2554 แล้วเมื่อกี้ท่านถามว่าถ้าไม่ดูในตะกร้า 2 3 4 แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าอาคารแก้ไขหรือไม่แก้ไขจริง ๆ อยากจะบอกตอนที่เหมือนเขาวงกตที่เข้าไปแล้วหาทางออกไม่เจอ ต้องกลับไปที่ตะกร้าเดิม คือเล่นตะกร้าเดิมต้องกลับไปเอาตะกร้าเดิมที่ท่าน ผอ. พูดถึงคือเลขรับเดิม ไปเคลียร์เอกสารตัวนั้นให้เรียบร้อย คนที่จะทำหน้าที่ช่วยเจ้าของอาคารคือผู้ตรวจสอบอาคารบอกได้เลย ผู้ตรวจสอบหายไปเป็นเรื่องที่ท่านต้องจัดหาผู้ตรวจสอบใหม่ แล้วผู้ตรวจสอบใหม่ถามว่าจะแก้ไขอย่างไรก็เป็นเรื่องที่ผู้ตรวจสอบนั้นจะต้องเข้าไปปรึกษาทางสำนักการโยธาหรือก็คือทางสมาคมว่าในปัญหาจะแก้อย่างไร ขอบอกก่อนว่าเจ้าของอาคารที่เปลี่ยนผู้ตรวจสอบเป็นประจำทุกปี ปัญหานี้จะหนักหน่อย แต่ถ้าเกิดท่านเจ้าของอาคารที่ยังใช้ผู้ตรวจสอบรายเดิมตั้งแต่แรกควรที่จะกลับไปหาผู้ตรวจสอบรายเดิมแล้วก็กลับไปนั่งคุยกันว่าจะต้องประสานงานกัน เรามีทางออกครับ แล้วก็การที่ผู้ตรวจสอบเข้าไปหากรมโยธา จริงๆ หาได้ครับ เพราะว่ามีผู้ตรวจสอบหลายรายที่ประสบความสำเร็จในการเข้าไปประสานกับ กทม. แล้วก็ได้ใบ ร.1 ออกมาเพราะว่ากฎเกณฑ์ที่ กทม. ได้วางแนวไว้เป็นกฎเกณฑ์ที่ไม่สามารถที่จะอ่านจากคู่มืออะไรได้ จะเกิดจากแนวปฏิบัติแล้วก็ดูแนวตัวอย่าง ดังนั้นท่านเจ้าของอาคารวันนี้เรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่ได้แก้ไข ผู้ตรวจสอบยังไม่ได้ออกหนังสือยืนยันว่าแก้ไขในเรื่องเดิมได้ อย่างไรต้องกลับไปเริ่มต้นที่เรื่องเดิม เมื่อเรื่องเดินได้แล้วการตรวจสอบประจำปี 1 2 3 ก็จะเริ่มต้นขึ้น
ผู้ดำเนินรายการ : ที่ท่าน ผอ. พินิตพูดเมื่อสักครู่ว่ากำลังมีทางออก ผมย้อนศอกไปที่คำพูดของท่านรองผู้ว่าธีระชนบอกว่าภายในปีนี้ ร.1 จะออกค่อนข้างเยอะ เป็นจำนวนที่ให้เห็น เพราะว่าเกิดเหตุหลายครั้งมีหลายปัจจัย แต่ว่าเรื่อง ร.1 ทำอย่างไรที่จะให้อาคารปลอดภัย อันนี้ท่านมีความมั่นใจได้ว่าสามารถที่จะเป็นไปได้
นายพินิต เลิศอุดมวัฒนา : ยกตัวอย่างเรื่องกองควบคุมอาคารเรื่องขออนุญาตอาคารมีคำถามบ่อยที่ผมเคยได้ยินมาเรื่อย ปัญหาบอกว่าอนุญาตใช้เวลากี่วัน ตั้งแต่ผมทำงานด้านนี้ ผมไม่เคยตอบเลยว่าอนุญาตภายในกี่วัน ผมก็ถามย้อนว่าตอนคุณแก้แบบแก้กี่วันตอบได้ไหม ที่ก็ตอบไม่ได้ สรุปก็ว่าถ้าผู้ยื่นมามีอะไรต้องแก้ไข ถ้าแก้ไขเร็วต้องมาเข้าขั้นตอนก็เร็วขึ้น อันนั้นคือที่เราเร่งส่วนนี้คือ กทม. เราก็หา outsource มา ด้วยความร่วมมือกับทางสมาคมผู้ตรวจสอบ แล้วก็เป็นเรื่องที่จะเร่งรัดเรื่องให้การตรวจสอบอาคารประสบความสำเร็จ ดังนั้นเราก็หวังว่าคงจะได้ตามนั้น แต่อย่างไรก็แล้วแต่ต้องขึ้นกับทางเจ้าของอาคาร ทางผู้ตรวจสอบด้วยว่าเรามาช่วยกันทำให้กฎหมายฉบับนี้ตามวัตถุประสงค์เช่นว่าพอมีอะไร comment ตามกฎหมายให้แก้ เจ้าของอาคารก็รีบแก้เสีย ผู้ตรวจสอบก็รีบดูแล้วก็ส่งแจ้งเรามาว่าเรียบร้อยแล้วเราก็จะออกใบ ร.1 ให้ ถ้าทุกฝ่ายช่วยกันผมก็คิดว่าก็คงเป็นไปตามที่รองผู้ว่าผมวาดฝันไว้ครับ
ผู้ดำเนินรายการ : มีประเด็นคำถามหนึ่ง หลายผู้ตรวจบอกว่ายื่นไปนานแล้วจนหนังสือรับรองหมดอายุแล้วก็ยังไม่ออก อันนี้มีอายุ 90 วันหนังสือรับรองเจ้าของบริษัท ทีนี้จะยึดอะไร ยึดเวลาแต่เนื่องจากใช้เวลา
นายพินิต เลิศอุดมวัฒนา : คือพื้นฐานจะดูวันที่ยื่นว่าเอกสารเป็นไปตามกฎหมายหรือเปล่า เราดูจุดนั้น แต่ถ้าบางเคสตอนมีคำร้องและมีส่งอะไรมาเปลี่ยนเพิ่งส่งมาทีหลัง อาจจำเป็นต้องมีใบพวกนี้มา แต่ถ้าเกิดเป็นว่าเรื่องอยู่ระหว่างดำเนินการทำให้เกินเวลาเช่นใบรับรองอาจจะบริษัท 6 เดือนตอนมายื่นหมดไป 5 เดือนแล้ว เคสนี้คงไม่มีปัญหา เรื่องนี้ไม่เป็นอะไรอยู่แล้ว
ผู้ดำเนินรายการ : มีคำถามอีกครับ อาคารชุด 7 ชั้น 100 ห้อง การซ้อมหนีไฟจะผิดกฎหมายหรือไม่ ถ้าไม่ซ้อมผิดกฎหมายหรือไม่ จริงๆ แล้วตอนนี้การซ้อมก็คือจากกระทรวงแรงงานและสวัสดิการที่บอกว่าถ้ามีลูกจ้างถึงจะต้องซ้อม อาคารชุดไม่มีลูกจ้าง แต่ว่าอยู่ในเช็กลิสต์ของผู้ตรวจสอบ
พันตำรวจโท ด.ร. บัณฑิต ประดับสุข : กฎหมายผู้ตรวจสอบอาคารบางทีก็ออกกฎหมายไปล่วงเกินกฎหมายอื่นเขาเหมือนกันเช่นอันนี้ กฎหมายให้ซ้อนอยู่ของกระทรวงมหาดไทยในสถานประกอบการที่กำหนดให้มีการซ้อม 40 เปอร์เซ็นต์ซ้อมเรื่องการดับเพลิงและอพยพ แต่ถ้าเกิดอาคารไม่ใช่สถานประกอบการก็ไม่ได้ซ้อม
ผู้ดำเนินรายการ : แต่ว่าเพื่อความปลอดภัยก็ต้องซ้อม เพราะว่าในระบบการจัดการเองถึงมีอุปกรณ์แต่เราไม่เคยใช้มันก็ไม่รู้บางคนไม่เคยเดินทางหนีไฟเลยต้องคุ้นเคย
พันตำรวจโท ด.ร. บัณฑิต ประดับสุข : แต่พอกฎหมายฉบับนี้ออกมาให้มีการซ้อม ก็ต้องซ้อม คือผมก็กลับมาที่ความตระหนักว่าใบ ร.1 ได้หรือไม่ได้ ยื่น พ.ศ.นี้ไม่ได้ผมว่าต้องหาจุดจบจุดจบไม่ใช่ที่อาจจะต้องเป็นศาลว่าจะให้ยื่น พ.ศ.ไหนแน่ เพราะกฎหมายฉบับนี้วัตถุประสงค์ไม่ได้จะต้องปราบปรามอย่างนี้ที่บอกว่าปีนี้ต้องส่ง กฎหมายบอกว่าต้องส่งให้ ร.1 ภายใน 30 วัน อย่างน้อย ๆ ในทางกฎหมายก็ไม่ได้มีเจตนาจะไม่ตรวจ ส่งไปก่อน แล้วอีกอย่างหนึ่งก็คือว่าอาคารท่านจะได้ปลอดภัยเรามองไปที่ความปลอดภัยดีกว่านะครับ เสนอในเบื้องต้นไว้เท่านี้นะครับ อันนี้ของสมาคมไม่เกี่ยวกับ กทม.
