กฎกระทรวง ฉบับที่ 71 (พ.ศ. 2566) ประกาศในราชกิจจานุเษกษา เล่ม 140 ตอนที่ 73 ก 26 ธันวาคม 2566 มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสินวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา .......มีผลใช้บังคับ 25 มีนาคม 2567
กฎกระทรวง ฉบับที่ 51 (พ.ศ. 2541) ประกาศในราชกิจจานุเษกษา เล่ม 115 ตอนที่ 48 ก 17 สิงหาคม 2541
กฏกระทรวง
ฉบับที่ 44 (พ.ศ.2538)
ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
พ.ศ. 2522
-----------------------
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 (3) และมาตรา 8 (6) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมอาคารออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในกฎกระทรวงนี้
“นํ้าเสีย” หมายความว่า ของเหลวที่ผ่านการใช้แล้วทุกชนิดทั้งที่มีกากและไม่มีกาก
“ระบบบำบัดน้ำเสีย” หมายความว่า กระบวนการทำ หรือการปรับปรุงน้ำเสียให้มีคุณภาพเป็นนํ้าทิ้ง รวมทั้งการทำให้นํ้าทิ้งพ้นไปจากอาคาร
“นํ้าทิ้ง” หมายความว่า นํ้าจากอาคารที่ผ่านระบบบำบัดนํ้าเสียแล้วจนมีคุณภาพตามมาตรฐานคุณภาพนํ้าทิ้งที่กำหนดสำหรับการที่จะระบายลงแหล่งรองรับนํ้าทิ้งได้
“แหล่งรองรับนํ้าทิ้ง” หมายความว่า ท่อระบายนํ้าสาธารณะ คู คลอง แม่นํ้า ทะเล และแหล่งนํ้าสาธารณะ
ข้อ 2 อาคารที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงต้องมีการระบายนํ้าฝนออกจากอาคารที่เหมาะสมและเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่นหรือเกิดนํ้าไหลนองไปยังที่ดินอื่นที่มีเขตติดต่อกับเขตที่ดินที่เป็นที่ตั้งของอาคารนั้น
การระบายนํ้าฝนออกจากอาคารตามวรรคหนึ่งจะระบายลงสู่แหล่งรองรับนํ้าทิ้งโดยตรงก็ได้
ข้อ 3 อาคารประเภทและลักษณะดังต่อไปนี้ ต้องจัดให้มีระบบบำบัดนํ้าเสียที่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการปรับปรุงนํ้าเสียจากอาคารให้เป็นนํ้าทิ้งที่มีคุณภาพ ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในข้อ 4 ก่อนที่จะระบายลงสู่แหล่งรองรับนํ้าทิ้ง
(1) อาคารประเภท ก
(ก) อาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดที่มีจำนวนห้องนอนรวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกัน หรือหลายหลังรวมกัน ตั้งแต่ 500 หอ้งนอนขึ้นไป
(ข) โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรมที่มีจำนวนห้องพักรวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันตั้งแต่ 200 ห้องขึ้นไป
(ค) โรงพยาบาลของทางราชการหรือสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลที่มีจำนวนเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนรวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันตั้งแต่ 30 เตียงขึ้นไป
(ง) สถานศึกษาที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกัน หรือหลายหลังรวมกันตั้งแต่ 25,000 ตารางเมตรขึ้นไป
(จ) อาคารที่ทำการของราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การระหว่างประเทศหรือเอกชนที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันตั้งแต่ 55,000 ตารางเมตรขึ้นไป
(ฉ) ห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้าที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันตั้งแต่ 25,000 ตารางเมตรขึ้นไป
(ช) ตลาดที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกัน หรือหลายหลังรวมกันตั้งแต่ 2,500 ตารางเมตรขึ้นไป
(ซ) ภัตตาคารหรือร้านอาหารที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันตั้งแต่ 2,500 ตารางเมตรขึ้นไป
(2) อาคารประเภท ข
(ก) อาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดที่มีจำนวนห้องนอนรวมกันทุกชั้นในอาคารหลังดียวกัน หรือหลายหลังรวมกัน ตั้งแต่ 100 ห้องนอน แต่ไม่ถึง 500 ห้องนอน
