กฎกระทรวง
ฉบับที่ 39 (พ.ศ. 2537)
ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
-----------------------
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 (3) และมาตรา 8 (4) (5) และ (6) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมอาคารออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในกฎกระทรวงนี้
“ห้องแถว” หมายความว่า อาคารที่ก่อสร้างติดต่อกันเป็นแถวยาวตั้งแต่สองคูหาขึ้นไป มีผนังร่วมแบ่งอาคารเป็นคูหาและประกอบด้วยวัสดุไม่ทนไฟเป็นส่วนใหญ่
“ตึกแถว” หมายความว่า อาคารที่ก่อสร้างติดต่อกันเป็นแถวยาวตั้งแต่สองคูหาขึ้นไป มีผนังร่วมแบ่งอาคารเป็นคูหาและประกอบด้วยวัสดุทนไฟเป็นส่วนใหญ่
“บ้านแถว” หมายความว่า ห้องแถวหรือตึกแถวที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งมีที่ว่างด้านหน้าและด้านหลังระหว่างรั้วหรือแนวเขตที่ดินกับตัวอาคารแต่ละคูหา
“บ้านแฝด” หมายความว่า อาคารที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยก่อสร้างติดต่อกันสองบ้าน มีผนังร่วมแบ่งอาคารเป็นบ้าน มีที่ว่างระหว่างรั้วหรือแนวเขตที่ดินกับตัวอาคารด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้างของแต่ละบ้าน และมีทางเข้าออกของแต่ละบ้านแยกจากกันเป็นสัดส่วน
“อาคารอยู่อาศัยรวม” หมายความว่า อาคารหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยสำหรับหลายครอบครัว โดยแบ่งออกเป็นหน่วยแยกจากกันสำหรับแต่ละครอบครัว มีห้องน้ำ ห้องส้วม ทางเดิน ทางเข้าออก และทางขึ้นลงหรือลิฟต์แยกจากกันหรือร่วมกัน
หมวด 1
แบบและวิธีการเกี่ยวกับการติดตั้งระบบการป้องกันอัคคีภัย
---------------------------
ข้อ 2 อาคารดังต่อไปนี้ต้องมีวิธีการเกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัยตามที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้
(1) ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว บ้านแฝด
(2) อาคารที่ใช้เป็นที่ชุมนุมของประชาชน เช่น โรงมหรสพ หอประชุมโรงแรม สถานพยาบาล สถานศึกษา หอสมุด สถานกีฬาในร่ม ตลาด ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า สถานบริการ ท่าอากาศยาน อาคารจอดรถ สถานีขนส่งมวลชน ที่จอดรถ ท่าจอดเรือ ภัตตาคาร สำนักงาน สถานที่ทำการของราชการ โรงงานและอาคารพาณิชย์ เป็นต้น
(3) อาคารอยู่อาศัยรวมที่มีตั้งแต่ 4 หน่วยขึ้นไป และหอพัก
(4) อาคารอื่นนอกจากอาคารตาม (1) (2) และ (3) ที่มีความสูงตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไป
ข้อ 3 ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว และบ้านแฝด ที่มีความสูงไม่เกิน 2 ชั้น ต้องติดตั้งเครื่องดับเพลิงแบบมือถืออย่างใดอย่างหนึ่งตามชนิดและขนาดที่กำหนดไว้ในตารางที่ 1 ท้ายกฎกระทรวงนี้ จำนวนคูหาละ 1 เครื่อง
อาคารอื่นนอกจากอาคารตามวรรคหนึ่ง ต้องติดตั้งเครื่องดับเพลิงแบบมือถืออย่างใดอย่างหนึ่งตามชนิดและขนาดที่กำหนดไว้ในตารางวรรคหนึ่ง สำหรับดับเพลิงที่เกิดจากประเภทของวัสดุที่มีในแต่ละชั้นไว้ 1 เครื่อง ต่อพื้นที่อาคารไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร ทุกระยะไม่เกิน 45 เมตร แต่ไม่น้อยกว่าชั้นละ 1 เครื่อง
การติดตั้งเครื่องดับเพลิงตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ต้องติดตั้งให้ส่วนบนสุดของตัวเครื่องสูงจากระดับพื้นอาคารไม่เกิน 1.50 เมตร ในที่มองเห็นสามารถอ่านคำแนะนำการใช้ได้และสามารถนำไปใช้งานได้โดยสะดวก และต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ตลอดเวลา
ข้อ 4 ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว และบ้านแฝด ที่มีความสูงไม่เกิน 2 ชั้น ต้องมีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ติดตั้งอยู่ในอาคารอย่างน้อย 1 เครื่อง ทุกคูหา
ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว และบ้านแฝด ที่มีความสูงเกิน 2 ชั้น ต้องมีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ติดตั้งอยู่ภายในอาคารอย่างน้อย 1 เครื่อง ทุกชั้นและทุกคูหา
ข้อ 5 อาคารอื่นนอกจากอาคารตามข้อ 3 วรรคหนึ่ง ที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันเกิน 2,000 ตารางเมตร ต้องมีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ทุกชั้นด้วย
ข้อ 6 ระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ตามข้อ 4 และข้อ 5 อย่างน้อยต้องประกอบด้วย
(1) อุปกรณ์แจ้งเหตุที่มีทั้งระบบแจ้งเหตุอัตโนมัติและระบบแจ้งเหตุที่ใช้มือเพื่อให้อุปกรณ์ส่งสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ทำงาน
(2) อุปกรณ์ส่งสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ที่สามารถส่งเสียงหรือสัญญาณให้คนที่อยู่ในอาคารได้ยินหรือทราบอย่างทั่วถึงเพื่อให้หนีไฟ
ข้อ 7 อาคารตามข้อ 2 (2) และ (3) ที่มีความสูงตั้งแต่ 2 ชั้น ขึ้นไป และอาคารตามข้อ 2 (4) ที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันเกิน 2,000 ตารางเมตร ในแต่ละชั้นต้องมีป้ายบอกชั้นและป้ายบอกทางหนีไฟด้วยตัวอักษรขนาดที่มีความสูงไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร หรือสัญลักษณ์ที่อยู่ในตำแหน่งที่มองเห็นได้ชัดเจนตลอดเวลา และต้องมีแสงสว่างจากระบบไฟฟ้าฉุกเฉินเพียงพอที่จะมองเห็นช่องทางหนีไฟได้ชัดเจนขณะเพลิงไหม้
หมวด 2
แบบและจำนวนของห้องน้ำและห้องส้วม
---------------------------
ข้อ 8 อาคารที่บุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมไม่น้อยกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ในตารางที่ 2 ท้ายกฎกระทรวงนี้
จำนวนห้องน้ำและห้องส้วมที่กำหนดไว้ในตารางตามวรรคหนึ่ง เป็นจำนวนขั้นต่ำที่ต้องจัดให้มีแม้ว่าอาคารนั้นจะมีพื้นที่อาคารหรือจำนวนคนน้อยกว่าที่กำหนดไว้ในตารางวรรคหนึ่งก็ตาม
ถ้าอาคารที่มีพื้นที่ของอาคารหรือจำนวนคนมากเกินกว่าที่กำหนดไว้ในตารางวรรคหนึ่งจะต้องจัดให้มีห้องน้ำและห้องส้วมเพิ่มขึ้นตามอัตราส่วนพื้นที่อาคารหรือจำนวนคนที่มากเกินนั้น ถ้ามีเศษให้คิดเต็มอัตรา
ชนิดหรือประเภทของอาคารที่มิได้กำหนดไว้ในตารางตามวรรคหนึ่ง ให้พิจารณาเทียบเคียงลักษณะการใช้สอยของอาคารนั้น โดยถือจำนวนห้องน้ำและห้องส้วมที่กำหนดไว้ในตารางดังกล่าวเป็นหลัก
ข้อ 9 ห้องน้ำและห้องส้วมจะแยกจากกันหรือรวมอยู่ในห้องเดียวกันก็ได้โดยมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) สร้างด้วยวัสดุทนทาน และทำความสะอาดง่าย
(2) ระยะดิ่งระหว่างพื้นห้องถึงเพดานยอดฝาหรือผนังตอนต่ำสุดต้องไม่ต่ำกว่า 2.00 เมตร
(3) มีช่องระบายอากาศไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของพื้นที่ห้อง หรือมีพัดลมระบายอากาศได้เพียงพอ
(4) พื้นห้องน้ำและห้องส้วมมีความลาดเอียงไม่น้อยกว่า 1 ใน 100 ส่วน และมีจุดระบายน้ำทิ้งอยู่ในตำแหน่งต่ำสุดบนพื้นห้อง
(5) ในกรณีที่มีท่อระบายอุจจาระให้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร และมีความลาดเอียงไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ส่วน
(6) มีท่อระบายก๊าซขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 2.50 เซนติเมตร และมีความสูงอยู่ในระดับที่กลิ่นเหม็นของก๊าซไม่รบกวนผู้อื่น
(7) ที่ปัสสาวะต้องมีระบบการดักกลิ่นและเป็นแบบใช้น้ำชำระลงสู่ระบบกำจัดสิ่งปฏิกูล
(8) ในกรณีเป็นอาคารที่มีบุคคลเข้าใช้สอยประจำอยู่หลายชั้น การจะจัดให้มีห้องส้วมและที่ปัสสาวะในชั้นใดให้เป็นไปตามความจำเป็นและเหมาะสม