ผู้ดำเนินรายการ : เพราะท่านเองก็เป็น DSIด้วย แล้วก็คุ้นเคยเรื่องคดีนี้ ถ้าเกิดเหตุที่ไหนก็จะพบ 2 ท่านนี้ที่เกิดเหตุ ท่านก็ไม่อยากมาพูดเยอะ ก็อยากให้ป้องกันมากกว่า ไม่อยากเป็นกรณีศึกษาที่นั่นที่นี่ มีคำถามที่ค่อนข้างเยอะและซ้ำกัน และเป็นเรื่องคล้าย ๆ กันเรื่อง ร.1 ก็คิดว่าพวกท่านเข้าใจดีแล้ว ผมขออนุญาตอาคารฉลองเกียรติศิริ เขาบอกว่าอาคารไม่ได้รับใบ ร.1 หลังจากตรวจสอบแล้ว30 วัน หมดอายุได้ยื่นครั้งที่ 2 อีก 1 ปีผ่านไป ได้ยื่นตรวจสอบครั้งที่ 3 ระยะหนึ่งก็ยื่นตรวจสอบครั้งที่ 4 ไปแต่ครั้งที่ 4 ไม่ได้ยื่น ยื่นแค่อันเดียว ร.1 ก็ไม่ออก จะต้องตรวจสอบอีกครั้ง ตามกฎหมายแล้วจะต้องทำอย่างไร คือไม่ออก ได้รับใบ ร. 1 ครั้งเดียวจะต้องทำอย่างไร
นายพินิต เลิศอุดมวัฒนา : ได้ ร.1 ครั้งหนึ่ง ตรวจสอบครั้งที่ 2 ที่ยื่นก็เป็นประจำปีตรวจสอบย่อย ครั้งที่ 1 ก็ต้องให้ใบ ร.1 ออกอีก จะครบปีก็ค่อยครั้งที่ 2
ผู้ดำเนินรายการ : ผมมีข้อมูลนิดหนึ่งที่ไม่ได้บอกสาธารณชนว่าตอนนี้มีอาคารเพื่อนท่าน มีอาคารที่ตรวจสอบอาคารที่เข้าข่ายแล้ว 9 ประเภท 5,000 กว่าอาคาร ได้รับ ร.1 แล้วประมาณ1,000 กว่าอาคาร ตรวจสอบใหญ่สูงที่สุดคือครั้งที่ 3 มีจำนวนหนึ่ง แต่ครั้งที่ 4 ไม่มี แต่ว่าหลังจากนี้ไปอย่างที่ท่านรองผู้ว่าธีระชนกับทาง ผอ.พินิตที่จะมีกระบวนการตัวใหม่เลยเปิดการเสวนาครั้งนี้ที่ one stop service ให้เคลียร์ใจกันระหว่างเจ้าของอาคาร ผู้ตรวจสอบอาคาร พนักงานท้องถิ่น แล้วมีแนวทางที่สะเด็ดน้ำแล้วว่าแนวทางการออกใบ ร.1 ให้ชัดเจนว่าเป็นอย่างไร อย่างเช่นเมื่อก่อนเราจะมีพูดเรื่องเอกสารค่อนข้างที่จะเยอะเรื่องใบอนุญาตไม่มีไม่ออก ตอนนี้การเข้มข้นก็จะน้อยลงเพื่อส่งเสริมการตรวจสอบอาคาร แม้กระทั่งเรื่องแบบแปลนก็ดี เดี๋ยวท่านนายกสมาคมอภิปรายเรื่องแบบแปลนนิดหนึ่งครับ
นายวิเชียร บุษยบัณฑูร : ที่จริงแบบแปลนก็เป็นส่วนหนึ่งของการที่จะไม่ได้ใบ ร.1 ว่าถ้าไปจับสถิติตัวเลข คิดว่าแบบแปลนจะเป็นปัญหาหนึ่ง ก็คือลักษณะแบบแปลนที่ กทม. ต้องการที่จะ prove เพื่อจะพิสูจน์เป็นส่วนหนึ่ง เป็นแบบแปลนที่เจ้าของอาคารกับผู้ตรวจสอบอาคารส่วนใหญ่จะเข้าใจผิดและไปนำแบบแปลนที่อยู่ตามโถงลิฟต์ บางคนก็หนักหน่อยเอาแบบแปลนที่ขออนุญาตก่อสร้างกระดาษ เอ 1 ส่งเลย เป็นแบบแปลนที่ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ทาง กทม. ต้องการแบบแปลนที่ กทม. ต้องการเป็นแบบแปลนที่ประกอบด้วยระบบเกี่ยวกับความปลอดภัย ซึ่งจะต้องมีระบุว่ามีอุปกรณ์เหล่านี้อยู่ในอาคารแล้วก็มีเจ้าของอาคาร มีผู้ตรวจสอบอาคารเซ็นรับรองว่าอุปกรณ์พวกนั้น function ดี อันนี้เป็นส่วนหนึ่งในหลายปัจจัยที่ทำให้ไม่ได้ใบ ร.1 ดังนั้นถามว่าเราจะกลับไปแก้ไขตะกร้าแรกอย่างไร ที่เมื่อกี้บอกว่าเจ้าของอาคารต้องกลับไปคุยกับผู้ตรวจสอบอาคารว่าต้องกลับเข้ามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการแก้ปัญหาของเรื่องรายงานฉบับแรกที่ไปยื่นปี 2550 ว่าทำอย่างไรให้ได้ใบ ร.1 ฉบับแรก พอดีตรงนี้มีคำถามอยู่ 3 คำถามที่เป็นหมวดเดียวกัน ผมจะอ่านให้ฟัง แล้วเดี๋ยวจะตอบเลย คำถามแรก ทางสำนักการโยธาแจ้งขอรับเอกสารเพิ่มเติมจากผู้ตรวจสอบอาคาร แต่ทางเจ้าของอาคารไม่สามารถติดต่อผู้ตรวจสอบอาคารได้จะทำอย่างไร แน่นอนครับ พยายามติดต่อรายเดิม ถ้าติดต่อไม่ได้ก็จะต้องจัดหาผู้ตรวจสอบรายใหม่ เพราะว่าผู้ตรวจสอบรายใหม่จะเป็นบุคคลสำคัญที่จะต้องเข้าไปประสานกับทางสำนักการโยธาแทนท่านหรือไม่ก็เรียกว่าแทนท่านก็ไม่ถูก ท่านมีหน้าที่ แต่เนื่องจากว่าเป็นภาษาที่ท่านไม่ได้คุ้นเคยดังนั้นภาษาในความต้องการต่างๆ ผู้ตรวจสอบจะคุ้นเคยกว่า ท่านจะต้องมีผู้ตรวจสอบและอาจจะรับมอบอำนาจจากท่านไปเพื่อจะไปประสานงาน
ผู้ดำเนินรายการ : ผู้ตรวจสอบดูจากไหนครับ เพราะว่าเจ้าของอาคารไม่รู้ว่าจะเป็นผู้ตรวจสอบดีหรือไม่ดี
นายวิเชียร บุษยบัณฑูร : ท่านเจ้าของอาคารก็มีเพื่อนมิตรสหายอยู่ในวงการของเจ้าของอาคารด้วยกัน ท่านก็สามารถที่จะสอบถามทางเจ้าของอาคารอื่น ๆ ด้วยกันว่าเจ้าของอาคารมีเพื่อนใช้ผู้ตรวจสอบรายใดที่ใช้แล้วเข้าใจแล้วก็มีทางออกที่ดี อาจจะแนะนำทางนั้น แต่ถ้าเกิดท่านไม่รู้จักใครเลยก็คงจะต้องเข้าไปเปิดดูใน websiteของกรมโยธาธิการและผังเมืองซึ่งจะมีรายชื่อของผู้ตรวจสอบที่ขึ้นทะเบียนทั้งหมด แต่ว่าถ้าเกิดสมมุติว่าเข้าไปดูแล้วยังแยกแยะไม่ได้อยากจะเฉพาะเจาะจงว่าผู้ตรวจสอบตรงไหนที่สามารถจะติดตามได้ก็อาจจะมาดูในรายชื่อ ยกตัวอย่างเช่นหนังสือเล่มนี้จะมีรายชื่อของสมาชิกที่เป็นผู้ตรวจสอบอาคารอยู่ในสมาคมผู้ตรวจสอบก็สามารถทำได้นะครับ อีกคำถามหนึ่งอาคารที่ต้องตรวจสอบได้เปลี่ยนแปลงผู้เป็นเจ้าของอาคารในปี 2555 ผมเชื่อว่าหลายอาคารจะมีการเปลี่ยนเจ้าของ แต่เจ้าของเดิมได้ยื่นรายงานการตรวจสอบตั้งแต่ปี 2550 แล้วก็ยังไม่ได้รับใบ ร.1 ถามว่าแล้วเจ้าของใหม่จะยื่นเรื่องอย่างไร ต้องย้อนตั้งแต่ปี 2550 หรือเปล่า นั่นหมายความว่าท่านมองตะกร้าตัวนี้ไปสตริคที่ปี 2550 ตะกร้าใบแรกที่เจ้าของอาคารเดิมยื่นไว้ ถ้าท่านมองว่าตะกร้าใบ2550 ตอนนี้เคลื่อนตัวมาอยู่ที่ปี 2555 ยังเป็นเรื่องเดิม ในตะกร้านั้นก็ยังมีรายงานของผู้ตรวจสอบรายเก่าที่ยื่นโดยเจ้าของรายเก่า เรื่องมาถึงปี 2555 แล้วปี 2555 ท่านยังไม่ได้ใบ ร.1 ตรวจสอบใหญ่ท่านต้องทำหน้าที่ในฐานะเจ้าของอาคารและต้องมีผู้ตรวจสอบ ถ้าเป็นรายเดิมก็ง่าย ถ้าเป็นรายใหม่ก็เข้ามานั่งประกบกันทำตะกร้าใบนี้ให้เรียบร้อย นั่นหมายความว่าจะต้องมีเล่มใหม่ไปยื่นเพิ่มเติมใส่เข้าไปในตะกร้านี้ว่ารายงานการตรวจสอบนั้นอาคารได้มีการปรับปรุงแก้ไขผ่านตามกฎหมายแล้วแล้วผู้ตรวจสอบก็รับรองแล้วตามนี้ แล้วในที่สุดยื่นเข้าไปที่สำนักการโยธาแล้วท่านก็จะได้รับใบ ร.1 ตรวจสอบใหญ่