(ข) โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรมที่มีจำนวนห้องพักรวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันตั้งแต่ 60 ห้อง แต่ไม่ถึง 200 ห้อง
(ค) หอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพักที่มีจำนวนห้องนอนรวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันตั้งแต่ 250 ห้องขึ้นไป
(ง) สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตรขึ้นไป
(จ) โรงพยาบาลของทางราชการหรือสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลที่มีจำนวนเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนรวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันตั้งแต่ 10 เตียง แต่ไม่ถึง 30 เตียง
(ฉ) สถานศึกษาที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตร แต่ไม่ถึง 25,000 ตารางเมตร
(ช) อาคารที่ทำการของราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การระหว่างประเทศหรือเอกชนที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตร แต่ไม่ถึง 55,000 ตารางเมตร
(ซ) ห้างสรรพสินค้า หรือศูนย์การค้าที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตร แต่ไม่ถึง 25,000 ตารางเมตร
(ฌ) ตลาดที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกัน ตั้งแต่ 1,500 ตารางเมตร แต่ไม่ถึง 2,500 ตารางเมตร
(ญ) ภัตตาคารหรือร้านอาหารที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันตั้งแต่ 500 ตารางเมตร แต่ไม่ถึง 2,500 ตารางเมตร
(ฎ) อาคารอยู่อาศัยรวมที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันเกิน 10,000 ตารางเมตร
(3) อาคารประเภท ค
(ก) อาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดที่มีจำนวนห้องนอนรวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันไม่ถึง 100 ห้องนอน
(ข) โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรมที่มีจำนวนห้องพักรวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันไม่ถึง 60 ห้อง
(ค) หอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพักที่มีจำนวนห้องนอนรวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันตั้งแต่ 50 ห้อง แต่ไม่ถึง 250 ห้อง
(ง) สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตร แต่ไม่ถึง 5,000 ตารางเมตร
(จ) อาคารที่ก่อสร้างในที่ดินของบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้จัดสรรที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินตั้งแต่ 10 หลัง แต่ไม่เกิน 100 หลัง
(ฉ) อาคารที่ทำการของราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การระหว่างประเทศหรือเอกชนที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตร แต่ไม่ถึง 10,000 ตารางเมตร
(ช) ห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้าที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตร แต่ไม่ถึง 5,000 ตารางเมตร
(ซ) ตลาดที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกัน ตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตร แต่ไม่ถึง 1,500 ตารางเมตร
(ฌ) ภัตตาคารหรือร้านอาหารที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันตั้งแต่ 250 ตารางเมตร แต่ไม่ถึง 500 ตารางเมตร
(ญ) อาคารอยู่อาศัยรวมที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันเกิน 2,000 ตารางเมตร แต่ไม่เกิน 10,000 ตารางเมตร
(4) อาคารประเภท ง
(ก) หอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพักที่มีจำนวนห้องนอนรวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันตั้งแต่ 10 ห้อง แต่ไม่ถึง 50 ห้อง
