ReadyPlanet.com
dot
ฐานข้อมูลกรมโยธาธิการและผังเมือง
กฎหมายเกี่ยวกับตรวจสอบอาคาร
ศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถตามมาตรา ๒๖/๔ (๒) สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร




การออกแบบลิฟต์โดยสารรองรับแผ่นดินไหว

ที่มา http://www.buildernews.in.th/page.php?a=10&n=268


 

แผ่นดินไหว เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติ เกิดจากการเคลื่อนตัวโดยฉับพลันของเปลือกโลกการเคลื่อนตัวดังกล่าว เกิดขึ้นเนื่องจากชั้นหินหลอมละลาย ที่อยู่ภายใต้เปลือกโลก ได้รับพลังงานความร้อนจากแกนโลก และลอยตัวผลักดันให้เปลือกโลกตอนบนตลอดเวลา ทำให้เปลือกโลกแต่ละชิ้นมีการเคลื่อนที่ในทิศทางต่าง ๆ กันพร้อมกับสะสมพลังงานไว้ภายใน บริเวณขอบของชิ้นเปลือกโลกจึงเป็นส่วนที่ชนกันเสียดสีกัน หรือแยกจากกัน นอกจากนั้นพลังที่สะสมในเปลือกโลก ถูกส่งผ่านไปยังเปลือกโลก ตรงบริเวณรอยร้าวของหินใต้พื้นโลกหรือที่เรียกว่า “รอยเลื่อน” เมื่อระนาบ รอยร้าวที่ประกบกันอยู่ได้รับแรงอัดมาก ๆ ก็จะทำให้รอยเลื่อนมีการเคลื่อนตัวอย่างฉับพลันเกิดเป็น แผ่นดินไหวเช่นเดียวกัน

สาเหตุการเกิดแผ่นดินไหว
          1. กระบวนการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ เช่นการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก
          2. ภูเขาไฟระเบิด (ในขณะที่แมกมาใต้ผิวโลกเคลื่อนที่ตามเส้นทางสู่ปล่องภูเขาไฟ สามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหวก่อนมีการระเบิดของภูเขาไฟ)
          3. การกระท􀁑าของมนุษย์ เช่น การทดลองระเบิดปรมาณู การระเบิดพื่นที่เพื่อสำรวจวางแผนก่อนสร้างเขื่อน เป็นต้น

ลักษณะของคลื่นแผ่นดินไหว แบ่งเป็น2 ชนิดใหญ่ๆ คือ
          • Body Wave (คลื่นในตัวกลำง)
          • Surface Wave (คลื่นพื้นผิว)

Body Wave เป็นคลื่นที่เดินทางแผ่กระจายเป็นวงรอบๆจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว หรือแผ่ออกไปตามเนี้อหินในแผ่นเปลือกโลก ซึ่งแบ่งย่อยเป็น 2 ชนิด คือ คลื่นปฐมภูมิ (Primary Wave) หรือ คลื่น P และ คลื่นทุติยภูมิ (Secondary Wave) หรือ คลื่น S คลื่น P เป็นคลื่นที่มีการเคลื่อนที่คล้ายกับการเคลื่อนที่ของคลื่นเสียง กล่าวคือ เมื่อคลื่น P เดินทางผ่านเนื้อหิน เนื้อหินจะสั่นในลักษณะอัดและขยายสลับกันไปมาตามทิศทางการเคลื่อนที่ของ คลื่น (ดูรูปที่ 1) นอกจากคลื่น P จะสามารถเดินทางผ่านของแข็งได้แล้วยังพบว่าสามารถเดินทางผ่านของเหลวได้อีกด้วย เช่น แมกมาและมหาสมุทร เป็นต้น


ส่วนคลื่น S เมื่อเดินทางผ่านเนื้อหิน เนื้อหินจะมีการเปลี่ยนรูปแบบบิดเบี้ยวภายใต้แรงเฉือน (ดูรูปที่ 2) โดยคลื่น S นี้สามารถเดินทางผ่านของแข็งได้เท่านั้น แต่ไม่สามารถเดินทางผ่านของเหลวได้