นายพินิต เลิศอุดมวัฒนา : ผมเสริมอีกนิดหนึ่งในเคสนี้คงจะทำได้หลายอย่าง จริงๆ พวกนี้อยู่ที่ข้อเท็จจริง เพียงแต่ว่าถ้าท่านซื้อมา เมื่อปี 2555 เพิ่งซื้อ ถ้าเกิดท่านจะยึดฉบับเก่า 2550 ก็ได้อ้างเลขเดิม แต่ถ้าเกิดท่านจะต้องทำใหม่เลยก็สามารถอ้างว่าเพิ่งซื้อที่ดินพร้อมอาคารให้มีหลักฐานเป็นข้อเท็จจริงว่าท่านเพิ่งซื้อมา แล้วท่านก็ยื่นเลย เคสนี้ก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร เพียงแต่ว่าอยู่ที่หลักฐานชัดเจนว่าท่านเพิ่งเป็นเจ้าของ
นายวิเชียร บุษยบัณฑูร : ก็เท่ากับว่ามี 2 ทางเลือก อีกคำถามหนึ่งในหมวดเดียวกัน จากการตรวจสอบใหญ่ 2550 ทางอาคารได้รับหนังสือจาก กทม.ว่าต้องการหลักฐานอะไรเพิ่มเติม ก็ได้จัดส่งครบแล้วตั้งแต่ปี 2551 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเรื่องก็เงียบหาย พยายามติดต่อก็บอกว่าอยู่ในรายการพิจารณา ถ้าจะรอกว่าจะได้ใบ ร.1 ออกมาอีก 3-4 ปี ถ้ารอไม่มีการตรวจสอบอาคาร อาคารจะไม่มีการตรวจสอบความปลอดภัยได้อย่างไร คำถามตอนท้ายอาจจะสงสัยว่าจะต้องตรวจสอบประจำปีไหม ตามกฎหมายการยื่นรายงานตรวจสอบอาคารกับการตรวจสอบแบ่งเป็น 2 เรื่องที่แยกกันคนละข้อ เจ้าของอาคารจะต้องมีการตรวจสอบอาคารเป็นประจำทุกปี ส่วนการยื่นเพื่อจะได้ใบ ร.1 ปัจจุบันถือว่าเป็นปัญหาทางเทคนิค
ผู้ดำเนินรายการ : มีคำถามขอถามอาจารย์พิชญะ เพราะว่าอาคารสูง 10 ชั้น สร้างปี2535 น่าจะขออนุญาตก่อนปี 2535 ต่อมาในปี 2555 ได้มีเพิ่มทางเดินตรงส่วนกลางของแต่ละชั้น จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องติดฮีตและสโปคในห้องพักทุกห้องด้วยหรือไม่ ในแง่กฎหมายครับ
นายพิชญะ จันทรานุวัฒน์: จากคำถามก็คิดว่าน่าจะเป็นอาคารที่ก่อสร้างมาก่อน ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 ประกาศตอนปลาย ๆ ปี 2535 ก็ดี ซึ่งก็จะถูกกำหนดว่าอาคารสูงจะต้องติดตั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ คราวนี้ในข้อกฎหมายควบคุมอาคารไม่ได้เขียนไว้หรอกว่าเป็นอุปกรณ์ตรวจจับชนิดอะไร แต่วิศวกรที่ติดตั้งจำเป็นที่จะต้องอ้างอิงมาตรฐาน จะเป็นมาตรฐานอะไรก็ได้เพราะกฎหมายไม่ได้บอกว่าจะต้องเป็นมาตรฐานอะไร จะไปคิดเองไม่ได้ว่าฮีตดีเทกเตอร์ก็เพียงพอแล้ว หรือสโมคแต่จริงๆ แล้วมาตรฐานที่มีอยู่ก็คือมาตรฐานของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย บอกเอาไว้ชัดเจนว่าห้องนอน ห้องชุด รวมทั้ง corridor ที่หน้าห้องชุดเราที่เราเดินออกมาจากลิฟต์แล้วเข้าห้อง พื้นที่พวกนี้ต้องติดสโมคดีเทกเตอร์ ห้องติดสโมคไม่มีทางเลือก ทั่วโลกติด วิศวกรที่ตัดสินว่าไปติด แล้วถ้าเกิดมีปัญหาขึ้นมาวันหนึ่งผมเชื่อว่าถ้าขึ้นถึง 3 มีคนเสียชีวิต ผมว่าคนนั้นต้องติดคุกเหมือนกัน ถึงแม้ไม่ได้เขียนไว้เพราะไม่มีมาตรฐานไหนให้ติดฮีตดีเทคเตอร์เลย คอนโดมิเนียมบ้านเราติดฮีตดีเทคเตอร์เยอะมาก ถ้าวันหนึ่งมีปัญหาขึ้นมาวิศวกรที่เกี่ยวข้อง วิศวกรรมสถานแห่งประเทศก็จะพูดกับศาลว่าต้องติดสโมคดีเฟกเตอร์ ตอนนี้ยังไม่เคยมีกรณีนี้ เฉพาะยังไม่ถึงศาล จริงๆ ด็มีการเสียชีวิตจากการติดดีเทกเตอร์ในห้องชุดสูง 26 ชั้น
ผู้ดำเนินรายการ : ถ้าเป็นอาคารเก่าล่ะครับ
นายพิชญะ จันทรานุวัฒน์: เป็นอาคารเก่าสร้างมาแล้วตั้งแต่ปี 2535
ผู้ดำเนินรายการ : ถ้าเป็นอาคารเก่าเองติดฮีทผิดกฎหมายไหม
นายพิชญะ จันทรานุวัฒน์: ณ ตอนนั้นเขาก็ไม่จำเป็นต้องติดฮีทหรือสโมค ถามว่าเขาผิดกฎหมายไหม เขาก็ไม่ผิด แต่เขาติด เมื่อเขาติดมาแล้วก็ถือว่าเขาติดดีกว่ากฎหมาย แต่ว่ามีคนตาย ถ้าเรื่องตามกฎหมายผมก็ไม่แน่ใจ เขาไม่จำเป็นต้องมีก็ได้
ผู้ดำเนินรายการ : แต่ถ้ามองในกฎกระทรวงปี 2547 ก็คือถือว่าใช้ได้
นายพิชญะ จันทรานุวัฒน์: ไม่ได้อยู่ดี ถ้าเกิดตรวจตามกฎกระทรวง 2547 ก็บอกต้องมีระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ซึ่งเขียนไว้ชัดต้องติดตั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ตรวจจับเพลิงไหม้อัตโนมัติ ซึ่งกฎหมายไม่ได้อ้างอิงมาตรฐาน แต่วิศวกรต้องใช้มาตรฐานในการทำ ไม่ได้หมายความว่าเราอยู่ประเทศไทยใช้แต่กฎหมายควบคุมอาคารฉบับเดียว เราใช้กฎหมายทุกฉบับ กฎหมายวิศวกรต้องปฏิบัติวิชาชีพตามหลักปฏิบัติ มาตรฐานที่ถูกต้องด้วย ไม่ใช่มาตรฐานตัวเราเอง ถึงศาลผมเชื่อว่าผู้แทนจากสภาวิศวกร ผู้แทนจากวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยถ้าขึ้นไปเป็นให้ความคิดเห็นทางวิชาการ ผมเชื่อว่าผู้พิพากษาสั่งจำคุก
ผู้ดำเนินรายการ : ก็ชัดเจนครับ
พันตำรวจโท ด.ร. บัณฑิต ประดับสุข : ชัดเจนครับ คอนโดมิเนียมที่ว่าก็เป็นฮีตแล้วก็ตรวจ ทีนี้มีกฎหมายอาญา มาตรา 227 ไปเปิดดูได้ ผู้ใดมีหน้าที่ในการออกแบบก่อสร้าง ดัดแปลงอะไรก็แล้วแต่ ทำการที่ไม่ได้มาตรฐาน แล้วอาจจะเกิดอันตราย จำคุก 5 ปีนะครับ ก็หนักพอสมควร อาจจะนี่ยังไม่ต้องเกิดก็ได้ อันนี้เกิดมาแล้ว แต่เผอิญเราโชคดี ตำรวจยังทำคดีอย่างนี้ไม่เป็น เดี๋ยวจะลองสักคดี
นายพินิต เลิศอุดมวัฒนา : จะเรียนเรื่องอาคารที่ว่า 10 ชั้น ถ้าเกิดไปดัดแปลงทำอะไรที่เข้าข่ายดัดแปลง ไม่ใช่อุปกรณ์แค่นี้เข้าข่ายเป็นอาคารสูงแล้วแต่จะมีกฎกระทรวงต้องมีสปริงเกอร์อะไรพวกนี้เพิ่ม เพียงแต่ได้รับยกเว้นกฎกระทรวงอาคารสูงแค่บางข้อ แต่ถ้าเกิดไม่ได้ทำอะไรที่จัดการเกี่ยวกับการดัดแปลงอาคารก็ต้องเข้าข่ายกฎกระทรวง ฉบับที่ 47 เรียนอีกทีบอกว่าต้องมีอุปกรณ์อะไรบ้าง แต่เขาไม่บอกเราว่าให้ติดอย่างไร นี่ก็ต้องติดตามมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับทางวิชาชีพ ทางสายวิชาชีพ
ผู้ดำเนินรายการ : มีคำถามมา ถ้าขออนุญาตก่อสร้างเป็นโกดังเก็บสินค้า ต่อมาใช้อาคารดังกล่าวเป็นอาคารโรงงานจะต้องดำเนินการอย่างไร ถ้าในแง่ของผู้ตรวจสอบอาคารก็คงตรวจตามสภาพที่เป็นจริงคือเป็นโรงงาน ส่วนเรื่องท่านขอผิดหรือถูกไม่ใช่เรื่องของผู้ตรวจสอบอาคาร ต้องบอกอย่างนี้
นายพินิต เลิศอุดมวัฒนา : ถ้ามีใบอนุญาตเป็นโกดังแล้วมาเป็นโรงงาน คือถ้าผู้ตรวจสอบตรวจสภาพแล้วว่าโอเคคงได้ ร.1แต่ต้องถูกดำเนินคดีเรื่องการใช้โดยไม่รับอนุญาต