(ข) สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันไม่ถึง 1,000 ตารางเมตร
(ค) โรงพยาบาลของทางราชการหรือสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลที่มีจำนวนเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนรวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันไม่ถึง 10 เตียง
(ง) สถานศึกษาที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันไม่ถึง 5,000 ตารางเมตร
(จ) อาคารที่ทำการของราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การระหว่างประเทศหรือเอกชนที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันไม่ถึง 5,000 ตารางเมตร
(ฉ) ห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้าที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันไม่ถึง 1,000 ตารางเมตร
(ช) ตลาดที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกัน ตั้งแต่ 500 ตารางเมตร แต่ไม่ถึง 1,000 ตารางเมตร
(ซ) ภัตตาคารหรือร้านอาหารที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันตั้งแต่ 100 ตารางเมตร แต่ไม่ถึง 250 ตารางเมตร
(ฌ) อาคารอยู่อาศัยรวมที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันไม่เกิน 2,000 ตารางเมตร
(5) อาคารประเภท จ. หมายความถึง ภัตตาคารหรือร้านอาหารที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันไม่ถึง 100 ตารางเมตร”
(“ข้อ 3” แก้ไขโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 51 (พ.ศ. 2541)ฯ)
ข้อ 4 นํ้าทิ้งจากอาคารที่จะระบายจากอาคารลงสู่แหล่งรองรับนํ้าทิ้งได้ต้องมีคุณภาพนํ้าทิ้งตามประเภทของอาคารตามมาตรฐานคุณภาพนํ้าทิ้ง ดังต่อไปนี้
มาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้ง
|
อาคารประเภท
|
ก
|
ข
|
ค
|
ง
|
จ
|
1. พีเอช
2. บีโอดี ไม่เกิน (มิลลิกรัม/ลิตร)
3. ปริมาณสารแขวนลอย ไม่เกิน (มิลลิกรัม/ลิตร)
4. ปริมาณสารละลายที่เพิ่มขึ้นจากนํ้าใช้ ไม่เกิน (มิลลิกรัม/ลิตร)
5. ปริมาณตะกอนหนัก ไม่เกิน (มิลลิกรัม/ลิตร)
6. ทีเคเอ็น ไม่เกิน (มิลลิกรัม/ลิตร)
7. ออร์แกนิก-ไนโตรเจน ไม่เกิน (มิลลิกรัม/ลิตร)
8. แอมโมเนีย-ไนโตรเจน ไม่เกิน (มิลลิกรัม/ลิตร)
9. นํ้ามันและไขมัน ไม่เกิน (มิลลิกรัม/ลิตร)
10.ซัลไฟด์ ไม่เกิน (มิลลิกรัม/ลิตร)
|
5-9
20
30
500
0.5
35
10
-
20
1.0
|
5-9
30
40
500
0.5
35
10
-
20
1.0
|
5-9
40
50
500
0.5
40
15
25
20
3.0
|
5-9
50
50
500
0.5
40
15
25
20
4.0
|
5-9
200
60
-
-
-
-
-
100
-
|
“พีเอช” หมายความว่า ค่าของความเป็นกรดและด่างของนํ้าที่เกิดจากค่าลบของล็อกฐานสิบของความเข้มข้นเป็นโมลของอนุมูลไฮโดรเจน
“บีโอดี” หมายความว่า ปริมาณออกซิเจนที่แบคทีเรียใช้ในการย่อยสารอินทรีย์ชนิดที่ย่อยสลายได้ภายใต้ภาวะของออกซิเจนที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส ในเวลาห้าวัน ซึ่งใช้เป็นการตรวจวัดระดับปริมาณสารอินทรีย์ที่มีอยู่ในตัวอย่างนํ้านั้น ๆ
“ปริมาณสารแขวนลอย” หมายความว่า สารที่ตกค้างบนแผ่นกรองในการกรองนํ้าผ่านแผ่นกรองประเภทกระดาษกรองใยแก้ว (Glass fiber filter-disc) เส้นผ่าศูนย์กลาง 4.7 เซนติเมตร เช่น Whatman type GF/C หรือ Gelman type A
“ปริมาณสารละลาย” หมายความว่าสารที่ละลายอยู่ในน้ำาและจะเหลืออยู่เป็นตะกอนหลังจากกำจัดปริมาณสารแขวนลอยและปริมาณตะกอนหนักแล้วผ่านการระเหยด้วยไอนํ้าและทำให้แห้งที่อุณหภูมิ 103-105 องศาเซลเซียสในเวลาหนึ่งชั่วโมง
“ปริมาณตะกอนหนัก” หมายความว่า สารที่แขวนลอยอยู่ในนํ้า ซึ่งสามารถตกตะกอนได้โดยแรงโน้มถ่วงของโลกภายใต้ภาวะที่สงบนิ่งในเวลาหนึ่งชั่วโมง
“ทีเคเอ็น” หมายความว่า ไนโตรเจนที่อยู่ในรูปแอมโมเนียและออร์แกนิก-ไนโตรเจน