คลื่นแผ่นดินไหวชนิดที่สองเรียกว่า คลื่นพื้นผิว (Surface Wave) ซึ่งเป็นคลื่นที่มีการเคลื่อนที่เฉพาะบริเวณพื้นผิวดินเท่านั้น หรือ เป็นคลื่นที่แผ่จากจุดเหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว แบ่งย่อยออกเป็น 2 ชนิด คือ Love Wave และ Rayleigh Wave Love Wave จะมีการเคลื่อนที่คล้ายกับคลื่น S เมื่อคลื่นนี้เดินทางบนพื้นดินจะท􀁑าให้พื้นดินเกิดการสั่นสะเทือนในแนวนอนและตั้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น (ดูรูปที่ 3)


ส่วน Rayleigh Wave จะมีการเคลื่อนที่คล้ายกับการม้วนตัวของคลื่นในมหาสมุทร เมื่อคลื่นนี้เดินทางบนพื้นดินจะท􀁑าให้พื้นดินเกิดการสั่นสะเทือนทั้งในแนวนอนและแนวดิ่ง (ดูรูปที่ 4)


โดยส่วนมากนั้นผลกระทบส่วนใหญ่ที่เกินขึ้นจะมาจากคลื่นแผ่นดินไหวที่แผ่กระจายมาจากแก่นกลางซึ่งสามารถแยกได้เป็น 2 อย่างตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของผู้ใช้ระบบลิฟต์โดยสาร

ทางผู้ออกแบบและผู้ผลิตได้คิดค้นระบบเตื่อนภัยขึ้นโดยแยกตำมลักษณะของแผ่นดินไหว ซึ่งระบบนั้นคือ
          1. Earthquake Emergency Return Operation with Primary Wave sensor (EER-P)
          2. Earthquake Emergency Return Operation with Secondary Wave sensor (EER-S)

1. ระบบ Earthquake Emergency Return Operation withPrimary Wave sensor (EER-P)
          จะทำงานเมื่อเครื่องที่ติดตั้งไว้ในบริเวณบ่อลิฟต์สามารถตรวจจับคลื่นแนวปฐมภูม หรือ แนวราบได้ ระบบจะท􀁑าการยกเลิกการใช้งานของลิฟต์โดยการยกเลิกการเรียกชั้นภายในลิฟต์ และหน้าชั้น, ทำการหยุดลิฟต์เปิดประตูเพื่อให้ผู้โดยสารออก เมื่อระบบตรวจสอบแล้วไม่พบคลื่นแผ่นดินไหวภายใน 60 วินาที ระบบจะสั่งให้ลิฟต์ทำงานตามปกติแบบอัตโนมัติ

2. ระบบ Earthquake Emergency Return Operation with Secondary Wave sensor (EER-S)
          จะทำงานเมื่อเครื่องที่ติดตั้งไว้บริเวณห้องเครื่อง สามารถตรวจจับคลื่นทุติยภูมิ หรือ คลื่นแนวตั้งฉากได้ ระบบจะทำการยกเลิกการใช้งานของลิฟต์โดยการยกเลิกการเรียกชั้นภายในลิฟต์ และหน้าชั้น,ทำการหยุดลิฟต์เปิดประตูเพื่อให้ผู้โดยสารออก เมื่อระบบตรวจสอบแล้วไม่พบคลื่นแผ่นดินไหวภายใน 60 วินาที ระบบจะสั่งให้ลิฟต์ทำงานตามปกติแบบอัตโนมัติ แต่ถ้าความรุนแรงของคลื่นทุติยภูมิมากกว่า 150 gal เครื่องจะทำการล๊อคระบบและสามารถท􀁑าการปลดล๊อคได้โดยนายช่างผู้เชี่ยวชาญของบริษัทฯ ลิฟต์นั้นๆ

ทำอย่างไรเมื่อลิฟท์ค้าง
        
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ลิฟท์ค้างได้มีเพียง 3 กรณีที่พบทั่วไป นอกเหนือจากเหตุแผ่นดินไหว คือ