(9) ในกรณีที่ห้องน้ำและห้องส้วมรวมอยู่ในห้องเดียวกัน ต้องมีขนาดพื้นที่ภายในของห้องไม่น้อยกว่า 1.50 ตารางเมตร แต่ถ้าห้องน้ำและห้องส้วมแยกกัน ต้องมีขนาดพื้นที่ภายในของแต่ละห้องไม่น้อยกว่า 0.90 ตารางเมตร และมีความกว้างภายในไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร
(“ข้อ 9” แก้ไขโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 63 (พ.ศ. 2551)ฯ)
ข้อ 10 บ่อเกรอะ บ่อซึม ของส้วมต้องอยู่ห่างจากแม่น้ำ คู คลอง หรือแหล่งน้ำสาธารณะไม่น้อยกว่า 10 เมตร เว้นแต่ส้วมที่มีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลที่ต้องตามหลักการสาธารณสุขและมีขนาดที่เหมาะสม ทั้งนี้ตามที่กระทรวงมหาดไทยด้วยความเห็นชอบของกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
หมวด 3
ระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศ
---------------------------
ข้อ 11 ส่วนต่าง ๆ ของอาคารต้องมีความเข้มของแสงสว่างไม่น้อยกว่าความเข้มที่กำหนดไว้ในตารางที่ 3 ท้ายกฎกระทรวงนี้
สถานที่อื่นที่มิได้ระบุไว้ในตารางตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้ความเข้มของแสงสว่างของสถานที่ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับความเข้มที่กำหนดไว้ในตารางดังกล่าว
ข้อ 12 ระบบการระบายอากาศในอาคารจะจัดให้มีการระบายอากาศโดยวิธีธรรมชาติหรือโดยวิธีกลก็ได้
ข้อ 13 ในกรณีที่จัดให้มีการระบายอากาศโดยวิธีธรรมชาติ ห้องในอาคารทุกชนิดทุกประเภทต้องมีประตู หน้าต่าง หรือช่องระบายอากาศด้านติดกับอากาศภายนอกเป็นพื้นที่รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของพื้นที่ของห้องนั้น ทั้งนี้ ไม่นับรวมพื้นที่ของประตู หน้าต่าง และช่องระบายอากาศที่ติดต่อกับห้องอื่นหรือช่องทางเดินภายในอาคาร
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่อาคารหรือสถานที่ที่ใช้เก็บของหรือสินค้า
ข้อ 14 ในกรณีที่ไม่อาจจัดให้มีการระบายอากาศโดยวิธีธรรมชาติตามข้อ 13 ได้ให้จัดให้มีการระบายอากาศโดยวิธีกลซึ่งใช้กลอุปกรณ์ขับเคลื่อนอากาศ กลอุปกรณ์นี้ต้องทำงานตลอดเวลาระหว่างที่ใช้สอยพื้นที่นั้น และการระบายอากาศต้องมีการนำอากาศภายนอกเข้ามาในพื้นที่ไม่น้อยกว่าอัตราที่กำหนดไว้ในตารางที่ 4 ท้ายกฎกระทรวงนี้
สำหรับห้องครัวของสถานที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม ถ้าได้จัดให้มีการระบายอากาศครอบคลุมแหล่งที่เกิดของกลิ่น ควัน หรือก๊าซ ที่ต้องการระบายในขนาดที่เหมาะสมแล้วจะมีอัตราการระบายอากาศในส่วนอื่นของห้องครัวนั้นน้อยกว่าที่กำหนดไว้ในตารางตามวรรคหนึ่งก็ได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่า 12 เท่าของปริมาตรของห้องใน 1 ชั่วโมง
สถานที่อื่นที่มิได้ระบุไว้ในตารางตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้อัตราการระบายอากาศของสถานที่ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับอัตราที่กำหนดไว้ในตารางดังกล่าว
ข้อ 15 ในกรณีที่จัดให้มีการระบายอากาศด้วยระบบการปรับภาวะอากาศต้องมีการนำอากาศภายนอกเข้ามาในพื้นที่ปรับภาวะอากาศหรือดูดอากาศจากภายในพื้นที่ปรับภาวะอากาศออกไปไม่น้อยกว่าอัตราที่กำหนดไว้ในตารางที่ 5 ท้ายกฎกระทรวงนี้
สถานที่อื่นที่มิได้ระบุไว้ในตารางตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้อัตราการระบายอากาศของสถานที่ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับอัตราที่กำหนดไว้ในตารางดังกล่าว
ข้อ 16 ตำแหน่งของช่องน้ำอากาศภายนอกเข้าโดยวิธีกล ต้องห่างจากที่เกิดอากาศเสียและช่องระบายอากาศทิ้งไม่น้อยกว่า 5 เมตร และสูงจากพื้นดินไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร
การนำอากาศภายนอกเข้าและการระบายอากาศทิ้งโดยวิธีกล ต้องไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนผู้อาศัยใกล้เคียง
ข้อ 17 โรงงาน โรงแรม โรงมหรสพ ห้องประชุม สถานกีฬาในร่ม สถานพยาบาล สถานีขนส่งมวลชน สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า หรือตลาด ต้องจัดให้มีระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรองสำหรับกรณีฉุกเฉิน เช่น แบตเตอรี่ หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เป็นต้น แยกเป็นอิสระจากระบบที่ใช้อยู่ตามปกติ และสามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติเมื่อระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้าปกติหยุดทำงานแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรองสำหรับกรณีฉุกเฉินตามวรรคหนึ่ง ต้องสามารถจ่ายพลังงานไฟฟ้าได้เพียงพอตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) จ่ายพลังงานไฟฟ้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง สำหรับเครื่องหมายแสดงทางออกฉุกเฉิน ทางเดิน ห้องโถง บันได บันไดหนีไฟ และระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้
(2) จ่ายพลังงานไฟฟ้าตลอดเวลาที่ใช้งานสำหรับห้องไอ.ซี.ยู ห้อง ซี.ซี.ยู ห้องช่วยชีวิตฉุกเฉินระบบสื่อสาร และเครื่องสูบน้ำดับเพลิง เพื่อความปลอดภัยสาธารณะและกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือสุขภาพอนามัยเมื่อกระแสไฟฟ้าขัดข้อง
หมวด 4
เบ็ดเตล็ด
---------------------------
ข้อ 18 ในการยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารตามข้อ 2 ผู้ยื่นคำขอจะต้องแสดงแบบและวิธีการเกี่ยวกับการติดตั้งระบบการป้องกันอัคคีภัย แบบและจำนวนของห้องน้ำและห้องส้วม และระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศ สำหรับอาคารดังกล่าวไปพร้อมกับคำขอด้วย
ข้อ 19 ในกรณีที่มีกฎหมายอื่นกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับแบบและวิธีการเกี่ยวกับการติดตั้งระบบการป้องกันอัคคีภัย และระบบการจัดแสงสว่างและระบบการระบายอากาศสำหรับอาคารใดไว้โดยเฉพาะแล้ว ให้ใช้หลักเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้น
แบบและจำนวนห้องน้ำและห้องส้วมให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงนี้ เว้นแต่ในกรณีที่มีกฎหมายอื่นกำหนดแบบและจำนวนห้องน้ำและห้องส้วมไว้โดยเฉพาะ และมีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไม่ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้ ให้ใช้หลักเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้น
(“ข้อ 19” แก้ไขโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 63 (พ.ศ. 2551)ฯ)
ข้อ 20 อาคารตามข้อ 2 ที่ได้ก่อสร้างไว้ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ หากต่อมามีการดัดแปลงหรือเปลี่ยนการใช้ให้แตกต่างไปจากที่ได้รับอนุญาตไว้ ให้ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎกระทรวงนี้
ให้ไว้ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2537
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
หมายเหตุ : เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา 8 (4) (5) และ (6) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 บัญญัติให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดแบบและวิธีการเกี่ยวกับการติดตั้งระบบการป้องกันอัคคีภัย แบบและจำนวนของห้องน้ำและห้องส้วม ระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศ และระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรองสำหรับกรณีฉุกเฉิน เพื่อประโยชน์แห่งความปลอดภัย การป้องกันอัคคีภัย การสาธารณสุข การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และการผังเมือง ดังนั้นสมควรออกกฎกระทรวงกำหนดแบบ วิธีการ จำนวนและระบบดังกล่าว จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
( ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 23 ก ลงวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2537 )
ตารางที่ 1 ชนิดและขนาดของเครื่องดับเพลิงแบบมือถือ
ชนิดหรือประเภท
ของอาคาร
|
ชนิดของเครื่องดับเพลิง
|
ขนาดบรรจุ
ไม่น้อยกว่า
|
(1) ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว และบ้านแฝด ที่มีความสูงไม่เกิน 2 ชั้น
|
(1) น้ำอัดความดัน
|
10 ลิตร
|
(2) กรด – โซดา
|
10 ลิตร
|
(3) โฟมเคมี
|
10 ลิตร
|
(4) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
|
3 ลิตร
|
(5) ผงเคมีแห้ง
|
3 ลิตร
|
(6) เฮลอน (HALON 1211)
|
3 ลิตร
|
(2) อาคารอื่นนอกจากอาคารตาม (1)
|
(1) โฟมเคมี
|
10 ลิตร
|
(2) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
|
4 ลิตร
|
(3) ผงเคมีแห้ง
|
4 ลิตร
|
(4) เฮลอน (HALON 1211)
|
4 ลิตร
|
ตารางที่ 2 จำนวนห้องน้ำและห้องส้วมของอาคาร
ชนิดหรือประเภทของอาคาร
|
เกณฑ์การกำหนด
|
ห้องส้วม
|
ห้องน้ำ
|
อ่างล้างมือ
|
ที่ถ่ายอุจจาระ
|
ที่ถ่ายปัสสาวะ
|
(1) อาคารอยู่อาศัย
|
ต่อ 1 หลัง
|
1
|
-
|
1
|
-
|
(2) ห้องแถวหรือตึกแถวไม่ว่าจะใช้เพื่อการพาณิชย์หรือพักอาศัย
|
(1) ต่อพื้นที่อาคารทุกชั้นรวมกันแต่ละคูหาไม่เกิน 200 ตารางเมตร
|
1
|
-
|
-
|
-
|
(2) ต่อพื้นที่อาคารทุกชั้นรวมกันแต่ละคูหาเกิน 200 ตารางเมตร
|
2
|
1
|
1
|
-
|
(3) ต่อหนึ่งคูหา ในกรณีที่สูงเกินสามชั้น
|
2
|
1
|
1
|
-
|
(3) โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
|
(1) ต่อจำนวนคนงานชาย ไม่เกิน 15 คน
|
1
|
1
|
1
|
1
|
(2) ต่อจำนวนคนงานหญิง ไม่เกิน 15 คน
|
2
|
-
|
1
|
1
|
(3) ต่อจำนวนคนงานชาย ตั้งแต่ 16 คน แต่ไม่เกิน 40 คน
|
2
|
2
|
2
|
2
|
(4) ต่อจำนวนคนงานหญิง ตั้งแต่ 16 คน แต่ไม่เกิน 40 คน
|
4
|
-
|
2
|
2
|
(5) ต่อจำนวนคนงานชาย ตั้งแต่ 41 คน แต่ไม่เกิน 80 คน
|
3
|
3
|
3
|
3
|
(6) ต่อจำนวนคนงานหญิง ตั้งแต่ 41 คน แต่ไม่เกิน 80 คน
จำนวนคนงานที่เกินตาม (5) และ (6) ให้เพิ่มอย่างละ 1 ที่ ต่อจำนวนคนงานทุก 50 คน
|
6
|
-
|
3
|
3
|
(4) โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม และบ้านเช่าพักชั่วคราว
|
ต่อห้องพัก 1 ห้องพัก
|
1
|
-
|
1
|
1
|
(5) อาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
|
ต่อ 1 ชุด
|
1
|
-
|
1
|
1
|
(6) หอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก
|
ต่อพื้นที่อาคาร 50 ตารางเมตร
|
1
|
-
|
1
|
1
|
(7) หอประชุมหรือโรงมหรสพ
|
ต่อพื้นที่อาคาร 200 ตารางเมตร หรือต่อ 100 คน ที่กำหนดให้ใช้สอยอาคารนั้น ทั้งนี้ให้ถือจำนวนที่มากกว่าเป็นเกณฑ์
|
|
|
|
|
|
(1) สำหรับผู้ชาย
|
1
|
2
|
-
|
1
|
|
(2) สำหรับผู้หญิง
|
3
|
-
|
-
|
1
|
(8) สถานศึกษา
|
(1) ต่อจำนวนนักเรียน นักศึกษาชาย 50 คน สำหรับจำนวนนักเรียน นักศึกษาชายไม่เกิน 500 คน ส่วนที่เกิน 500 คน ให้เพิ่มอย่าง 1 ที่ต่อจำนวนนักเรียน นักศึกษาชายทุก 100 คน
|
1
|
1
|
-
|
1
|
|
(2) ต่อจำนวนนักเรียน นักศึกษาหญิง 50 คน สำหรับจำนวนนักเรียน นักศึกษาหญิงไม่เกิน 500 คน
ส่วนที่เกิน 500 คน ให้เพิ่มห้องถ่ายอุจจาระ 2 ที่และอ่างล้างมือ 1 ที่ต่อจำนวนนักเรียน นักศึกษาหญิงทุก 100 คน
|
2
|
-
|
-
|
1
|
(9) สำนักงาน
|
ต่อพื้นที่อาคาร 300 ตารางเมตร
|
|
|
|
|
|
(1) สำหรับผู้ชาย
|
1
|
2
|
-
|
1
|
|
(2) สำหรับผู้หญิง
|
3
|
-
|
-
|
1
|
(10) ภัตตาคาร ร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม
|
