กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๕ เวลา ๐๘.๑๒ น. เกิดแผ่นดินไหวมีจุดศูนย์กลางอยู่บริเวณประเทศพม่า ที่ละติจูด ๒๒.๙๓ องศาเหนือ ลองจิจูด ๙๕.๙๙ องศาตะวันออก ความลึก ๑๐ กิโลเมตร ขนาด ๖.๖ ตามมาตราริกเตอร์ ห่างจากอําเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอนประมาณ ๔๓๘ กิโลเมตร รู้สึกสั่นไหวบนตึกสูงในหลายพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร และจังหวัดเชียงใหม่

ภาพจากเว็บไซต์ http://www.seismology.tmd.go.th/home.html
แม้ว่าการสั่นไหวของอาคารสูงในกรุงเทพมหานครในครั้งนี้จะไม่รุนแรงมากนัก แต่สำหรับเจ้าของอาคาร ผู้ดูแลอาคาร และผู้ตรวจสอบอาคารหลายท่านอาจสนใจว่า จะแนวทางใดๆ ที่จำเป็นเพื่อใช้ในการตรวจสอบอาคารหลังเกิดแผ่นดินไหว เพื่อให้แน่ใจว่า อาคารที่อยู่ภายใต้การดูแลนั้น ไม่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว หรือถ้าได้รับผลกระทบจะตรวจพบผลกระทบดังกล่าวนั้นได้อย่างไร เพื่อจะได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้มีความมั่นคงแข็งแรง เพื่อให้อาคารนั้นมีสภาพมีการใช้ปลอดภัย
รายงานการตรวจสอบเบื้องต้นหลังเกิดหตุแผ่นดินไหวนี้ อาจเป็นแนวทางเริ่มต้นให้กับผู้ตรวจสอบอาคารศึกษาและใช้เป็นคำแนะนำให้กับเจ้าของอาคาร ผู้ดูแลอาคาร ทำการตรวจสอบอาคารเบื้องต้น ซึ่งหวังว่าจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย
แนวทางการตรวจสอบอาคารหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว
รายการตรวจสอบเบื้องต้นหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว สำหรับฝ่ายบริหารอาคาร นอกจากการตรวจสอบรอยแตกร้าวของโครงสร้างและวัสดุของอาคารแล้ว ฝ่ายบริหารอาคารควรตรวจสอบรายการต่อไปนี้ทันทีหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว
1. ลิฟต์ ตรวจสอบโดยการให้ลิฟต์วิ่งขึ้นลงจากล่างสุดถึงบนสุดเพื่อตรวจว่ามีการติดขัดหรือมีความสั่นสะเทือนผิดปกติหรือไม่

สภาพรอยร้าวห้องเครื่องลิฟต์ |

สภาพทั่วไปของบ่อลิฟต์ |

สภาพรางลิฟต์ไม่มีการบิดงอ |
2. ท่อน้ำ ตรวจสอบในช่องท่อน้ำแนวดิ่ง อันได้แก่ ท่อน้ำประปา ท่อน้ำดับเพลิง ท่อน้ำระบบปรับอากาศ เพื่อตรวจว่ามีท่อแตกรั่วซึมหรือไม่

ท่อระบบปรับอากาศ |

ท่อระบบน้ำดับเพลิง |

ภาพระบบหัวจ่ายน้ำดับเพลิงบนดาดฟ้า |

ภาพระบบท่อชั้นใต้ดิน |

การยึดเกาะของระบบท่อชั้นจอดรถ |
3. ท่อก๊าซหุงต้ม ตรวจสอบที่ตั้งถังก๊าซและตลอดแนวท่อก๊าซ เพื่อตรวจว่ามีการรั่วซึม หรือ มีกลิ่นก๊าซหุงต้มหรือไม่

โครงสร้างห้องเก็บก๊าซหุงต้ม |

สภาพข้อต่อก๊าซหุงต้ม |
4. ถังน้ำประปา ตรวจสอบถังน้ำประปาบนชั้นหลังคา หรือชั้นกึ่งกลางอาคาร (ถ้ามี) เพื่อตรวจสอบว่ามีความเสียหายหรือไม่

ตรวจสอบรอยร้าวโครงสร้างถังเก็บน้ำประปา |

ตรวจสอบรอยร้าวโครงสร้างถังเก็บน้ำประปา |
5. สายไฟฟ้าและตัวนำไฟฟ้าแนวดิ่ง ตรวจสอบในห้องไฟฟ้าประจำชั้นเพื่อตรวจว่ามีการลัดวงจร มีกลิ่นไหม้ มีความร้อน หรือมีสิ่งผิดปกติหรือไม่

ตรวจสอบห้องควบคุมไฟฟ้าหลัก |

ตรวจสอบรางและท่อเดินสายไฟฟ้า |
6. ท่อระบายความร้อน (Cooling Tower) ตรวจสอบความเสียหาย ความมั่นคงแข็งแรงเพื่อตรวจสอบว่ามีการแตกร้าว น้ำรั่ว ยึดติดมั่นคงแข็งแรงอยู่กับฐานหรือไม่

โครงสร้างหอระบายผึ่ง |

ฐานรองรับหอระบายผึ้ง |
7. สิ่งของร่วงหล่นได้ ตรวจสอบการร่วงหล่นของสิ่งของรอบอาคารเพื่อตรวจสอบว่าของที่ยึดกับตัวอาคาร เช่น เครื่องปรับอากาศ กระถางต้นไม้ วัสดุอาคาร มีการหลุดร่วงหรือไม่

ผนังด้านข้างอาคาร |

การยึดเกาะอุปกรณ์ข้างอาคาร(ปรับอากาศ) |

ผนังกระจกด้านข้างอาคาร |

เสาโครงสร้างชั้นจอดรถ |

ภาพด้านข้างอาคาร |

ภาพด้านข้างอาคาร |

เสาอาคารชั้น 1 |

ภาพภายในอาคาร |
และเอกสารนี้เป็น earthquake checklist ของ FM Global ลองดูเป็นแนวทาง