ผู้ดำเนินรายการ : ผู้ตรวจสอบคงไม่ได้เกี่ยวในเรื่องการขออนุญาตผิดกฎหมาย คือทำตามหน้าที่คือสภาพการใช้งาน อีกคำถาม กรณีมีการปรับปรุงอาคารในส่วนของระบบวิศวกรรมและตกแต่งภายในระหว่างเปิดใช้งาน ควรปฏิบัติอย่างไรในเรื่องการตรวจสอบอาคาร ขณะตรวจสอบ
นายวิเชียร บุษยบัณฑูร : จริง ๆ ต้องเข้าใจก่อนว่าสมมุติอาคารเกิดใหม่ กฎหมายที่บอกว่าต้องตรวจสอบอาคารคือเวลาขออนุญาตแล้ว แล้วก็ใช้งานมาประมาณ 1 ปีถึงจะเริ่มมีการตรวจสอบ ดังนั้นถ้าการตกแต่งตรงนี้ยังอยู่ในระหว่างต้นๆ ของการก่อสร้างอาคารและเพื่อจะเปิดใช้ ในปีแรกยังไม่ต้องตรวจสอบอาคาร แต่ว่าพอครบปีแล้วจะต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบอาคาร แต่ถ้าเกิดสมมุติว่าใช้งานไปแล้วมีการปรับปรุงภายใน จริงๆ การปรับปรุงภายในต้องขออนุญาตเหมือนกันใช่ไหม
นายพินิต เลิศอุดมวัฒนา : ปรับปรุงไม่ต้องขออนุญาต เพียงแต่ว่าถ้าเกิดทำบางอย่างเกี่ยวกับเรื่องมาตรการ ถ้ามีเรื่องมาตรการ ทางเจ้าหน้าที่คงจะเข้าไปสอบถามก่อน แต่ถ้าเกิดว่ามีหนังสือแจ้งมาก็เป็นการดี เจ้าหน้าที่ไม่รู้จะเข้าไปดำเนินคดีกับท่าน เดี๋ยวก็วุ่นวายกันใหญ่ เกิดมีคำสั่งมาแล้วมาเถียงกันอีกนาน อย่างไรก็แจ้งเป็นหนังสือไป ไม่ต้องขอรับใบอนุญาต
นายวิเชียร บุษยบัณฑูร : สมมุติว่าอาคารเก่าประมาณสัก 20 ปี แล้วก็มีการปรับปรุงอาคาร สิ่งที่ผู้ตรวจสอบน่าจะต้องทำก็คือในส่วนปรับปรุงตรงนั้นเวลาเจ้าของอาคารมีการปรับปรุงแล้วผู้ตรวจสอบอาคารควรจะให้คำแนะนำหรือไม่ก็เจ้าของอาคารควรจะถามผู้ตรวจสอบว่าควรจะมีคำแนะนำในการปรับปรุงอาคารนั้นอย่างไร เพราะผู้ตรวจสอบจะแนะนำว่าบริเวณนี้ควรจะมีฮีทดีเทกเตอร์ แต่ส่วนนี้ควรจะติดสโมคดีเทกเตอร์เพิ่มเติม ป้ายทางหนีไฟในอาคารอาจจะเป็นป้ายพื้นแดง ตัวอักษรขาว หรือส่วนนี้ขออนุญาตใช้มาตรฐานใหม่เป็นพื้นสีเขียว ตัวอักษรสีขาวเป็นต้น ตรงนี้ต่างหากที่จะเป็นส่วนที่ผู้ตรวจสอบสามารถที่จะเข้ามาช่วย แต่ในงานตรวจสอบรวมของทั้งอาคารเขาก็ยังทำหน้าที่เหมือนเดิมครับ
ผู้ดำเนินรายการ : ก็ขอเป็นคำถามสุดท้ายแล้วกันเพราะค่อนข้างที่จะเยอะ คำถามทุกคำถามท่านสามารถที่จะดูคำตอบได้ที่www.bsa.or.th เดี๋ยวผมจะอัพโหลดน่าจะภายในวันจันทร์หน้า เพราะว่ามี 3 วัน แนวทางนี้จะให้วิทยากรทั้ง 4 ท่านช่วยรีวิวก่อน ต้องใช้เวลานิดหนึ่ง แต่ว่าทุกคำถามมีคำตอบแน่นอนที่นี่
เวทีนี้ แต่ว่าอาจจะช้านิดหนึ่ง คำถามสุดท้ายก็คืออาคารสูงขออนุญาตหลังปี 2535 ต้องใช้กฎกระทรวง ฉบับที่ 33 หากมีข้อบกพร่องเช่นไม่มีพัดลมปรับอากาศตั้งแต่ต้น ถามว่าแล้วออกมาได้อย่างไร แล้วแนวทางการตรวจสอบต้องตรวจอย่างไร ต้องติดตั้งเพิ่มหรือไม่
นายพินิต เลิศอุดมวัฒนา : บางทีก็ลำบากใจ ตั้งแต่ 20 ปีที่แล้วมาบอกเอาตอนนี้แต่ผมเกิดแล้วคงไม่ใช่เกิดไม่ทัน เพียงแต่ว่าคงไม่ทันในยุคนั้น ผมขอไม่ตอบดีกว่า เพราะเหตุการณ์เกิดอะไรได้หลายอย่าง
ผู้ดำเนินรายการ : ขอหลังปี 2535 เข้าข่ายอยู่แล้ว
นายพินิต เลิศอุดมวัฒนา : ตอนนี้ 20 ปีมาแล้ว ตอนนั้นผมไม่ทัน ดังนั้นการจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าผมพูดไป เดี๋ยวหาว่าผมแก้ตัว เพราะขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงถ้าไม่มีก็ต้องให้มีก็จบ ให้เจ้าของอาคารจัดทำให้ครบ ซึ่งจริงๆ อาจจะเสียก็ได้ อาจจะถอดออกหรือไปใช้อีกตึกหนึ่งก็ดีหรืออะไร ก็บอกพูดไปเดี๋ยวหาว่าผมแก้ตัว
นายวิเชียร บุษยบัณฑูร : ขอเสริม จริงๆ คือว่า อ.6 ออกแล้วก็ดีแล้ว อาคารท่านมีตัวตนแต่มาพบภายหลังว่าระบบมันขาดหายไป ก็คงไม่ต้องไปรื้อต่อว่ามันขาดหายไปได้อย่างไร ผู้ออกแบบตกหล่นตัวนี้ได้อย่างไร หรือผู้คุมงานตกหล่นได้อย่างไร หรือเจ้าของตัดทิ้งหรืออย่างไร ไม่มีประโยชน์ ในเมื่อผู้ตรวจสอบ คุณเป็นเจ้าของอาคารแล้วมีผู้ตรวจสอบ ผู้ตรวจสอบมาชี้ชัดแล้วว่าระบบอัดอากาศหายไปท่านควรจะดีใจได้พบสิ่งความปลอดภัยพื้นฐานสำคัญหายไป แล้วจะทำอย่างไร ก็ต้องติดตั้งใหม่ ติดตั้งอย่างไรก็เป็นเรื่องที่จะต้องมานั่งคุยกันต่อว่าทำอย่างไรให้อาคารนี้มีระบบมาตรการซึ่งเป็นพื้นฐานของความปลอดภัยสำคัญของผู้ใช้สอยอาคารที่จะใช้เมื่อเกิดเหตุ
ผู้ดำเนินรายการ : ก็ขออ่านคำถามนี้ แต่ว่าไม่ต้องตอบ เพราะเวลาจำกัด ต้องรักษาเวลา เดี๋ยวจะให้แต่ละท่านพูดสั้น ๆ อาคารได้รับใบ ร.1 แล้ว ตรวจสอบใหญ่ ได้ส่งรายงานประจำปี ครั้งที่ 1 แล้ว ได้ติดตามใบ ร.1 จา กทม. ได้รับคำตอบว่างานเยอะมากไม่มีเวลา ขอให้รอไปก่อน ปัจจุบันรอมาเป็นปีแล้วก็ยังไม่ได้ อันนี้เดี๋ยวผมมีคำตอบว่าให้เริ่มต้นใหม่วันนี้มีแนวทางแล้วจากท่านรองผู้ว่าให้เป็นนโยบาย ให้กับทางผู้ปฏิบัติงานแล้วว่าจะต้องทำอย่างไร ในเวทีนี้อาจจะไม่ได้ตอบทุกคำถาม ณ เวลานี้ เรียนว่าอยากใช้เวลาใน 2-3 วันนี้ให้วิทยากรทั้ง 4 ท่านช่วยตอบ แล้วก็อัพโหลใน website ท่านสามารถที่จะเปิดอ่านได้ ผมเข้าใจว่าท่านให้ความสนใจเรื่องพวกนี้ ก็ดีใจแทนผู้ใช้อาคาร มีท่านยกมือขอเป็นท่านสุดท้ายแล้วกันครับ
ผู้เข้าร่วมเสวนา : ขออภัยมาจากบางกอกริเวอร์พาร์ค เป็นอาคารสูงขนาดพิเศษ ตลอดการสัมมนาที่ผ่านมาท่านวิทยากรก็จะแนะนำผู้เข้าร่วมสัมมนาว่าออกจากห้องนี้แล้วให้กลับไปคุยกับผู้สอบอาคารเพื่อจะให้ได้รับใบ ร.1 ขอยืนยันว่าไม่ได้ผล เพราะว่าสำหรับตัวของอาคารเองหลังจาก 1 ปี ผู้สอบอาคารได้แต่มาขอเก็บค่าตรวจสอบปีที่ 1 ซึ่งอาคารจ่ายปีละ 50,000 บาท เราก็แจ้งว่าให้ไปตามตัว ร.1 มาให้ก่อน ไม่อย่างนั้นเราจะยังไม่ตรวจ เพราะว่ากฎหมายระบุว่าเราจะต้องได้รับใบ ร.1 ก่อน หลังจากนั้นปีที่ 2 ผ่านไปก็ยังไม่ได้ พอปีที่ 3 ก็มีความรู้สึกว่าผู้ตรวจสอบอาคารซึ่งเราคัดเลือกจาก website แล้ว คิดว่าดีที่สุดแล้วก็ยังติดตามให้เราไม่ได้ ก็เลยขอเบอร์ของเจ้าหน้าที่กรมโยธา โทรไปนัดเองว่าจะขอเข้าพบ ท่านก็ให้เข้าพบ ก็เลยไปพร้อมกับผู้สอบอาคาร ผลก็คือว่าผมยังไม่ได้ดูของคุณเลยเพราะว่าเอกสารเยอะมาก แต่เดี๋ยวจะหยิบขึ้นมาดูให้ หลังจากนั้นประมาณเกือบ 