ReadyPlanet.com
dot
ฐานข้อมูลกรมโยธาธิการและผังเมือง
กฎหมายเกี่ยวกับตรวจสอบอาคาร
ศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถตามมาตรา ๒๖/๔ (๒) สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร




มาตรฐานสลิงฉุดลิฟต์ สำหรับลิฟต์โดยสาร

ที่มา http://www.buildernews.in.th/page.php?a=10&n=268&cno=6514


"สลิงลิฟต์" ถูกเข้าใจอย่างผิดๆ สำหรับการออกแบบของระบบลิฟต์และการบำรุงรักษาเมื่อเวลาผ่านไป โดยความต้องการในการแลกเปลี่ยนระบบของสลิง จะส่งผลให้ต้นทุนในการบำรุงรักษาสูงขึ้น หากการติดตั้งไม่เป็นไปตามมาตรฐาน และยิ่งทำให้เกิดความสับสน หากเกิดปัญหาก่อนที่จะถึงเวลาบำรุงรักษา

จากที่กล่าวมาข้างต้น อย่าคิดว่าสลิงเป็นชิ้นเดียวกันทั้งหมด เพราะว่าซับซ้อนกว่าที่คิด ยกตัวอย่าง สลิง 8 x 19 นั้นจะมีเส้นลวดถึง 152 เส้นเคลื่อนที่พร้อมๆกัน (สลิง 8 มัด โดยที่ 1 มัด มีเส้นลวด 19 เส้น) และยังมีแกนกลางของสลิงด้วย โดยอุปกรณ์ทั้งระบบต้องทำงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับสลิงแต่ล่ะเส้นและส่วนประกอบรอบๆของลิฟต์ แม้ว่าลูกปืนจะแข็งแรงเพียงใด แต่เมื่อรองรับน้ำหนักบรรทุกที่มากเกินไปก็ไม่เป็นผลดีต่อสลิงและพูเลย์ (Sheave) เพราะคุณลักษณะของสลิงมีความยืดหยุ่น จึงต้องปรับให้สลิงกับ Sheave เข้ากันพอดี เพื่อให้สลิงเคลื่อนไหวผ่านร่อง Sheave อย่างสะดวก และมีแรงตึงเชือกที่เหมาะสม ถึงแม้ว่าสลิงสมัยใหม่จะดีเยี่ยมแค่ไหน ก็ไม่สามารถรักษาความใหม่อยู่ได้โดยไม่เสื่อมสภาพ

ทำไมสลิงถึงไม่อาจใช้งานได้ถึงเวลาตามที่คาดไว้

สลิงลิฟต์สมัยก่อนต่างจากสลิงลิฟต์สมัยนี้ เพราะสลิงสมัยนี้ทำมาจากพลาสติกสังเคราะห์ โดยที่แกนของสลิงประกอบด้วยวัสดุหลายๆ อย่างจึงอาจทำให้คุณภาพลดลง เพราะว่าต้องผลิตออกมาทีล่ะมากๆ เพื่อให้เท่ากับความต้องการของตลาด แม้ว่าผู้ผลิตจะมีการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ก่อนออกสู่ตลาดมากเพียงใด แต่ก็ไม่อาจมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้

ทำไมผู้ผลิตจึงไม่สามารถทำให้สลิงลิฟต์มีอายุการงานยาวนาน

สมัยก่อนมอเตอร์จะใช้ Sheave ที่มีขนาดใหญ่มาก (น้อยมากที่จะใช้ Secondart Sheave) และไม่ใช้การแขวานสลิงแบบ 2:1 Roping หรือ Double Wrapping โดยที่มีรูปแบบร่อง Sheave แบบ Undercut U-Groove และมีความเร็วต่ำ จึงทำให้มีโอกาสเสื่อมสถาพของสลิงลดลง แล้วยิ่งสมัยก่อนมีการติดตั้งลิฟต์เป็นจำนวนมากต่ออาคารหนึ่ง เพราะว่าเทคโนโลยีในด้าน Traffic ยังน้อยอยู่ ทำให้ในอาคารๆ หนึ่งมีคนใช้งานต่อลฟิต์ 1 ตัวน้อยลง ทำให้สลิงถูกใช้งานน้อยกว่าปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีด้าน Traffic มากขึ้น รวมถึงพื้นที่เริ่มมีความสำคัญมากขึ้น จึงมีการคิดค้นลิฟต์แบบไม่มีห้องเครื่องขึ้นมา เพื่อลดพื้นที่ในการใช้งาน และค่าใช้
จ่ายให้น้อยลงซึ่งถูกเรียกว่า "De-Massification" รวมถึงการลดขนาดของ Sheave และ Traction ให้เล็กลง