“ออร์แกนิก-ไนโตรเจน” หมายความว่า ไนโตรเจนที่อยู่ในสารประกอบอินทรีย์ประเภทโปรตีนและผลิตผลจากการย่อยสลายของไขมัน เช่น โพลิเพปไทด์ และกรดอะมิโน เป็นต้น
“แอมโมเนีย-ไนโตรเจน” หมายความว่า ไนโตรเจนทั้งหมดที่อยู่ในรูป NH+4 หรือ NH3 ซึ่งสมดุลกัน
“นํ้ามันและไขมัน” หมายความว่า สารอินทรีย์จำพวกนํ้ามัน ไขมัน ขี้ผึ้ง และกรดไขมัน ที่มีนํ้าหนักโมเลกุลสูง โดยเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนและเอสเตอร์ เป็นต้น สารเหล่านี้จะถูกสกัดได้ด้วยตัวทำละลายประเภทเฮกเซน คลอโรฟอร์ม และไดเอทิลอีเทอร์ แล้วแยกส่วนโดยการระเหยแห้งที่อุณหภูมิ 103 องศาเซลเซียส
“ซัลไฟด์” หมายความว่า สารประกอบพวกไฮโดรซัลไฟด์ทั้งชนิดที่ละลายนํ้าและชนิดที่เป็นอนุมูลรวมทั้งสารประกอบพวกโลหะซัลไฟด์ที่ปนอยู่กับตะกอนแขวนลอยในนํ้าด้วย
น้ำทิ้งจากอาคารตามที่กำหนดในข้อ 3 ที่จัดส่งไปบำบัดยังระบบบำบัดน้ำเสียรวมที่หน่วยงานของรัฐจัดให้มีขึ้น ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งตามวรรคหนึ่ง แต่อาคารดังกล่าวต้องจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียขั้นต้นที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่หน่วยงานของรัฐนั้นกำหนด
(“ข้อ 4” แก้ไขโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 51 (พ.ศ. 2541)ฯ)
(“ข้อ 4 วรรคสอง” เพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 71 (พ.ศ. 2566))
ข้อ 4 ทวิ การก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารประเภท ค. สำหรับอาคารที่ก่อสร้างในที่ดินของบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้จัดสรรที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินตั้งแต่ 10 หลัง แต่ไม่เกิน 100 หลัง จะทำระบบบำบัดนํ้าเสียเป็นระบบบำบัดนํ้าเสียรวมทั้งโครงการ หรือเป็นระบบบำบัดนํ้าเสียแยกแต่ละหลัง เพื่อให้นํ้าทิ้งมีคุณภาพ ตามมาตรฐานคุณภาพนํ้าทิ้งที่กำหนดในข้อ 4 ก็ได้
(“ข้อ 4 ทวิ” เพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 51 (พ.ศ. 2541)ฯ)
ข้อ 5 ในกรณีที่อาคารหลังเดียวกันมีการใช้ประโยชน์เพื่อกิจการตามที่กำหนดในข้อ 3 เกินกว่าหนึ่งประเภทและแต่ละประเภทมีมาตรฐานคุณภาพนํ้าทิ้งแตกต่างกัน ให้คำนวณคุณภาพนํ้าทิ้งจากอาคารรวมกันโดยใช้มาตรฐานคุณภาพนํ้าทิ้งที่สูงที่สุดสำหรับประเภทของอาคารที่มีการใช้ประโยชน์นั้น
ข้อ 6 การก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารประเภท ก ประเภท ข และประเภท ค ตามที่กำหนดในข้อ 3 ให้แสดงแบบและการคำนวณรายการระบบบำบัดน้ำเสียที่สามารถดำเนินการปรับปรุงน้ำเสียจากอาคารให้มีคุณภาพเป็นนํ้าทิ้ง ตามมาตรฐานคุณภาพนํ้าทิ้งที่กำหนดในข้อ 4
ข้อ 7 การก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารประเภท ง ตามที่กำหนดในข้อ 3 และอาคารพักอาศัยประเภทบ้านเดี่ยว ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว หรือบ้านแฝด ให้แสดงแบบระบบบำบัดนํ้าเสียโดยจะต้องประกอบด้วย
(1) บ่อเกรอะ ซึ่งต้องมีลักษณะที่มิดชิดนํ้าซึมผ่านไม่ได้ เพื่อใช้เป็นที่แยกกากและไขมันที่ปนอยู่กับนํ้าเสีย และ
(2) ส่วนบำบัด ซึ่งต้องมีลักษณะที่สามาถใช้เป็นที่รองรับนํ้าเสียที่ผ่านส่วนเกรอะแล้ว เพื่อใช้เป็นที่แยกกากและไขมันส่วนที่เหลือและบำบัดนํ้าเสียนั้นเป็นน้ำทิ้ง
ส่วนเกรอะและส่วนบำบัดตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมอาคารประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