7-8 เดือนได้หนังสือกลับมาว่าขอเอกสารเพิ่มเติม ซึ่งเอกสารที่เพิ่มเติมนั้นเราส่งไปหมดแล้ว แต่ก็ยอมรับได้ว่างานอาจจะเยอะทำหาย เราก็เลยจัดเอกสารไปให้ใหม่ ผ่านไปอีก 1 ปีก็ยังไม่ได้อะไรเลย กับผู้ตรวจสอบอาคารก็ไปอีกครั้งหนึ่ง ท่านยืนยันว่าผ่านผมไปแล้ว ผมเซ็นแล้ว คอยผู้ใหญ่เซ็น กลับไปคุยที่อาคารเดี๋ยวก็ไปเอง งานเรียบร้อยแล้ว พอครบปีที่ 5 ก็ยังไม่ได้รับอีก หลังจากนั้นจะตอบคำถามเมื่อสักครู่ได้ว่าทำไมเราติดต่อเจ้าหน้าที่ไม่ได้ หลังจากนั้นไม่รับสาย ไปก็ไม่พบ ไปที่กรมโยธาหลายครั้งมากไปด้วยตนเอง จนครั้งสุดท้ายเขาบอกคนนั้นย้ายไปแล้วแล้วเราจะติดต่อใคร ก็บอกไม่ทราบว่าใครมารับงานแทน ก็เลยโทรกลับไปเจ้าหน้าที่คนเดิมที่บอกย้ายไปแล้วก็ให้เบอร์มา ปรากฏว่าเบอร์ที่ให้ก็เป็นเบอร์ fax เราก็ติดต่อไม่ได้ โทรไปเขาก็บอกว่าเจ้าหน้าที่คนนี้ชื่อนี้ได้รับผิดชอบแทนเขา ปรากฏไปหาแล้วไม่มีคนชื่อนี้ ในที่สุดอาคารก็เลยทำจดหมายมาที่สำนักงานโยธาว่าของเราไม่เคยมีหนังสือให้เราแก้ไขว่าอาคารเราตรวจสอบไม่ผ่านเพราะว่าต้องแก้ไขอะไรบ้าง ไม่เคยเลยตลอด 5 ปีที่ผ่านมา มีแต่เอกสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาคาร ณ จนป่านนี้ก็ไม่มีหนังสือตอบมา ไม่ทราบว่าเราควรจะทำอย่างไรคะ
ผู้ดำเนินรายการ : ก็คิดว่าน่าจะเป็นตัวแทนของทุกท่านที่มาวันนี้ ไม่ใช่แค่บางกอกริเวอร์พาร์ค
นายพินิต เลิศอุดมวัฒนา : สักครู่เห็นคำถามหนึ่ง คล้าย ๆ กันนิดหนึ่งที่ว่าเจอเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่บอกว่างานเยอะ ไม่มีเวลาทำให้หรอก รอไปก่อน แต่งานเยอะผมก็ต้องยอมรับว่างานเยอะ แต่เราพยายามทำอยู่แล้ว ทีนี้ที่ผมบอกว่าเรื่องการสื่อสารอาจจะคลาดเคลื่อน แล้วก็ยอมรับว่าจริง ๆ แล้วข้าราชการเราทุกคนไม่เหมือนกันหมด นี่ผมก็ต้องรับว่าถ้าพวกนี้เป็นลูกน้องผมจริง เมื่อกี้ท่านพูดผมงงว่าท่านไปกรมโยธา คือสำนักการโยธาที่ กทม. 2 ดินแดง จริง ๆ สุดท้ายผมกะจะบอกว่าถ้างานของท่านงานไหนที่ติดรบกวนว่าให้เข้าไปประสานงานหน่อยหนึ่ง ประสานงานกับทางเจ้าหน้าที่คือประสานงานอยากให้ว่ามีเลขเข้าไปด้วย มีเลขเรื่อง อาคารอยู่ฝ่ายไหน จะได้รู้ว่าเจ้าหน้าที่คนไหนขอเบอร์ แต่ขอเบอร์แล้วเขาก็ไม่รับสาย เขาก็คงทำอะไรที่ไม่ดีไว้ก็เลยไม่รับสาย ฝากว่าถ้าเกิดเข้าไปถ้าท่านเจอคำพูดที่ว่างานมากไม่มีเวลาทำหรอก รอไปก่อน รบกวนท่านช่วยเขียนคำร้อง เรียนผู้อำนวยกองควบคุมอาคารแล้วก็บอกว่ามีเจ้าหน้าที่ชื่อนี้ พูดจาแบบนี้ช่วยส่งให้หน่อย แล้วก็รบกวนท่านก็ใส่ชื่อเบอร์โทรศัพท์ ท่านไม่ต้องกลัวว่าเจ้าหน้าที่คนนี้จะไปดึงเรื่องหรอก เพราะเรื่องที่มอบหมายให้เขาทำแล้วดึงกลับมาให้คนอื่นทำก็ได้ ก็อยากจะฝากไว้ด้วยถ้ามาแล้วเจอเคสแบบนี้ก็ช่วยเขียนคำร้องเพราะคำร้องฟรีครับ มีหลายใบ เขียนผิดก็เขียนใหม่ได้ เขียนมาแล้วผมจะจัดการให้ แล้วขอชื่อ ขอเบอร์ แล้วผมจะแจ้งผลงานที่ว่าด้วยการดำเนินการอะไรไปแล้ว แล้วจะได้ตามเรื่องต่อให้ท่านด้วย ตอบแค่นี้พอไหม
ผู้เข้าร่วมเสวนา : ขอโทษนะคะ ไม่รู้กลับไปได้ไปแก้ปัญหา
นายวิเชียร บุษยบัณฑูร : ผมอธิบายเพิ่มเติมให้ ก็คือว่าจริงๆ สมาคมผู้ตรวจสอบเป็นที่รวมของผู้ตรวจสอบอาคาร แล้วก็อยู่ในสภาพปัญหาเดียวกับท่านตลอด 4-5 ปีว่าใบ ร.1 ไม่ออก ต้องกลับไปดูว่าเจ้าหน้าที่ของสำนักการโยธา วิศวกรผู้ดูแลตรงนี้ปกติเขา full time ของเขาอยู่แล้วในเรื่องของการพิจารณาใบอนุญาตก่อสร้างของอาคารใหม่ แล้ววันหนึ่งมี work load เข้ามาเพิ่ม เลยทำให้เกิดการ overload
ของเจ้าหน้าที่ทุกคน แม้ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นทางเจ้าหน้าที่เขาจวบจนกระทั่งเมื่อตอนต้นปีตอนเดือนเมษายน ทางสมาคมก็มีโอกาสเข้าพบกับท่านรองผู้ว่าธีระชน แล้วก็มีการคุยหารือเกี่ยวกับเรื่องใบ ร.1 ที่ กทม. มีเหตุการณ์เพลิงไหม้ในโรงแรม 2 โรงแรมติด ๆ กัน ก็เป็นที่มาของจุดเริ่มต้นว่า กทม. จะต้องออกใบ ร.1 ทีนี้ถามว่าแล้วจะ solve ปัญหาอย่างไร ก็มีการคุยหารือกันว่าเพื่อที่จะให้บรรลุในการตรวจที่จะทำตัวนี้ออกมาให้ได้ กทม. จะต้องมีคนช่วย คือทำหน้าที่ outsourcing ของคนที่เข้ามาช่วยทำ document processing จะเป็นตัวที่ผมเรียนท่านให้ทราบ คืออดีตถ้าท่านยังติดกับอดีต 5 ปีที่แล้วมันไปไหนไม่ได้แต่ตอนนี้ต้องกลับมาผมจึง recommend ว่าเจ้าของอาคารตอนนี้ต้องกลับไปหารือกับผู้ตรวจสอบอาคาร ตอนนี้ผู้ตรวจสอบอาคารบางท่านเริ่มรู้แล้วว่าสมาคมกำลังจะมีการประสานงานกับทางสำนักการโยธาเพื่อให้ใบ ร.1 ออกมาอย่างไร มีการจัดสัมมนา จัดเสวนาให้ผู้ตรวจสอบรู้ว่าสิ่งที่ทางสำนักการโยธาต้องการเพื่อประกอบใบ ร.1 นั้นมีอะไรบ้าง แล้วเรื่องเดิมที่ตะกร้าใบแรกที่หากันไม่เจอจะมีกระบวนการที่จะเอาออกมาได้อย่างไร แล้วก็มีการบอกว่าจะ follow up กันอย่างไร ซึ่งเข้าใจว่าประมาณต้นเดือนหน้าอาจจะเริ่มตัวนี้ในแง่ของการเซ็นทำข้อตกลงร่วมกันเพื่อจะให้เดินจะเกิดขึ้นประมาณต้นเดือนหน้า ซึ่งตรงนั้นหัวใจสำคัญมากเลยที่คนที่จะช่วยท่านให้ได้ใบ ร.1 คือผู้ตรวจสอบอาคารเพื่อที่จะประสานงานว่าตรงนี้คืออย่างนี้ ตรงนี้ใช้เอกสารอย่างนี้ ท่านต้องทำหนังสือมอบอำนาจอีกทีหนึ่ง ต้องมีเอกสารอย่างนี้ประกอบเข้ามาต้องทำแบบแปลนเข้ามา แล้วเมื่อเรื่องครบก็จะได้ใบ ร.1 ผมพูดอย่างนี้ ณ ปัจจุบันนี้ ณ เวลานี้ออกเป็นต้นไป แต่ละท่านต้องกลับไปคุยกับผู้ตรวจสอบ ผู้ตรวจสอบอาจจะไม่ทราบว่าสมาคมทำอะไร ก็อาจจะให้ผู้ตรวจสอบรายนั้นกลับเข้ามาคุยในสมาคมว่าเพื่อจะได้เดินตรงนี้ทำอย่างไร เพราะว่าทันทีที่ริเริ่ม ผมเชื่อว่าทุกท่านอาจจะร้อนใจ แต่ว่าเรื่องที่ค้างอยู่ประมาณ 4,000 เรื่อง คงจะเสร็จภายใน 1 เดือนคงไม่ได้ คงใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือน ดังนั้นใน 4,000 เรื่องของท่าน แต่ละท่านต้องเตรียมตัวว่าเอกสารที่ต้องการเพิ่มคืออะไร แต่จะต้องใช้เวลา 3-6 เดือน บางท่านอาคารที่อยู่ใน lot แรกก็อาจจะเสร็จออกไปก่อนบางท่านที่อยู่ท้าย ๆ อาจจะต้องรอ ดังนั้นจะต้องมีระบบเพื่อให้รู้ว่าเรื่องของท่านเจอแล้ว เรื่องของท่านอยู่ในลิสต์แล้ว แต่อยู่ในช่วงเวลานี้ นั่นคือสิ่งที่เราต้องมานั่งทำงานร่วมกัน