(1) ต่อพื้นที่อาคารที่ใช้ตั้งโต๊ะอาหารน้อยกว่า 30 ตารางเมตร หรือจำนวนที่นั่งน้อยกว่า 20 ที่นั่ง ทั้งนี้ ให้ถือจำนวนที่มากกว่าเป็นกณฑ์
(ใช้ร่วมกันระหว่างผู้ชายและผู้หญิง)
|
1
|
-
|
-
|
1
|
|
(2) ต่อพื้นที่อาคารที่ใช้ตั้งโต๊ะอาหารมากกว่า 30 ตารางเมตร แต่ไม่เกิน 45 ตารางเมตร หรือจำนวนที่นั่งตั้งแต่ 20 ที่นั่งขึ้นไป แต่ไม่เกิน 30 ที่นั่ง ทั้งนี้ ให้ถือจำนวนที่มากกว่าเป็นเกณฑ์
(ใช้ร่วมกันระหว่างผู้ชายและผู้หญิง)
|
1
|
1
|
-
|
1
|
|
(3) ต่อพื้นที่อาคารที่ใช้ตั้งโต๊ะอาหารมากกว่า 45 ตารางเมตร แต่ไม่เกิน 75 ตารางเมตร หรือจำนวนที่นั่งตั้งแต่ 31 ที่นั่งขึ้นไป แต่ไม่เกิน 50 ที่นั่ง ทั้งนี้ ให้ถือจำนวนที่มากกว่าเป็นเกณฑ์
|
|
|
|
|
|
(ก) สำหรับผู้ชาย
|
1
|
1
|
-
|
1
|
|
(ข) สำหรับผู้หญิง
|
2
|
-
|
-
|
1
|
|
(4) ต่อพื้นที่อาคารที่ใช้ตั้งโต๊ะอาหารมากกว่า 75 ตารางเมตร แต่ไม่เกิน 105 ตารางเมตร หรือจำนวนที่นั่งตั้งแต่ 51 ที่นั่งขึ้นไป แต่ไม่เกิน 70 ที่นั่ง ทั้งนี้ ให้ถือจำนวนที่มากกว่าเป็นเกณฑ์
|
|
|
|
|
|
(ก) สำหรับผู้ชาย
|
2
|
2
|
-
|
2
|
|
(ข) สำหรับผู้หญิง
|
4
|
-
|
-
|
2
|
|
(5) ต่อพื้นที่อาคารที่ใช้ตั้งโต๊ะอาหารมากกว่า 105 ตารางเมตร แต่ไม่เกิน 150 ตารางเมตร หรือจำนวนที่นั่งตั้งแต่ 71 ที่นั่งขึ้นไป แต่ไม่เกิน 100 ที่นั่ง ทั้งนี้ ให้ถือจำนวนที่มากกว่าเป็นเกณฑ์
|
|
|
|
|
|
(ก) สำหรับผู้ชาย
|
3
|
3
|
-
|
3
|
|
(ข) สำหรับผู้หญิง
|
6
|
-
|
-
|
3
|
|
ส่วนที่เกินตาม (5) ให้เพิ่มอย่างละ 1 ที่ สำหรับผู้ชาย และอย่างละ 1 ที่สำหรับผู้หญิง ต่อพื้นที่อาคารที่ใช้ตั้งโต๊ะอาหารทุก 150 ตารางเมตร หรือจำนวนที่นั่งทุก 100 ที่นั่ง ทั้งนี้ ให้ถือจำนวนที่มากกว่าเป็นเกณฑ์
|
|
|
|
|
(11) อาคารพาณิชย์
|
(1) ต่อพื้นที่อาคาร 200 ตารางเมตร สำหรับผู้ชาย
พื้นที่อาคารส่วนที่เกิน 2,000 ตารางเมตร ขึ้นไป ให้เพิ่มห้องถ่ายอุจจาระ 1 ที่ ที่ถ่ายปัสสาวะ 2 ที่ และอ่างล้างมือ 1 ที่ ต่อพื้นที่อาคาร 600 ตารางเมตร
|
1
|
2
|
-
|
1
|
|
(2) ต่อพื้นที่อาคาร 200 ตารางเมตร สำหรับผู้หญิง
พื้นที่อาคารส่วนที่เกิน 2,000 ตารางเมตร ขึ้นไป ให้เพิ่มห้องถ่ายอุจจาระ 2 ที่ และอ่างล้างมือ 1 ที่ ต่อพื้นที่อาคาร 600 ตารางเมตร
|
3
|
-
|
-
|
1
|
(12) สถานที่เก็บสินค้า
|
ต่อพื้นที่อาคาร 5,000 ตารางเมตร
|
|
|
|
|
(1) สำหรับผู้ชาย
|
1
|
1
|
-
|
1
|
(2) สำหรับผู้หญิง
|
2
|
-
|
-
|
1
|
(13) สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
|
(1) ต่อพื้นที่อาคารเฉพาะในส่วนของผู้ป่วยไม่ค้างคืน (ผู้ป่วยนอก) และที่เปิดให้บริการแก่ประชาชนที่มาติดต่อทุก 200 ตารางเมตร
|
|
|
|
|
|
(1) สำหรับผู้ชาย
|
2
|
2
|
-
|
1
|
|
(2) สำหรับผู้หญิง
|
4
|
-
|
-
|
1
|
|
(2) ต่อจำนวนเตียงสำหรับผู้ป่วยค้างคืน (ผู้ป่วยใน) ทุก 5 เตียง
|
1
|
1
|
1
|
1
|
|
(3) ส่วนบริการบำบัดรักษา เช่น ห้องคลอด ห้องผ่าตัด ห้องผู้ป่วยภาวะวิกฤต ห้องผู้ป่วยภาวะวิกฤตโรคหัวใจ ให้มีจำนวนห้องน้ำและห้องส้วมที่เหมาะสมต่อการประกอบโรคศิลปะ และเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
|
|
|
|
|
(14) สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ
|
ต่อพื้นที่อาคาร 200 ตารางเมตร
|
1
|
2
|
-
|
1
|
(1) สำหรับผู้ชาย
|
3
|
-
|
-
|
1
|
(2) สำหรับผู้หญิง
|
|
|
|
|
(15) อาคารสถานีขนส่งมวลชน
|
ต่อพื้นที่อาคาร 200 ตารางเมตร
|
|
|
|
|
(1) สำหรับผู้ชาย
|
2
|
4
|
-
|
1
|
(2) สำหรับผู้หญิง
|
6
|
-
|
-
|
1
|
(16) อาคารที่จอดรถสำหรับบุคคลทั่วไป
|
ต่อพื้นที่อาคาร 1,000 ตารางเมตร
|
|
|
|
|
(1) สำหรับผู้ชาย
|
2
|
4
|
-
|
1
|
(2) สำหรับผู้หญิง
|
6
|
-
|
-
|
1
|
(17) สถานกีฬาในร่ม
|
