ReadyPlanet.com
dot
ฐานข้อมูลกรมโยธาธิการและผังเมือง
กฎหมายเกี่ยวกับตรวจสอบอาคาร
ศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถตามมาตรา ๒๖/๔ (๒) สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร




ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ พ.ศ. 2566

ข้อบังคับสภาวิศวกร
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ
สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
พ.ศ. 2566

-----------------------

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 (6) (ฉ) มาตรา 46 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติ วิศวกร พ.ศ. 2542 และกฎกระทรวงกำหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2565 สภาวิศวกรโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่1/2565 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2565 และโดยความเห็นชอบของสภานายกพิเศษแห่งสภาวิศวกร ออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ พ.ศ. 2566

ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (มีผลบังคับใช้ 22 มิถุนายน 2566)

ข้อ 3 ให้ยกเลิก

(1) ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ พ.ศ. 2551

(2) ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558

ข้อ 4 ให้งาน ประเภทและขนาดของงานวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมอุตสาหการเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงกำหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2565

ข้อ 5 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ ระดับวุฒิวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ ได้ทุกงาน ทุกประเภท และทุกขนาด

ข้อ 6 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ ระดับสามัญวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ ได้เฉพาะงาน ประเภทและขนาด ดังนี้

(1) งานให้คำปรึกษา

(ก) โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน เช่น การวางผังโรงงาน หรือการวางผัง การเคลื่อนย้ายเครื่องจักรในโรงงานที่มีการลงทุนไม่เกินห้าร้อยล้านบาท

(ข) ระบบการผลิต การสร้างหรือการประกอบสิ่งใด ๆ กระบวนการผลิตวัสดุสำเร็จรูป หรือกึ่งสำเร็จรูป การหลอม การหล่อ การรีด การเชื่อม การกลึง การเคลือบโลหะ การอบชุบ การชุบ หรือการแปรรูปโลหะ ไม้ หรือวัสดุอื่น ๆ หรือสถานประกอบการที่มีการลงทุนไม่เกินห้าร้อยล้านบาท

(ค) ระบบสนับสนุนการผลิต ระบบความปลอดภัย ระบบกึ่งอัตโนมัติ ระบบอัตโนมัติ หรือระบบอัจฉริยะ สำหรับทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง ทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพ ลำเลียง เก็บรักษา หรือทำลายสิ่งใด ๆ หรือสถานประกอบการที่มีการลงทุนไม่เกินห้าร้อยล้านบาท

(ง) การถลุงแร่และการทำโลหะให้บริสุทธิ์ที่มีปริมาณการผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ดังนี้

1) ดีบุก

2) ตะกั่ว สังกะสี ทองแดง หรือพลวง

3) เหล็กหรือเหล็กกล้า

4) กากกัมมันตรังสีตามกฎหมายว่าด้วยพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ ทุกประเภทที่มีการลงทุนไม่เกินห้าร้อยล้านบาท

(จ) ระบบการจัดการด้านวิศวกรรมอุตสาหการในอุตสาหกรรมการผลิตหรืออุตสาหกรรมบริการที่มีการประเมินความเสี่ยง การจัดการความปลอดภัย การควบคุมคุณภาพ การประกันคุณภาพ และการจัดการระบบโลจิสติกส์ ที่มีการลงทุนไม่เกินห้าร้อยล้านบาท

(2) งานวางโครงการ

(ก) โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน เช่น การวางผังโรงงาน หรือการวางผัง การเคลื่อนย้ายเครื่องจักรในโรงงานที่มีการลงทุนไม่เกินแปดร้อยล้านบาท

(ข) ระบบการผลิต การสร้างหรือการประกอบสิ่งใด ๆ กระบวนการผลิตวัสดุสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูป การหลอม การหล่อ การรีด การเชื่อม การกลึง การเคลือบโลหะ การอบชุบ การชุบ หรือการแปรรูปโลหะ ไม้ หรือวัสดุอื่น ๆ สถานประกอบการที่มีการลงทุนไม่เกินแปดร้อยล้านบาท