จึงทำให้เกิดการเสียดสีระหว่างสลิงกับ Sheave มากขึ้น โดยที่ Groove ก็จะทำงานมากขึ้น เพื่อเพิ่มแรงในตอนเร่งความเร็ว และตอนหน่วงเพื่อลดความเร็วโดยมีข้อดีคือ สามารถลดระยะเวลาในการรอคอยลดลงและเพิ่มคนที่ต้องการใช้งานลิฟต์มากขึ้น ทั้งหมดนี้ไม่ได้เป็นการที่ผู้ผลิตสลิงลิฟต์ผลักภาระให้กับผู้ใช้งาน แต่เป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจ

เป็นเรื่องปกติที่ทุกคนต้องการทราบว่า สลิงลิฟต์จะใช้งานได้นานเท่าไร ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถบอกได้เช่นเดียวกับยางรถยนต์ว่าจะใช้งานได้นานเท่าไรถึงจะต้องทำการเปลี่ยนยาง ซึ่งไม่ได้เป็นเรื่องของเวลาแต่ลักษณธการใช้งาน การออกแบบระบบสิ่งแวดล้อม และการดูแลรักษาต่างหากที่มีผลต่ออายุการใช้งานของยางรถยนต์ ความเข้าใจในวันนี้จึงต้องเข้าใจอายุการใช้งานจริงกับอายุการใช้งานที่ทางผู้ผลิตตั้งไว้ หากเราต้องการที่จะเพิ่มอายุการใช้งานต้องเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการติดตั้ง

ตัวอย่างหนึ่งที่มีผลต่ออายุการใช้งานของสลิงลิฟต์ คือ จำนวนการออกตัวเคลื่อน
ที่ของลิฟต์ที่มีจำนวนครั้งมากขึ้นกว่าแต่ ก่อน ลองพิจารณากรณีที่ 2-3 ปีที่ผ่านมา มีกฏห้ามสูบบุหรี่ภายในอาคาร ทำให้ผู้สูบบุหรี่ต้องออกไปสูบบุหรี่ภายนอกอาคาร จากปัจจัยนี้ทำให้ลิฟต์มีการใช้งานมากกเดิมในช่วงเวลาเดียวกันถึง 3-4 เท่า ที่กล่าวมาจึงสรุปได้ว่าเราไม่สามารถที่จะระบุอายุการใช้งานของสลิงที่แน่ นอนได้ แทนที่จะถามอายุการใช้งานของสลิงเป็นจำนวนปี เราควรรู้จำนวนครั้งในการใช้งงานดีกว่า เพราะอาคารแต่ล่ะประเภทมีลักษณธในการใช้อาคารแตกต่างกันไป

ไม่ต้อง แปลกใจเลยว่าทำไมการบำรุงรักษาเป็นกุญแจสำคัญในการที่จะเพิ่มอายุการใช้งาน ของสลิง โดยเราจะเริ่มด้วยภาพรวมของมาตรฐานในการบำรุงรักษาเพื่อเพิ่มอายุการใช้งาน ของสลิงลิฟต์ไปจนถึงการจดบันทึกลงใน Check List (Report)

Lubrication : การเคลือบน้ำมันจำเป็นต้องทำทุกๆการออกตัวของลิฟต์ 250,000 ครั้ง หรือเมื่อไรก็ตามที่พบว่าสลิงหรือร่องสลิงแห้งซึ่งจำเป็นมาก หากละเว้นการปฏิบัติอาจทำให้อายุการใช้งงานของสลิงลดลงมากถึง 50% และหากสภาพอากาศแห้ง ร้อน หรือมีฝุ่น จำเป็นต้องเพิ่มความถี่ในการหล่อลื่นสลิง ซึ่งผลของการคเลือบน้ำมันบนสลิงลิฟต์จะช่วยให้แกนในของสลิงลิฟต์ใช้งานได้นานขึ้น

Tensioning : แรงตึงของสลิงลิฟต์นั้นมีข้อแนะนำว่าแรงตึงของสลิงแต่ล่ะเส้น
ควรมีความแตก ต่างไม่เกินกว่า 10% โดยแรงตึงของสลิงลิฟต์นั้นควรได้รับการตรวจเช็คโดยใช้เครื่องมือวัดความต่าง ของน้ำหนัก (Rope-Tension Cheack Device) และปรับแต่งตั้งแต่ขั้นตอนการติดตั้งลิฟต์ และเมื่อใช้งานต้องมีการตรวจเช็คอย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน ขึ้นอยู่กับลักษณธของการใช้งานลิฟต์ที่มีความแตกต่างกัน จะเป็นปัจจัยหลักของการสึกหรอแลการเสือมสภาพของสลิงลิฟต์ จากการวิจัยของแรงตึงที่ไม่เท่ากันส่งผลให้สลิงเสื่อมคุณภาพได้เร็วขึ้น โดยผลกระทบของแรงตึงเมื่อต่างกัน 15% จะทำให้ Load Factor ของสลิงเส้นที่ตึงที่สุดหลุดค่าความพอดีไป ส่งผลกระทบให้สลิงเส้นนั้นเสื่อมสภาพเร็วขึ้น แต่หากน้อยเกินไปจะทำให้สลิงมีแรงเสียดทานกับ Sheave น้อยลง เป็นผลให้สลิงสไลด์ไปกับ Sheave จึงทำให้เกิดการสึกหรอเกิดขึ้นทั้งสลิงและร่องสลิงบน Sheave ส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น และทำให้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องเสียหายด้วย