ต่อพื้นที่อาคาร 200 ตารางเมตร หรือต่อ 100 คน ทั้งนี้ ให้ถือจำนวนที่มากกว่าเป็นเกณฑ์
|
|
|
|
|
|
(1) สำหรับผู้ชาย
|
1
|
2
|
-
|
1
|
|
(2) สำหรับผู้หญิง
|
3
|
-
|
-
|
1
|
(18) ตลาดตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข
|
(1) ต่อพื้นที่อาคารที่ใช้ตั้งแผงไม่เกิน 100 ตารางเมตร หรือจำนวนแผงไม่เกิน 50 แผง ทั้งนี้ ให้ถือจำนวนที่มากกว่าเป็นเกณฑ์
|
|
|
|
|
|
(ก) สำหรับผู้ชาย
|
1
|
1
|
-
|
1
|
|
(ข) สำหรับผู้หญิง
|
2
|
-
|
-
|
(ใช้ร่วมกัน)
|
|
(2) ต่อพื้นที่อาคารที่ใช้ตั้งแผงเกิน 100 ตารางเมตร แต่ไม่เกิน 200 ตารางเมตร หรือจำนวนแผงเกิน 50 แผง แต่ไม่เกิน 100 แผง ทั้งนี้ ให้ถือจำนวนที่มากกว่าเป็นเกณฑ์
|
|
|
|
|
|
(ก) สำหรับผู้ชาย
|
2
|
2
|
-
|
1
|
|
(ข) สำหรับผู้หญิง
|
4
|
-
|
-
|
1
|
|
(3) ต่อพื้นที่อาคารที่ใช้ตั้งแผงเกิน 200 ตารางเมตร แต่ไม่เกิน 400 ตารางเมตร หรือจำนวนแผงเกิน 100 แผง แต่ไม่เกิน 200 แผง ทั้งนี้ ให้ถือจำนวนที่มากกว่าเป็นเกณฑ์
|
|
|
|
|
|
(ก) สำหรับผู้ชาย
|
3
|
3
|
-
|
1
|
|
(ข) สำหรับผู้หญิง
|
6
|
-
|
-
|
1
|
|
(4) ต่อพื้นที่อาคารที่ใช้ตั้งแผงเกิน 400 ตารางเมตร แต่ไม่เกิน 600 ตารางเมตร หรือจำนวนแผงเกิน 200 แผง แต่ไม่เกิน 300 แผง ทั้งนี้ ให้ถือจำนวนที่มากกว่าเป็นเกณฑ์
|
|
|
|
|
|
(ก) สำหรับผู้ชาย
|
4
|
4
|
-
|
2
|
|
(ข) สำหรับผู้หญิง
|
8
|
-
|
-
|
2
|
|
(5) ต่อพื้นที่อาคารที่ใช้ตั้งแผงเกิน 600 ตารางเมตร แต่ไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร หรือจำนวนแผงเกิน 300 แผง แต่ไม่เกิน 500 แผง ทั้งนี้ ให้ถือจำนวนที่มากกว่าเป็นเกณฑ์
|
|
|
|
|
|
(ก) สำหรับผู้ชาย
|
5
|
5
|
-
|
2
|
|
(ข) สำหรับผู้หญิง
|
10
|
-
|
-
|
2
|
|
(6) ต่อพื้นที่อาคารที่ใช้ตั้งแผงเกิน 1,000 ตารางเมตร แต่ไม่เกิน 2,000 ตารางเมตร หรือจำนวนแผงเกิน 500 แผง แต่ไม่เกิน 1,000 แผง ทั้งนี้ ให้ถือจำนวนที่มากกว่าเป็นเกณฑ์
|
|
|
|
|
|
(ก) สำหรับผู้ชาย
|
7
|
7
|
-
|
3
|
|
(ข) สำหรับผู้หญิง
|
14
|
-
|
-
|
3
|
|
ส่วนที่เกินตาม (6) ให้เพิ่มห้องถ่ายอุจจาระและที่ถ่ายปัสสาวะอย่างละ 1 ที่ สำหรับผู้ชาย และห้องถ่ายอุจจาระอย่างละ 2 ที่ สำหรับผู้หญิ ต่อจำนวนพื้นที่อาคารที่ใช้ตั้งแผงทุก 400 ตารางเมตร หรือทุก 200 แผง และให้เพิ่มอ้างล้างมืออย่างละ 1 ที่ ต่อพื้นที่จำนวนพื้นที่อาคารที่ใช้ตั้งแผงทุก 1,000 ตารางเมตร หรือ ทุก 500 แผง
|
|
|
|
|
(19) สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง และสถานีบริการก๊าซตามกฎหมายว่าด้วยการบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว
|
(1) ต่อจำนวนตู้จ่ายไม่เกิน 4 ตู้จ่าย
|
|
|
|
|
(ก) สำหรับผู้ชาย
|
1
|
1
|
1
|
1
|
(ข) สำหรับผู้หญิง
|
2
|
-
|
1
|
1
|
(2) ต่อจำนวนตู้จ่ายตั้งแต่ 5 ตู้จ่าย แต่ไม่เกิน 8 ตู้จ่าย
|
|
|
|
|
(ก) สำหรับผู้ชาย
|
2
|
2
|
1
|
2
|
(ข) สำหรับผู้หญิง
|
4
|
-
|
1
|
2
|
(3) ต่อจำนวนตู้จ่ายตั้งแต่ 9 ตู้จ่ายขึ้นไป
|
|
|
|
|
(ก) สำหรับผู้ชาย
|
3
|
3
|
1
|
3
|
(ข) สำหรับผู้หญิง
|
6
|
-
|
1
|
3
|
(20) อาคารชั่วคราวประเภทอาคารที่พักคนงานหรือลักษณะอื่นที่คล้ายคลึงกัน หรือเพื่อแทนอาคารเดิมที่ถูกทำลายหรือทำให้เสียหายจากภัยธรรมชาติหรือเพลิงไหม้
|
(1) ต่อจำนวนคนงานชายหรือผู้อยู่อาศัยชายไม่เกิน 15 คน
|
1
|
-
|
1
|
1
|
(2) ต่อจำนวนคนงานหญิงหรือผู้อยู่อาศัยหญิงไม่เกิน 15 คน
|
1
|
-
|
1
|
1
|
(3) ต่อจำนวนคนงานชายหรือผู้อยู่อาศัยชายตั้งแต่ 16 คน แต่ไม่เกิน 40 คน
|
2
|
-
|
2
|
1
|
(4) ต่อจำนวนคนงานหญิงหรือผู้อยู่อาศัยหญิงตั้งแต่ 16 คน แต่ไม่เกิน 40 คน
|
2
|
-
|
2
|
1
|
(5) ต่อจำนวนคนงานชายหรือผู้อยู่อาศัยชายตั้งแต่ 41 คน แต่ไม่เกิน 80 คน