(ค) ระบบสนับสนุนการผลิต ระบบความปลอดภัย ระบบกึ่งอัตโนมัติ ระบบอัตโนมัติหรือระบบอัจฉริยะ สำหรับทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง ทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพ ลำเลียง เก็บรักษา หรือทำลายสิ่งใด ๆ สถานประกอบการที่มีการลงทุนไม่เกินแปดร้อยล้านบาท

(ง) การถลุงแร่และการทำโลหะให้บริสุทธิ์ที่มีปริมาณการผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ดังนี้

1) ดีบุก

2) ตะกั่ว สังกะสี ทองแดง หรือพลวง

3) เหล็กหรือเหล็กกล้า

4) กากกัมมันตรังสีตามกฎหมายว่าด้วยพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ ทุกประเภทที่มีการลงทุนไม่เกินแปดร้อยล้านบาท

(จ) ระบบการจัดการด้านวิศวกรรมอุตสาหการในอุตสาหกรรมการผลิตหรืออุตสาหกรรมบริการ ที่มีการประเมินความเสี่ยง การจัดการความปลอดภัย การควบคุมคุณภาพ การประกันคุณภาพ และการจัดการระบบโลจิสติกส์ ที่มีการลงทุนไม่เกินแปดร้อยล้านบาท

(ฉ) ระบบดับเพลิงหรือป้องกันอัคคีภัยทุกขนาด

(3) งานออกแบบและคำนวณ

(ก) โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน เช่น การวางผังโรงงาน หรือการวางผัง การเคลื่อนย้ายเครื่องจักรในโรงงาน ที่มีการลงทุนไม่เกินแปดร้อยล้านบาท

(ข) ระบบการผลิต การสร้างหรือการประกอบสิ่งใด ๆ กระบวนการผลิตวัสดุสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูป การหลอม การหล่อ การรีด การเชื่อม การกลึง การเคลือบโลหะ การอบชุบ การชุบ หรือการแปรรูปโลหะ ไม้ หรือวัสดุอื่น ๆ สถานประกอบการที่มีการลงทุนไม่เกินแปดร้อยล้านบาท

(ค) ระบบสนับสนุนการผลิต ระบบความปลอดภัย ระบบกึ่งอัตโนมัติ ระบบอัตโนมัติหรือระบบอัจฉริยะ สำหรับทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง ทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพ ลำเลียง เก็บรักษา หรือทำลายสิ่งใด ๆ สถานประกอบการที่มีการลงทุนไม่เกินแปดร้อยล้านบาท

(ง) การถลุงแร่และการทำโลหะให้บริสุทธิ์ที่มีปริมาณการผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ดังนี้

1) ดีบุก

2) ตะกั่ว สังกะสี ทองแดง หรือพลวง

3) เหล็กหรือเหล็กกล้า

4) กากกัมมันตรังสีตามกฎหมายว่าด้วยพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ ทุกประเภทที่มีการลงทุนไม่เกินห้าร้อยล้านบาท

(จ) ระบบการจัดการด้านวิศวกรรมอุตสาหการในอุตสาหกรรมการผลิตหรืออุตสาหกรรมบริการที่มีการประเมินความเสี่ยง การจัดการความปลอดภัย การควบคุมคุณภาพ การประกันคุณภาพ และการจัดการระบบโลจิสติกส์ ที่มีการลงทุนไม่เกินแปดร้อยล้านบาท

(ฉ) ระบบดับเพลิงหรือป้องกันอัคคีภัยทุกขนาด

(4) งานควบคุมการสร้างหรือการผลิต

(ก) โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน เช่น การวางผังโรงงาน หรือการวางผัง การเคลื่อนย้ายเครื่องจักรในโรงงาน ที่มีการลงทุนไม่เกินแปดร้อยล้านบาท

(ข) ระบบการผลิต การสร้างหรือการประกอบสิ่งใด ๆ กระบวนการผลิตวัสดุสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูป การหลอม การหล่อ การรีด การเชื่อม การกลึง การเคลือบโลหะ การอบชุบ การชุบ หรือการแปรรูปโลหะ ไม้ หรือวัสดุอื่น ๆ สถานประกอบการที่มีการลงทุนไม่เกินแปดร้อยล้านบาท โดยไม่รวมค่าที่ดิน