Sheave : การตรวจ เช็คลักษณธร่องสลิงประจำปีจะช่วยให้ทราบว่าสลิงสามารถเกาะติดกับ Sheave ได้อย่างเหมาะสมหรือไม่ เพราะว่าแรงเสียดทานที่ไม่เหมาะสมจะส่งผลถึงอายุการใช้งานของสลิงลิฟต์และ Sheave ได้ และหาก Sheave เสื่อมสภาพแล้ว จะทำให้สลิงลิฟต์เสื่อมสภาพตามไปด้วย และก็จะทำให้ Sheave สึกหรอเร็วขึ้นไปอีก การตรวจเช็คง่ายๆ สามารถทำได้ด้วยการสังเกตว่าความสูงของสลิงพาดอยู่บน Sheave อยู่ในระดับเดียวกันหรือไม่

Bearing : ลูกปืนนั้นก็มีเวลาเสื่อมสภาพ และเป็นสาเหตุที่ทำให้ Sheave เคลื่อนตัวไปด้านใดด้านหนึ่ง ส่งผลให้สลิงลิฟต์และตัว Sheave เกิดการบิดตัวเป็นมุมกัน ถึงแม้จะมีการปรับแต่งอย่างดีแล้วในช่วงระยะเวลาการติดตั้ง แต่ก็เป็นส่วนที่จำเป็นต้องตรวจเช็ค จากผลวิจัยหากมุมที่สลิงทำกับ Sheave เพียงแค่ 4 องศา จะทำให้อายุการใช้งานของสลิงลิฟต์ลดลงถึง 30 %

ข้อตระหนักในการเปลี่ยนสลิงลิฟต์

1. ต้องใช้สลิงลิฟต์มาตรฐานเดียวกันกับที่ได้ออกแบบไว้ โดยผู้ออกแบบระบบลิฟต์รายนั้นๆ เป็นผู้กำหนด
2. ห้ามใช้สลิงลิฟต์จากแหล่งผลิต 2 แหล่งในมู่เล่ (ร่องรอก) Sheave เดียวกัน
3. ห้ามใช้สลิงลิฟต์จากแหล่งผลิตที่ไมไมาตรฐานระบบลิฟต์
4. ควรตรวจสอบ ปรับตั้งความตึงของลิฟต์ทุกเส้นให้เท่ากัน
5. ควรตรวจสอบสลิงลิฟต์เกิดการตีเกลียวหรือไม่
6. การเปลี่ยนสลิงสำหรับลิฟต์ในกรณีเสื่อมสภาพจากการใช้งานตามเวลาที่ผ่านมา หรือเสื่อมสภาพจากสาเหตุสลิงแตก สลิงเกิดสนิมหรือสลิงมีขนาดแต่ละเส้นเล็กลงมา ควรเปลี่ยนพร้อมกันทั้งหมดทุกเว้น
7. การตรวจสอบสลิงสำหรับลิฟต์ ต้องดำเนินการโดยบริษัทผู้ออกแบบ ผลิต จำหน่าย ติดตั้งโดยตรงเท่านั้น หรือเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการรองรับจากสมาคมลิฟต์แห่งประเทศไทย และต้องเป็นสามัญวิศวกรที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องด้านวิศกรรมตามที่กฏหมายกำหนดไว้เท่านั้น


นิตยสาร ข่าวช่าง Contractors ฉบับที่432

- See more at: http://www.buildernews.in.th/page.php?a=10&n=268&cno=6514#sthash.I6IBp4FV.dpuf




ความรู้เกี่ยวกับลิฟต์และบันไดเลื่อน

การออกแบบลิฟต์โดยสารรองรับแผ่นดินไหว
จาก "คลิปลิฟต์สยอง" ถึง "มาตรฐาน" ความปลอดภัย
วารสาร สมาคมลิฟต์ แห่งประเทศไทย เล่ม ๗ มีนาคม ๒๕๕๖
บันไดเลื่อน...ภัยเงียบใต้ฝ่าเท้า ?
คำแนะนำการตรวจสอบความปลอดภัยบันไดเลื่อน



Copyright © 2012 All Rights Reserved.


  

 

สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร | THE BUILDING INSPECTORS ASSOCIATION
เลขที่ 487 ซ.รามคำแหง 39 (เทพลีลา 1) ถ.รามคำแหง
แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
โทรศัพท์: 0-2184-4612   โทรสาร: 0-2184-4613
http://www.bsa.or.th