|
3
|
-
|
3
|
1
|
(6) ต่อจำนวนคนงานหญิงหรือผู้อยู่อาศัยหญิงตั้งแต่ 41 คน แต่ไม่เกิน 80 คน
|
3
|
-
|
3
|
1
|
จำนวนคนงานหรือผู้อยู่อาศัยที่เกินตาม (5) และ (6) ให้เพิ่มอย่างละ 1 ที่ต่อจำนวนคนงานหรือผู้อยู่อาศัยทุก 50 คน
|
|
|
|
|
(21) อาคารอื่นนอกจาก (1) – (20) ที่มีคนงานอยู่ในอาคารนั้น
|
(1) ต่อจำนวนผู้ชายไม่เกิน 15 คน
|
2
|
1
|
1
|
1
|
(2) ต่อจำนวนผู้หญิงไม่เกิน 15 คน
|
3
|
-
|
1
|
1
|
(3) ต่อจำนวนผู้ชายตั้งแต่ 16 คน แต่ไม่เกิน 40 คน
|
2
|
2
|
2
|
2
|
(4) ต่อจำนวนผู้หญิงตั้งแต่ 16 คน แต่ไม่เกิน 40 คน
|
4
|
-
|
2
|
2
|
(5) ต่อจำนวนผู้ชายตั้งแต่ 41 คน แต่ไม่เกิน 80 คน
|
3
|
3
|
3
|
3
|
(6) ต่อจำนวนผู้หญิงตั้งแต่ 41 คน แต่ไม่เกิน 80 คน
|
6
|
-
|
3
|
3
|
จำนวนลูกจ้างที่เกินตาม (5) และ (6) ให้เพิ่มอย่างละ 1 ที่ ต่อจำนวนลูกจ้างทุก 50 คน
|
|
|
|
|
(“ตารางที่ 2” แก้ไขโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 63 (พ.ศ. 2551)ฯ)
ตารางที่ 3 ความเข้มของแสงสว่าง
ลำดับ
|
สถานที่ (ประเภทการใช้)
|
หน่วยความเข้มของแสงสว่าง (ลักษ์) (LUX)
|
1
|
ที่จอดรถ
|
50
|
2
|
ช่องทางเดินภายในอาคารอยู่อาศัยรวม
|
100
|
3
|
ห้องพักในโรงแรมหรืออาคารอยู่อาศัยรวม
|
100
|
4
|
ห้องน้ำ ห้องส้วมของโรงงาน โรงเรียน โรงแรม สำนักงาน หรืออาคารอยู่อาศัยรวม
|
100
|
5
|
โรงมหรสพ (บริเวณที่นั่งสำหรับคนดูขณะที่ไม่มีการแสดง)
|
100
|
6
|
ช่องทางเดินภายในโรงงาน โรงเรียน โรงแรมสำนักงาน หรือสถานพยาบาล
|
200
|
7
|
สถานีขนส่งมวลชน (บริเวณที่พักผู้โดยสาร)
|
200
|
8
|
โรงงาน
|
200
|
9
|
ห้างสรรพสินค้า
|
200
|
10
|
ตลาด
|
200
|
11
|
ห้องน้ำ ห้องส้วมของโรงมหรสพ สถานพยาบาล สถานีขนส่งมวลชน ห้างสรรสินค้า หรือตลาด
|
200
|
12
|
ห้องสมุด ห้องเรียน
|
300
|
13
|
ห้องประชุม
|
300
|
14
|
บริเวณที่ทำงานในสำนักงาน
|
300
|
ตารางที่ 4 อัตราการระบายอากาศโดยวิธีกล
ลำดับ
|
สถานที่ (ประเภทการใช้)
|
อัตราการระบายอากาศไม่น้อยกว่าจำนวนเท่าของปริมาตรของห้องใน 1 ชั่วโมง
|
1
|
ห้องน้ำ ห้องส้วมของที่พักอาศัยหรือสำนักงาน
|
2
|
2
|
ห้องน้ำ ห้องส้วมของอาคารสาธารณะ
|
4
|
3
|
ที่จอดรถที่อยู่ต่ำกว่าระดับพื้นดิน
|
4
|
4
|
โรงงาน
|
4
|
5
|
โรงมหรสพ
|
4
|
6
|
อาคารพาณิชย์
|
4
|
7
|
ห้างสรรพสินค้า
|
4
|
8
|
สถานที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม
|
7
|
9
|
สำนักงาน
|
7
|
10
|
ห้องพักในโรงแรมหรืออาคารชุด
|
7
|
11
|
ห้องครัวของที่พักอาศัย
|
12
|
12
|
ห้องครัวของสถานที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม
|
24
|
ตารางที่ 5 อัตราการระบายอากาศในกรณีที่มีระบบปรับภาวะอากาศ
ลำดับ
|
สถานที่ (ประเภทการใช้)
|
ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง/ตารางเมตร
|
1
|
ห้างสรรพสินค้า (ทางเดินชมสินค้า)
|
2
|
2
|
โรงงาน
|
2
|
3
|
สำนักงาน
|
2
|
4
|
สถานอาบ อบ นวด
|
2
|
5
|
สถานที่สำหรับติดต่อธุรกิจในธนาคาร
|
2
|
6
|
ห้องพักในโรงแรมหรือาคารชุด
|
2
|
7
|
ห้องปฏิบัติการ
|
2
|
8
|
ร้านตัดผม
|
3
|
9
|
สถานกีฬาในร่ม
|
4
|
10
|
โรงมหรสพ (บริเวณที่นั่งสำหรับคนดู)
|
4
|
11
|
ห้องเรียน
|
4
|
12
|
สถานบริหารร่างกาย
|
5
|
13
|
ร้านเสริมสวย
|
5
|
14
|
ห้องประชุม
|
6
|
15
|
ห้องน้ำ ห้องส้วม
|
10
|
16
|
สถานที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม
(ห้องรับประทานอาหาร)
|
10
|
17
|
ไนท์คลับ บาร์ หรือสถานลีลาศ
|
10
|
18
|
ห้องครัว
|
30
|
19
|
สถานพยาบาล
|
|
|
- ห้องคนไข้
|
2
|
|
- ห้องผ่าตัดและห้องคลอด
|
8
|
|
- ห้องช่วยชีวิตฉุกเฉิน
|
5
|
|
- ห้อง ไอ.ซี.ยู. และห้อง ซี.ซี.ยู
|
5
|