(ค) ระบบสนับสนุนการผลิต ระบบความปลอดภัย ระบบกึ่งอัตโนมัติ ระบบอัตโนมัติ หรือระบบอัจฉริยะ สำหรับทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง ทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพ ลำเลียง เก็บรักษา หรือทำลายสิ่งใด ๆ สถานประกอบการที่มีการลงทุนไม่เกินแปดร้อยล้านบาท

(ง) การถลุงแร่และการทำโลหะให้บริสุทธิ์ที่มีปริมาณการผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ดังนี้

1) ดีบุกไม่เกิน 30 เมตริกตันต่อวัน

2) ตะกั่ว สังกะสี ทองแดง หรือพลวง ไม่เกิน 200 เมตริกตันต่อวัน

3) เหล็กหรือเหล็กกล้าไม่เกิน 200 เมตริกตันต่อวัน

4) กากกัมมันตรังสีตามกฎหมายว่าด้วยพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ จากกระบวนการผลิตดีบุกไม่เกิน 30 เมตริกตันต่อวัน ตะกั่ว ทองแดงหรือพลวงไม่เกิน 200 เมตริกตันต่อวัน เหล็กหรือเหล็กกล้าไม่เกิน 200 เมตริกตันต่อวัน

(จ) ระบบการจัดการด้านวิศวกรรมอุตสาหการในอุตสาหกรรมการผลิตหรืออุตสาหกรรมบริการที่มีการประเมินความเสี่ยง การจัดการความปลอดภัย การควบคุมคุณภาพ การประกันคุณภาพ และการจัดการระบบโลจิสติกส์ที่มีการลงทุนไม่เกินแปดร้อยล้านบาท

(ฉ) ระบบดับเพลิงหรือป้องกันอัคคีภัยทุกขนาด

(5) งานพิจารณาตรวจสอบและงานอำนวยการใช้ ทุกประเภททุกขนาด

ข้อ 7 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ ระดับภาคีวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ ได้เฉพาะงาน ประเภทและขนาด ดังนี้

(1) งานวางโครงการ

(ก) โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน เช่น การวางผังโรงงาน หรือการวางผัง การเคลื่อนย้ายเครื่องจักรในโรงงานที่มีการลงทุนไม่เกินสองร้อยล้านบาท

(ข) ระบบการผลิต การสร้างหรือการประกอบสิ่งใด ๆ กระบวนการผลิตวัสดุสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูป การหลอม การหล่อ การรีด การเชื่อม การกลึง การเคลือบโลหะ การอบชุบ การชุบ หรือการแปรรูปโลหะ ไม้ หรือวัสดุอื่น ๆ สถานประกอบการที่มีการลงทุนไม่เกินสองร้อยล้านบาท

(ค) ระบบสนับสนุนการผลิต ระบบความปลอดภัย ระบบกึ่งอัตโนมัติ ระบบอัตโนมัติหรือระบบอัจฉริยะ สำหรับทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง ทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพ ลำเลียง เก็บรักษา หรือทำลายสิ่งใด ๆ สถานประกอบการที่มีการลงทุนไม่เกินสองร้อยล้านบาท

(ง) การถลุงแร่และการทำโลหะให้บริสุทธิ์ที่มีปริมาณการผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ดังนี้

1) ดีบุก

2) ตะกั่ว สังกะสี ทองแดง หรือพลวง

3) เหล็กหรือเหล็กกล้า

4) กากกัมมันตรังสีตามกฎหมายว่าด้วยพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ ทุกประเภทที่มีการลงทุนไม่เกินสองร้อยล้านบาท

(จ) ระบบการจัดการด้านวิศวกรรมอุตสาหการในอุตสาหกรรมการผลิตหรืออุตสาหกรรมบริการที่มีการประเมินความเสี่ยง การจัดการความปลอดภัย การควบคุมคุณภาพ การประกันคุณภาพ และการจัดการระบบโลจิสติกส์ ที่มีการลงทุนไม่เกินสองร้อยล้านบาท

(ฉ) ระบบดับเพลิงด้วยน้ำหรือป้องกันอัคคีภัย ซึ่งไม่ใช่ระบบดับเพลิงแบบพิเศษ เช่น การใช้ก๊าซ โฟม หรือสารดับเพลิงอื่น เป็นต้น ที่มีมูลค่ารวมกันไม่เกินสิบล้านบาท หรือมีพื้นที่ป้องกันอัคคีภัย ไม่เกิน 10,000 ตารางเมตร