นายพินิต เลิศอุดมวัฒนา : ที่บอกว่าช่วยเขียนคำร้องหน่อยหนึ่ง คือถ้ามีเหตุการณ์อะไรก็ช่วยเขียนให้ชัดหน่อยก็ได้ คือจริง ๆ แล้วไปถึงโน่นเข้าไปคุยกับผมก็ได้ เพียงแต่ครั้งแรกผมไม่กล้าบอกเดี๋ยวไปกันหมดทุกคน ผมคงไม่ต้องทำอย่างอื่น แต่ทุกทีห้องผมก็เปิดอยู่แล้ว ก็เชิญนะครับ ถ้าใครมีปัญหาที่ว่าคับอกคับใจหรืออย่างไรก็เชิญได้ครับ เพราะจริงๆ ก็กำชับกับเจ้าหน้าที่ไว้ แต่อย่างที่บอกว่าข้าราชการก็ยังมีประเภทนี้อยู่อีกเยอะ ถ้ามีมาตรการอะไรบางอย่างบางทีเปลี่ยนนิสัยก็ไม่ได้เพราะบางคนมันฝังลึกเกินนิสัย ผมต้องยอมรับในส่วนนี้ อย่างไรถ้ามีอะไรที่เจ้าหน้าที่ผมทำไม่ดีหรืออะไรก็ต้องขอโทษไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ
ผู้ดำเนินรายการ : ผมบอกลำดับท่านนิดหนึ่งที่ถ้าพรุ่งนี้ไม่จบ ท่านมาหา ผอ. พินิตท่านอยู่ที่ชั้น 5 เปิดประตูตลอดเวลา ถ้าไม่พบไปชั้น 6 ท่านผู้อำนวยการสำนักการโยธา ถ้าไม่พบอีกไปพบท่านรองผู้ว่าธีระชนที่เสาชิงช้ามีลำดับอย่างนี้ชัดเจนว่าเราตอบตรง ขอเชิญอาจารย์พิชญะนิดหนึ่ง มีเรื่องกฎหมายตัวนี้ มีแนวทางที่จะปรับปรุงกฎหมายอย่างไรที่แก้ปัญหาตรงนี้ได้บ้าง
นายพิชญะ จันทรานุวัฒน์: ที่เราเห็นช่วง 5 ปีที่ผ่านมา กฎหมายก็มีปัญหาในแง่ของการปฏิบัติ ในแง่ของทัศนคติ เจ้าของอาคารจำนวนหนึ่งที่มองว่าการตรวจสอบอาคารเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องทำ ที่ทำไปก็เพราะว่าให้ถูกต้องตามกฎหมาย ตรงนั้นอยากจะเปลี่ยนความคิดว่าเป็นเรื่องที่สำคัญยกตัวอย่างถ้าผมเป็นเจ้าของอาคารผมก็อยากจะรู้สปริงเกอร์ตัวนี้มันแตกแล้วมีน้ำไหม เพราะห้องนี้หลอดไฟขาดนี่เห็นโคมไฟไม่มีไฟ แอร์ไม่เย็น เราก็ใช้ห้องนี้ไม่ได้ ไฟไม่สว่างห้องนี้ก็ใช้งานไม่ได้ แต่สปริงเกอร์ดีเทคเตอร์ไม่ทำงาน ห้องนี้ยังใช้งานได้อยู่ จริง ๆ แล้วเป็นอุปกรณ์ที่ต้องได้รับการตรวจสอบ ไม่มีใครดูอยู่แล้วนอกจากผู้ตรวจสอบ สมมุติผมเป็นผู้บริหารศูนย์อิมแพ็ค ผมนั่งอยู่บ้างบน ผมไม่รู้หรอกว่าช่างเขาดูแลนี่ดีหรือเปล่า ผมยินดีให้ผู้ตรวจสอบมาบอก เพราะอย่างน้อย ๆ ผมจะได้รู้ว่าลูกน้องผมทำงานเป็นไปตามมาตรฐานที่ดีไหม ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ใช้งานได้ไหม เจ้าของอาคารผมว่าทรัพย์สินในอาคารของท่านมูลค่าหลายสิบล้านหลายร้อยล้าน บางอาคารเป็นพันล้าน เพราะฉะนั้นผู้ตรวจสอบอาคารจริงๆ เข้ามาช่วย การตรวจสอบอาคารทำให้ท่านเป็นอีกที่หนึ่งที่ทำให้อาคารของท่านมีความปลอดภัย ช่วยคอยเป็นถ่วงดุล คอยมาดูแลว่าลูกน้อง หัวหน้าช่างของพวกคุณ ผู้ดูแลอาคารพวกคุณเขาทำงานถูกต้องหรือเปล่าอยากจะให้มองว่าเป็นประโยชน์อย่ามองว่าเป็นภาระ ตรงนี้อยากจะฝากว่าเป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นกฎหมายที่ดี ถึงแม้ว่าช่วงนี้ขลุกขลักเล็กน้อย ก็เพราะว่าเราเพิ่งมีการตรวจสอบอาคารครั้งแรก แต่ว่าตอนนี้ทางภาครัฐกรมโยธาธิการแล้วก็ทางสมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้องก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ก็กำลังมีการยกร่างปรับปรุงแก้กฎหมายให้มันกระชับขึ้นแล้วก็ดีขึ้น แล้วก็ปัญหาที่พูดกันเป็นปัญหาทั้งนั้น การได้ใบ ร.1 การรับรองตรวจสอบว่าปลอดภัย ท่านดอกเตอร์บัณฑิตพูดว่ามันรับรองไม่ได้หรอก ผู้ตรวจสอบอาคารคนเดียวรับจ้าง 50,000 บาทไปเซ็นว่าตึกปลอดภัย คนในตึกมีเป็นพัน ๆ คนเป็นหลาย ๆ ร้อยคนทรัพย์สินเป็นพัน ๆ ล้านเขาจะรับผิดชอบกันไหวหรือ แม้กระทั่งอย่าว่าแต่ตัวบุคคลเลย นิติบุคคลเลยกทม. ก็รับผิดชอบไม่ไหว จริง ๆ การตรวจสอบอาคารเราไม่จำเป็นที่จะต้องให้คนมารับรอง อาจจะเป็นอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งเราก็คิดไว้หลายรูปแบบ ถ้ายังคงเหมือนกับการตรวจสอบอาคาร ในความคิดเห็นถ้ายังเป็นการตรวจสอบอาคารเหมือนเดิมก็อาจจะเป็นเหมือนกับผู้ตรวจสอบบัญชี สุดท้ายสิ้นปีผู้ตรวจสอบบัญชีก็ส่งใบ ภ.ง.ด. 50 อะไรมาแค่ 3-4 ใบ ไม่จำเป็นต้องมีรายงานเป็นปึก เจ้าของอาคารก็เก็บรายงานเอาไว้อยู่ในอาคารของท่าน ออกกฎหมายมาบอกว่าท่านเก็บไว้สัก 5 ปี หรือ 10 ปี ถ้ามีความจำเป็นก็ขอเข้าไปตรวจสอบย้อนหลังดู ตรงนั้นก็จะผลักภาระให้กรุงเทพมหานครเป็นจำนวนมาก หรือไม่อีกรูปแบบหนึ่งการตรวจสอบอาจจะเปลี่ยนเป็นการตรวจประเมิน เหมือนกับตรวจประเมินทางด้านพลังงาน มีเกณฑ์ให้แล้วก็ถ้าท่านทำได้ผ่านเกณฑ์ตามนี้ก็ผ่าน ถ้าท่านเกณฑ์ตามนี้ก็เป็นอาคารที่ดี ดีมาก ยอดเยี่ยมอะไรอย่างนี้ ก็อาจจะมีเกณฑ์ระดับคะแนนให้ ขั้นต่ำอย่างน้อยก็ต้องถูกต้องตามมาตรฐานความปลอดภัยจริง ๆ หรือกฎหมาย แล้วใครที่ทำดีอาจจะได้ดีเยี่ยม เขาจะได้เอาคำว่าดีเยี่ยมไปทำ marketing ไปทำให้ภาพพจน์ของอาคารเขาดีขึ้น อาคารที่ได้ดีเฉย ๆ ก็น้อยเนื้อต่ำใจวันหลังก็ทำให้ดีขึ้นไปอีก 20 ปีข้างหน้าจะได้มีอาคารที่ดีเยี่ยมมากขึ้นเรื่อย ๆ อะไรประมาณนี้ เป็นการส่งเสริมและจูงใจ หรืออีกวิธีหนึ่งอาจจะเป็นการตรวจประเมินเหมือนกับถ้าพวกเราคุ้นเคยกันเหมือนกับตรวจประเมินทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เรียกว่าคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม รูปแบบการตรวจสอบอาคารเป็นผู้ตรวจประเมินเข้าไปตรวจประเมินใกล้ชิดกับเจ้าของอาคารจนถึงระดับความปลอดภัยที่ดีระดับหนึ่ง ต้องเขียนรายงานสด คณะกรรมการความปลอดภัยแห่งชาติยกตัวอย่าง อาจจะเป็นคณะกรรมการที่ภาครัฐตั้งขึ้นมามีหลายชุด แล้วก็ผู้ตรวจสอบคนนั้นก็มาเป็นบุคลากรที่เหมือนกับผู้ตรวจประเมินสิ่งแวดล้อม ก็เข้ามา defense เข้ามาเสนอผลการตรวจประเมินให้กับคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม แล้วก็คณะกรรมการความปลอดภัยก็จะเป็นผู้พิจารณาว่าได้เกณฑ์ผ่านเกณฑ์ตามนั้นตามนี้แล้วก็เป็นผู้อนุมัติว่าผ่านความปลอดภัยหรือไม่ผ่านความปลอดภัย ผ่านความปลอดภัยตามเกณฑ์ ไม่ได้ว่าอาคารปลอดภัย ผ่านตามเกณฑ์ที่ตกลงกันไว้ การรับรองว่าอาคารปลอดภัยไม่มีใครรับรองว่าอาคารปลอดภัยได้ มันเป็นเหมือนกับทำให้สังคมปัจจุบันไปพึ่งพาผู้ตรวจสอบแล้วผู้ตรวจสอบก็ไม่มีความสามารถ ที่จะยืนยันได้ว่า อาคารนั้นปลอดภัยจริงๆ อันนี้ก็เป็นแนวทาง วิธีการซึ่งเรากำลังหาข้อสรุปและข้อตกลงกัน เพื่อจะปรับปรุงกฎหมายให้มีนดีขึ้น