ในกรณีที่ยังไม่มีประกาศของรัฐมนตรีตามวรรคสอง และยังไม่มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับส่วนเกรอะและส่วนบำบัดที่จัดทำโดยส่วนราชการอื่นที่มีหน้าที่และอำนาจในเรื่องนั้น หรือประกาศของรัฐมนตรีตามวรรคสองยังไม่ครอบคลุมอาคารบางประเภทตามวรรคหนึ่ง การก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารตามวรรหนึ่ง ให้แสดงแบบระบบบำบัดน้ำเสียที่สามารถดำเนินการปรับปรุงน้ำเสียจากอาคารให้มีคุณภาพเป็นน้ำทิ้งตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งที่กำหนดไว้สำหรับอาคารประเภท ง ในข้อ 4
ในกรณีที่จะไม่ใช้วิธีการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ใช้วิธีอื่นในการปรับปรุงน้ำเสียจากอาคารเป็นน้ำทิ้งตามมาตรฐานคุณภาพนํ้าทิ้งตามที่กำหนดไว้สำหรับอาคารประเภท ง ในข้อ 4
(“ข้อ 7” แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 71 (พ.ศ. 2566))
ข้อ 8 การกำจัดนํ้าทิ้งจากอาคารจะดำเนินการระบายน้ำทิ้งสู่แหล่งรองรับนํ้าทิ้ง หรือระบายลงสู่พื้นดินโดยใช้วิธีซึมหรือโดยวิธีอื่นใดที่เหมาะสมกับสภาพของอาคารนั้นก็ได้ แต่ต้องไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่นหรือกระทบกระเทือนต่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
(“ข้อ 8” แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 71 (พ.ศ. 2566))
ข้อ 9 ในกรณีที่อาคารใดจัดให้มีทางระบายนํ้าเพื่อระบายนํ้าจากอาคารลงสู่แหล่งรองรับนํ้าทิ้งทางระบายน้ำนั้นต้องมีลักษณะที่สามารถตรวจสอลบและทำความสะอาดได้โดยสะดวก และต้องวางตามแนวตรงที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยต้องมีส่วนลาดเอียงไม่ตํ่ากว่า 1 ใน 200 หรือต้องมีส่วนลาดเอียงเพียงพอให้นํ้าทิ้งไหลเร็วไม่ตํ่ากว่า 60 เซนติเมตรต่อวินาที
ขนาดของทางระบายนํ้าต้องมีความสัมพันธ์กับปริมาณนํ้าทิ้งของอาคารนั้น โดยถ้าเป็นทางระบายนํ้าแบบท่อปิดต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางภายในไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร โดยต้องมีบ่อพักสำหรับตรวจการระบายนํ้าทุกมุมเลี้ยวและทุกระยะไม่เกิน 12 เมตร หรือทุกระยะไม่เกิน 24 เมตร ถ้าทางระบายนํ้าแบบท่อปิดนั้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายในตั้งแต่ 60 เซนติเมตรขึ้นไป ในกรณีที่เป็นทางระบายนํ้าแบบอื่นต้องมีความกว้างภายในที่ขอบบนสุดไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร
ข้อ 10 อาคารที่ใช้เป็นตลาด โรงแรม ภัตตาคาร หรือสถานพยาบาล ต้องจัดให้มีที่รองรับขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลโดยมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
(1) ผนังต้องทำด้วยวัสดุถาวรและทนไฟ
(2) พื้นผิวภายในต้องเรียบและกันนํ้าซึม
(3) ต้องมีการป้องกันกลิ่นและนํ้าฝน
(4) ต้องมีการระบายน้ำเสียจากขยะมลูฝอยและสิ่งปฏิกูลลงสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย
(5) ต้องมีการระบายอากาศและป้องกันนํ้าเข้า
(6) ต้องมีความจุไม่น้อยกว่า 1.2 ลิตรต่อพื้นที่ของอาคารหนึ่งตารางเมตร
(7) ต้องจัดไว้ในที่ที่สามารถขนย้ายขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลได้โดยสะดวกและต้องมีระยะห่างจากสถานที่ประกอบอาหารและสถานที่เก็บอาหารไม่น้อยกว่า 4 เมตร แต่ถ้าที่รองรับขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลมีขนาดความจุเกินกว่า 3 ลูกบาศก์เมตร ต้องมีระยะห่างจากสถานที่ดังกล่าวไม่น้อยกว่า 10 เมตร
ให้ไว้ ณ วันที่ วันที่ 27 มกราคม 2538
พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันมีการก่อสร้างอาคารเพื่อใช้ประโยชน์ในการอยู่อาศัยและกอบกิจการประเภทเดียวหรือหลายประเภทรวมกันเพิ่มมากขึ้น สมควรกำหนดระบบการระบายนํ้าและการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมเกี่ยวกับการสาธารณสุขและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 112 ตอนที่ 6 ก ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2538