          1. กระแสไฟฟ้าดับ
                 ในอาคารที่มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง (Generator) หรือชุด Bettery Back up ลิฟท์ จะค้างทันทีที่ไฟดับ และเมื่อได้รับการจ่ายกระแสไฟฟ้าอีกครั้งหนึ่ง ระบบควบคุมจะสั่งให้ลิฟท์เคลื่อนตัวไปยังชั้นที่ใกล้ที่สุด และใช้งานต่อได้ตามปกติ
          2. อุปกรณ์นิรภัย (Safty Device) ตรวจพบสิ่งผิดปกติ
                 ในระหว่างการใช้งาน หากอุปกรณ์นิรภัยตรวจสิ่งผิดปกติ เช่น พบว่าอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนชำรุดหรือเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ใช้ งาน เช่น ประตูลิฟท์ถูกเปิดออก ลิฟท์จะหยุดการทำงานเพื่อป้องกันอุบัติเหตุและความเสียหายรุนแรงที่อาจจะ เกิดขึ้น
          3. ระบบควบคุมการทำงานขัดข้อง 
                  กรณีนี้ลิฟท์จะไม่ค้างทันทีแต่จะเคลื่อนตัวสู่ชั้นที่ใกล้ที่สุด ประตูเปิดให้ผู้โดยสารออกอย่างปลอดภัยและหยุดการทำงานโดยอัตโนมัติ

ข้อควรปฏิบัติเมื่อลิฟท์ค้าง

ลิฟท์ ที่ได้มาตรฐานจะได้รับการออกแบบให้มีการใช้งานอย่างปลอดภัยมากที่สุดโดย เฉพาะระบบนิรภัยที่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม หากเกิดปัญหากรณีลิฟท์ค้างไม่ว่าจะสาเหตุใด ขอแนะนำข้อควรปฏิบัติดังนี้ 

          1. เมื่อลิฟท์ค้างอย่าตกใจจน เกินเหตุ ควรตั้งสติให้ดี และไม่ต้องกังวลว่าจะขาดอากาศหายใจเนื่องจากลิฟท์ได้ถูกออกแบบให้มีระบบ ระบายอากาศที่เพียงพอแม้ว่าพัดลมระบายอากาศจะไม่ทำงาน
          2. กรณีไฟฟ้าดับ ชุดไฟส่องสว่างจากแบตเตอรี่สำรองฉุกเฉินจะทำงาน โดยให้แสงสว่างเพียงพอสำหรับการมองเห็น ให้กดปุ่มสัญญาณ EMERGENCY CALL ที่แผงปุ่มกด เพื่อขอความช่วยเหลือจากบุคลากรภายนอก
          3. ให้ข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่ ที่กำลังให้ความช่วยเหลือ เช่น มีผู้โดยสารกี่คน มีใครได้รับบาดเจ็บหรือไม่และพยายามสังเกตชั้นที่ใกล้เคียงที่สุดก่อนที่ ลิฟท์ค้างเพื่อทราบตำแหน่งค้างอยู่ผ่านทาง Interphone จากนั้นให้รอการช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่
          4. ขณะที่ทำการช่วยเหลือ ลิฟท์อาจจะมีการเคลื่อนที่เพื่อให้จอดตรงตำแหน่งระดับชั้น ดังนั้นระหว่างที่รอ อย่าพยายามงัดหรือเปิดประตูจากด้านในโดยเด็ดขาด
          5. เจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือจะต้องผ่านการฝึกอบรมและปฏิบัติตามขั้นตอนอย่าง เคร่งครัดห้ามผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกระทำการใดๆ โดยเด็ดขาด
          6. การให้การดูแลบำรุงรักษาอย่างถูกวิธี โดยช่างที่มีความรู้ความชำนาญการเปลี่ยนอุปกรณ์อะไหล่ตามคำแนะนำ และหลีกเลี่ยงการใช้อะไหล่เทียม จะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุและช่วยยืดอายุการใช้งาน
- See more at: http://www.buildernews.in.th/page.php?a=10&n=268&cno=6658#sthash.BKqFSsuC.dpuf




ความรู้เกี่ยวกับลิฟต์และบันไดเลื่อน

มาตรฐานสลิงฉุดลิฟต์ สำหรับลิฟต์โดยสาร
จาก "คลิปลิฟต์สยอง" ถึง "มาตรฐาน" ความปลอดภัย
วารสาร สมาคมลิฟต์ แห่งประเทศไทย เล่ม ๗ มีนาคม ๒๕๕๖
บันไดเลื่อน...ภัยเงียบใต้ฝ่าเท้า ?
คำแนะนำการตรวจสอบความปลอดภัยบันไดเลื่อน



Copyright © 2012 All Rights Reserved.


  

 

สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร | THE BUILDING INSPECTORS ASSOCIATION
เลขที่ 487 ซ.รามคำแหง 39 (เทพลีลา 1) ถ.รามคำแหง
แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
โทรศัพท์: 0-2184-4612   โทรสาร: 0-2184-4613
http://www.bsa.or.th