พันตำรวจโท ด.ร. บัณฑิต ประดับสุข : เคยได้ยินเจ้าของอาคารบางท่านพูดที่ตรวจเพราะกฎหมายให้ตรวจ ถ้ากฎหมายไม่บังคับก็ไม่ตรวจ พอเกิดเหตุอะไรขึ้นมาไม่คุ้มนะครับ ชื่อเสียงท่านต่าง ๆ นานาสร้างสมมานาน นอกจากเรื่องคดีความที่ท่านต้องเจอ ส่วนท่านเจ้าของอาคารที่ตรวจอาคารไปแล้วก็ต่อเนื่องจากที่พูดกันว่าติดฮีทหรือสโมค ถ้าเผื่อท่านดูใบของผู้ตรวจสอบอาคาร รายงานแล้วเขาไม่ได้แสดงแล้วเกิดเหตุนั้นขึ้นมา ทำไมผมต้องพูดเกี่ยวกับกฎหมาย เพราะว่าส่วนใหญ่จะไปจบที่นั่น ท่านมีสิทธิที่จะฟ้องร้องเขาได้ ผมถือว่าผู้ตรวจสอบอาคารไม่ใช่รัฐเหมือนกันแล้ว เดินตรวจไปเรื่อยๆ พอมีอะไรเกิดแล้วไม่รับผิดชอบ คุณรับผิดชอบนะครับ ท่านก็สามารถจะผ่องถ่ายไปได้ว่าเหตุเกิดเพราะอะไร หรือเกิดขึ้นทำไมผู้ตรวจสอบอาคารไม่ได้บอกให้แก้ไขอะไรเลย มองข้ามไป ท่านมีสิทธิอันนี้อยู่นะครับ เพราะว่าที่ผมเจอเหตุมามาก ขอดูรายงานผู้ตรวจสอบอาคารส่วนมากจะซ่อนไม่ให้ผมดูเยอะ คือไม่อยากให้มองว่าจ้างแล้วมาเดินติ๊ก ๆ ดี ไม่ดี ใช้ได้ ใช้ไม่ได้ เขาต้องร่วมรับผิดชอบ เขาเป็นคนรับผิดชอบ เหมือนกัน กทม.เวลามีเกิดเหตุ คือความผิดเขาไม่ได้มองที่ กทม. เรื่องออกใบ ร.1 ก็มุ่งตรงไปที่ผู้ตรวจสอบอาคาร จริง ๆ กทม. ไม่ต้องรับผิดชอบแล้ว เพราะถือว่ามีผู้ตรวจสอบอาคาร และผู้ตรวจสอบอาคารเป็นเสมือนตัวแทนของรัฐที่เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้ออกมาเพราะรัฐไม่มีบุคลากรที่จะตรวจสอบอาคาร ก็เลยต้องผลิตผู้ตรวจสอบอาคารมาให้ qualify ขณะนี้ มาทำแทนรัฐ เหมือนตรวจอุตสาหกรรม คนตรวจรับผิดชอบ ไม่ใช่กรมการขนส่งซึ่งไปออกใบอนุญาตให้ใช้รถได้ คนรับตรวจ แค่นี้ครับ
ผู้ดำเนินรายการ : ผมขอสรุปสั้น ๆ นิดหนึ่งว่าในการเสวนาครั้งนี้คือตรวจสอบอย่างไรให้ได้รับใบรับรอง ร.1 ผมขอย้อนมาที่สไลด์ทีแรก ท่านต้องรับผิดชอบในการเสวนาครั้งนี้คือผู้ตรวจสอบอาคารต้องเข้าใจว่าตรวจอย่างไร มาฟังก่อนว่าทาง กทม.เองมีแนวทางอย่างไร หลักเกณฑ์การพิจารณาเป็นอย่างไร เจ้าของอาคารเองจะต้องปรับปรุงอาคารให้ปลอดภัยตามเกณฑ์ที่ท่านอาจารย์พิชญะพูด พนักงานท้องถิ่นมีปัญหาเรื่องคอขวดว่าไม่สามารถทำงานได้ ทีนี้จะมี outsource เพื่อจะมาจัดการเป็น document อย่างที่ท่านนายกสมาคมผู้ตรวจสอบและบริหารความปลอดภัยได้แก้ปัญหาตรงนี้เพื่อจะรองรับอาคารที่เข้าข่าย 10,000 กว่าอาคารใน กทม. ขอให้ท่านรอเวลาช่วง 2-3เดือนนี้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ตัวรายงานเป็นทางเลือกหนึ่งที่ทั้ง 3 สมาคมและ กทม. ร่วมจัดทำเป็นทางเลือกเพื่อให้ตามกฎหมายและพิจารณาได้ง่าย และสอดคล้องกับกฎหมาย ฉะนั้นก็จะครบ และเอกสารจะบอกมาว่ามีอะไรบ้างเป็นง่าย ๆ ลดขั้นตอน แล้วสุดท้ายตัวที่ท่านเองว่าท่านต้องทำอาคารให้ปลอดภัยอย่างไร ตัวนี้ กทม. ได้มี MOU ร่วมกับหน่วยงานอื่นที่ปรับปรุงอาคารมีธนาคาร มีประกันภัยมาช่วยท่านแล้ว ขึ้นอยู่กับท่านคิดว่า ร.1 โยนคำถามมาที่ท่านแล้ว ทั้ง 6 ปัจจัยท่านเห็นว่ามีความพร้อมหมดแล้วที่เขากำลังจะเริ่มขึ้น ต้องถามตัวเองว่า ร.1 มาอยู่ในมือท่านแล้ว ถ้าอาคารไม่ปลอดภัย ร.1 ไม่ออกแน่นอน เมื่อกี้เห็นมีคำถาม ยกมือมานานแล้ว เชิญครับ
ผู้เข้าร่วมเสวนา : ขอข้อเสนอแนะอันหนึ่งได้ไหมคะ คือกรณีที่เราจำเป็นเราเป็นผู้ดูแลอาคารชุดเรามีบทลงโทษที่ตัวเรา ออกกฎหมายมาลงโทษผู้ดูแล แต่ทีนี้ก็ออกอีกว่าเราจะต้องจ้างผู้ตรวจสอบอาคาร เป็นไปได้ไหมว่าที่เราจะทำแบบ อย. เราขอเลขทะเบียน อย. ขอเลขผลิต เราสามารถทำเอกสารเองก็ได้ เราสามารถจ้างเจ้าหน้าที่ที่เราออกเงินเองก็ได้ เราสามารถจ้างผู้ตรวจสอบก็ได้ แล้วทำเอกสารเข้าไปที่สำนักงานโยธา แล้วทางสำนักงานโยธาพิจารณาเอกสาร แล้วตัวเราเองเจ้าหน้าที่ของทางสำนักงานโยธาจะส่งมาตรวจสอบที่อาคารโดยที่ทางอาคารมีค่าใช้จ่ายกับเจ้าหน้าที่ คือผู้ดูแลตรงนี้ไม่ต้องจ่ายเงิน 50,000 บาท และไปติดตามงานเอง ถ้าอย่างนี้เราก็ไปติดตามงานเองไม่ต้องไปจ่าย 50,000 บาท คือต้องมีทางเลือกให้เรา ไม่ใช่คุณออกกฎหมายมาบังคับให้เราทำ เรามีความผิดถ้าเราไม่ทำ แต่ทำไปแล้วถึงวันนี้อาคารชุดก็ส่งไปตั้งแต่ปี 2550 แต่พอดีรู้เรื่องเรื่องของการตรวจสอบโรงงานผลิตอาหารเสริมเลขทะเบียน อย. เป็นลักษณะอย่างนั้นจะเป็นไปได้ไหมคะ ให้ทางเลือกกับผู้ดูแล ขอบคุณค่ะ
ผู้ดำเนินรายการ : ต้องบอกว่าการมีการตรวจสอบทุกระบบ ที่ออกกฎหมายตัวนี้และมีการปรับปรุง
พันตำรวจโท ด.ร. บัณฑิต ประดับสุข : คือเราต้องการ third part ไม่ให้บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในอาคารนั้นทำ ก็เลยต้องใช้บุคลากร ส่วนเรื่องเป็นความผิดของเจ้าของอาคารเนื่องจากว่าอันนี้อยู่ใน พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร การแก้ไข พ.ร.บ. มันยาก แต่ว่าแนวคิดนี้เราเคยคิดเหมือนกันในการปรับปรุงกฎหมายฉบับนี้ในเรื่องของแก้กฎกระทรวงจะง่ายกว่าที่จะแก้ พ.ร.บ. ว่าอาจจะแบบ ผู้ตรวจสอบอาคารเป็นคนรับรองอาคารหลังนี้เองได้ไหม แล้วส่งผลไปให้กับทางท้องถิ่น ก็พิจารณาอยู่แต่ว่าต้องดูกฎหมายแม่ พ.ร.บ. กำหนดคำว่าอย่างไร
ผู้ดำเนินรายการ : อาจารย์พิชญะเสริมนิดหนึ่งว่าอย่างไรเรื่องนี้