(2) งานออกแบบและคำนวณ

(ก) ระบบการจัดการด้านวิศวกรรมอุตสาหการในอุตสาหกรรมการผลิตหรืออุตสาหกรรมบริการที่มีการประเมินความเสี่ยง การจัดการความปลอดภัย การควบคุมคุณภาพ การประกันคุณภาพ และการจัดการระบบโลจิสติกส์ ที่มีการลงทุนไม่เกินหนึ่งร้อยล้านบาท

(ข) ระบบดับเพลิงด้วยน้ำหรือป้องกันอัคคีภัย ซึ่งไม่ใช่ระบบดับเพลิงแบบพิเศษ เช่น การใช้ก๊าซ โฟม หรือสารดับเพลิงอื่น เป็นต้น ที่มีมูลค่ารวมกันไม่เกินห้าล้านบาท หรือมีพื้นที่ป้องกันอัคคีภัย ไม่เกิน 5,000 ตารางเมตร

(3) งานควบคุมการสร้างหรือการผลิต

(ก) โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน เช่น การวางผังโรงงาน หรือการวางผัง การเคลื่อนย้ายเครื่องจักรในโรงงานที่มีการลงทุนไม่เกินสองร้อยล้านบาท

(ข) ระบบการผลิต การสร้างหรือการประกอบสิ่งใด ๆ กระบวนการผลิตวัสดุสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูป การหลอม การหล่อ การรีด การเชื่อม การกลึง การเคลือบโลหะ การอบชุบ การชุบ หรือการแปรรูปโลหะ ไม้ หรือวัสดุอื่น ๆ สถานประกอบการที่มีการลงทุนไม่เกินสองร้อยล้านบาท

(ค) ระบบสนับสนุนการผลิต ระบบความปลอดภัย ระบบกึ่งอัตโนมัติ ระบบอัตโนมัติหรือระบบอัจฉริยะ สำหรับทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง ทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพ ลำเลียง เก็บรักษา หรือทำลายสิ่งใด ๆ สถานประกอบการที่มีการลงทุนไม่เกินสองร้อยล้านบาท

(ง) การถลุงแร่และการทำโลหะให้บริสุทธิ์ที่มีปริมาณการผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ดังนี้

1) ดีบุกไม่เกิน 10 เมตริกต่อวัน

2) ตะกั่ว สังกะสี ทองแดง หรือพลวง ไม่เกิน 20 เมตริกต่อวัน

3) เหล็กหรือเหล็กกล้า ไม่เกิน 20 เมตริกต่อวัน

4) กากกัมมันตรังสีตามกฎหมายว่าด้วยพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ จากกระบวนการผลิตดีบุกไม่เกิน 10 เมตริกตันต่อวัน ตะกั่ว ทองแดงหรือพลวงไม่เกิน 20 เมตริกตันต่อวัน เหล็กหรือเหล็กกล้าไม่เกิน 20 เมตริกตันต่อวัน

(จ) ระบบการจัดการด้านวิศวกรรมอุตสาหการในอุตสาหกรรมการผลิตหรืออุตสาหกรรมบริการ ที่มีการประเมินความเสี่ยง การจัดการความปลอดภัย การควบคุมคุณภาพ การประกันคุณภาพ และการจัดการระบบโลจิสติกส์ ที่มีการลงทุนไม่เกินสองร้อยล้านบาท

(ฉ) ระบบดับเพลิงด้วยน้ำหรือป้องกันอัคคีภัย ซึ่งไม่ใช่ระบบดับเพลิงแบบพิเศษ เช่น การใช้ก๊าซ โฟม หรือสารดับเพลิงอื่น เป็นต้น ที่มีมูลค่ารวมกันไม่เกินสิบล้านบาท หรือมีพื้นที่ป้องกันอัคคีภัย ไม่เกิน 10,000 ตารางเมตร

(4) งานพิจารณาตรวจสอบ

(ก) โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน เช่น การวางผังโรงงาน หรือการวางผัง การเคลื่อนย้ายเครื่องจักรในโรงงานที่มีการลงทุนไม่เกินสามร้อยล้านบาท