นายพิชญะ จันทรานุวัฒน์: ผมมองเหมือนกับว่าการติดตามของตึกใน กทม. เป็นภาระจริง ๆ ไม่ควรเป็นภาระเลย ก็ด้วยที่ว่าขลุกขลักหลายเรื่อง เรื่องกฎหมายในการปฏิบัติข้อกฎหมาย ทั้ง กทม. เอง ผู้ตรวจสอบเอง กรมโยธาธิการเองที่ออกกฎหมาย มันยังเข้าใจไม่ค่อยตรงกันก็เลยทำให้เกิดขลุกขลักรวมทั้งเอกสารเยอะมากที่ กทม. จะต้องเก็บ แล้วก็ต้องตรวจเป็นพัน ๆ หลาย ๆ พัน เอกสารจริง ๆ 50 หน้า100 หน้า ตึกบางหลัง 400-500 หน้ามันดูยาก อย่างที่ผมเรียนตอนนี้ที่จะให้แนะนำ จริง ๆ แล้วเอกสารรายละเอียด กทม.ไม่จำเป็นต้องดูเลยด้วยซ้ำไป เหมือนกับสิ้นปีก็ส่งใบ ภ.ง.ด. 50 ส่งประจำปีไปทีเดียวก็จบ อันนี้จะลดภาระของงานธุรการ มันก็เลยดูเหมือนกับว่ากลายเป็นภาระต้องไปติดตาม แต่จริงๆ ผมคิดว่าถ้าเกิดเราแก้ต้นเหตุได้ เรื่องการติดตามไม่น่าจะมี ทุกอย่างน่าจะอัตโนมัติหมด ผมเชื่อว่าแก้ที่ต้นเหตุ
พันตำรวจโท ด.ร. บัณฑิต ประดับสุข : เพราะผู้ตรวจสอบอาคารนี้ certify อยู่แล้วว่าเป็นผู้ตรวจสอบอาคาร คือท้องถิ่นอื่นที่จริงน่าจะไปนั่งข้างล่าง ที่จริงอยากไปนั่งข้างล่างมากกว่าคืออย่างนี้ครับ กฎหมายฉบับนี้ ท้องถิ่นไม่ต้องรับผิดชอบเลยตอนออกกฎหมายฉบับนี้มา ผู้ตรวจสอบอาคารอย่างเดียวถ้าเกิดมีเหตุอะไรขึ้นมา เพราะผมก็สอนท้องถิ่นมาเยอะ แล้วท้องถิ่นก็ไปใช้อย่างนี้เหมือนกัน ไม่มีตะกร้า 2550 2551 ไม่มี ตัดไปเลยคุณตรวจให้ครบ
ผู้ดำเนินรายการ : ผมก็กล่าวเสริมนิดหนึ่ง ก็คือการที่มีผู้ตรวจสอบอาคาร เนื่องจากอาคาร 9 ประเภท เป็นอาคารสาธารณะที่มีผู้ใช้และผู้เกี่ยวข้องเยอะ ถ้าเราบอกว่าตัวเราดี ตัวเราปลอดภัยก็คงไม่มีเหตุซานติก้า คงไม่มีเกิดรอยัลจอมเทียน คงไม่มีโรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ อย่างที่อาจารย์พิชญะพูดว่าท่านจะรู้ได้อย่างไรฮีทเตอร์ทำงาน สปริงเกอร์ทำงานถ้าไม่มีผู้ตรวจสอบ ฉะนั้นผู้ตรวจสอบมีจรรยาบรรณวิชาชีพที่เขาทำหน้าที่ตรงนี้ให้ท่าน ท่านคิดว่าตัวเองปลอดภัยไม่ใช่เสมอไป มีกฎหมายว่าคนที่จะเป็นผู้ตรวจเองจะไม่เป็นผู้เกี่ยวข้องกับในอาคาร เป็นคู่สมรสไม่ได้ ไม่ใช่เป็นผู้ออกแบบ มีกฎหมายอยู่
ผู้เข้าร่วมเสวนา : คงต้องขออนุญาตนะคะ เราไม่ได้บอกว่าเราเป็นผู้ตรวจนะคะขออนุญาตที่บอกว่าคู่สมรสหรือใครตรวจไม่ใช่ เราจะกล่าวไปถึงว่าเป็นความปลอดภัยของชุมชนเราเชื่อว่าอาคารชุดในกรุงเทพฯ คงน้อยกว่าเลขทะเบียน อย. อาหารเสริมขวดหนึ่งบริษัทหนึ่งออกมาเป็นร้อยชิ้นบริษัทผลิตอาหารเสริมเยอะมาก แต่ทำไมเขาออกเลขทะเบียนออกมาได้แบบเยอะมาก นั่นคือเขาให้สิทธิในการที่ผู้ดูแล เจ้าของ ราชการต้องการอะไร รับรองอะไรบ้าง เขาสามารถวิ่งหาของเขาเองได้ วิ่งหาไปแล้วเขาไปยื่น เขากำหนดว่าให้คนที่ยื่นเอกสาร เราจะไม่บอกว่าเป็นใคร เขาให้โอกาสว่าเจ้าของ ผู้ตรวจสอบลูกจ้าง ใครก็ได้ไปยื่น ยื่นเสร็จแล้วทางสาธารณสุขเขาก็จะดูเอกสาร ขาดอะไรเขาต้องการตัวนี้ไปหามาcertificate อะไรไปหามา เสร็จแล้วเขาก็พิจารณา พิจารณาเสร็จถึงขั้นตอนส่งต่อไปหาเจ้าหน้าที่ที่เป็นผู้ตรวจสอบ เราจะเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายกับเจ้าหน้าที่บุคลากรที่เราจะต้องไปร้บเจ้าหน้าที่มาเพื่อมาดูพื้นที่ของเรา อะไรบ้างที่เราบกพร่องเขาจะติ๊กเองนี่คือเขาติ๊กเสร็จเราแก้ไข แก้ไขเสร็จเราเอาเอกสารที่เขาติ๊ก จะมี copy ระหว่างราชการกับเรา เราเอาใบนี้ไปยื่น รออีกระยะหนึ่งครบไหม ครบแล้วทะเบียนออก อันนี้คือชัดเจน แต่เมื่อกี้พูดไปทุกท่านพูดมาไม่ตรงกับสิ่งที่เราถาม เป็นไปได้ไหมให้โอกาสกับผู้ดูแลเจ้าของในการที่จะนำเอกสารนำเสนอแล้วท่านส่งเจ้าหน้าที่มาดูแลเราคิดว่าถ้าอย่างนี้ใบ ร.1 ออกแน่ ๆ ขอบคุณค่ะ
นายพิชญะ จันทรานุวัฒน์: ให้ผมตอบแทนแล้วกัน คือพระราชบัญญัติควบคุมอาคารกำหนดครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ ทางเลือกที่ทางท่านสุภาพสตรีเมื่อสักครู่เสนอก็เป็นทางเลือกที่ดีอันหนึ่งถึงกรณีที่มีปัญหาเกิดขึ้น แต่จริง ๆ แล้วคำถามนี้จะไม่เกิดขึ้นเลยถ้าอาคารส่วนใหญ่ในวันนี้ได้รับใบ ร.1ตั้งแต่เมื่อ 4-5 ปีที่แล้วกระบวนการคงจะเดินได้ อยากจะขอให้มองภาพรวมนิดหนึ่งว่าท้องถิ่นคือการตรวจสอบอาคารที่ครอบคลุมจังหวัดอื่น ๆ หมดไม่ได้มีปัญหาอะไรเลย มันเดินตามกระบวนการของมันส่วนของทาง กทม. ติดขัดเนื่องจากว่าด้วยบุคลากรที่เขาจำกัด และปัญหาได้ถูกทราบแล้วว่าปัญหาคืออะไร และกำลังนำไปสู่ในกระบวนการแก้ไข ซึ่งถ้าสมมุติเสกได้ภายในวัน 2 วัน ทุกท่านได้ใบ ร.1 คำถามตัวนี้จะไม่เกิดขึ้นเพราะเดินได้แล้ว ก็จะฝากไว้เพียงแค่นี้เอง รออีกสักแป๊บหนึ่ง คือตอนนี้ในฐานะสมาคมทราบว่ามันเป็นปัญหาใหญ่ เพราะว่ากำลังจะมีอาคารน้องใหม่มาอีก 5,000 ตอนนี้ของเดิมอาคารที่ไม่ได้รับใบ ร.1 ตรวจสอบใหญ่อยู่ 4,000 แล้วก็ยังมีปัญหาไม่ได้รับใบ ร.1 ตรวจสอบประจำปีมีอีกประมาณ1,500 รวมแล้วประมาณ 5,500 อาคาร บวกกับที่จะเข้ามาใหม่รวมแล้วประมาณ 10,000 อาคารภายใต้ กทม. ที่ไม่ได้เพิ่มบุคลากรย่อมมีปัญหาแน่นอน ดังนั้นการแก้ไขต้องการการแก้ไขอย่างเป็นระบบ วันนี้ถือโอกาสมาเสวนาเพื่อจะบอกว่าแนวทางในการแก้ไขอย่างเป็นระบบจะทำอย่างไร แล้วก็บอกว่ามิใช่บอกเจ้าของอาคารรอ แต่หมายความว่าเริ่มประสานงานกับผู้ตรวจสอบอาคารได้แล้วในการที่จะตื่นตัวคงใช้เวลาอีกหลายเดือนเพื่อที่จะให้เกิดการขับเคลื่อนเพราะว่ามันเยอะมาก ขอบคุณครับ
ผู้ดำเนินรายการ : ก็อาจจะไม่ได้ตรงกับของท่าน ตอนนี้อยู่ในคณะทำงานร่างกฎหมายตัวใหม่ก็ขอรับไป
พันตำรวจโท ด.ร. บัณฑิต ประดับสุข : เดี๋ยวจะนำเสนอในคณะอนุกรรมการแก้ไขกฎมายนี้สำหรับแบบจำลองที่ท่านเสนอมานะครับ
ผู้ดำเนินรายการ : ก็ไม่ใช่ว่าปฏิเสธเสียทีเดียว ผมในฐานะผู้ดำเนินการรายการ ขอคืนเวทีนี้ให้คุณอมรรัตน์ นาคสุข ครับ
ผู้ดำเนินการจัดเสวนา : ก็ต้องขอบพระคุณคุณวสวัตติ์ แล้วก็ท่านวิทยากรทั้ง 4 ท่านขอเสียงปรบมือให้กับวิทยากรอีกครั้งหนึ่งนะคะ แล้วก็คำถามต่าง ๆ ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ทางคณะวิทยากรหรือทางสมาคมก็จะนำไปสู่ระบบการแก้ไข อาจจะเป็นข้อมูลที่จะบอกกล่าวทุกท่านทาง website ที่ขึ้นไว้เมื่อสักครู่นี้นะคะ
ปิดการเสวนาเวลา 12.00 นาฬิกา