(ข) ระบบการผลิต การสร้างหรือการประกอบสิ่งใด ๆ กระบวนการผลิตวัสดุสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูป การหลอม การหล่อ การรีด การเชื่อม การกลึง การเคลือบโลหะ การอบชุบ การชุบ หรือการแปรรูปโลหะ ไม้ หรือวัสดุอื่น ๆ สถานประกอบการที่มีการลงทุนไม่เกินสามร้อยล้านบาท

(ค) ระบบสนับสนุนการผลิต ระบบความปลอดภัย ระบบกึ่งอัตโนมัติ ระบบอัตโนมัติหรือระบบอัจฉริยะ สำหรับทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง ทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพ ลำเลียง เก็บรักษา หรือทำลายสิ่งใด ๆ สถานประกอบการที่มีการลงทุนไม่เกินสามร้อยล้านบาท

(ง) การถลุงแร่และการทำโลหะให้บริสุทธิ์ที่มีปริมาณการผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ดังนี้

1) ดีบุก

2) ตะกั่ว สังกะสี ทองแดง หรือพลวง

3) เหล็กหรือเหล็กกล้า

4) กากกัมมันตรังสีตามกฎหมายว่าด้วยพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ ทุกประเภทขนาดไม่เกินสามร้อยล้านบาท

(จ) ระบบการจัดการด้านวิศวกรรมอุตสาหการในอุตสาหกรรมการผลิตหรืออุตสาหกรรมบริการที่มีการประเมินความเสี่ยง การจัดการความปลอดภัย การควบคุมคุณภาพ การประกันคุณภาพ และการจัดการระบบโลจิสติกส์ ที่มีการลงทุนไม่เกินสามร้อยล้านบาท

(ฉ) ระบบดับเพลิงด้วยน้ำหรือป้องกันอัคคีภัย ซึ่งไม่ใช่ระบบดับเพลิงแบบพิเศษ เช่น การใช้ก๊าซ โฟม หรือสารดับเพลิงอื่น เป็นต้น ที่มีมูลค่ารวมกันไม่เกินสิบล้านบาท หรือมีพื้นที่ป้องกันอัคคีภัย ไม่เกิน 10,000 ตารางเมตร

(5) งานอำนวยการใช้ ทุกประเภทที่มีการลงทุนไม่เกินห้าร้อยล้านบาท

ข้อ 8 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ ระดับภาคีวิศวกรพิเศษ ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ ได้ตามงานประเภท และขนาดที่ระบุไว้ในใบอนุญาต

ข้อ 9 การกำหนดขนาดเงินลงทุนตามข้อบังคับนี้ให้พิจารณาจากทรัพย์สินถาวร ได้แก่ อาคาร และเครื่องจักร โดยไม่รวมค่าที่ดิน

ข้อ10 ในกรณีที่ต้องมีการวินิจฉัยชี้ขาดหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพ วิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ ตามข้อบังคับนี้ ให้คณะกรรมการสภาวิศวกร เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด คำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการสภาวิศวกรให้เป็นที่สุด

ข้อ11 ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ซึ่งประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามระดับ และสาขาที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ภายในข้อกำหนดและเงื่อนไขตามกฎกระทรวง กำหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2550 อยู่ก่อนวันที่ข้อบังคับนี้ มีผลใช้บังคับให้ผู้นั้นประกอบการงานนั้นต่อไปได้จนกว่างานจะแล้วเสร็จ ทั้งนี้ ไม่เกินสามปีนับแต่วันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ

 

ประกาศ ณ วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2566
รองศาสตราจารย์ปิยะบุตร วานิชพงษ์พันธุ์
นายกสภาวิศวกร

 

เล่ม 140 ตอนพิเศษ 146 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 มิถุนายน 2566

 

 




กฎหมาย




Copyright © 2012 All Rights Reserved.


  

 

สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร | THE BUILDING INSPECTORS ASSOCIATION
เลขที่ 487 ซ.รามคำแหง 39 (เทพลีลา 1) ถ.รามคำแหง
แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
โทรศัพท์: 0-2184-4612   โทรสาร: 0-2184-4613
http://www.bsa.or.th